พุง : น. ท้อง เช่น นอนตีพุง พุงปลิ้น, เรียกเครื่องในท้องของปลาบาง ชนิดรวมกัน มีกระเพาะและไส้เป็นต้น ว่า พุง เช่น พุงปลาช่อน.
พุงทะลาย : น. ชื่อเรียกผลของต้นสํารอง.
พุงพวง, พุงพ่วง : ว. พุงพลุ้ย.
หัวพุงหัวมัน : น. ส่วนที่มีพุงและมันซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่ดีในตัวปลา, โดยปริยายหมายความว่า ส่วนที่ดีที่สุดเยี่ยมที่สุดในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
เข้าพุง : (ปาก) ก. (โบ) จําได้แม่นยําจนไม่ต้องอาศัยตําราสอบทาน; ใช้ในความว่า ลืมความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาหมด ก็มี.
ท้องยุ้งพุงกระสอบ : (สํา) น. คนกินจุ. (ปาก) ว. ที่กินจุผิดปรกติ.
นอนตีพุง : (ปาก) ก. ได้ผลประโยชน์โดยไม่ต้องทําอะไร; สบายใจ, หมดกังวล.
ย้าย : ก. เปลี่ยนที่ เช่น ย้ายเก้าอี้ไปไว้มุมห้อง. ว. อาการที่ร่างกายบางส่วนเช่น พุง เอว เคลื่อนไหวไปมาข้างโน้นทีข้างนี้ทีตามจังหวะขณะเดินเป็นต้น (มักใช้แก่คนอ้วน) เช่น เดินย้ายพุง เดินย้ายเอว.
กุศราช : [กุดสะหฺราด, กุดสะราด] น. ผ้าโบราณชนิดหนึ่ง มีดอกคล้ายผ้าลาย เนื้อหยาบหนา เช่น คลี่ผ้ากุศราชออกคาดพุง. (สังข์ทอง).
เกี้ยว ๑ : น. เครื่องประดับลักษณะเป็นวงคล้ายพวงมาลัยสําหรับสวมจุก, ราชาศัพท์ว่า พระเกี้ยว; เครื่องประดับที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เกี้ยวลอมพอก เกี้ยวชฎา; ผ้าคาดพุงสำหรับขุนนาง เรียกว่า ผ้าเกี้ยว เช่น เกี้ยวลาย คือผ้าคาดพุงที่มีลาย (บางทีเข้าใจกันว่าเป็นผ้านุ่ง อย่างหนึ่ง) .ก. รัด, พันแน่น, ติดแน่น, เช่น เพราะประพฤติมันเกี้ยว เกี่ยงร้ายแกมดี. (โลกนิติ); พูดให้รักในเชิงชู้สาว, พูดแทะโลม, พูดเลียบเคียงเพื่อให้สมปรารถนา.
ขาวม้า : น. ชื่อเรียกผ้าฝ้ายทอเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มักมีลายตาหมากรุก ใช้ผลัดอาบนํ้าหรือเคียนพุงเป็นต้น เรียกว่า ผ้าขาวม้า, (ปาก) ผ้าขะม้า.
แขย่ง : [ขะแหฺย่ง] ว. แขย็ก ๆ, อาการที่ปีนขยับขึ้นไปทีละน้อย ๆ ขึ้นไปได้ ไม่สะดวก, เช่น ผ้าคาดพุงผูกพันขยันตะแบง แขย่งเข่นฆ่าพร้าขัดเอว. (ม. ร่ายยาว ชูชก), มักใช้พูดเข้าคู่กับคํา เขย้อ เป็น เขย้อแขย่ง.
คาด ๑ : ก. พันโดยรอบแล้วทําอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นผูกหรือกลัดเป็นต้นเพื่อ ไม่ให้หลุด เช่น เอาผ้าคาดพุง คาดเตี่ยวใบตอง คาดเข็มขัด, พาดเป็น ทางยาวไป เช่น พื้นขาวคาดแดง.
เคียน : ก. พัน, คาด, เช่น ผ้าขาวม้าเคียนพุง.
จระแคง : [จะระ-] (กลอน) ว. ตะแคง เช่น เท้าล้มจระแคง ทลายพุงพัง. (สุธนู).
ท้อง : น. ส่วนของร่างกายด้านหน้า ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา มีสะดือ อยู่ตรงกลาง มีกระเพาะและไส้พุงอยู่ภายใน; ครรภ์ เช่น น้องร่วมท้อง; พื้นที่หรือบริเวณที่กว้างใหญ่ เช่น ท้องนํ้า ท้องฟ้า ท้องทุ่ง ท้องไร่ ท้องนา ท้องถนน; ส่วนที่มีลักษณะโค้ง เช่น ท้องแขน ท้องน่อง ท้องเรือ
ทำปลา : ก. ทําปลาให้สะอาดด้วยการขอดเกล็ด ผ่าท้องเอาไส้พุง ออกเป็นต้นให้เหมาะแก่การปรุงอาหาร.
ทิ่ม : ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาว ๆ หรือแหลม ๆ กระแทกโดยแรง เช่น เอามีดทิ่มพุง เอานิ้วทิ่มตา.
ปลิ้น : [ปฺลิ้น] ก. กลับข้างในบางส่วนให้โผล่ออกมา เช่น ปลิ้นตา, โผล่ยื่น หรือทําให้โผล่ยื่นออกมาจากสิ่งที่มีอะไรห่อหุ้มอยู่ เช่น พุงปลิ้น ตาปลิ้น; (ปาก) ลักลอบหรือหลอกลวงเอาไปซึ่งหน้า เช่น ปลิ้นเอาเงินไป.
ป่อง ๒ : ว. ตุงเป็นกระพุ้งออกมา เช่น พุงป่อง.
ปอบ : น. ผีชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าสิงอยู่ในตัวคน กินตับไตไส้พุงจนหมด แล้วออกไป คนนั้นก็ตาย.
ผ้าขาวม้า : น. ผ้าฝ้ายทอเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มักมีลายตาหมากรุก ใช้ผลัดอาบน้ำหรือเคียนพุงเป็นต้น, (ปาก) ผ้าขะม้า.
ผีปอบ : น. ผีชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าสิงอยู่ในตัวคน กินตับไตไส้พุง จนหมดแล้วออกไป คนนั้นก็ตาย.
พง ๑ : น. ดงหญ้าหรือดงไม้ที่เป็นหมู่ ๆ หรือที่รก ๆ เช่น ป่าดงพงพี รกเป็นพง.
พลุ้ย : [พฺลุ้ย] ว. ยุ้ย, ยื่นออกมาอย่างท้องคนอ้วน, เช่น ท้องพลุ้ย พุงพลุ้ย.
พุงโร : น. พุงโตด้วยเป็นโรค.
มันเปลว : น. มันที่ติดอยู่ที่พุงและลำไส้.
ยี่โป้ : น. ผ้าสำหรับพาดไหล่ หรือคาดพุง.
ยื่น : ก. กิริยาหรืออาการที่เหยียดหรือเหลื่อมลํ้าออกไป เช่น ยื่นมือ ยื่นซอง มุข ยื่นออกจากตัวอาคาร; เสนอ, ส่ง, มอบ, เช่น ยื่นเรื่องราว ยื่นบัญชี ยื่นฟ้อง; โดยปริยายหมายถึงกิริยาของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขาไม่ต้องการ ให้พูดให้ทําว่า ยื่นปาก ยื่นหน้า. ว. เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คางยื่น พุงยื่น.
ยุบ : ก. ทรุด เช่น ดั้งจมูกยุบ, บุบเข้าไป เช่น หัวกะโหลกยุบ หน้าหม้อรถยนต์ ยุบ, ลด, ลดลง, เช่น พุงยุบ ฝียุบ, เรียกจังหวะรำของโขนละครเมื่อทำตัว ให้เตี้ยลงหลังจากยืดตัวขึ้นก่อนแล้ว; เลิก, ยกเลิก, เช่น ยุบกระทรวง ยุบ ตำแหน่ง; ทำให้หลอมละลายเพื่อทำให้เป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น ยุบกำไล ทำแหวน.
ยุ้ย : ว. ยื่นโป่งออกมาอย่างน่ารักน่าเอ็นดู เช่น แก้มยุ้ย เด็กพุงยุ้ย.
โย้ : ว. เอนเพราะไม่ตั้งตรงทรงตัวตามธรรมดาที่ควรเป็น เช่น เรือนโย้ เขียน หนังสือโย้; ยื่นออกกว่าปรกติ เช่น ท้องโย้ พุงโย้.
ลงพุง : ว. มีพุงพลุ้ยหรือยื่นออกมา.
หมดพุง, หมดไส้หมดพุง : ว. หมดความรู้ เช่น ครูสอนศิษย์จนหมดพุง; อาการที่เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น สารภาพจนหมดไส้หมดพุง, สิ้นไส้สิ้นพุง ก็ว่า.
หมดไส้หมดพุง : ว. หมดความรู้ เช่น ครูสอนศิษย์จนหมดพุง; อาการที่ เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น สารภาพจนหมดไส้หมดพุง, สิ้นไส้ สิ้นพุง ก็ว่า.
หลาม ๒ : ก. เอาของใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วเผาไฟให้สุก เช่น หลามข้าว, เรียก ข้าวเหนียวที่บรรจุในกระบอกไม้ไผ่แล้วเผาให้สุกว่า ข้าวหลาม; ล้นแผ่ เลยออกมา เช่น คนไปฟังปาฐกถาล้นหลามออกมานอกห้อง, โดยปริยาย หมายความว่า ใหญ่เกินพอดี เช่น พุงหลาม.
พน, พน : [พน, พะนะ] น. ป่า, พง, ดง. (ป., ส. วน).
พนัส, พนัส : [พะนัด, พะนัดสะ] น. ป่า, พง, ดง. (มาจาก พน แต่เพิ่มตัว ส เพื่อ ความสะดวกในการสนธิ). (ส. วนสฺ; ป. วน).
พนา : น. ป่า, พง, ดง, (มาจาก พน เติมสระอา เช่น พนาดร = ป่าสูง พนาสณฑ์, พนาสัณฑ์ = แนวป่า, ราวป่า).
พึ่ง ๒ : ว. คําช่วยกริยาหมายถึงเวลาที่ล่วงไปหยก ๆ ในขณะที่พูดนั้น เช่น เขาพึ่งไป, เพิ่งก็ว่า; ใช้ประกอบหลังคำ อย่า เป็น อย่าพึ่ง หมายความ ว่า ห้ามไม่ให้กระทำในขณะนั้น เช่น อย่าพึ่งไป อย่าพึ่งกิน, เพิ่ง เพิก หรือ เพ่อ ก็ว่า.
เพิ่ง :
ว. พึ่ง. (ดู พึ่ง๒).
แพ่ง : น. แรง, กําลัง; ทาง, แพร่ง. ก. สร้าง; เพ่ง, ตรวจดู, พิจารณา. ว. งาม, น่าดูมาก; (กฎ) ที่เกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง คดีแพ่ง.
หักร้างถางพง : ก. ฟันป่าพงลงให้เตียน.
เข้ารกเข้าพง : (สํา) ก. พูดหรือทําไม่ถูกต้องกับเรื่อง เพราะขาดความ ชํานาญในเรื่องนั้น.
พึ่ง ๑ : ก. อาศัย เช่น พึ่งบารมีคนอื่น, พักพิง เช่น ไปพึ่งเขาอยู่, ขอความ ช่วยเหลือ เช่น หนีร้อนมาพึ่งเย็น.
พุ่ง : ก. ซัดไป เช่น พุ่งหอก พุ่งกระสวย, อาการที่ปล่อยออกไปโดยเร็ว เช่น พุ่งตัว พุ่งหมัด, มุ่งตรงไป เช่น พุ่งความสนใจ, อาการที่น้ำ หรือไฟพวยพุ่งออกไป เช่น น้ำพุ่ง แสงไฟฉายพุ่งเป็นลำออกไป; (ปาก) สุ่ม ๆ เช่น พูดพุ่งไป.
เพ่ง : ก. จ้องดู, เล็งดู, (ใช้แก่ตา) เช่น เพ่งสายตา เพ่งหนังสือ; มุ่งเฉพาะ อารมณ์ภายใน (ทางใจ) เช่น เพ่งกสิณ; เจาะจง.
แขม ๑ : [แขมฺ] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Saccharum arundinaceum Retz. ในวงศ์ Gramineae มักขึ้นตามชายนํ้า ชายป่า และชายเขาที่ชุ่มชื้น, พง ก็เรียก.
พงศ, พงศ์ : [พงสะ, พง] น. เชื้อสาย, เทือกเถา, เหล่ากอ, สกุล. (ส.; ป. วํส).