พุทธ, พุทธ, พุทธะ : [พุด, พุดทะ] น. ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว, ใช้เฉพาะเป็น พระนามของพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา เรียกเป็นสามัญ ว่า พระพุทธเจ้า. (ป.).
ศตวรรษ, ศตพรรษ : [สะตะวัด, พัด] น. รอบ ๑๐๐ ปี. (ส.).
พุทธังกูร, พุทธางกูร :
ดู พุทธ, พุทธ, พุทธะ.
พุทธฎีกา : น. ถ้อยคําของพระพุทธเจ้า; (โบ) ถ้อยคําของสมเด็จ พระสังฆราช. (จารึกสยาม). (ป.).
พุทธตันตระ : น. นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่ง เกิดขึ้นจากการนําหลักพิธีกรรมของฮินดูตันตระมาผสมกับหลัก ปรัชญาปารมิตาของนิกายมาธยมิกะหรือศูนยวาท.
พุทธองค์ : ส. หมายถึงองค์พระพุทธเจ้า ใช้ว่า พระพุทธองค์.
พุทธาภิเษก : น. ชื่อพิธีในการปลุกเสกพระพุทธรูปหรือวัตถุมงคล โดยมีพระเถระผู้เชี่ยวชาญในการทำสมาธิจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า คณะปรก นั่งภาวนาส่งกระแสจิตเพ่งคุณพระรัตนตรัยเข้าไปสู่องค์ พระหรือวัตถุมงคลนั้น ๆ.
ยิปซี : น. ชนเผ่าเร่ร่อน เชื้อสายคอเคซอยด์ ผิวคลํ้า เดิมอาศัยอยู่ในอินเดีย เข้า ไปเร่ร่อนในยุโรปประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙๒๐ ดํารงชีพด้วยการ เล่นดนตรี ค้าม้า ทํานายโชคชะตา เป็นต้น. (อ. gypsy, gipsy).
อะหม : น. ชนชาติไทยใหญ่สาขาหนึ่ง ที่เข้าไปอยู่ในแคว้นอัสสัม ประเทศ อินเดียเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘, อาหม ก็ว่า.
อาหม : [หมฺ] น. ชนชาติไทยใหญ่สาขาหนึ่ง ที่เข้าไปอยู่ในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘, อะหม ก็ว่า.
คริสต์ศตวรรษ : น. รอบ ๑๐๐ ปี นับตั้งแต่วันสมภพของพระเยซู.
พุทธังกูร, พุทธางกูร : น. หน่อพระพุทธเจ้า คือผู้ที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้า ในภายภาคหน้า. (ป.).
อันดร : [ดอน] น. ภายใน, ระหว่าง, มักใช้เข้าสนธิกับคําอื่น เป็นส่วนท้าย ของคําสมาส เช่น พุทธ + อันดร = พุทธันดร นิร + อันดร = นิรันดร. (ป., ส. อนฺตร).
อาวาส : [วาด] น. วัด เช่น เจ้าอาวาส ที่อยู่ เช่น พุทธาวาส (พุทธ + อาวาส) คือ ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หมายถึง โบสถ์ วิหาร สังฆาวาส (สังฆ + อาวาส) คือ ที่อยู่ของพระสงฆ์; ผู้ครอบครอง เช่น ฆราวาส (ฆร + อาวาส) คือ ผู้ครอบครองเรือน หรือผู้อยู่ครองเรือน. (ป., ส.).
อุบาท, อุปบาท : [อุบาด, อุบบาด] น. การบังเกิด, กําเนิด, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น พุทธุบาท (พุทธ + อุบาท), พุทธุปบาท (พุทธ + อุปบาท). (ป. อุปฺปาท; ส. อุตฺปาท).
ทักษิณาจาร : น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่งนับเนื่องในนิกายหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบขวาหรือฝ่ายขวา มีพิธีกรรมเปิดเผย ไม่มีลามกอนาจาร, คู่กับ วามาจาร, ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักปฏิบัติทํานองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์ โดยถือ พระไวโรจนพุทธะแทนพรหมัน. (ส.).
กษัยเลือด : น. กษัยเนื่องจากเลือด น้ำเหลือง และเสมหะเป็นพิษ. [กะสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์, เงินตราที่ทําด้วยโลหะ, ตําลึง (= ๒๐ มาสก) เช่น ได้ถึงร้อยกษาปณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก). [กะสิดิ, กะสีดิ] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร),. อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่า พระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร). (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์). [กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว). [กะสีระ] (แบบ) น. น้ำนม เช่น กษีรสุทธมฤธู. (เสือโค). (ส.).
กษีณาศรพ : [กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว).
เกษตร : [กะเสด] น. ที่ดิน, ทุ่ง, นา, ไร่; (โบ) แดน เช่น พุทธเกษตร. (ส. เกฺษตฺร; ป. เขตฺต).
ขัดสมาธิ : [ขัดสะหฺมาด] ว. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอา ขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, ถ้าเอาขาซ้อนทับกันเรียกว่า ขัดสมาธิสองชั้น, ถ้าเอาขาขวาทับขาซ้าย เรียกว่า ขัดสมาธิราบ, ถ้าเอาฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้างขึ้น ข้างบน เรียกว่า ขัดสมาธิเพชร, ขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชรนั้น เป็น ท่าพระพุทธรูปนั่ง. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถ นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวา ทับพระหัตถ์ซ้าย.
โคจร, โคจร- : [-จอน, -จะระ-] น. อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร. (ป., ส.). ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน, คํานี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อ ว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกัน เป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. (ป., ส. โคจร ว่า การเที่ยวไป ของดวงอาทิตย์).
จตุบริษัท : น. บริษัท ๔ เหล่า, ถ้าเป็นพุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา, ถ้าเป็นราชบริษัทหรือประชุมชนทั่วไป ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ. (ป.).
จริต : [จะหฺริด] น. ความประพฤติ, กิริยาหรืออาการ, เช่น พุทธจริต เสียจริต วิกลจริต, บางทีใช้ในทางไม่ดี เช่น ดัดจริต มีจริต, จริตจะก้าน ก็ว่า. (ป.).
ชมรม : น. ที่พักชั่วคราวของกลุ่มบุคคล; ที่ประชุมของกลุ่มบุคคลที่มี จุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน เช่น ชมรม นักวรรณศิลป์ ชมรมพุทธศาสตร์, โชมโรม ก็ว่า.
ชาว : น. กลุ่มชนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน เช่น ชาวไทย ชาวจีน หรือ อยู่ในถิ่นฐานเดียวกัน เช่น ชาวเมือง ชาวชนบท หรือมี อาชีพอย่างเดียวกัน เช่น ชาวไร่ชาวนา ชาวประมง หรือ นับถือศาสนาร่วมกัน เช่น ชาวพุทธ ชาวคริสต์.
โชมโรม : น. ที่พักชั่วคราวของกลุ่มบุคคล; ที่ประชุมของกลุ่มบุคคล ที่มีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน เช่น โชมโรมนักวรรณศิลป์ โชมโรมพุทธศาสตร์; ชมรม ก็ว่า.
ตะขาบ ๓ : น. เครื่องตีบอกจังหวะ; ไม้ไผ่ที่ผ่าขังปล้องแขวนไว้ตามยอดไม้สําหรับชัก ให้มีเสียงดังเพื่อไล่ค้างคาวเป็นต้น และที่พวกตลกลิเกละครเป็นต้นใช้ตี กันเล่น, จะขาบ ก็เรียก; ธงชนิดหนึ่งทําด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกัน ไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทําให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาด กว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา.
เถรวาท : [เถระวาด] น. ลัทธิที่ถือตามคติซึ่งพระเถระพุทธสาวกได้ทํา สังคายนาไว้, หินยาน หรือ ทักษิณนิกาย ก็ว่า. (ป.).
ทำวัตร : ก. กระทํากิจที่พึงกระทําตามหน้าที่หรือธรรมเนียมเช่น ไหว้พระสวดมนต์เช้าคํ่าของพุทธบริษัท, ทําวัตรพระ ก็ว่า; ทําสามีจิกรรมตามธรรมเนียมของพระเณร.
ทุกพาย : (โบ) ว. ทุกแห่ง เช่น กระทำพุทธประติมาทุกแห่งทุกพาย. (จารึกวัดศรีชุม).
ธงตะขาบ : น. ธงชนิดหนึ่งทำด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกันไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทำให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาดกว้างยาวตาม ต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา. (รูปภาพ ธงตะขาบ)
ธาตุ ๒ : [ทาด, ทาตุ] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระ อรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของ พระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูก ของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของ พระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคํานั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่นอีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.
บริษัท : [บอริสัด] น. หมู่, คณะ, เช่น พุทธบริษัท, ที่ประชุม เช่น จะพูดอย่างไร ต้องดูบริษัทเสียก่อน. (ส. ปริษทฺ; ป. ปริสา).
บัญญัติ : [บันหฺยัด] น. ข้อความที่ตราหรือกําหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็น หลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ
บาลี : น. ภาษาที่ใช้เป็นหลักในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท; คัมภีร์ พระไตรปิฎก, พุทธพจน์, เรียกว่า พระบาลี. (ป., ส. ปาลิ).
ปรก ๒ : [ปฺรก] น. เรียกผู้นั่งภาวนาในพิธีปลุกเสก เช่น ในพิธีพุทธาภิเษก ว่า คณะปรก.
ปัจเจกโพธิ : [ปัดเจกกะโพด] น. ความตรัสรู้เฉพาะตัว คือ ความตรัสรู้ ของพระปัจเจกพุทธเจ้า. (ป.).
ปัญจวัคคีย์ : น. พวก ๕ คน เป็นคําเรียกพระสงฆ์ ๕ รูป มีพระ อัญญาโกณฑัญญะเป็นต้น ที่ตามพระพุทธเจ้าออกบวช และ ได้เป็นพระอรหันต์ก่อนพวกอื่น. (ป.).
ปาติโมกข์ : น. คัมภีร์ว่าด้วยวินัยของสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ, ชื่อบาลีที่ประมวล พุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา ได้แก่ อาทิพรหม จริยกาสิกขา มีพระพุทธานุญาตให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกวัน อุโบสถ. (ป.).
ปาพจน์ : น. คําเป็นประธาน, พุทธวจนะ, คําบาลี. (ป. ปาวจน).
พระเจ้าห้าพระองค์ ๑ : น. เรียกคาถา นโมพุทธายะ ว่า คาถาพระเจ้าห้าพระองค์.
โพธิบัลลังก์ : น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้, รัตนบัลลังก์ หรือ วัชรอาสน์ ก็ว่า. (ป. โพธิปลฺลงฺก).
ภูมิอากาศ : น. อากาศประจำถิ่น, ลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคแห่งใด แห่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งอาจเป็นเดือน เป็นปีหรือเป็นศตวรรษ ก็ได้.
รักขิต : ก. ระวัง, ดูแล, รักษา, (มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส) เช่น พุทธรักขิต ญาณรักขิต. (ป.).
รัตนบัลลังก์ : น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้, โพธิบัลลังก์ หรือ วัชรอาสน์ ก็ว่า.
ลีลา : น. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย, เช่น พุทธลีลา; ชื่อ พระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาท ขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าว เพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้าย ยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี; ท่วงทำนอง เช่น ลีลาการพูด ลีลาการเขียน; การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะ แก่ข้อความของเรื่อง เช่น ลีลาการประพันธ์. (ป., ส. ลีลา).