Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พายุลูกเห็บ, ลูกเห็บ, พายุ , then พะยุ, พาย, พายลกหบ, พายุ, พายุลูกเห็บ, ลูกเห็บ, วายุ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พายุลูกเห็บ, 118 found, display 1-50
  1. พายุ : น. ลมแรง. (ป., ส. วายุ ว่า ลม).
  2. ลูกเห็บ : น. เม็ดนํ้าแข็งที่เกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศ แล้วตกลงมา.
  3. พายุฟ้าคะนอง : น. พายุที่มีทั้งฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนัก บางครั้งมีลูกเห็บตกลงมาด้วย.
  4. พายุโซนร้อน : น. พายุหมุนที่มีกำลังปานกลาง ก่อตัวขึ้นในบริเวณ ทะเลหรือมหาสมุทรในโซนร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร มีความเร็วลม รอบบริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๓๔ นอต หรือ ๖๓ กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ไม่ถึง ๖๔ นอต หรือ ๑๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง.
  5. พายุไซโคลน : น. พายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย ทะเลอาหรับ และอ่าวเบงกอล มีความ เร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตร ต่อชั่วโมงขึ้นไป.
  6. พายุดีเปรสชัน : น. พายุหมุนที่มีกำลังอ่อน ทำให้ฝนตกปานกลาง ถึงตกหนัก เกิดขึ้นในละติจูดกลางหรือละติจูดสูง มีความเร็วลม สูงสุดใกล้บริเวณศูนย์กลางไม่เกิน ๓๓ นอต หรือ ๖๑ กิโลเมตร ต่อชั่วโมง. (อ. depression).
  7. พายุไต้ฝุ่น : น. พายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในบริเวณภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและในทะเล จีน มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. (จ.).
  8. พายุทอร์นาโด : น. พายุประจำถิ่นขนาดเล็ก แต่มีความรุนแรงมาก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๓ กิโลเมตร บริเวณศูนย์กลางพายุมี ความกดอากาศต่ำมาก จึงทำให้อากาศรอบนอกที่พัดเข้าหาศูนย์กลาง พายุมีความเร็วสูงมาก เมื่อเริ่มเกิดเมฆจะม้วนตัวเป็นรูปกรวยหรือ งวงยื่นออกมาจากฐานเมฆ ส่วนมากเกิดในบริเวณตอนกลางของ สหรัฐอเมริกา และทางตะวันตกของออสเตรเลีย, ลมงวง หรือ ลมงวงช้าง ก็เรียก.
  9. พายุนอกโซนร้อน : น. พายุโซนร้อนที่เคลื่อนที่ไปในละติจูดสูง ๆ ในบริเวณนอกโซนร้อนหรือที่เกิดขึ้นนอกโซนร้อน.
  10. พายุฝุ่น : น. พายุที่เกิดเนื่องจากแผ่นดินร้อนจัด กระแสอากาศยกตัว ขึ้นสู่เบื้องบน มวลอากาศที่อยู่ข้างเคียงจึงเคลื่อนตัวเข้ามาแทนที่ มักเกิดในบริเวณที่เป็นทะเลทรายในฤดูร้อน.
  11. พายุเฮอริเคน : น. พายุที่มีความเร็วลมเช่นเดียวกับพายุไต้ฝุ่น แต่เกิด ในมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และภาค ตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ, ลมสลาตัน ก็เรียก.
  12. พายุหมุน : น. ลมแรงที่พัดเวียนเข้าหาบริเวณศูนย์กลางที่มีความกด อากาศต่ำกว่าบริเวณที่อยู่โดยรอบมาก.
  13. ลมพายุ : น. พายุ.
  14. วายุ : น. ลม, อากาศ, ลมหายใจ; เทพแห่งลม. (ป., ส.). (ดู พายุ).
  15. พาย : น. เครื่องมือสําหรับพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน ทำด้วยไม้ มีด้ามกลมยาว ประมาณ ๒ ศอก สำหรับจับด้านที่ใช้พุ้ยน้ำมีลักษณะแบน, ถ้า ลอกลวดเป็นคิ้วตลอดกลางใบพาย เรียกว่า พายคิ้ว, ถ้าด้ามสั้น ใบป้อม เพื่อให้จับได้ถนัด เรียกว่า พายทุย, เรียกไม้แบน ๆ ที่มี รูปคล้ายพาย เช่น พายกวนขนม. ก. เอาพายพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน.
  16. เจ้าพายุ : น. ชื่อตะเกียงชนิดหนึ่งเมื่อเผาไส้แล้วสูบลมให้ดันนํ้ามันเป็นไอ ขึ้นไปเลี้ยงไส้ทำให้เกิดแสงสว่างนวลจ้า.
  17. ตะเกียงเจ้าพายุ : น. ตะเกียงชนิดหนึ่ง เมื่อเผาไส้แล้วสูบลมให้ดันน้ำมันเป็น ไอขึ้นไปเลี้ยงไส้ทำให้เกิดแสงสว่างนวลจ้า.
  18. กรก, กรก- : [กะหฺรก, กะระกะ-] (แบบ) น. ลูกเห็บ เช่น กรกวรรษ = ฝนลูกเห็บ. (ป., ส.).
  19. พรรโษบล : น. ลูกเห็บ. (ส.).
  20. หยาดน้ำฟ้า : น. นํ้าที่ตกจากบรรยากาศ (ฟ้า) ลงสู่พื้นดินในภาวะที่เป็นนํ้า หรือนํ้าแข็ง เช่น ฝน หิมะ ลูกเห็บ.
  21. เห็บ ๒ : น. เม็ดนํ้าแข็งที่เกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศแล้วตกลงมา เรียกว่า ลูกเห็บ.
  22. พยุ : [พะยุ] น. ลมแรง. (ข. พฺยุะ; ป., ส. วายุ).
  23. กระหึม, กระหึ่ม : ว. เสียงดังหึ่มอย่างน่ากลัว เช่น พายุพัดกระหึ่ม, เสียงก้องกังวาน เช่น เสียงดนตรีดังกระหึ่ม.
  24. กาฬวาต : [กานละ-] น. ลมพายุใหญ่อย่างหนึ่ง เช่น ด้วยกําลังกาฬวาตโบกเบียน.
  25. ขี้เดือด : น. ขี้เมฆตามริมขอบฟ้าวิ่งเดือดพลุ่งขึ้นข้างบนซึ่งนัยว่าจะเกิดพายุ.
  26. คลื่นใต้น้ำ ๑ : น. คลื่นในมหาสมุทรที่มีช่วงคลื่นยาวสมํ่าเสมอและยอด เรียบเคลื่อนตัวมาจากแหล่งกําเนิดที่อยู่ไกลมาก ชาวเรือถือเป็นสัญญาณ บอกเหตุว่าจะเกิดพายุ.
  27. ไซโคลน : [–โคฺลน] น. ชื่อพายุหมุนที่มีกําลังแรงจัด ทําให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย ทะเลอาหรับ และอ่าวเบงกอล มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. (อ. cyclone).
  28. ดีเปรสชัน : น. ชื่อพายุหมุนที่มีกําลังอ่อน ทําให้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนัก เกิดขึ้น ในละติจูดกลางหรือละติจูดสูง มีความเร็วลมสูงสุดใกล้บริเวณศูนย์กลาง ไม่เกิน ๓๓ นอต หรือ ๖๑ กิโลเมตรต่อชั่วโมง. (อ. depression).
  29. ทอร์นาโด : น. ชื่อพายุประจำถิ่นขนาดเล็ก แต่มีความรุนแรงมาก มีขนาดเส้น ผ่านศูนย์กลาง ๒-๓ กิโลเมตร บริเวณศูนย์กลางพายุมีความกด อากาศต่ำมาก จึงทำให้อากาศรอบนอกที่พัดเข้าหาศูนย์กลางพายุ มีความเร็วสูงมาก เมื่อเริ่มเกิดเมฆจะม้วนตัวเป็นรูปกรวยหรืองวง ยื่นออกมาจากฐานเมฆ ส่วนมากเกิดในบริเวณตอนกลางของ สหรัฐอเมริกาและทางตะวันตกของออสเตรเลีย, ลมงวง หรือ ลมงวงช้าง ก็เรียก. (อ. tornado).
  30. บังเกิด : ก. เกิด เช่น บังเกิดอุบัติเหตุ บังเกิดลมพายุ, ทําให้เกิด เช่น แม่บังเกิด เกล้า.
  31. ฝนห่าแก้ว : (ถิ่น–ปักษ์ใต้) น. ฝนลูกเห็บขนาดเล็ก เช่น ฝนห่าแก้วตก แล้วพ้นไป ฝนห่าใหญ่เทลงเทลง.
  32. พัด : น. เครื่องโบกหรือกระพือลม. ก. ปัดไป, โบก, กระพือ, เช่น เอา พัดมาพัดไฟ พายุพัดฝุ่นตลบ; หมุนอย่างใบพัดพัดลมหรือใบพัด เครื่องบิน.
  33. เพชรหึง ๑ : [เพ็ดชะ] น. ลมพายุใหญ่.
  34. มรสุม : [มอระสุม] น. คราว; คราวลม, คราวพายุ; ลมฝน; ชื่อพายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก, โดยปริยาย หมายถึงความยุ่งยากเดือดร้อนที่เกิดในบางช่วงชีวิต เช่น มรสุมชีวิต. (เทียบอาหรับ mausim).
  35. มรุต : น. เจ้าแห่งพายุ, เจ้าแห่งลม; เทวดาพวกหนึ่ง. (ส.).
  36. เยือก ๒ : ว. อาการที่ไหวน้อย ๆ เช่น พายุพัดเรือนไหวเยือก.
  37. ล่ม : ก. กิริยาที่ทรงตัวไม่อยู่ เอียงจนตะแคง คว่ำ หรือจม เช่น เรือล่ม เกวียนล่ม, ทำให้ตะแคง คว่ำ หรือจม เช่น ล่มเรือ; ได้รับความ เสียหายมากเพราะน้ำท่วมหรือพายุพัดเป็นต้น เช่น นาล่ม สวนล่ม โป๊ะล่ม; ไม่สำเร็จ, ไม่รอดฝั่ง, เช่น โครงการล่ม.
  38. ลมแดง : น. ลมพายุที่พัดแรงจัด ท้องฟ้ามีสีแดง.
  39. ลมมรสุม : น. (ภูมิ) ลมที่เกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่าง อุณหภูมิของพื้นดินกับพื้นน้ำ ในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดิน เย็นกว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือ พื้นน้ำจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงพัดเข้าไปแทนที่ทำ ให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป ส่วนในฤดูร้อนอุณหภูมิของพื้นดิน ร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร จึงทำให้เกิดลมพัดไปในทิศทางตรง กันข้าม, พายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก.
  40. ลมหอบ : น. ลมพายุที่พัดหอบเอาสิ่งต่าง ๆ ลอยไปได้ไกล ๆ.
  41. วาตภัย : [วาตะ] น. ภัยอันตรายที่เกิดจากพายุ.
  42. สงบ : [สะหฺงบ] ก. ระงับ เช่น สงบจิตสงบใจ สงบสติอารมณ์ สงบศึก, หยุดนิ่ง เช่น คลื่นลมสงบ พายุสงบ, กลับเป็นปรกติ เช่น เหตุการณ์ สงบแล้ว, ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น จิตใจสงบ, ไม่กำเริบ เช่น อาการ ไข้สงบลง ภูเขาไฟสงบ, ไม่วุ่นวาย เช่น บ้านเมืองสงบปราศจากโจร ผู้ร้าย.
  43. สลาตัน : [สะหฺลา] น. เรียกลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือในปลายฤดูฝนว่า ลมสลาตัน, เรียกลมพายุที่มี กําลังแรงจัดทุกชนิด เช่น ไต้ฝุ่น ไซโคลน ว่า ลมสลาตัน, โดยปริยาย ใช้เป็นความเปรียบเทียบหมายถึงอาการที่ไป มา หรือเกิดขึ้นรวดเร็ว อย่างลมสลาตัน เช่น เวลาเขาโกรธอย่างกับลมสลาตัน. (เทียบ ม. selatan ว่า ลมใต้).
  44. สวาท : [สะหฺวาด] น. ความรัก ความพอใจ หรือความยินดีในทางกามารมณ์ เช่น รสสวาท พายุสวาท ไฟสวาท. (ปาก) ก. รัก ยินดี หรือ พอใจ เป็นต้น (มักใช้ในเชิงปฏิเสธ) เช่น หน้าตาน่าสวาทนักนี่ คุณคิดว่า เขาสวาทคุณนักหรือ. (ส. สฺวาท ว่า รสอร่อย, รสหวาน).
  45. หัวด้วน ๑ : น. เรียกลมพายุที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนแล้วหายไปว่า ลมหัวด้วน.
  46. พายเรือคนละที : (สํา) ก. ทํางานไม่ประสานกัน.
  47. พายเรือทวนน้ำ : (สํา) ก. ทําด้วยความยากลําบาก.
  48. พายเรือในหนอง, พายเรือในอ่าง : (สํา) ก. คิด ทํา หรือพูดวกวน กลับไปกลับมา.
  49. วายุกูล : น. ไวกูณฐ์.
  50. วายุบุตรยาตรา : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-118

(0.1209 sec)