พิกุล : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Mimusops elengi L. ในวงศ์ Sapotaceae กลีบดอก จักแหลม กลิ่นหอมและหอมอยู่จนแห้ง ใช้ทํายาได้, พายัพเรียก แก้ว, ปักษ์ใต้เรียก กุล. (ป., ส. วกุล).
พิกุลป่า : ดู ตะเคียนเผือก.
ดอกพิกุลร่วง : (สํา) เรียกอาการที่นิ่งไม่พูดว่า กลัวดอกพิกุลจะร่วง.
กุล ๒ :
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นพิกุล. (ดู พิกุล).
แก้ว ๕ :
น. (๑) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดกลางชนิด Murraya paniculata (L.) Jack ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นตามป่าดิบ กิ่งก้านสีขาว ใบสีเขียวสด เป็นมัน ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้แข็งใส เหนียว มีลาย ใช้ทําด้ามมีด และไม้ถือ. (๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. นิยมกินดิบ ๆ หรือดอง. (๓) ส้มแก้ว. (ดู ส้ม๑). (๔) (ถิ่น-พายัพ) ต้นพิกุล. (ดู พิกุล).
ขอนดอก : น. ท่อนไม้ของต้นตะแบก พิกุล และบุนนาค ที่ผุราขึ้นเป็น จุดขาว ๆ มีกลิ่นหอม ใช้เป็นเครื่องยาไทย.
เกสรทั้งห้า : น. เกสรดอกไม้ ๕ ชนิด มี เกสรดอกพิกุล เกสรดอก บุนนาค เกสรดอกสารภี เกสรดอกบัวหลวง เกสรดอกมะลิ.
จตุทิพยคันธา : [-ทิบพะยะ-] น. กลิ่นทิพย์ ๔ ประการ คือ ดอกพิกุล ชะเอมเทศ มะกลํ่าเครือ ขิงแครง.
ตะเคียนเผือก : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Homalium grandiflorum Benth. var. grandiflorum ในวงศ์ Flacourtiaceae มักขึ้นริมนํ้าและที่ชุ่มชื้น ดอกคล้ายดอกพิกุล, ไก๊ หรือ พิกุลป่า ก็ เรียก.
ตันหยง : น. (๑) ดอกพิกุล. (จินดามณี). (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Caesalpinia coriaria (Jacq.) Willd. ในวงศ์ Leguminosae ดอกเล็ก สีขาว กลิ่นหอม.
พกุล : [กุน] (แบบ) น. ต้นพิกุล. (ส.).
พรู : ว. อาการที่เคลื่อนไหวมาพร้อม ๆ กันเป็นจํานวนมาก เช่น วิ่งพรูกัน เข้ามา, ร่วงลงมาพร้อมกันมาก ๆ เช่น ดอกพิกุลร่วงพรู.
พิกัน : น. ชื่อต้นไม้ ดอกหอมเหมือนพิกุล แต่ดอกใหญ่. (พจน. ๒๔๙๓).
ลายเฉลวโปร่ง : น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานสิ่งของ หลายอย่าง เช่น สานชะลอม สานกระเช้าตาดอกพิกุล มักสานด้วย ไม้ไผ่ จะสานด้วยตอกปื้นหรือตอกตะแคงก็ได้ มีลักษณะเป็นตา หกเหลี่ยม, ลายเฉลว ๖ มุม ก็เรียก.
วกุละ : [วะกุละ] น. ต้นพิกุล. (ป.; ส. พกุล, วกุล).
เอื้อนวาจา, เอื้อนโอฐ ๑ : (ปาก) ก. ออกปากพูด, พูดข้อความออกมา, มักใช้ในความหมายเชิงประชดประชัน เช่น กว่าจะเอื้อนโอฐออกมา ได้เหมือนกลัวดอกพิกุลจะร่วง.