พูน : ก. เพิ่มให้สูงขึ้นให้มากขึ้น เช่น พูนดิน. ว. เต็มจนนูน เช่น ตักข้าว จนพูนจาน.
พอก ๑ : ก. หุ้ม เช่น พอกไข่, พูน, โปะให้หนา เช่น พอกแป้ง. ว. โป่งออกมา เช่น คอพอก.
พน, พน : [พน, พะนะ] น. ป่า, พง, ดง. (ป., ส. วน).
กระลูน : (กลอน) น. ความเศร้าโศก. ว. น่ากรุณา, น่าสงสาร, เช่น อ่อนจิตสวามีอันพูนกระลูนนุกูลภรรยายิ่งยอด กว่าอันภิปราย. (สรรพสิทธิ์). (ป. กลูน).
คัน ๑ : น. แนวดินหรือแนวทรายเป็นต้นที่พูนสูงขึ้นเป็นแนวยาว เช่น คันทราย, แนวดินที่พูนขึ้นมาสําหรับกั้นนํ้า เช่น คันนา คันดิน; สิ่งที่มีลักษณะยาว ทําด้วยไม้เป็นต้น สําหรับถือหรือปัก เช่น คันเบ็ด คันไถ คันธง; ลักษณนาม เรียกรถหรือของที่มีด้ามถือบางอย่าง เช่น รถ ๓ คัน ช้อน ๔ คัน เบ็ด ๕ คัน.
คันนา : น. ดินที่พูนขึ้นเป็นคันตามท้องนาสำหรับขังน้ำไว้, ลูกคัน หรือ หัวคันนา ก็เรียก.
ชัมพูนท : [ชําพูนด] น. ทองคําเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่า เกิดใต้ต้นหว้า), ชมพูนท ชมพูนุท หรือ ชามพูนท ก็ว่า. (ป.; ส. ชามฺพูนท).
ชามพูนท : [ชามพูนด] น. ทองคําเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่า เกิดใต้ ต้นหว้า), ชมพูนท ชมพูนุทหรือ ชัมพูนท ก็ว่า. (ส. ชามฺพูนท ว่า เกิดในแม่น้ำชมพูนที.).
เชิงเทิน : น. ที่ดินที่พูนสูงขึ้นเป็นเชิงของป้อมปราการ, พื้นที่ ว่างภายในป้อมสําหรับให้ทหารขึ้นไปอยู่ตรวจการณ์หรือ ต่อสู้ข้าศึก.
เทิน ๑ : น. เนินดินที่พูนขึ้นไปตามยาว.
ธันยาวาท : [ทันยาวาด] น. การทําพิธีบูชาขอบคุณเทพผู้ให้ความสมบูรณ์พูนผล. (ส.).
มูน ๑ : น. เนิน, โคก, จอม, เช่น มูนดิน. ก. พอกพูน, พูนขึ้น, มักใช้ว่า เกิดมูนพูนผล. ว. มาก, มักใช้เข้าคู่กันเป็น มากมูน.
มูนดิน : น. เนินดิน. ก. พูนให้เป็นเนินเป็นโคก เช่น มูนดินขึ้นกันน้ำท่วม.
รอด ๓ : น. ชื่อพระเครื่องชนิดหนึ่งของลําพูน เรียกว่า พระรอด.
ลูกคัน : น. ดินที่พูนขึ้นเป็นคันตามท้องนาสำหรับขังน้ำไว้, คันนา หรือ หัวคันนา ก็เรียก.
หัวคันนา : น. ดินที่พูนขึ้นเป็นคันตามท้องนาสำหรับขังน้ำไว้, คันนา หรือ ลูกคัน ก็เรียก.
พนขัณฑ์ : [พะนะ] น. ทิวไม้, แนวป่า, ราวป่า, ราวไพร. (ส.วนขณฺฑ; ป. วนสณฺฑ).
จุลพน : [จุนละ-] น. ชื่อกัณฑ์ที่ ๖ ของมหาชาติ.
พ่น : ก. ห่อปากเป่าให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งในปากออกมาเป็นฝอยเป็นต้น, ที่อาการมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พ่นไฟ พ่นสี, (ปาก) พูดมาก เช่น รีบ ๆ เข้าเถอะ อย่ามัวพ่นอยู่เลย.
แพ่น : ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาว จะกลมหรือแบนก็ได้ ตีลงด้วยกำลังแรง เช่น เอาไม้ตะพดแพ่นหัว; พรวดพราด อุกอาจ เอื้อมอาจ หรือล่วงล้ำ เข้าไปในที่ที่ไม่ควร เช่น แพ่นเข้าไปถึงหลังบ้าน. ว. อาการที่อุกอาจ เอื้อมอาจ หรือ ล่วงลํ้าเข้าไปในที่ที่ไม่ควร (ใช้ในลักษณะติเตียน).
พลตระเวน : [พน] (โบ) น. พลตํารวจพระนครบาลผู้ตรวจตรา เหตุการณ์.
พลร่ม : [พน] น. หน่วยทหารหรือตำรวจที่ได้รับการฝึกให้กระโดด ร่มชูชีพจากเครื่องบิน หรือเฮลิคอปเตอร์.
สมพล ๑ : [พน] น. เลกของขุนนางที่ปกครองหัวเมือง; (โบ) แบบวิธีเลขไทย ในการฝึกหัดให้คูณคล่อง.
อำพน : [พน] ว. มาก, ดาษดื่น, ล้วน, เช่น อำพนไปด้วยแก้วมณี; น่าดู, งาม, งามสล้าง, เช่น ปราสาทอำพน, (โบ) ใช้ว่า อำพล ก็มี เช่น ปราการ สะพาน ถนน อำพลด้วย (ไม้ไหล) ทั้งหลายคำนับ. (จารึกสยาม).
พนันดร, พนานดร :
ดู พน, พน.
พนัส, พนัส : [พะนัด, พะนัดสะ] น. ป่า, พง, ดง. (มาจาก พน แต่เพิ่มตัว ส เพื่อ ความสะดวกในการสนธิ). (ส. วนสฺ; ป. วน).
พนา : น. ป่า, พง, ดง, (มาจาก พน เติมสระอา เช่น พนาดร = ป่าสูง พนาสณฑ์, พนาสัณฑ์ = แนวป่า, ราวป่า).
พนาดร, พนาดอน :
ดู พน, พน.
พนาสณฑ์, พนาสัณฑ์ :
ดู พน, พน.
พลกาย : [พนละ] (กลอน) น. กองทัพ. (ป., ส.).
พลขันธ์ : [พนละ] น. กองทัพ.
พลขับ : [พนละ] น. ทหารที่ทำหน้าที่ขับยานพาหนะ.
พลความ : [พนละ] น. ข้อความที่ไม่ใช่ส่วนสำคัญของเรื่อง, ตรงข้าม กับ ใจความ.
พลเทพ : [พนละ] น. ชื่อตําแหน่งจตุสดมภ์ตําแหน่งหนึ่ง คือ เสนาบดี ฝ่ายเกษตร.
พล, พล : [พน, พนละ, พะละ] น. กําลัง, มักใช้ประกอบคําอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็น กำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ ฐานะเป็นต้น; ทหาร เช่น กองพล ตรวจพล ยกพลขึ้นบก; สามัญ, ธรรมดา ๆ, พื้น ๆ, เช่น ของพล ๆ; ยศทหารและตํารวจสัญญาบัตร รองจากจอมพล (เดิมใช้ว่า นายพล). (ป., ส.).
พลเมือง : [พนละ] น. ประชาชน, ราษฎร, ชาวประเทศ.
พลรบ : [พนละ] น. ทหารที่ทำหน้าที่ฝ่ายรบ.
พลเรือน : [พนละ] น. ผู้ซึ่งไม่ใช่ทหาร. ว. ที่ไม่ใช่ทหาร เช่น ข้าราชการพลเรือน.
พลโลก : [พนละ] น. ชาวโลก, พลเมืองของโลก.
พลวัต : [พนละ] ว. ซึ่งเกี่ยวข้องกับแรง, ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลของแรงเช่น การเคลื่อนที่. (อ. dynamic).