พุด : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Gardenia วงศ์ Rubiaceae เช่น พุด หรือ ข่อยด่าน (G. collinsae Craib) ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้ละเอียด สีนวล ใช้แกะสลัก, พุดจีน หรือ พุดซ้อน (G. jasminoides Ellis) ดอกสีขาว กลิ่นหอม พันธุ์กลีบดอกซ้อน ไม่ติดผล พันธุ์กลีบดอกไม่ซ้อนผลใช้แต่งสีให้สีเหลือง. (๒) ชื่อ ไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Taberneamontana วงศ์ Apocynaceae เช่น พุดจีบ หรือ พุดสวน [T. divaricata (L.) Roem. et Schult.] ดอกสีขาว ใช้ดอกตูมร้อยพวงมาลัย.
กำพุด : ดู จุมพรวด.
พด : ว. คด, งอ, ขด.
พูด : ก. เปล่งเสียงออกเป็นถ้อยคํา, พูดจา ก็ว่า.
วุด : ก. เป่าชุดให้ไฟลุก, ฮุด ก็ว่า.
จตุรภุช : [-พุด] ว. ''ผู้มี ๔ แขน'' คือ พระนารายณ์.
ภุต : [พุด] ว. ซึ่งกินแล้ว, ซึ่งครองแล้ว. (ป. ภุตฺต; ส. ภุกฺต).
ภุส : [พุด] น. ข้าวลีบ, แกลบ. (ป.; ส. พุส). ว. กล้า, ยิ่ง, มาก. (ส. ภฺฤศ).
จีบ ๒ :
น. พุดจีบ. [ดู พุด(๒)].
พุฒิ : [พุดทิ] น. ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์. (ป. วุฑฺฒิ).
พุทธชาด : [พุดทะ] น. ชื่อไม้เถาชนิด Jasminum auriculatum Vahl ในวงศ์ Oleaceae ดอกสีขาวกลิ่นหอม, บุหงาประหงัน ก็เรียก.
พุทธ, พุทธ, พุทธะ : [พุด, พุดทะ] น. ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว, ใช้เฉพาะเป็น พระนามของพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา เรียกเป็นสามัญ ว่า พระพุทธเจ้า. (ป.).
พุทธมามกะ : [พุดทะมามะกะ] น. ผู้ประกาศตนว่าพระพุทธเจ้า เป็นพระบรมศาสดา ของตน, ผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือ พระพุทธศาสนา.
พุทธรักษา : [พุดทะ] น. ชื่อไม้ล้มลุกมีเหง้าหลายชนิดในสกุล Canna วงศ์ Cannaceae ขึ้นเป็นกอ ดอกสีต่าง ๆ.
พุทธศักราช : [พุดทะสักกะหฺราด] น. ปีนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จ ปรินิพพานมา.
พุทธศาสนิกชน : [พุดทะสาสะนิกกะชน] น. ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา.
พุทธิ : [พุดทิ] น. ปัญญา, ความฉลาด. (ป.).
พุทธุปบาทกาล : [พุดทุบบาดทะกาน] น. ช่วงเวลาที่มีพระพุทธเจ้า เกิดขึ้นในโลก. (ป.).
พุทรา : [พุดซา] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Ziziphus mauritiana Lam. ในวงศ์ Rhamnaceae กิ่งมีหนาม ผลมีทั้งกลมและรี, พายัพและอีสาน เรียก กะทัน ทัน หรือ หมากทัน. (ป., ส. พทร).
ภุช ๑, ภุช : [พุด, พุชะ] น. แขน; งวงช้าง. (ป., ส.).
ภุช ๒, ภุชะ : [พุด, พุชะ] ก. กิน. (ป., ส.).
ข้าพระพุทธเจ้า : [ข้าพฺระพุดทะเจ้า] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคม ทูลพระเจ้าแผ่นดินหรือกราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
กัมพุช ๑, กัมพุช- : [กําพุด, กําพุดชะ-] น. แคว้นเขมร, (โบ) ชื่อแคว้นหนึ่งทาง ตอนเหนือของอินเดีย, กัมโพช ก็ใช้.
จุมพรวด : น. ชื่อปลาน้ำกร่อยหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Periophthalmidae เช่น สกุล Boleophthalmus, Pseudapocryptes, Parapocryptes ชนิด B. boddarti พบตามหาดเลนหรือชายฝั่งทะเล รูปร่างและพฤติกรรม ในการเคลื่อนไหวคล้ายปลากระจัง, กำพวด กำพุด ตีน หรือ ตุมพรวด ก็เรียก.
ที่นั่ง : (ราชา) น. อาคารที่ประทับซึ่งตามปรกติอยู่ในพระราชวัง เช่น พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งอัมพรสถาน, อาคารที่เสด็จออกมหา สมาคม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวโรภาสพิมาน (บางปะอิน), ที่ ประทับสําหรับประทับบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ พระที่นั่งภัทรบิฐ, ยานที่ ประทับในการเสด็จพระราชดําเนินโดยขบวนแห่ทางบก เช่น พระที่นั่งพุดตานทอง พระที่นั่งราเชนทรยาน, ยานหรือพาหนะที่ พระเจ้าแผ่นดินและพระราชินีทรงหรือประทับ เช่น รถพระที่นั่ง ม้าพระที่นั่ง; ก้น, ที่นั่งทับ, ใช้ว่า พระที่นั่ง.
นิรัพพุท : [รับพุด] น. สังขยาจํานวนสูง เท่ากับ ๑ มี ๐ ตามหลัง ๖๓ ตัว บ้างว่า ๑๐๐ ล้าน. (ป.).
บทามพุช : [บะทามะพุด] (แบบ) น. บัวบาท, เท้า, เช่น ทูลพระ บทามพุช. (ยวนพ่าย). (ป. ปท + อมฺพุช).
ลพุช, ลาพุช : [ละพุด, ลาพุด] น. มะหาด. (ป.).
ลา ๕ : ว. มีกลีบชั้นเดียว, ไม่ซ้อน, (ใช้แก่ดอกไม้) เช่น มะลิลา พุดลา รักลา.
ส่งดอก : ก. อาการที่ใช้เข็มร้อยก้านดอกไม้เช่นดอกพุด ดอกมะลิ ให้แต่ละ ดอกยื่นยาวจากเข็มได้ระยะเสมอกัน; นําดอกเบี้ยไปส่งให้, ชําระดอกเบี้ย.
อัมพุช : [อําพุด] น. ''เกิดในนํ้า'' หมายถึง บัว; ปลา. (ป., ส.).
พจน, พจน์ ๑ : [พดจะนะ, พด] น. คําพูด, ถ้อยคํา. (ป. วจน).
พจนา : [พดจะ] น. การเปล่งวาจา, การพูด; คําพูด. (ป.).
พจนารถ : [พดจะนาด] น. เนื้อความของคําพูด. (ส.).
พจมาน : [พดจะมาน] น. คําพูด.
พูดคล่องเหมือนล่องน้ำ : (สํา) ก. พูดไม่ติดขัด เช่น สารพัดพูดคล่อง เหมือนล่องนํ้า. (ไกรทอง), พูดคล่องเป็นล่องนํ้า ก็ว่า.
พูดจนลิงหลับ : (ปาก) ก. พูดจนผู้ฟังเคลิบเคลิ้มไปตาม.
พูดจริงทำจริง : ก. ทําได้อย่างที่พูดไว้, รักษาคําพูด.
พูดดีเป็นศรีแก่ปาก : (สํา) น. พูดดีเป็นที่นิยมชมชอบ.
พูดเป็นต่อยหอย : (สํา) ก. พูดฉอด ๆ ไม่หยุดปาก.
พูดเป็นนัย : (สํา) ก. พูดอ้อม ๆ โดยไม่บอกเรื่องราวตรง ๆ.
พูดเป็นน้ำไหลไฟดับ, พูดเป็นไฟ : ก. พูดคล่องเหลือเกิน.
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง : (สํา) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า.
พูดสด : ก. พูดโดยมิได้เตรียมมาก่อน.
พูดอย่างมะนาวไม่มีน้ำ : (สํา) ก. พูดห้วน ๆ.
กระพอก ๒ : ก. พรอก, พูด, เช่น ฟังเสียงกากระพอก บอกข่าวท้าวเสด็จดล. (ลอ).
กล่าว : [กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคําเท็จ; แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข. (อิเหนา); สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้. (อิเหนา); แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คํานี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์.
ขาน ๑ : ก. กล่าว, เรียก, เอ่ย, พูด, ตอบ, เช่น ขานรับ ขานยาม.
จับเข่าคุยกัน, จับหัวเข่าพูด : (ปาก) ก. พูดปรับความเข้าใจกันอย่างใกล้ชิด.
จับหัวเข่าพูด, จับเข่าคุยกัน : (ปาก) ก. พูดปรับความเข้าใจกันอย่างใกล้ชิด.