ขายส่ง : ก. ขายเป็นจํานวนมาก ๆ แก่ร้านค้าย่อยหรือร้านที่เป็นลูกค้าประจํา.
ประชาชน, ประชาราษฎร์ : น. พลเมือง, สามัญชนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ ข้าราชการ พ่อค้า หรือนักบวช ในความว่า ข้าราชการ พ่อค้า และ ประชาชน.
พ่อ : น. ชายผู้ให้กําเนิดแก่ลูก; คําที่ลูกเรียกชายผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยง; ดูตนคําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนม หรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่; คําใช้นําหน้านามเพศชาย แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พ่อเมือง; ผู้ชายที่กระทํากิจการหรือ งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า พ่อค้า ทําครัว เรียกว่า พ่อครัว; เรียกสัตว์ตัวผู้ ที่มีลูก เช่น พ่อม้า พ่อวัว.
วาณิช, วาณิชกะ : [วานิด, วานิดชะ] น. พ่อค้า, มักใช้พูดเข้าคู่กับคำ พ่อค้า เป็นพ่อค้าวาณิช. (ป., ส.).
พณิช : [พะนิด] น. ผู้ค้าขาย, พ่อค้า. (ป., ส. วาณิช).
พาณิช : น. พ่อค้า. (ส., ป. วาณิช).
เวสสะ : น. พ่อค้า. (ป. เวสฺส; ส. ไวศฺย).
อาปณกะ : [นะกะ] น. พ่อค้า. (ป.).
วณิช : [วะนิด] น. พ่อค้า, ผู้ทําการค้า. (ป., ส. วาณิช).
เศรษฐี : [เสดถี] น. คนมั่งมี; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ธนิษฐา มี ๔ ดวง, ดาวไซ ดาวศรวิษฐา หรือ ดาวธนิษฐะ ก็เรียก. (ส. ว่า ประมุข พ่อค้า; ป. เสฏฺ??).
กระปุ่ม : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง ส่วนล่างใหญ่ ส่วนบนเล็ก รูปกลม มีฝาสวมลงลึก สําหรับใส่สิ่งของ พ่อค้าหาบเร่มักใช้.
กับแก้ ๑ : (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ล้มลุกไร้ดอกชนิด Selaginella argentea (Wall. ex Hook. et Grev.) Spring ในวงศ์ Selaginellaceae ใช้ทำยาได้ ใบอ่อนใช้เป็นผัก, พ่อค้าตีเมีย ก็เรียก.
ครัว ๒ : [คฺรัว] (ถิ่น-พายัพ) น. ของ, สิ่งของ, เครื่องใช้, เช่น พ่อค้าแม่ค้าขายครัว; ทรัพย์มรดก เช่น ลูกหล้าครัวรอม คือ ลูกคนสุดท้องจะได้รับทรัพย์มรดก มากกว่าผู้อื่น, ขายครัวมายาตัว คือ ขายทรัพย์มรดกเพื่อมารักษาตัว.
พวก : น. คน สัตว์ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันเข้าเป็นกลุ่มเป็นหมู่ตามอาชีพ หรือชนิดเป็นต้น เช่น พวกนักเรียน พวกพ่อค้า พวกกรรมกร พวก นก พวกกา พวกเครื่องมือ พวกเครื่องเขียน.
พื้นเพ : น. หลักแหล่ง เช่น พื้นเพเป็นคนนครปฐม, อาชีพของ วงศ์ตระกูล เช่น พื้นเพเป็นพ่อค้า.
เร่ : ก. เที่ยวไปไม่ประจําเป็นตําแหน่งแห่งที่ (ใช้แก่การค้าย่อย หรือรับจ้าง ขนส่งซึ่งไม่ประจําที่) เช่น เร่ขายของ, เตร่, เดินไปเดินมาอย่างไม่มี จุดหมาย, เช่น เร่ไปคุยที่โต๊ะโน้นบ้างโต๊ะนี้บ้าง, อาการที่หันเหและ เวียนเคลื่อนที่จากจุดเดิมไปสู่อีกที่หนึ่ง เช่น เดินกลับบ้านเห็นคนเล่น หมากรุกก็เลยเร่ไปเล่นด้วย. ว. ที่ไม่อยู่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น พ่อค้าเร่, เรียกละครที่มิได้อยู่แสดงประจำที่ว่า ละครเร่, เรียกเรือที่ ตระเวนขายของต่าง ๆ ไปตามแม่น้ำลำคลองว่า เรือเร่, เรียกพ่อค้าแม่ค้า ที่หาบของขายไปเรื่อย ๆ ไม่อยู่ประจำที่ว่า พ่อค้าหาบเร่ แม่ค้าหาบเร่, เรียกสั้น ๆ ว่า หาบเร่.
ลูกค้า : น. ผู้ซื้อ เช่น ผู้ขายปลีกเป็นลูกค้าของผู้ขายส่ง, ผู้อุดหนุน ในเชิงธุรกิจ เช่น ลูกค้าของธนาคาร.
โล้เล้ : (ปาก) ว. ส่งเสียงเอะอะจนฟังไม่ได้ศัพท์ เช่น พ่อค้าส่งเสียงโล้เล้.
วณิชชากร : น. ผู้ทําการค้าขาย, พวกพ่อค้า. (ป.).
หักราคา : ก. ตัดราคาให้ตํ่าลง เช่น พ่อค้าหักราคาข้าวเพราะมีความชื้นสูง และคุณภาพต่ำ.
หัวใส : ว. มีความคิดว่องไวในการหาประโยชน์ เช่น พ่อค้าหัวใส.