Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พุทธ , then พทธ, พุทธ, พุทฺธ, พุทธะ, พุทธา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พุทธ, 66 found, display 1-50
  1. พุทธ, พุทธ, พุทธ : [พุด, พุดทะ] น. ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว, ใช้เฉพาะเป็น พระนามของพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา เรียกเป็นสามัญ ว่า พระพุทธเจ้า. (ป.).
  2. พุทธาภิเษก : ดู พุทธ, พุทธ, พุทธะ.
  3. พุทธังกูร, พุทธางกูร : ดู พุทธ, พุทธ, พุทธะ.
  4. พุทธฎีกา : น. ถ้อยคําของพระพุทธเจ้า; (โบ) ถ้อยคําของสมเด็จ พระสังฆราช. (จารึกสยาม). (ป.).
  5. พุทธตันตระ : น. นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่ง เกิดขึ้นจากการนําหลักพิธีกรรมของฮินดูตันตระมาผสมกับหลัก ปรัชญาปารมิตาของนิกายมาธยมิกะหรือศูนยวาท.
  6. พุทธองค์ : ส. หมายถึงองค์พระพุทธเจ้า ใช้ว่า พระพุทธองค์.
  7. พุทธาภิเษก : น. ชื่อพิธีในการปลุกเสกพระพุทธรูปหรือวัตถุมงคล โดยมีพระเถระผู้เชี่ยวชาญในการทำสมาธิจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า คณะปรก นั่งภาวนาส่งกระแสจิตเพ่งคุณพระรัตนตรัยเข้าไปสู่องค์ พระหรือวัตถุมงคลนั้น ๆ.
  8. พุทธันดร : ดู พุทธ, พุทธ, พุทธะ.
  9. พุทธาวาส : ดู พุทธ, พุทธ, พุทธะ.
  10. พุทธุปบาทกาล : ดู พุทธ, พุทธ, พุทธะ.
  11. พุทธังกูร, พุทธางกูร : น. หน่อพระพุทธเจ้า คือผู้ที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้า ในภายภาคหน้า. (ป.).
  12. อันดร : [ดอน] น. ภายใน, ระหว่าง, มักใช้เข้าสนธิกับคําอื่น เป็นส่วนท้าย ของคําสมาส เช่น พุทธ + อันดร = พุทธันดร นิร + อันดร = นิรันดร. (ป., ส. อนฺตร).
  13. อาวาส : [วาด] น. วัด เช่น เจ้าอาวาส ที่อยู่ เช่น พุทธาวาส (พุทธ + อาวาส) คือ ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หมายถึง โบสถ์ วิหาร สังฆาวาส (สังฆ + อาวาส) คือ ที่อยู่ของพระสงฆ์; ผู้ครอบครอง เช่น ฆราวาส (ฆร + อาวาส) คือ ผู้ครอบครองเรือน หรือผู้อยู่ครองเรือน. (ป., ส.).
  14. อุบาท, อุปบาท : [อุบาด, อุบบาด] น. การบังเกิด, กําเนิด, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น พุทธุบาท (พุทธ + อุบาท), พุทธุปบาท (พุทธ + อุปบาท). (ป. อุปฺปาท; ส. อุตฺปาท).
  15. ทักษิณาจาร : น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่งนับเนื่องในนิกายหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบขวาหรือฝ่ายขวา มีพิธีกรรมเปิดเผย ไม่มีลามกอนาจาร, คู่กับ วามาจาร, ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักปฏิบัติทํานองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์ โดยถือ พระไวโรจนพุทธะแทนพรหมัน. (ส.).
  16. กษัยเลือด : น. กษัยเนื่องจากเลือด น้ำเหลือง และเสมหะเป็นพิษ. [กะสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์, เงินตราที่ทําด้วยโลหะ, ตําลึง (= ๒๐ มาสก) เช่น ได้ถึงร้อยกษาปณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก). [กะสิดิ, กะสีดิ] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร),. อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่า พระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร). (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์). [กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว). [กะสีระ] (แบบ) น. น้ำนม เช่น กษีรสุทธมฤธู. (เสือโค). (ส.).
  17. กษีณาศรพ : [กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว).
  18. เกษตร : [กะเสด] น. ที่ดิน, ทุ่ง, นา, ไร่; (โบ) แดน เช่น พุทธเกษตร. (ส. เกฺษตฺร; ป. เขตฺต).
  19. ขัดสมาธิ : [ขัดสะหฺมาด] ว. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอา ขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, ถ้าเอาขาซ้อนทับกันเรียกว่า ขัดสมาธิสองชั้น, ถ้าเอาขาขวาทับขาซ้าย เรียกว่า ขัดสมาธิราบ, ถ้าเอาฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้างขึ้น ข้างบน เรียกว่า ขัดสมาธิเพชร, ขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชรนั้น เป็น ท่าพระพุทธรูปนั่ง. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถ นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวา ทับพระหัตถ์ซ้าย.
  20. โคจร, โคจร- : [-จอน, -จะระ-] น. อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร. (ป., ส.). ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน, คํานี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อ ว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกัน เป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. (ป., ส. โคจร ว่า การเที่ยวไป ของดวงอาทิตย์).
  21. จตุบริษัท : น. บริษัท ๔ เหล่า, ถ้าเป็นพุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา, ถ้าเป็นราชบริษัทหรือประชุมชนทั่วไป ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ. (ป.).
  22. จริต : [จะหฺริด] น. ความประพฤติ, กิริยาหรืออาการ, เช่น พุทธจริต เสียจริต วิกลจริต, บางทีใช้ในทางไม่ดี เช่น ดัดจริต มีจริต, จริตจะก้าน ก็ว่า. (ป.).
  23. ชมรม : น. ที่พักชั่วคราวของกลุ่มบุคคล; ที่ประชุมของกลุ่มบุคคลที่มี จุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน เช่น ชมรม นักวรรณศิลป์ ชมรมพุทธศาสตร์, โชมโรม ก็ว่า.
  24. ชาว : น. กลุ่มชนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน เช่น ชาวไทย ชาวจีน หรือ อยู่ในถิ่นฐานเดียวกัน เช่น ชาวเมือง ชาวชนบท หรือมี อาชีพอย่างเดียวกัน เช่น ชาวไร่ชาวนา ชาวประมง หรือ นับถือศาสนาร่วมกัน เช่น ชาวพุทธ ชาวคริสต์.
  25. โชมโรม : น. ที่พักชั่วคราวของกลุ่มบุคคล; ที่ประชุมของกลุ่มบุคคล ที่มีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน เช่น โชมโรมนักวรรณศิลป์ โชมโรมพุทธศาสตร์; ชมรม ก็ว่า.
  26. ตะขาบ ๓ : น. เครื่องตีบอกจังหวะ; ไม้ไผ่ที่ผ่าขังปล้องแขวนไว้ตามยอดไม้สําหรับชัก ให้มีเสียงดังเพื่อไล่ค้างคาวเป็นต้น และที่พวกตลกลิเกละครเป็นต้นใช้ตี กันเล่น, จะขาบ ก็เรียก; ธงชนิดหนึ่งทําด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกัน ไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทําให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาด กว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา.
  27. เถรวาท : [เถระวาด] น. ลัทธิที่ถือตามคติซึ่งพระเถระพุทธสาวกได้ทํา สังคายนาไว้, หินยาน หรือ ทักษิณนิกาย ก็ว่า. (ป.).
  28. ทำวัตร : ก. กระทํากิจที่พึงกระทําตามหน้าที่หรือธรรมเนียมเช่น ไหว้พระสวดมนต์เช้าคํ่าของพุทธบริษัท, ทําวัตรพระ ก็ว่า; ทําสามีจิกรรมตามธรรมเนียมของพระเณร.
  29. ทุกพาย : (โบ) ว. ทุกแห่ง เช่น กระทำพุทธประติมาทุกแห่งทุกพาย. (จารึกวัดศรีชุม).
  30. ธงตะขาบ : น. ธงชนิดหนึ่งทำด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกันไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทำให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาดกว้างยาวตาม ต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา. (รูปภาพ ธงตะขาบ)
  31. ธาตุ ๒ : [ทาด, ทาตุ] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระ อรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของ พระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูก ของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของ พระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคํานั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่นอีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.
  32. บริษัท : [บอริสัด] น. หมู่, คณะ, เช่น พุทธบริษัท, ที่ประชุม เช่น จะพูดอย่างไร ต้องดูบริษัทเสียก่อน. (ส. ปริษทฺ; ป. ปริสา).
  33. บัญญัติ : [บันหฺยัด] น. ข้อความที่ตราหรือกําหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็น หลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ
  34. บาลี : น. ภาษาที่ใช้เป็นหลักในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท; คัมภีร์ พระไตรปิฎก, พุทธพจน์, เรียกว่า พระบาลี. (ป., ส. ปาลิ).
  35. ปรก ๒ : [ปฺรก] น. เรียกผู้นั่งภาวนาในพิธีปลุกเสก เช่น ในพิธีพุทธาภิเษก ว่า คณะปรก.
  36. ปัจเจกโพธิ : [ปัดเจกกะโพด] น. ความตรัสรู้เฉพาะตัว คือ ความตรัสรู้ ของพระปัจเจกพุทธเจ้า. (ป.).
  37. ปัญจวัคคีย์ : น. พวก ๕ คน เป็นคําเรียกพระสงฆ์ ๕ รูป มีพระ อัญญาโกณฑัญญะเป็นต้น ที่ตามพระพุทธเจ้าออกบวช และ ได้เป็นพระอรหันต์ก่อนพวกอื่น. (ป.).
  38. ปาติโมกข์ : น. คัมภีร์ว่าด้วยวินัยของสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ, ชื่อบาลีที่ประมวล พุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา ได้แก่ อาทิพรหม จริยกาสิกขา มีพระพุทธานุญาตให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกวัน อุโบสถ. (ป.).
  39. ปาพจน์ : น. คําเป็นประธาน, พุทธวจนะ, คําบาลี. (ป. ปาวจน).
  40. พระเจ้าห้าพระองค์ ๑ : น. เรียกคาถา นโมพุทธายะ ว่า คาถาพระเจ้าห้าพระองค์.
  41. โพธิบัลลังก์ : น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้, รัตนบัลลังก์ หรือ วัชรอาสน์ ก็ว่า. (ป. โพธิปลฺลงฺก).
  42. ยิปซี : น. ชนเผ่าเร่ร่อน เชื้อสายคอเคซอยด์ ผิวคลํ้า เดิมอาศัยอยู่ในอินเดีย เข้า ไปเร่ร่อนในยุโรปประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙๒๐ ดํารงชีพด้วยการ เล่นดนตรี ค้าม้า ทํานายโชคชะตา เป็นต้น. (อ. gypsy, gipsy).
  43. รักขิต : ก. ระวัง, ดูแล, รักษา, (มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส) เช่น พุทธรักขิต ญาณรักขิต. (ป.).
  44. รัตนบัลลังก์ : น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้, โพธิบัลลังก์ หรือ วัชรอาสน์ ก็ว่า.
  45. ลีลา : น. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย, เช่น พุทธลีลา; ชื่อ พระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาท ขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าว เพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้าย ยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี; ท่วงทำนอง เช่น ลีลาการพูด ลีลาการเขียน; การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะ แก่ข้อความของเรื่อง เช่น ลีลาการประพันธ์. (ป., ส. ลีลา).
  46. วัชรยาน : น. ชื่อหนึ่งของลัทธิพุทธตันตระ ซึ่งถือว่ามีหลักปรัชญา สูงเหนือธรรมชาติ มีความแข็งเหมือนเพชร ใสเหมือนอากาศ ไม่มี ใครต้านทานได้เหมือนสายฟ้า จึงเรียกหลักปรัชญานั้นว่า วัชระ และเรียกลัทธิว่า วัชรยาน. (ส.).
  47. วัชรอาสน์ : น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้ เรียกว่า พระแท่นวัชรอาสน์, โพธิบัลลังก์ หรือ รัตนบัลลังก์ ก็เรียก. (ส. วชฺราสน).
  48. วามาจาร : น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่ง นับเนื่องในนิกายหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบซ้ายหรือฝ่ายซ้าย มีพิธีกรรมลี้ลับ อนาจาร, คู่กับ ทักษิณาจาร; ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลัก ปฏิบัติทํานองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์, เรียกผู้ปฏิบัติใน ลัทธินี้ว่าวามาจาริน. (ส.).
  49. ศก ๒ : น. ระบบการคํานวณนับเวลาเรียงลําดับกันเป็นปี ๆ โดยถือเอา เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ดังในคําว่า รัตน โกสินทรศก ซึ่งถือเอาปีเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นจุดเริ่มต้น, บางทีก็ใช้เป็นคําย่อของศักราช เช่น พุทธศก คริสต์ศก; คําเรียกปี หนึ่ง ๆ ของจุลศักราช เพื่อให้ทราบว่าเป็นปีที่ลงท้ายด้วย ๑ ๒ ... หรือ ๐ เช่น ถ้าลงท้ายด้วย ๑ เรียกว่า เอกศก ลงท้ายด้วย ๒ เรียกว่า โทศก ... ลงท้ายด้วย ๐ เรียกว่า สัมฤทธิศก; (ปาก) ปี เช่น ศกนี้ ศกหน้า วันเถลิงศก. (ส.).
  50. ศักราช : [สักกะหฺราด] น. อายุเวลาซึ่งกําหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่ จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สําคัญ เรียงลําดับกัน เป็นปี ๆ ไป เช่น พุทธศักราช ๑, ๒, ๓, .. จุลศักราช ๑, ๒, ๓, ... (ตามความนิยมที่ใช้เป็นธรรมเนียมกันมา, คํา ศักราชในคํา เช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราชจะใช้ว่า ศก เป็น พุทธศก คริสต์ศก ก็ได้ แต่คํา เช่น มหาศักราช จุลศักราช ไม่นิยมใช้ว่า มหาศก จุลศก ส่วนคําว่า รัตนโกสินทรศกไม่นิยมใช้ว่า รัตนโกสินทรศักราช), (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่งเริ่มต้น เหตุการณ์สำคัญในชีวิตบุคคล เช่น เริ่มศักราชแห่งชีวิตใหม่ พอเรียนหนังสือจบก็เริ่มศักราชของการทำงาน.
  51. [1-50] | 51-66

(0.0666 sec)