Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พูดจา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พูดจา, 91 found, display 1-50
  1. พูดจา : ก. พูด.
  2. พูด : ก. เปล่งเสียงออกเป็นถ้อยคํา, พูดจา ก็ว่า.
  3. ดูหมิ่น ๒, ดูหมิ่นถิ่นแคลน : ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลาย ลักษณ์อักษรเป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อย หรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, หมิ่น ก็ว่า.
  4. นุ่มนวล : ว. อ่อนหวาน, อ่อนโยน, ละมุนละไม, เพราะพริ้ง, เช่น พูดจา นุ่มนวล กิริยาท่าทางนุ่มนวล.
  5. เลื่อนลอย : ว. ไม่คงที่, ไม่แน่นอน, เช่น ความฝันเลื่อนลอย พูดจา เลื่อนลอยไม่มีหลักฐาน สติเลื่อนลอย ข้อกล่าวหาเลื่อนลอย.
  6. หมิ่น ๑ : ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเชิงดูถูก ว่ามีฐานะต่ำต้อยหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, ดูหมิ่น หรือ ดูหมิ่น ถิ่นแคลน ก็ว่า.
  7. -กระเสียน : (โบ) ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียน หมายความว่า อาการที่คนพูดจาเสียดสีด้วยถ้อยคำต่าง ๆ หรือกดขี่เบียดเบียน. (ปรัดเล).
  8. กระอักกระไอ : ว. อิดเอื้อน, ไม่กล้าพูด, ทําเสียงไออุบอับอยู่ในคอ, เช่น พูดจากุกกักกระอักกระไอ (ไกรทอง).
  9. กร่าง : [กฺร่าง] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Ficus altissima Blume ในวงศ์ Moraceae เปลือกเรียบสีเทา ใบกว้างหนารูปไข่ ปลายมน ไม่มีขน ผลกลม เมื่อสุกสีส้มออกแดง, ลุง ฮ่างหลวง หรือ ไทรทอง ก็เรียก. (ปาก) ว. อาการที่ทำท่าทางหรือพูดจาวางโต เช่น เขาชอบทำกร่างอยู่เรื่อย.
  10. กลับกลอก : ก. ไม่อยู่กับร่องกับรอย, พลิกแพลง, (ใช้แก่กริยาพูด) เช่น พูดจากลับกลอก, กลอกกลับ ก็ว่า.
  11. กะหลีกะหลอ : ก. แสดงกิริยาท่าทางหรือพูดจาประจบประแจงเกินงาม.
  12. เกลี่ยไกล่ : ก. พูดจาให้ตกลงกัน, พูดให้ปรองดองกัน; ทําให้เรียบร้อย, ทําให้มีส่วนเสมอกัน, ไกล่เกลี่ย ก็ว่า.
  13. ไกล่เกลี่ย : ก. พูดจาให้ปรองดองกัน, พูดจาให้ตกลงกัน; ลูบไล้; ทําให้เรียบร้อย, ทําให้มีส่วนเสมอกัน, เกลี่ยไกล่ ก็ว่า.
  14. คมคาย : ว. ฉลาด, ไหวพริบดี, ทันคน, เช่น วาจาคมคาย พูดจาคมคาย สำนวนภาษาคมคาย, มีแววฉลาด เช่น หน้าตาคมคาย.
  15. คุย ๑ : ก. พูดจาสนทนากัน; (ปาก) ปรึกษาหารือ เช่น เรื่องนี้ขอคุยกันก่อน ที่จะตัดสินใจ; พูดเป็นเชิงโอ้อวด เช่น เรื่องแค่นี้ทำเป็นคุย.
  16. คุยเขื่อง, คุยโต : (ปาก) ก. พูดจาแสดงความใหญ่โต.
  17. เงียบ ๆ : ว. ไม่มีเสียงเอะอะ เช่น นั่งทำงานเงียบ ๆ, ไม่เอิกเกริกอื้ออึง เช่น ทำอย่างเงียบ ๆ; นิ่งไม่พูดจา, ไม่ทำเสียงเอะอะโวยวายหรืออื้ออึง, เช่น เขาเป็นคนเงียบ ๆ.
  18. เจรจา : [เจนระจา] ก. พูด, พูดจากัน, พูดจากันเป็นทางการ. (ส. จรฺจา).
  19. โฉ่งฉ่าง : ว. เสียงอย่างเสียงโลหะกระทบกัน, มีท่าทางเก้งก้างไม่รัดกุม เช่น กิริยา โฉ่งฉ่าง ชกโฉ่งฉ่าง, ส่งเสียงดังอย่างไม่เกรงใจใคร เช่น เขาพูดจาโฉ่งฉ่าง.
  20. โฉงเฉง : ว. เอะอะเอ็ดอึงเป็นทํานองเกะกะเกเร เช่น พูดจาโฉงเฉง.
  21. ชักแม่น้ำทั้งห้า : (สํา) ก.พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณเพื่อ ขอสิ่งที่ประสงค์ เช่น เถ้าก็พูดจาหว่านล้อมด้วยคํายอ ชักเอาแม่นํ้าทั้งห้าเข้ามาล่อ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  22. ซับซี่ : (โบ) ก. ซุบซิบพูดจากัน, กระซิบกัน.
  23. ซึม : ก. กิริยาของนํ้าหรือของเหลวที่ไหลไปตามรูเล็ก ๆ อย่างช้า ๆ เช่น เหงื่อซึม นํ้าซึม, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ยางรถซึม. ว. เหงาหงอยไม่ค่อยพูดจา, ไม่เบิกบาน, เช่น นั่งซึม.
  24. ทักขิญ : [-ขิน] น. ความเป็นเบื้องขวา หมายความว่า สะดวกในการพูดจา ปราศรัย, ความอารีอารอบ, ความกรุณา. (ป. ทกฺขิ?ฺ?).
  25. นิ่ง, นิ่ง ๆ : ก. เฉย, ไม่กระดุกกระดิก, ไม่เคลื่อนไหว, เช่น นอนนิ่ง นํ้านิ่ง นั่งนิ่ง ๆ, เงียบ, ไม่ส่งเสียง, เช่น นิ่งเสีย อย่าร้อง, ไม่พูดจา เช่น ถามแล้วนิ่ง, ไม่แพร่งพราย เช่น รู้แล้วนิ่งเสีย.
  26. ประจิ้มประเจ๋อ : ว. พูดจาและแสดงกิริยาเสนอหน้าอย่างเด็ก.
  27. ปะเหลาะ, ปะเหลาะปะแหละ : ก. พูดจาหว่านล้อมเอาอกเอาใจ เช่น ผู้ใหญ่ปะเหลาะเด็ก, พูดหรือทําสนิทชิดชอบให้เขาพึงใจเพื่อหวังประโยชน์ตน.
  28. ปั้นปึ่ง : ว. ทำท่าเย่อหยิ่งไม่พูดจากับใคร.
  29. ปากคม : ว. พูดจาเหน็บแนมด้วยคารมคมคาย.
  30. ปากคอเราะราย : ว. ชอบพูดจาชวนหาเรื่องไม่เลือกหน้า, ปากเปราะ เราะราย ก็ว่า.
  31. ปากจัด : ว. ชอบพูดจาหรือโต้เถียงด้วยถ้อยคําแข็งกร้าวไม่สุภาพ, ด่าเก่ง, ชอบพูดจาหยาบคาย.
  32. ปากตะไกร : ว. ปากจัด, ชอบพูดจาเหน็บแนม.
  33. ปากเปราะ : ก. พูดจาทักทายเก่ง, พูดจาว่าคนง่าย ๆ; เห่าเก่ง (ใช้แก่สุนัข).
  34. ปากเปราะเราะราย : ว. ชอบพูดจาชวนหาเรื่องไม่เลือกหน้า, ปากคอเราะราย ก็ว่า.
  35. ปากร้ายใจดี : ก. พูดจาดุด่าแต่น้ำใจดี.
  36. ปากหมา : ว. ชอบพูดจาว่าร้ายคนอื่น.
  37. ปากหวาน : ว. พูดจาไพเราะ (มักใช้ในทางที่ล่อใจหรือไม่จริงใจ); อาการที่รู้สึกหวานในปากเมื่อเวลาเป็นไข้.
  38. ปากหวานก้นเปรี้ยว : (สํา) ก. พูดจาอ่อนหวานแต่ไม่จริงใจ.
  39. ปึ่ง ๑ : ว. ทําท่าไว้ยศไม่อยากพูดจาด้วย; ทําทีเฉยแสดงอาการคล้าย กับโกรธ, ปึ่งชา ก็ว่า.
  40. พกลม : ว. มีแต่ลม คือ เหลวไหล, พูดจาไม่จริง, ใช้เข้าคู่กับคําโกหก เป็น โกหกพกลม.
  41. พลอดรัก : ก. พูดจาอ่อนหวานต่อกันในเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ.
  42. มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก : (สํา) ก. พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลง ไปมาจนจับคําพูดไม่ทัน. น. คนกลับกลอก.
  43. มิ ๒ : ก. เฉย, ไม่ค่อยพูดจา, เช่น รามสูรได้ยินสิ้นสติลงนั่งมิจะทำกระไรได้. (บทระบำตลก พระราชนิพนธ์ ร.๕).
  44. มึงวาพาโวย : ก. พูดจาเอะอะโวยวาย.
  45. ยอกย้อน : ก. ซับซ้อนซ่อนเงื่อน เช่น ทำกลอุบายยอกย้อน, กลับไปกลับมาอย่างมี เงื่อนงำ เช่น พยานให้การยอกย้อน, ยุ่งยากซับซ้อนสะสางยาก เช่น คดี ยอกย้อน. ว. ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจายอกย้อน, ย้อนยอก ก็ว่า.
  46. ย้อนยอก : ว. ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจาย้อนยอก, ยอกย้อน ก็ว่า.
  47. เย็นหู : ว. รื่นหู, ไม่ขัดหู, ฟังแล้วสบายใจ, เช่น พูดจาไพเราะนุ่มนวล ฟังแล้วเย็นหู เสียงเขาฟังแล้วเย็นหู.
  48. เยิ่นเย้อ : ว. ยืดยาด, ไม่กะทัดรัด, ไม่รัดกุม, (โดยมากใช้แก่คําพูดหรือ ข้อความ) เช่น พูดจาเยิ่นเย้อ ข้อความเยิ่นเย้อ.
  49. แยบคาย : ว. เข้าที, เหมาะกับเหตุผล, เช่น ความคิดแยบคาย พูดจาแยบคาย.
  50. เราะราย : ว. ชอบพูดจาชวนหาเรื่องไม่เลือกหน้า, มักพูดชวนทะเลาะ ทั่วไป เช่น พูดจาเราะราย ปากเปราะเราะราย ปากคอเราะราย.
  51. [1-50] | 51-91

(0.0184 sec)