Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พิด , then พด, พิด, วิด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พิด, 104 found, display 1-50
  1. พิทย, พิทย์, พิทยา : [พิดทะยะ, พิด, พิดทะยา] น. ความรู้. (ส. วิทฺยา; ป. วิชฺชา).
  2. วิด : ก. อาการที่ทําให้นํ้าพร่องหรือหมดไปด้วยวิธีวัก สาด หรือด้วย เครื่องวิดมีระหัดเป็นต้น เช่น วิดน้ำออกจากเรือ วิดน้ำออกจากบ้าน, ถ้าใช้วิธีอย่างเดียวกันนั้นถ่ายเทนํ้าจากที่หนึ่งเข้าสู่อีกที่หนึ่ง ใช้ว่า วิดเข้า เช่น วิดนํ้าเข้านา.
  3. พด : ว. คด, งอ, ขด.
  4. จุมพิต : [-พิด] ก. จูบ. (ป.; ส. จุมฺพิต ว่า จูบด้วยปาก).
  5. พิตร : [พิด] น. ทรัพย์, ของเครื่องปลื้มใจ. (ส., ป. วิตฺต).
  6. พิศ ๑ : [พิด] ก. เพ่งดู, แลดูโดยถี่ถ้วน.
  7. พิศ ๒ : [พิด] ว. ยี่สิบ. น. เรียกเหรียญทองครั้งรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่า เท่ากับ ๑ ใน ๒๐ ของชั่ง = ๔ บาท ว่า ทองพิศ. (ส. วึศ; ป. วีส).
  8. จตุรพิธพร : [-พิดทะพอน] น. พร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ, ใช้ในการให้พรขอให้มีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขกายสุขใจ และมีกําลังแข็งแรง.
  9. ตรีพิษจักร : [-พิดสะจัก] น. จักรพิษ ๓ อย่าง คือ กานพลู ผักชีล้อม ผลจันทน์เทศ.
  10. พิถย : [พิดถะยะ] น. วิถี.
  11. พิถยันดร : [พิดถะยันดอน] น. ระหว่างวิถี.
  12. พิศดู : [พิดสะดู] ก. พิจารณาดูให้รอบคอบ, พิจารณาดูให้ถี่ถ้วน.
  13. พิศวง : [พิดสะหฺวง] ก. แปลกใจ, หลากใจ, เช่น ทำให้พิศวง; สงสัย, สนเท่ห์, เช่น น่าพิศวง.
  14. พิศวาส : [พิดสะหฺวาด] ว. รักใคร่, สิเนหา, เช่น ไม่น่าพิศวาส. (ส. วิศฺวาส; ป. วิสฺสาส ว่า ความคุ้นเคย).
  15. พิษฐาน : [พิดสะถาน] ก. มุ่งหมาย, ขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อ ช่วยบันดาลให้ประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ตนมุ่งหมาย. (เลือนมาจาก อธิษฐาน).
  16. พิษนาศน์ ๑ : [พิดสะหฺนาด] น. ชื่อเครื่องยาไทยชนิดหนึ่ง. (ส. วิษนาศน).
  17. พิษ, พิษ : [พิด, พิดสะ] น. สิ่งที่ร้ายเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือให้ความ เดือดร้อนแก่จิตใจ; สิ่งที่ร้ายเป็นอันตราย เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทํา ให้ตาย เจ็บปวด หรือพิการได้ บางอย่างเกิดจากแร่ เช่นสารหนู, บางอย่างเกิดจากต้นไม้ เช่นต้นแสลงใจ, บางอย่างเกิดจากสัตว์ เช่นงู. (ส. วิษ; ป. วิส).
  18. พิษสมโยค : [พิดสะสมโยก] น. ชาดก้อน. (ส. วิษสมโยค).
  19. พิสดาร : [พิดสะดาน] ว. กว้างขวาง, ละเอียดลออ (ใช้แก่เนื้อความ) เช่น ประวัติศาสตร์ฉบับพิสดาร มีความพิสดารดังนี้; (ปาก) แปลกพิลึก เช่น เล่นพิสดาร. (ส. วิสฺตาร; ป. วิตฺถาร).
  20. พิสมร : [พิดสะหฺมอน] น. เครื่องรางชนิดหนึ่ง รูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม ร้อยสาย สําหรับป้องกันอันตราย.
  21. พิสมัย : [พิดสะไหฺม] น. ความรัก, ความปลื้มใจ, ความชื่นชม. ก. รักใคร่ หลงใหล เช่น ฉันไม่เห็นจะพิสมัยเธอเลย. ว. ควรชม. (ส. วิสฺมย; ป. วิมฺหย ว่า ความแปลกใจ).
  22. ตรีกาฬพิษ : [-กาละพิด, -กานละพิด] น. พิษกาฬ ๓ อย่าง คือ กระชาย รากข่า รากกะเพรา.
  23. ตรีพิธพรรณ : [ตฺรีพิดทะพัน] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง; ชื่อโคลง ๔ ประเภทหนึ่ง.
  24. นิพิท, นิเพท : [นิพิด, นิเพด] (แบบ) ก. ให้รู้ชัด, บอก. (ป. นิ + วิท).
  25. บพิตร : [บอพิด] (แบบ) น. พระองค์ท่าน เช่น บํารุงฤทัยตระโบม บพิตรผู้ อย่าดูเบา, โดยมากเป็นคําที่พระสงฆ์ใช้แก่เจ้านาย เช่น บรมวงศบพิตร.
  26. บพิธ : [บอพิด] ก. แต่ง, สร้าง. (ป. ป + วิ + ธา).
  27. บรมบพิตร : [บอรมมะบอพิด] น. คําที่พระสงฆ์ใช้สําหรับแทน พระนามพระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสี, เดิมใช้ว่า มหาบพิตร.
  28. มลพิษ : [มนละพิด] น. พิษเกิดจากความมัวหมองหรือความสกปรกของสิ่งแวดล้อม เช่น ในอากาศหรือในน้ำเป็นต้น; (กฎ) ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกากตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม ตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็น พิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และหมายความรวมถึงรังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิด มลพิษด้วย. (อ. pollution).
  29. มหาบพิตร : [-บอพิด] น. เดิมเป็นคําพระสงฆ์ใช้สําหรับแทนพระนามพระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสี, ปัจจุบันใช้ว่า บรมบพิตร หรือ สมเด็จบรมบพิตร.
  30. วิพิธทัศนา : [วิพิดทัดสะนา] น. การแสดงหลาย ๆ อย่างที่แสดงต่อเนื่อง ในสถานที่แสดงเดียวกัน.
  31. ศตภิษัช, สตภิสชะ : [พิสัด, พิดสะชะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๔ มี ๔ ดวง เห็นเป็นรูปทิมทองหรือมังกร, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์ ก็เรียก.
  32. สตภิสชะ, ศตภิษัช : [สะตะพิดชะ, สะตะพิสัด] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๔ มี ๔ ดวง เห็นเป็นรูป ทิมทองหรือมังกร, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์ ก็เรียก.
  33. วิดพื้น : (ปาก) น. ท่ากายบริหารอย่างหนึ่งมี ๒ แบบ แบบหนึ่งเริ่ม ด้วยท่านอนทอดตัวลงเกือบถึงพื้น มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้น ไว้ งอแขนให้ศอกแนบลำตัว หน้าเงย แล้วเหยียดแขนพร้อมกับ ยกตัวขึ้น แล้วงอแขนพร้อมทั้งลดตัวลงกลับไปอยู่ในท่าเดิม อีกแบบหนึ่งเริ่มด้วยท่านอน มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้นไว้ แขนเหยียดตรง หน้าเงย แล้วงอแขนให้ศอกแนบลำตัวพร้อมกับ ทอดตัวลงเกือบถึงพื้น แล้วเหยียดแขนพร้อมทั้งยกตัวขึ้นกลับไป อยู่ในท่าเดิม, เรียกเป็นทางการว่า ยุบข้อ.
  34. โพง : ก. ตัก, วิด, เช่น โพงน้ำ. น. ชงโลง; ภาชนะสําหรับตักนํ้าในบ่อ ลึก ๆ, ถ้ามีคันถ่วงเพื่อให้เบาแรงเวลาตักขึ้น คันนั้นเรียกว่า คันโพง; ผีชนิดหนึ่งกล่าวกันว่าชอบกินของสดคาว; เรียกแมวตัวผู้ขนาดใหญ่.
  35. โป่งวิด : น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Rostratula benghalensis ในวงศ์ Rostratulidae ลักษณะทั่วไปคล้ายนกปากซ่อม ตัวสีนํ้าตาลลาย ขอบและหางตาสีขาว ปากยาวแหลม ตัวเมียขนาดใหญ่และสีเข้ม สวยกว่าตัวผู้ อาศัยอยู่ตามท้องทุ่งที่แฉะ ๆ.
  36. กำพต : [-พด] น. ลูกศร เช่น พระเอาโอสถ ทาลูกกําพต พาดสายศิลปคือ พระอัคนี สมเด็จสี่มือ ดาลเดชระบือ ระเบิดบาดาล. (สุธน).
  37. โกวิท : [-วิด] (แบบ) ว. ฉลาด, ชํานิชํานาญ, รอบรู้ในการอันใดอันหนึ่ง, เช่น อัศวโกวิท ว่า ผู้มีความชํานาญในเรื่องม้า. (ป., ส.).
  38. จุมพฏ : [-พด] น. เสวียน; รัดเกล้า, เทริด; ของที่เป็นวง. (ป.).
  39. นววิธ : [วิด] ว. ๙ ประการ, ๙ อย่าง. (ป.).
  40. พจน, พจน์ ๑ : [พดจะนะ, พด] น. คําพูด, ถ้อยคํา. (ป. วจน).
  41. วิจฉิกะ : [วิด] น. แมงป่อง, มักใช้ว่า พฤศจิก. (ป.; ส. วฺฤศฺจิก).
  42. วิชชา : [วิด] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒.จุตูปปาตญาณ(รู้จักกําหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทํา อาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้า ในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกําหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
  43. วิชชุ, วิชชุดา, วิชชุตา : [วิด] น. แสงไฟฟ้า, สายฟ้า. (ป.; ส. วิทฺยุตฺ).
  44. พจนา : [พดจะ] น. การเปล่งวาจา, การพูด; คําพูด. (ป.).
  45. พจนารถ : [พดจะนาด] น. เนื้อความของคําพูด. (ส.).
  46. พจนีย์ : [พดจะนี] ว. ควรว่ากล่าว. น. คําติเตียน. (ส.).
  47. พจมาน : [พดจะมาน] น. คําพูด.
  48. พชระ : [พดชะระ] (กลอน) น. เพชร. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
  49. วิจยุต : [วิดจะยุด] ก. ตกไปแล้ว, หลุดไปแล้ว. (ส. วิจฺยุต).
  50. วิชชุลดา : [วิดชุละ] น. สายหรือประกายไฟฟ้า, สายฟ้าแลบ. (ป. วิชฺชุลฺลตา; ส. วิทฺยุลฺลตา); ''ชื่อกาพย์ประเภทหนึ่ง, คู่กับ มหาวิชชุลดา.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-104

(0.0611 sec)