พาต : น. ลม. (ป., ส. วาต).
วาต, วาตะ : [วาตะ] น. ลม. (ป., ส.).
ตระเวน : [ตฺระ-] ก. ไปทั่ว ๆ รอบบริเวณ เช่น ตระเวนป่า พาตระเวนไปทั้งวัน, เที่ยว ตรวจตรา เช่น พลตระเวน, พาไปทั่ว ๆ เพื่อประจาน ในความว่า นํานักโทษ ตระเวนไปทั่วเมือง, ใช้ว่า กระเวน ตะเวน หรือ ทะเวน ก็มี.
ประจาน : ก. ประกาศเปิดเผยความชั่วให้รู้ทั่วกันด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น พูดประจาน ตัดหัวเสียบประจาน พาตระเวนประจานทั่วเมือง. (ข. ผจาล ว่า ทําให้เข็ดหลาบ).
สถานบริการ : (กฎ) น. สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ ในการค้า ดังต่อไปนี้ (๑) สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง ประเภทที่มีและ ประเภทที่ไม่มีหญิงพาตเนอร์บริการ (๒) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีหญิงบำเรอสำหรับ ปรนนิบัติลูกค้า หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอนหรือมีบริการ นวดให้แก่ลูกค้า (๓) สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ ลูกค้า (๔) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง.
วาตปานะ : น. หน้าต่าง, ช่องลมที่มีบานเปิดปิดได้อย่างบานหน้าต่าง. (ป.).
กาฬวาต : [กานละ-] น. ลมพายุใหญ่อย่างหนึ่ง เช่น ด้วยกําลังกาฬวาตโบกเบียน.
กรรมัชวาต : [กํามัดชะ-] ดู กรรมชวาต ที่ กรรม๑กรรม- ๑.
จักรวาต : [-วาด] น. ลมบ้าหมู (ลมหมุน). (ส.).
ตรีวาตผล : [-วาตะผน] น. ผลแก้ลม ๓ อย่าง คือ ผลสะค้าน รากพริกไทย ข่า.
ประลัยวาต : น. ชื่อศรที่แผลงให้เกิดลม.
ยุคันตวาต : [ยุคันตะ] น. ลมในที่สุดยุค หมายความว่า ลมที่มาทําลาย โลกเมื่อสิ้นยุค. (ป.).
กรรมชวาต : [กำมะชะวาด] น. ลมเกิดแต่กรรม คือ ลมเกิดในครรภ์ เวลาคลอดบุตร ได้แก่ ลมเบ่ง เช่น พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรง จับเอากิ่งรัง พอเกิดลมกรรมชวาตหวั่นไหวประชวรพระครรภ์. (ปฐมสมโพธิกถา). (สฺ กรฺม + ช = เกิด + วาต = ลม).
อัมพาต : [อํามะพาด] น. อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาตายไป กระดิกไม่ได้. (ส. อมฺ + วาต = โรคลม).
ประพาต : [ปฺระพาด] ก. พัด, กระพือ. (ส. ปฺรวาต).
รู้เองเป็นเอง : ก. ว่าแต่ผู้อื่น ตัวเองก็ทําเช่นนั้น, ทํานองเดียวกับ ว่าแต่ เขาอิเหนาเป็นเอง.