พุ่ง : ก. ซัดไป เช่น พุ่งหอก พุ่งกระสวย, อาการที่ปล่อยออกไปโดยเร็ว เช่น พุ่งตัว พุ่งหมัด, มุ่งตรงไป เช่น พุ่งความสนใจ, อาการที่น้ำ หรือไฟพวยพุ่งออกไป เช่น น้ำพุ่ง แสงไฟฉายพุ่งเป็นลำออกไป; (ปาก) สุ่ม ๆ เช่น พูดพุ่งไป.
พุ่งแหลน : น. กรีฑาประเภทลานอย่างหนึ่ง เล่นโดยการจับแหลน พุ่งไปข้างหน้าให้ไปได้ไกลที่สุดเท่าที่จะทําได้.
พุ่งหอกเข้ารก : (สํา) ก. ทําพอให้เสร็จไปโดยไม่มีเป้าหมายหรือ โดยไม่คํานึงว่าใครจะเดือดร้อน.
พวย ๒ : ก. สูง, พุ่ง, ไปโดยเร็ว.
พวยพุ่ง : ว. ช่วงโชติ, พุ่งเป็นลําออกไปโดยเร็ว เช่น แสงพวยพุ่ง รัศมีพวยพุ่ง.
ผีพุ่งไต้ : น. เทหวัตถุแข็งจากอวกาศ มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งประกอบ ด้วยหินเป็นส่วนใหญ่อีกชนิดหนึ่งประกอบด้วยเหล็กเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเคลื่อนที่ผ่านบรรยากาศสู่ผิวโลก จะลุกไหม้ให้แสงสว่างจ้า เนื่องจากเสียดสีกับอากาศ ถ้ามีขนาดเล็กก็จะไหม้หมดก่อนถึง ผิวโลก ถ้ามีขนาดใหญ่ก็จะตกถึงผิวโลกและเรียกว่า อุกกาบาต, ดาวตก ก็เรียก.
กรวด ๒ : [กฺรวด] น. ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ใช้ไม้อ้อบรรจุดินดำ มีหางยาว เมื่อจุดชนวนแล้วเหวี่ยงให้พุ่งขึ้นสูง, จรวด ก็เรียก. ว. สูงชัน เช่น หลังคากรวด, คู่กับ หลังคาดาด, ในคําประพันธ์ใช้ว่า จรวด หรือ ตรวด ก็มี เช่น เฒ่าก็วิ่งตรวดตรงขึ้นต้นไม้. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
กระแจะ ๓ : น. ชื่อรูปปลอกเหล็กสําหรับจับช้างดุ ทางปลายสัณฐานปากเปิด อย่างคีมคีบเบ้าทองเหลือง มีกําลังหดตัวให้ปลายจดเข้าหากันได้ ที่ริมปากมีงาแซงทําด้วยเหล็กปลายแหลมข้างละอัน ที่โคนปลอกมีที่ สําหรับสวมคันไม้ไผ่ที่ทะลวงให้กลวง ร้อยเชือกซึ่งผูกจาก ปลอกลอดออกมาจากคันไม้ ใช้สําหรับพุ่งเข้าไปเกาะขาช้าง ข้างใดข้างหนึ่งไว้ เมื่อเกาะได้แล้ว โรยปลายไปผูกกับขอนไม้ไว้เพื่อ ช้างจะได้ลาก ช้างกําลังดุก็ลากไป งาแซงก็จะฝังลึกเข้าไปทุกที จนไม่สามารถจะก้าวขาได้ ก็เป็นอันจับได้; (ถิ่น-พายัพ) โซ่หรือ กำไลเหล็กที่ทำเป็นปลอกสวมเท้าหน้าช้างทั้งคู่ให้ชิดกัน เพื่อมิให้ ช้างเดินได้เร็วจนไกลถิ่นเกินควร ใช้เมื่อปล่อยช้างให้หากินในป่า.
กระโจน : ก. กระโดดพุ่งไปโดยเร็ว, เผ่นข้ามไป, โจน ก็ว่า.
กระฉูด : ก. พุ่งออกโดยแรง (ใช้แก่ของเหลว) เช่น น้ำกระฉูด; ไสไปโดยแรง เช่น ช้างกระฉูดเท้า. (เทียบ ข. กญฺฌูส ว่า เตะดิน, ตะกุยดิน, เตะไสดินให้ฝุ่นฟุ้ง).
กระเต็น : น. ชื่อนกชนิดหนึ่งในวงศ์ Alcedinidae หัวโต คอสั้น ปากแหลมยาวตรงและแข็งแรง ส่วนใหญ่มีสีสวยสด สะดุดตา หากินโดยวิธีพุ่งตัวลงจับปลาในน้ำ มีหลายชนิด เช่น กระเต็นปักหลักหรือ ปักหลัก (Ceryle rudis) กระเต็นน้อยธรรมดา (Alcedo atthis)กระเต็นอกขาว (Halcyon smyrnensis).
กัมมันตภาพรังสี : [กํามันตะ-] น. การเสื่อมสลายโดยตัวเองของนิวเคลียสของอะตอม ที่ไม่เสถียร เป็นผลให้ได้อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา รังสีแกมมา ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงคลื่นสั้นมากและมีพลังงานสูง ทั้งหมดนี้พุ่งออกมาด้วยความเร็วสูงมาก ในบางกรณีอาจมี พลังงานความร้อนและพลังงานแสงเกิดตามมาด้วย เช่น การเสื่อมสลายของนิวเคลียสของธาตุเรเดียมไปเป็นธาตุเรดอน. (อ. radioactivity).
กี่กระตุก : น. เครื่องทอผ้าชนิดหนึ่งที่มีสายกระตุก เพื่อให้กระสวยพุ่งไปได้เอง.
แกมมา : (ฟิสิกส์) น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโฟตอน (photon) ที่มีพลังงานสูงมาก มีช่วงคลื่นสั้นมาก มักเรียกกันว่า รังสีแกมมา เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร/วินาที มีอํานาจใน การเจาะทะลุได้สูง สามารถเจาะทะลุแผ่นตะกั่วหนาหลายเซนติเมตรได้ เกิดจากการเสื่อมสลายของสารกัมมันตรังสี เช่น ธาตุเรเดียม ธาตุโคบอลต์-๖๐ หรือเกิดจากการที่อนุภาคบีตาพุ่งชนอะตอมของธาตุ ใช้ประโยชน์ในการแพทย์รักษาโรคมะเร็งและในการเกษตร. (อ. gamma).
คะมำ : ก. ล้มควํ่า, อาการที่หัวพุ่งไปเพราะสะดุด.
คุ้มโทษ : (โบ) ก. ได้รับความคุ้มกันที่จะไม่ต้องถูกลงโทษ เช่น อหนึ่ง ผู้ตามโจรได้รบพุ่งฟันแทงมีบาดเจบท่านว่าคุ้มโทษ. (สามดวง).
จรวด ๑ : [จะหฺรวด] น. ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ใช้ไม้อ้อบรรจุดินดำ มีหางยาว เมื่อ จุดชนวนแล้วเหวี่ยงให้พุ่งขึ้นสูง, กรวด ก็เรียก. (ข. กําชฺรัวจ ว่า พลุ). ว. สูงชัน, ใช้ว่า กรวด ก็มี.
จรวด ๒ : [จะหฺรวด] น. อาวุธหรือยานอวกาศที่ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูงมาก โดย ใช้เชื้อเพลิงในตัวเองเผาไหม้เป็นแก๊สพุ่งออกมาจากส่วนท้าย มีทั้งชนิด ที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งและชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว. (อ. rocket).
จาม ๒ : ก. อาการของลมที่พุ่งออกมาทางจมูกและปาก มักจะเป็นห้วง ๆ ใน ทันทีทันใดโดยไม่ตั้งใจ เพราะเกิดระคายเคืองในจมูก; ฟันลงไปเต็มที่ เช่น เอาขวานจามหัว.
จิกหัว : ก. เอามือขยุ้มผมแล้วรั้งไป; บังคับให้พุ่งไป เช่น เครื่องบินจิกหัวลง; กดขี่, ข่มขี่, เช่น จิกหัวใช้.
จู๊ด : ว. อาการที่พุ่งตัวออกไปโดยเร็ว เช่น วิ่งจู๊ด พุ่งจู๊ด.
โจน : ก. กระโดดพุ่งไปโดยเร็ว เช่น โจนนํ้า, เผ่นข้ามไป เช่น โจนท้องร่อง, กระโจน ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นํ้าโจน.
ฉัน ๔ : ว. มีแสงกล้า, มีแสงพุ่งออกไป, เช่น พระสุริฉัน.
ฉาน ๓ : ก. แตก, กระจาย, ซ่าน, เช่น แตกฉานซ่านเซ็น. ว. มีแสงกล้า, มีแสงพุ่ง ออกไป, สว่าง, กระจ่างแจ้ง, จ้า, เช่น แสงฉาน ปัญญาแตกฉาน; ฉาด เช่น ขวิดควิ้วอยู่ฉาน ๆ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
ฉิน ๓ : ว. ฉัน, มีแสงกล้า, มีแสงที่พุ่งออกไป; งาม, มักใช้เข้าคู่กับคํา โฉม เป็น ฉินโฉม หรือโฉมฉิน เช่น ฉินโฉมเฉกช่างวาด. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
ฉีด : ก. ใช้กําลังอัดหรือดันให้ของเหลวอย่างน้ำพุ่งออกจากช่องเล็ก ๆ.
ฉูด : ว. อาการที่พุ่งหรือไปโดยเร็ว เช่น น้ำพุ่งฉูด เรือแล่นฉูด.
ชนัก : [ชะ] น. เครื่องแทงสัตว์ชนิดหนึ่ง ทําด้วยเหล็กปลายเป็นรูป ลูกศร มีด้ามยาวมีเชือกชักเมื่อเวลาพุ่งไปถูกสัตว์; เครื่องผูกคอ ช้างทําด้วยเชือกเป็นปมหรือห่วงห้อยพาดลงมาเพื่อให้คนที่ ขี่คอใช้หัวแม่เท้าคีบกันตก. (รูปภาพ ชนัก)
ชอน : ก. ไชคดเคี้ยวไปในดินหรือภายในสิ่งอื่นด้วยอาการเช่นนั้น เช่น รากไม้ชอนไปในดิน; พุ่งแยงออกมา (ใช้แก่แสงอย่าง แสงแดดแสงไฟ) เช่น แสงตะวันชอนตา.
โชน : ว. อาการที่ไหม้ทั่วเต็มที่ เช่น ไฟลุกโชน; แรง, เร็ว, เช่น ไหลโชน พุ่งโชน.
โซรมศัสตราวุธ : ก. ระดมฟันแทงพุ่งศัสตราวุธเข้าไป.
ดาวตก : น. เทหวัตถุแข็งจากอวกาศ เมื่อเกิดเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ จะแลดูสว่างพุ่งเป็นทางเข้าสู่ผิวโลก, ผีพุ่งไต้ ก็เรียก.
แดด : น. แสงที่พุ่งจากดวงอาทิตย์ตรงมายังโลก, แสงตะวัน, แสงตะวันที่สว่าง และร้อน.
โด่ง : ว. อาการที่พุ่งขึ้นไป เช่น พลุขึ้นโด่ง ตะไลขึ้นโด่ง, สูง เช่น ตะวันโด่ง หัวโด่ง ท้ายโด่ง; เรียกจมูกที่เป็นสันเด่นออกมาว่า จมูกโด่ง.
ตรวย : [ตฺรวย] ก. พุ่งตรงมา เช่น บ้างเป็นเสาตรวยตรงลงถึงดิน. (อิเหนา).
ตะกอ ๑ : น. ส่วนของเครื่องทอผ้าทําด้วยเส้นด้ายร้อยกับกรอบไม้ สําหรับแยกเส้นด้ายยืนให้ ขึ้นลงเพื่อให้ขัดกับเส้นด้ายพุ่ง.
ถีบตัว : ก. พุ่งตัวหรือดันตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ราคาสินค้าถีบตัวสูงขึ้น ว่าวถีบตัวขึ้นสูง, เลื่อนฐานะขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น เขาทำงานหนักจน ถีบตัวอยู่ในขั้นเศรษฐีได้ในเวลาไม่กี่ปี.
โถบ : ก. พุ่งลงด้วยแรงกําลัง เช่น นกโถบลงจากอากาศ, ใช้ว่า โถบถา หรือ ถาโถบ ก็มี.
โถม : ก. โผเข้าไปอย่างรวดเร็ว เช่น โถมตัวเข้าหา; รวมกําลังพุ่งเข้าใส่ เช่น โถมกําลัง.
ทอ ๑ : ก. พุ่งเส้นด้ายหรือเส้นไหมเป็นต้นให้ขัดกับเส้นยืนในเครื่องทอ เช่น ทอผ้า ทอไหม ทอกระสอบ ทอเสื่อ.
ทุ้ย : ก. พูดเดาส่ง, พูดพุ่งส่ง.
โทรมศัสตราวุธ : ก. ระดมฟันแทงพุ่งศัสตราวุธเข้าไป.
นกกระจอก ๑ : น. ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง จุดแล้วจะพุ่งออกจากรังไปได้ไกล เรียกเต็มว่า นกกระจอกออกจากรัง; ชื่อไพ่จีนชนิดหนึ่งมี ๑๑๔ ตัว; เรียกปากที่มีแผลเปื่อยที่มุมปากว่า ปากนกกระจอก.
นาคเล่นน้ำ : น. นํ้าที่พุ่งเป็นลําขึ้นไปในอากาศเนื่องจากลมงวง, พวยนํ้า ก็ว่า.
น้ำพุ : น. นํ้าใต้ดินที่ผุดพุ่งขึ้นมาเหนือพื้น มีอุณหภูมิตํ่ากว่าอุณหภูมิของ ร่างกายมนุษย์, ถ้ามีอุณหภูมิสูงกว่า ซึ่งมีตั้งแต่อุ่น ๆ จนถึงเดือดพล่าน เรียกว่า นํ้าพุร้อน, นํ้าที่ผุดขึ้นมาในลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น. น้ำมนต์, น้ำมนตร์
น้ำไว : น. แสงของเพชรหรือพลอยที่พุ่งออกมาเร็วเมื่อเวลาถูกแสงไฟ หรือแสงอาทิตย์.
บีตา : (ฟิสิกส์) น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอม กัมมันตรังสี มี ๒ ชนิด คือ อิเล็กตรอน และ โพซิตรอน. (อ. beta particle), มักเรียกกระแสอนุภาคบีตาว่า รังสีบีตา ซึ่ง เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๙๐,๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอํานาจในการเจาะทะลุมากกว่ารังสีแอลฟา แต่น้อยกว่ารังสี แกมมา. (อ. beta rays).
ประภามณฑล : น. รัศมีที่พวยพุ่งขึ้นจากศีรษะของผู้ศักดิ์สิทธิ์และ พระพุทธรูป.
ปรี๊ด : [ปฺรี๊ด] ว. อาการที่นํ้าหรือของเหลวพุ่งออกมาโดยแรงจากช่องแคบ ๆ มีเสียงดังเช่นนั้น เช่น น้ำพุ่งปรี๊ด บ้วนนํ้าลายปรี๊ด; มาก เช่น สูงปรี๊ด, จัด (ใช้แก่รสเปรี้ยว); เสียงอย่างเสียงเป่านกหวีดยาว ๆ.
ปรื๋อ : [ปฺรื๋อ] ว. อาการที่นกบินพุ่งไปอย่างเร็ว, โดยปริยายหมายความว่า มีอาการรวดเร็วเช่นนั้น เช่น แล่นปรื๋อ วิ่งปรื๋อ.