พะ ๒ : ใช้นําหน้าคําที่ตั้งต้นด้วยตัว พ มีความแปลอย่างเดียวกับคําเดิมนั้น เช่น พะพรั่ง พะพรั่น พะพราย.
พะ ๑ : น. เพิงที่ต่อปะเข้าไปกับด้านสกัดของเรือน, พะเพิง เพิง หรือ เพิงพะ ก็เรียก. ก. พักพิงหรือแอบอิงอาศัย เช่น ลูกมาพะพ่อแม่อยู่, พะพิง ก็ว่า; ปะทะกัน, ชนกัน, เช่น คน ๒ คนเดินมาพะกัน; ปะทะติดอยู่ เช่น สวะมาพะหน้าบ้าน.
พะยุพยุง : [พะยุง] ก. ช่วยกันพยุง เช่น ช่วยพะยุพยุงคนเจ็บ, พะยุพยุงจูงจับ หิ้วปากคนละข้าง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
พะทำมะรง : น. ผู้ควบคุมนักโทษ.
พะเน้าพะนึง : ก. ทําอิด ๆ เอื้อน ๆ; เซ้าซี้.
พะอากพะอำ : ก. อึดอัด, คับแคบใจ.
บูรพ์, บูรพะ : [บูน, บูระพะ] ว. บุพ.
พ : พยัญชนะตัวที่ ๓๐ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กบในคํา ที่มาจากบาลีและสันสกฤต เช่น ภพ ภาพ สรรพ ผลลัพธ์.
พา : ก. นําไปหรือนำมา.
พณิชย์ : [พะ] น. การค้าขาย. (ส. วณิชฺยา, วาณิชฺย; ป. วาณิชฺช).
พธู : [พะ] น. เจ้าสาว; เมีย; ผู้หญิง. (ส., ป. วธู).
พนอง ๑ : [พะ] น. ป่า. (ข. พฺนง).
พนอม : [พะ] น. พนม, จอมเขาหรือที่มีพุ่มไม้, ใช้ พระนอม หรือ พระน้อม ก็มี.
พลัง : [พะ] ว. กําลัง, มักใช้พูดเข้าคู่กันว่า กําลังพลัง.
พลำภัง : [พะ] (โบ) น. ชื่อกรมการปกครองในกระทรวงมหาดไทย, เขียน เป็น พลัมภัง พลําภังค์ ก็มี.
พสุ : [พะ] น. ชื่อเรียกเทวดาจําพวกหนึ่ง; ทรัพย์, สมบัติ, ความมั่งมี. ว. ดี, เลิศ, ประเสริฐ; ใจดี, กรุณา. (ป., ส. วสุ).
พะพิง : ก. พักพิงหรือแอบอิงอาศัย, พะ ก็ว่า.
บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี : [บุระพะ-, บุบพะ-, ปุระพะ-, ปุบ พะ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๑ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปแรดตัวผู้หรือ เพดานตอนหน้า, ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย ก็เรียก.
พยติเรก : [พะยะติเหฺรก] ว. แปลกออกไป; ในไวยากรณ์ใช้เป็นชื่อประโยค ใหญ่ที่แสดงเนื้อความแย้งกัน; ชื่อนิบาตในภาษาบาลีพวกหนึ่ง. (ป., ส. วฺยติเรก).
พลว : [พะละวะ] ว. มีกําลัง, แข็งแรง, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส เช่น พลวเหตุ คือ เหตุแข็งแรง เหตุที่มีกําลังกล้า. (ป.).
พสนะ : [พะสะนะ, พดสะนะ] น. เสื้อผ้า, เครื่องนุ่งห่ม. (ป., ส. วสน).
ภควดี : [พะคะวะดี] ใช้เป็นคําเรียกสตรีที่เคารพ เช่น พระมหิษี พระอุมา พระลักษมี. (ป., ส. ภควตี).
ภวกษัย : [พะวะกะไส] น. ความสิ้นภพ, นิพพาน. (ส.).
ภวนะ : [พะวะ] น. เรือนขนาดใหญ่. (ส.).
ภว, ภวะ : [พะวะ] น. ความเกิด, ความมี, ความเป็น; ภพ. (ป., ส.).
วิภว : [พะวะ] น. ความเจริญ; สมบัติ; ความไม่มีไม่เป็น. (ป., ส.).
ขันทองพยาบาท : [-พะยาบาด] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Suregada multiflorum (A. Juss.) Baill. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูง ๕-๘ เมตร ใบรี หนา ด้านบนสีเขียวแก่เป็นมัน ผลกลมมี ๓ พู ขนาดกว้างประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ใช้ทํายาได้.
บานแพนก : [-พะแนก] (กฎ; โบ) น. ตารางแบ่งปันไพร่หลวง. (ตราสามดวง).
พก ๒ : [พะกะ] (แบบ) น. นกยาง. (ป.).
พจี : [พะจี] น. คําพูด, ถ้อยคํา. (ป. วจี).
พญา : [พะยา] (โบ) น. เจ้าแผ่นดิน เช่น พญาลิไทย; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, (มักใช้'';นําหน้านามอื่น) เช่น พญานาค พญาหงส์.
พญาณ : [พะยาน] (โบ) น. พยาน.
ฯพณฯ : [พะนะท่าน] น. คํานําหน้าชื่อหรือตําแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ชั้น รัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น. (ย่อมาจากคํา พณหัว พณหัวเจ้า พณหัวเจ้าท่าน).
พณิช : [พะนิด] น. ผู้ค้าขาย, พ่อค้า. (ป., ส. วาณิช).
พนขัณฑ์ : [พะนะ] น. ทิวไม้, แนวป่า, ราวป่า, ราวไพร. (ส.วนขณฺฑ; ป. วนสณฺฑ).
พนโคจร : [พะนะโคจอน] น. ชาวป่า, พรานป่า. (ส. วนโคจร).
พนจร, พนจรก : [พะนะจอน, พะนะจะรก] น. ชาวป่า, พรานป่า. (ป., ส. วนจร, วนจรก).
พนชีวี : [พะนะ] น. ชาวป่า. (ส. วนชีวินฺ).
พนธารา : [พะนะ] น. แถวต้นไม้ (เช่นตาม ๒ ข้างถนนหลวง). (ส. วนธารา).
พนวาสี : [พะนะ] น. ผู้อยู่ป่า, ฤษี. ว. ซึ่งอยู่ในป่า. (ป., ส. วนวาสี).
พนสณฑ์ : [พะนะ] น. พนขัณฑ์. (ป. วนสณฺฑ; ส. วนขณฺฑ, วนสณฺฑ).
พนันดร, พนานดร : [พะนันดอน, ดอน] น. ระหว่างป่า, กลางป่า, ภายในป่า. (ป., ส. วนนฺตร).
พนัสดม : [พะนัดสะดม] น. ป่ามืด, ป่าทึบ.
พนัสบดี : [พะนัดสะบอดี] น. เจ้าป่า. (ส. วนสฺปติ หมายถึง ต้นโพ ต้นไทร และต้นมะเดื่อ; ป. วนปฺปติ).
พนัส, พนัส : [พะนัด, พะนัดสะ] น. ป่า, พง, ดง. (มาจาก พน แต่เพิ่มตัว ส เพื่อ ความสะดวกในการสนธิ). (ส. วนสฺ; ป. วน).
พนาธวา : [พะนาทะวา] น. ทางป่า.
พนาศรม : [พะนาสม] น. อาศรมในป่า. (ส. วนาศฺรม).
พนียก : [พะนียก] น. วนิพก, คนขอทานโดยร้องเพลงขอ. (ส. วนียก).
พเนก : [พะเนก] น. หมอนสําหรับช้างหนุนนอน.
พม่า ๑ : [พะม่า] น. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกและ ตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย.