Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พฺรหฺมจารี, พฺรหฺม, จารี , then จะรี, จาร, จารี, พรหม, พฺรหฺม, พรหมจาร, พฺรหฺมจารี, พฺรหฺมา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พฺรหฺมจารี, 139 found, display 1-50
  1. จารี : น. ผู้ประพฤติ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ธรรมจารี สัมมาจารี. (ป.).
  2. พรหม, พรหม : [พฺรม, พฺรมมะ] น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์, เทพในพรหมโลกจําพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จําพวกไม่มี รูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้นตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอน ใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี; ผู้มีพรหมวิหาร ทั้ง ๔ (เช่น บิดามารดามีพรหมวิหารทั้ง ๔ ต่อบุตร ได้ชื่อว่า เป็นพรหม ของบุตร). (ป., ส. พฺรหฺม).
  3. จาร ๑ : [จาน] ก. ใช้เหล็กแหลมเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นให้เป็นตัวหนังสือ เช่น จึงจารจารึกอันนี้ไว้อีกโสด. (ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ). (จารึกสมัยสุโขทัย). น. เรียกเหล็กแหลมสำหรับเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นว่า เหล็กจาร. (ข.).
  4. จาร- ๒ : [จาระ-] น. ผู้สอดแนม, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นในคำว่า จารกรรม จารชน จารบุรุษ จารสตรี. (ป., ส.).
  5. ธรรมจารี : น. ผู้ประพฤติธรรม. (ป. ธมฺมจารี; ส. ธรฺมจารินฺ).
  6. พรหมจักร : น. จักรวาล; คําสอนของพระพุทธเจ้า. (ส.; ป. พฺรหฺมจกฺก).
  7. พรหมจารี : น. ผู้ศึกษาปรมัตถ์, นักเรียนพระเวท; ผู้ถือพรตบางอย่าง เช่นเว้นเมถุนเป็นต้น, ในพระพุทธศาสนาหมายเอาผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีเว้นจากเมถุนเป็นต้น เช่นภิกษุ; หญิงที่ยังบริสุทธิ์. (ป.; ส. พฺรหฺมจารินฺ).
  8. พรหมทัณฑ์ : น. ตามศาสนาพราหมณ์หมายความว่า ''ไม้พระพรหม'' ชื่อศัสตรากายสิทธิ์ชนิดหนึ่ง; การสาปแห่งพราหมณ์; โทษอย่างสูง คือห้ามไม่ให้ใคร ๆ พูดด้วยในหมู่สงฆ์ด้วยกัน. (ส., ป.).
  9. พรหมธาดา : น. พระพรหมผู้สร้าง.
  10. พรหมบริษัท : น. ชุมนุมพระพรหม, ชุมนุมพราหมณ์. (ส.).
  11. พรหมปุโรหิต : น. พราหมณ์ชั้นสูง; ชื่อพรหมหมู่หนึ่งอยู่ในสวรรค์ อันสูงกว่าชั้นพรหมปาริสัช; ชื่อคัมภีร์แพทย์ว่าด้วยต้นเหตุที่มนุษย์ เกิด. (ส.).
  12. พรหมพักตร์ : น. ยอดเครื่องสูงหรือยอดสิ่งก่อสร้างที่เป็นหน้าพรหม ๔ ด้าน.
  13. พรหมพันธุ์ : น. ''วงศ์พรหม'' คือพราหมณ์โดยตระกูล คือ พราหมณ์ เลว. (ส.).
  14. พรหมยาน : น. ยานที่นําไปสู่ความเป็นพรหม คือการบริจาคอัน ยิ่งใหญ่ เช่นบุตรทารทาน. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). (ป.).
  15. พรหมเรขา, พรหมลิขิต : [พฺรมมะ, พฺรม] น. อํานาจที่กําหนดความ เป็นไปของชีวิต (ถือกันว่า พระพรหมเขียนไว้ที่หน้าผากของเด็กซึ่ง เกิดได้ ๖ วัน). (ส.).
  16. พรหมโลก : [พฺรมมะ] น. โลกของพระพรหม; ภูมิเป็นที่สถิตของ พระพรหม.
  17. พรหมวิหาร : [พฺรมมะ, พฺรม] น. ธรรมของพรหมหรือของท่าน ผู้เป็นใหญ่ มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป.).
  18. พรหมกาย : น. พระกาย (คือ รูปกาย นามกาย) ประเสริฐ, พระนาม ของพระพุทธเจ้า.
  19. พรหมโคละ : [พฺรมมะโคละ] น. จักรวาล. (ส.).
  20. พรหมชาติ : น. ชื่อตําราหมอดู.
  21. พรหมไทย : น. ที่ดินซึ่งพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พราหมณ์และ ยกเว้นภาษีอากร; ของที่บิดามารดาให้.
  22. พรหมบุตร : น. พราหมณ์, ลูกพราหมณ์. (ส.).
  23. พรหมภูติ : [พฺรมมะพูติ] น. เวลาสนธยา, เวลาขมุกขมัว, โพล้เพล้. (ส.).
  24. พรหมฤษี : น. ฤษีที่เป็นพราหมณ์โดยกําเนิด.
  25. พรหมสี่หน้า : [พฺรม] น. ชื่อกระบวนมวยท่าหนึ่ง, ชื่อกระบวนรํา ท่าหนึ่ง.
  26. พรหมสูตร : น. ด้ายที่สวมสะพายแล่ง เป็นเครื่องหมายของ, พราหมณ์ สายธุรําของพราหมณ์. (ส.).
  27. พรหมหัวเหม็น : ดู ขี้ขม.
  28. พรหมโองการ : น. ชื่อไม้ทํารูปเหมือนใบมะตูมติดที่โรงพิธี.
  29. อรูปพรหม : [อะรูบปะพฺรม] น. เทพในพรหมโลกตามคติ พระพุทธศาสนา เป็นจำพวกไม่มีรูป มี ๔ ชั้น, คู่กับ รูปพรหม. (ดู พรหม, พรหม).
  30. ทักษิณาจาร : น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่งนับเนื่องในนิกายหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบขวาหรือฝ่ายขวา มีพิธีกรรมเปิดเผย ไม่มีลามกอนาจาร, คู่กับ วามาจาร, ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักปฏิบัติทํานองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์ โดยถือ พระไวโรจนพุทธะแทนพรหมัน. (ส.).
  31. รูปพรหม : น. เทพในพรหมโลกตามคติพระพุทธศาสนา เป็นจำพวก มีรูป มี ๑๖ ชั้น, คู่กับ อรูปพรหม. (ดู พรหม, พรหม–).
  32. วามาจาร : น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่ง นับเนื่องในนิกายหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบซ้ายหรือฝ่ายซ้าย มีพิธีกรรมลี้ลับ อนาจาร, คู่กับ ทักษิณาจาร; ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลัก ปฏิบัติทํานองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์, เรียกผู้ปฏิบัติใน ลัทธินี้ว่าวามาจาริน. (ส.).
  33. หน้าอินทร์หน้าพรหม : น. ผู้มีอำนาจ, ผู้ยิ่งใหญ่, เช่น เขาไม่กลัวหน้าอินทร์ หน้าพรหมใด ๆ ทั้งนั้น.
  34. กถิกาจารย์ : [กะถิกาจาน] (แบบ) น. อาจารย์ผู้กล่าว. (ป., ส. กถิก + ส. อาจารฺย).
  35. กรรมวาจาจารย์ : [กํามะวาจาจาน] น. อาจารย์ผู้ให้สําเร็จกรรมวาจา คือ คู่สวด. (ส. กรฺมวาจา + อาจารฺย = อาจารย์).
  36. คันถรจนาจารย์ : [-รดจะนาจาน] น. อาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์. (ป. คนฺถ + ป., ส. รจน + ส. อาจารฺย).
  37. ทักษิณาจาร : ดู ทักษิณ.
  38. ทุราจาร : น. ความประพฤติชั่วช้าเลวทรามในที่ซึ่งไม่ควร. (ป.).
  39. เทศาจาร : ดู เทศ, เทศ-, เทศะ.
  40. เทศาจาร : น. ธรรมเนียมของบ้านเมือง. (ส.).
  41. ปาจรีย์, ปาจารย์ : [ปาจะรี, ปาจาน] น. อาจารย์ของอาจารย์. (ป.; ส. ปฺราจารฺย = ปฺราคต + อาจารฺย).
  42. มิจฉาจาร : น. การประพฤติผิด. (ป. มิจฺฉา + อาจาร).
  43. ลูกฟักหน้าพรหม : น. ไม้กรุในช่องจั่วลูกฟักเรือนทรงไทยเพื่อกัน ฝนสาด.
  44. วามาจาร : ดู วาม๒วามะ ๑.
  45. หุตาจารย์ : น. ผู้รู้ในการบูชา.
  46. หุตาจารย์ : ดู หุต-.
  47. เหล็กจาร : น. เหล็กแหลมสำหรับเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้น.
  48. โหรดาจารย์ : [โหระ-] น. พราหมณ์พวกหนึ่งมีหน้าที่สวดสดุดีและอาราธนาเทพต่าง ๆ ให้มาร่วมในพิธีบูชาบวงสรวง. (ส. โหตฺฤ + อาจารฺย).
  49. อรรถกถาจารย์ : น. อาจารย์ผู้แต่งอรรถกถา.
  50. อัชฌาจาร : [จาน] น. ความประพฤติชั่ว, การล่วงมรรยาท, การละเมิดประเพณี. (ป.).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-139

(0.1248 sec)