พอดี : ว. กำลังดี, พอเหมาะพอเจาะ, เช่น เสื้อใส่ได้พอดี, พอดิบพอดี ก็ว่า; พอเหมาะกับเวลา เช่น พอสิ้นเดือนเงินก็หมดพอดี เขามาถึง ที่ทำงาน ๘.๓๐ น. พอดี.
พอดีกัน : ว. เสมอกัน (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น มันก็พอดีกันนั่นแหละ.
พอดีพอร้าย : ว. ปานกลาง, ไม่ดีนัก, ไม่เลวนัก; บางที (แสดงความ ไม่แน่นอน) เช่น พอดีพอร้ายไม่ได้ไป.
พอดิบพอดี : ว. กำลังดี, พอเหมาะพอเจาะ, เช่น มีเงินไปเท่ากับราคา ของพอดิบพอดี กางเกงตัวนี้ใส่ได้พอดิบพอดี, พอดี ก็ว่า.
มัธย- : [มัดทะยะ-] ว. กลาง, ปานกลาง, พอดี, เป็นกลาง, ระหว่างกลาง. (ส.; ป. มชฺฌิม).
สับ ๓ : ว. ถ้วน, พอดี, เช่น ห้าสองหนเป็นสิบสับ. (มูลบทบรรพกิจ).
คำนวร : [-นวน] (แบบ) ว. ควร, ถูกต้อง, เหมาะ, พอดี ๆ, ชอบ, เช่น คิดคิ้วคํานวรนวย คือธนูอันก่งยง. (สมุทรโฆษ).
พอหอมปากหอมคอ : (ปาก) ว. พอสมควร, พอดี ๆ, นิด ๆ หน่อย ๆ, เช่น กินพอหอมปากหอมคอ พูดพอหอมปากหอมคอ.
เหมาะ : ว. ดี เช่น ได้โอกาสเหมาะ, พอดี เช่น กำลังเหมาะ, สมควร เช่น โอกาสนี้ ไม่เหมาะจะเข้าพบผู้ใหญ่, คู่ควร เช่น ๒ คนนี้เหมาะกัน.
กำลังดี : ว. พอดี.
ได้ที่ : ก. ถึงที่เหมาะ, ถึงที่กะไว้, พอดี.
ลงตัว : ว. ไม่มีเศษ ในคำว่า หารลงตัว. ก. พอดี เช่น เรื่องนี้ ลงตัวแล้ว.
กระเสียน : ว. ชิด, สนิท, แนบเนียน, เช่น ชฎากลีบจีบเวียนกระเสียนพระศก. (อภัย), เขาเข้าไม้ปะที่ตรงนี้ดีนัก พอดีกระเสียนกันทีเดียว; (โบ) อาการที่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งสอดเสียดลงไปในช่องในรูไม่คับ ไม่หลวมพอครือ ๆ กัน. (ปรัดเล).
กร้าว : [กฺร้าว] ว. แข็งกระด้าง, แข็งมากหรือแข็งเกินพอดี ซึ่งอาจแตกบิ่นได้ง่าย, ไม่นุ่มนวล.
กลมกล่อม : ว. ที่เข้ากันพอดี (ใช้แก่รสหรือเสียง).
กะเร่อกะร่า : อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเร่อกะร่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเร่อกะร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเร่อกะร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนัน เลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเร่อกะร่า อย่างนั้นเอง, กะเล่อกะล่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
กะเล่อกะล่า : ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเล่อกะล่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเล่อกะล่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเล่อกะล่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลย ถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเล่อกะล่า อย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
เกินไป : ว. คําประกอบท้ายคําวิเศษณ์ เพื่อเน้นความหมาย แสดงว่าเกินกําหนด เกินพอดี เช่น กินมากเกินไป ดีเกินไป สุกเกินไป.
ขนมผสมน้ำยา : (สํา) ว. พอดีกัน จะว่าข้างไหนดีกว่ากันก็ไม่ได้.
เข้าเดือย : ก. นําไม้ ๒ อัน โดยอันหนึ่งทําให้เป็นเดือย อีกอันหนึ่งเจาะรู ให้พอเหมาะกัน มาประกบให้ประสานกันพอดี.
เข้ารางลิ้น : ก. นำไม้อันหนึ่งที่ทำให้เป็นร่องยาวมาประกบกับไม้อีกอันหนึ่ง ที่ทำให้เป็นลิ้นยาวไปตามตัวไม้ให้เข้ากันสนิทพอดี, พูดสั้น ๆ ว่า เข้าลิ้น.
เข้ารูป : ก. พอเหมาะ, พอดีตัว, เช่น เสื้อเข้ารูป.
เข้าลิ้น : ก. นำไม้อันหนึ่งที่ทำให้เป็นร่องยาวมาประกบกับไม้อีกอันหนึ่ง ที่ทำให้เป็นลิ้นยาวไปตามตัวไม้ให้เข้ากันสนิทพอดี, พูดเต็มว่า เข้ารางลิ้น.
คะเน : ก. กะ, คํานวณเอาอย่างหยาบ ๆ, เช่น คะเนให้พอดี.
คับ : ว. มีขนาดไม่พอดีกัน ทําให้แน่น ตึง หรือ ฝืด สวมหรือใส่ได้โดยยาก เช่น เสื้อคับ หมวกคับ แหวนคับ, ตรงข้ามกับ หลวม. ก. มีลักษณะ หรือปริมาณเกินพอดี เช่น จระเข้คับคลอง ลิ้นคับปาก ฝูงคนคับถนน เสียงคับบ้าน ข้าวคับหม้อ.
คาบเส้น : ก. อยู่ตรงเกณฑ์ที่กำหนดพอดี เช่น สอบไล่ได้คะแนนคาบเส้น.
แจดแจ้, แจ๊ดแจ๋ : (ปาก) ว. มีกิริยาวาจาจุ้นจ้านเกินพอดี.
ได้ส่วน, ได้ส่วนสัด : ก. ได้ขนาดที่พอเหมาะพอดี.
ตัว ๒ : (คณิต) น. เรียกเลขในวิธีทําว่า ตัว เช่น ตัวบวก ตัวลบ ตัวคูณ ตัวหาร. ตัวคูณร่วมน้อย น. จํานวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยที่สุดซึ่งนําไปหารด้วยจํานวน เต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จํานวนขึ้นไป แล้วจะได้ผลลัพธ์ลงตัวพอดี เช่น ๗๐ เป็นตัวคูณร่วมน้อยของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ค.ร.น. ตัวตั้ง ๒ น. จํานวนเลขที่ตั้งไว้ก่อนสําหรับบวกลบคูณหาร. ตัวประกอบ ๒ น. จํานวนที่เมื่อคูณกันแล้วทําให้เกิดอีกจํานวนหนึ่ง เช่น ๒ x ๓ = ๖ ๒ และ ๓ ต่างเป็นตัวประกอบของ ๖. ตัวแปร น. จํานวนจริงหรือจํานวนเชิงซ้อนที่มีค่าได้หลาย ๆ ค่าในช่วงหรือ เซตที่กําหนดให้. (อ. variable). ตัวเลข น. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจํานวนจริง เช่น ๑๒ 53 VIII. (อ. numeral). ตัวหารร่วมมาก น. จํานวนเต็มบวกที่มีค่ามากที่สุดซึ่งนําไปหารจํานวน undefined เต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จํานวนขึ้นไปได้ลงตัวพอดี เช่น ๗ เป็นตัวหาร ร่วมมากของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ห.ร.ม.
ทัน ๒ : ว. เป็นไปตามเวลาที่กําหนด, เป็นไปพอดีกับเวลาที่กําหนด, เช่น ทันกาล ทันเวลา; ตามไปถึง เช่น เรียนทัน วิ่งทัน; เท่า, เทียมถึง, เช่น รู้ทันคน; เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทัน พระศรีสรรเพชญ์เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
ทันท่วงที : ว. ทันต่อเหตุการณ์พอดิบพอดี.
นาฬิกาทราย : น. อุปกรณ์ที่ใช้สําหรับวัดเวลา ประกอบด้วย กระเปาะ แก้ว ๒ กระเปาะที่มีรูเล็ก ๆ ทะลุถึงกัน ข้างในบรรจุทรายที่จะไหลจาก กระเปาะหนึ่งไปยังอีกกระเปาะหนึ่งได้หมดพอดีในเวลาที่กําหนดไว้.
ประจวบ : ก. จําเพาะพอดี, สบเหมาะ, บังเอิญพบ, เช่น นํ้าเหนือหลากมา ประจวบกับนํ้าทะเลหนุน นํ้าเลยท่วม.
ป้อยอ : ก. ตามใจหรือเอาใจจนเกินไป, ยกย่องเยินยอจนเกินพอดี, บํารุงบําเรอจนเกินไป.
ฝนชะช่อมะม่วง : น. ฝนที่ตกเล็กน้อยประปรายในเดือนมกราคมถึง เดือนมีนาคม ซึ่งเป็นระยะที่มะม่วงออกช่อพอดี, ฝนชะลาน ก็เรียก.
มะพร้าวตื่นดก : (สํา) ก. เห่อหรือตื่นเต้นในสิ่งที่ตนไม่เคยมีไม่เคยได้จนเกินพอดี, มักพูดเข้าคู่กับ ยาจกตื่นมี ว่า มะพร้าวตื่นดก ยาจกตื่นมี.
มัตตัญญู : น. ผู้รู้ประมาณคือความพอเหมาะพอดี. (ป.).
ไม้ขบวน : น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นตรง แล้วดัดวนเวียนอย่างใดก็ได้ แต่เมื่อวน ถึงยอดแล้ว ยอดต้องชี้ตรงกับลำต้นพอดี.
ราม ๑ : ว. งาม เช่น นงราม; ปานกลาง, พอดีพองาม, เช่น มีพิหารอันราม มีพระพุทธรูปอันราม. (จารึกสยาม).
รุ่มร่าม : ก. เกินพอดี, เกินที่ควรเป็น, เช่น หนวดเครารุ่มร่าม, ไม่กะทัดรัด, ไม่รัดกุม, เช่น แต่งหนังสือสำนวนรุ่มร่าม, ไม่เรียบร้อย เช่น กิริยารุ่มร่าม, ปรกติ ใช้เกี่ยวกับเสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวที่ยาวหรือใหญ่เกินตัว เช่น แต่งตัวรุ่มร่าม.
เร่อร่า : ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวเร่อร่าผิด กาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินเร่อร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขาเร่อร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางเร่อร่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า กะเล่อ กะล่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
ล้น : ก. พ้นหรือเลยระดับที่เปี่ยมอยู่แล้วจนไหลออกมา เช่น น้ำล้นตุ่ม ข้าวสารล้นกระสอบ, เกินกำหนดจนคงอยู่ไม่ได้ เช่น คนมากจนล้น ห้องประชุม. ว. ยิ่ง เช่น งานล้น สวยล้น; (ปาก) ค่อนข้างทะลึ่ง, เกินพอดี, เช่น เด็กคนนี้พูดจาล้น.
ลอง ๒ : ก. กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอย่างไร เช่น ลองชิม ผลไม้ว่าจะมีรสชาติอย่างไร, กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้รู้ว่า เป็นอะไรหรือใช่หรือไม่ เช่น ลองชิมก้อนขาว ๆ ว่าเป็นเกลือหรือ น้ำตาล; ทดสอบความสามารถหรือคุณภาพว่าพอดีหรือเหมาะสม หรือไม่ เช่น ลองเสื้อ ลองแว่น ลองรองเท้า ลองกำลัง ลองรถ; หยั่ง ท่าที เช่น ลองชวนเขาไปเที่ยวซิ ลองเกี้ยวเขาดู.
ละมุนละไม : ว. อ่อนนุ่มพอดี ๆ ไม่สวยและไม่แฉะ เช่น หุงข้าวได้ ละมุนละไม ข้าวเหนียวมูนได้ละมุนละไม; เรียบร้อย, นุ่มนวล, เช่น เด็กคนนี้มีกิริยามารยาทละมุนละไม.
ล่าเตียง, ล้าเตียง : น. ชื่ออาหารว่างอย่างหนึ่งใช้ไข่โรยเป็นร่างแห ห่อไส้ซึ่งทำด้วยกุ้ง ผัดกับเครื่องปรุง ให้มีขนาดพอดีคำ.
เลยเถิด : ว. เกินความพอดีไป เช่น ล้อเล่นกันจนเลยเถิด กลายเป็น ลามปาม.
เล่อล่า : ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวเล่อล่า ผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินเล่อล่าออกไปกลางถนนเลยถูก รถชน, เซ่อซ่า เช่น เขาเล่อล่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูก จับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางเล่อล่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า กะเล่อกะล่า หรือ เร่อร่า ก็ว่า.
สบาย : [สะบาย] ว. อยู่ดีกินดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูก ๆ ทำงานหมดแล้ว, เป็นสุขกายสุขใจ เช่น เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะมีฐานะดีขึ้น ไม่มี วิตกกังวลใด ๆ; สะดวก เช่น ทำตามสบายไม่ต้องเกรงใจ มีรถส่วนตัว สบายกว่าไปรถประจำทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สุข หรือ สะดวก เป็น สุขสบาย หรือ สะดวกสบาย; พอเหมาะพอดี เช่น เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย; ไม่ลำบากกาย เช่น เขาทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือน เมื่อก่อน; ไม่เจ็บไม่ไข้ เช่น เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้; มีความ พอใจเมื่อได้สัมผัส เช่น สบายหู สบายตา สบายกาย. (ป. สปฺปาย).
สมน้ำสมเนื้อ : ว. พอเหมาะพอดีกัน เช่น ขิงก็ราข่าก็แรง สมน้ำสมเนื้อ กันดีแล้ว.
สมมูลเคมี : น. จํานวนเลขที่บ่งแสดงนํ้าหนักของสารที่ทําปฏิกิริยา โดยทางตรงหรือทางอ้อมได้พอดีกับ ๑.๐๐๘ หน่วยนํ้าหนักเดียวกัน ของธาตุไฮโดรเจน หรือกับ ๘ หน่วยนํ้าหนักเดียวกันของธาตุ ออกซิเจน. (อ. chemical equivalent).