คาร์บอลิก : น. สารฟีนอล (phenol) มีสูตรเคมี C6H5OH ลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่น ละลายนํ้าได้บ้าง มีฤทธิ์กัด เป็นพิษ ใช้ประโยชน์เป็นยาล้าง เชื้อโรค ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติก และสีย้อมผ้า มักเรียก คลาดเคลื่อนว่า กรดคาร์บอลิก. (อ. carbolic).
ฝี ๑ : น. โรคจําพวกหนึ่ง เป็นต่อมบวมขึ้นกลัดหนองข้างใน เรียกชื่อ ต่าง ๆ กันหลายชนิด เช่น ฝีคัณฑมาลา ฝีดาษ ฝีประคําร้อย, ราชาศัพท์ว่า พระยอด.
อนุพันธ์ : ที่ติดต่อ, ที่เกี่ยวเนื่อง. (วิทยา) น. สิ่งที่เกี่ยวเนื่อง เช่น น้ำมันระกำ เป็นอนุพันธ์ของสารฟีนอล. (ป., ส.).
ฝี ๒ : ใช้นําหน้าคําอื่น หมายความว่า การกระทําหรือการแสดงออกมาใน บางลักษณะ.
ฝีคัณฑมาลา : น. ชื่อฝีชนิดหนึ่งที่ขึ้นเป็นแถวตามคอ.
ฝีคัณฑสูตร : น. ชื่อฝีชนิดหนึ่ง มักเป็นที่บริเวณขอบทวารหนัก.
ฝีประคำร้อย : น. ชื่อฝีชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นบริเวณลำคอ เป็นเม็ดเรียงกัน รอบคอ.
ฝีฝักบัว : น. ชื่อฝีชนิดหนึ่ง ขึ้นตามหลังและต้นคอ มีลักษณะเหมือน ฝักบัว มีหัวหลายหัว.
ฝีมะม่วง : น. ชื่อฝีที่โคนขาหนีบเกิดจากต่อมนํ้าเหลืองได้รับการติด เชื้อกามโรคชนิด Lymphogranuloma venereum.
ฝีหัวขาด : น. ชื่อฝีชนิดหนึ่ง เมื่อแรกขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ แล้วจึงเป็นฝี.
ฝีตีน : น. ฝีเท้า.
ฝีในท้อง : น. วัณโรคที่เกิดในทรวงอกหรือในช่องท้อง.
ฝีไม้ลายมือ : น. ความสามารถในวิชาความรู้.
ยอด : น. ส่วนสูงสุด, ส่วนเหนือสุด, เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดเขา, ส่วน ปลายสุดของพรรณไม้หรือที่แตกใหม่ เช่น ยอดผัก ยอดตำลึง ยอดกระถิน; เรียกคนหรือสัตว์ที่มีคุณสมบัติยิ่งยวดเหนือผู้อื่น เช่น ยอดคน ยอดหญิง ยอดสุนัข; จํานวนรวม เช่น ยอดเงิน; ฝี (ใช้ในราชาศัพท์ว่า พระยอด). (ปาก) ว. ที่สุด เช่น ยอดเยี่ยม ยอดรัก.
วณ, วณะ : [วะนะ] น. แผล, ฝี. (ป.; ส. วฺรณ).
วัณ, วัณ : [วัน, วันนะ] น. วณะ, แผล, ฝี. (ป.).
กระทึง :
น. (๑) (โบ; กลอน) ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง ใบคล้ายพลวง รากมียางเมือก เชื่อกันว่าใช้เป็นยาดูดพิษฝีได้ เช่น กระทุทุบกระทึงทอง. (สุธน). (๒) ดู กระทิง๒.
กุ้งยิง : น. ฝีหัวเล็ก ๆ ซึ่งเกิดจากการอักเสบที่ต่อมขอบตา.
เกลื่อน ๑ : [เกฺลื่อน] ว. เรี่ยรายหรือกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เช่น ลอยเกลื่อน หล่นเกลื่อน. ก. ทําให้ยุบหรือราบลง เช่น เกลื่อนที่ เกลื่อนฝี. เกลื่อนกล่น, เกลื่อนกลาด ว. เกลื่อน.
ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
คัณฑมาลา : [คันทะ-] น. ชื่อฝีชนิดหนึ่งที่ขึ้นเป็นแถวตามคอ. (ส.).
คัณฑสูตร : [คันทะสูด] น. ชื่อฝีชนิดหนึ่ง มักเป็นที่บริเวณขอบทวารหนัก.
เค้น : ก. บีบเน้นลงไปโดยแรง เช่น เค้นผลไม้ให้น่วม เค้นฝีให้หนองออก เค้นคอให้ยอมหรือให้ตาย, โดยปริยายหมายถึงบีบบังคับหรือฝืนทำ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เค้นเอาความลับออกมา เค้นหัวเราะ.
ชาตรี : [ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อยเดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ มีคํา ชาตรี นําหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).
ชายชาตรี : น. ผู้มีศิลปะหรือฝีไม้ลายมือในการต่อสู้.
ฐาน ๑ : [ถาน] น. ที่ตั้ง เช่น ฐานทัพ ฝีตั้งฐาน, ที่รองรับ เช่น ฐานพระพุทธรูป. (ป.).
ด้น : ก. เย็บเป็นฝีเข็มขึ้นทีลงที, ด้นปล่อย ก็เรียก; กิริยาที่หนอนชอนไชในผลไม้ เป็นต้น; มุ่งหน้าเดาไป, มุ่งหน้าฝ่าไป, ด้นดั้น ก็ว่า. น. เรียกกลอนชนิดหนึ่ง ที่ว่าดะไปไม่คำนึงถึงหลักสัมผัสว่า กลอนด้น; (ปาก) เรียกตัวจี๊ดว่า หนอนด้น.
ด้นถอยหลัง : ก. เย็บผ้าวิธีหนึ่ง คล้ายวิธีด้น แต่เมื่อจะแทงลงต้องย้อนมาแทง ข้างต้นอีกฝีเข็มหนึ่งเหมือนฝีจักร.
ด้นปล่อย : ก. เย็บเป็นฝีเข็มขึ้นทีลงที, ด้น ก็เรียก.
ต้อยติ่ง : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในวงศ์ Acanthaceae คือ ชนิด Hygrophila erecta Hochr. ดอกเล็ก สีม่วงแดง เมล็ดใช้ทํายาพอกฝี และชนิด Ruellia tuberosa L. ดอกใหญ่ สีม่วงนํ้าเงิน, อังกาบฝรั่ง ก็เรียก.
ตะมอย ๑ : น. ชื่อฝีชนิดหนึ่งขึ้นที่ปลายนิ้ว เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียก่อหนอง.
เท้าช้าง : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ทําให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งมีอาการหนังหนา หยาบ คล้ายหนังช้าง และมีขนาดโตขึ้น มักพบบ่อยที่เท้าหรือขา สาเหตุเนื่องจากพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย (filaria) ซึ่งมีหลายชนิด ทําให้ ท่อทางเดินนํ้าเหลืองของอวัยวะนั้น ๆ อุดตัน.
น้ำหนอง : น. น้ำเลือดเสียกลายเป็นสีขาวข้นที่กลัดอยู่ตามแผลและฝี, หนอง ก็ว่า.
ประคำร้อย : น. ชื่อฝีชนิดหนึ่งเกิดขึ้นบริเวณลําคอ เป็นเม็ดเรียงกัน รอบคอ.
ปีฬกะ : [-ละกะ] น. ฝี, ต่อม, ไฝ. (ป. ปีฬกา; ส. ปีฑกา).
ผ่า : ก. ทําให้แยกออกจากกันตามยาวด้วยมีดหรือขวานอย่างผ่าฟืน, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่ทําให้แยกออก เช่น ผ่าฝี ผ่าปากม้า; แหวกเข้าไป เช่น ผ่าเข้าไป; ฟาดฟันลงไป; (ปาก) ทำสิ่งที่ไม่น่า จะทำหรือในลักษณะที่ไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น เช่น วิ่งผ่าเข้าไป กลางวงแทนที่จะเล่นกันอยู่ข้างล่าง ผ่าขึ้นไปอยู่บนยอดไม้.
ฝักบัว ๑ : น. ชื่อฝีชนิดหนึ่ง ขึ้นตามหลังและต้นคอ มีลักษณะเหมือน ฝักบัว มีหัวหลายหัว; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งผสมเชื้อ มีลักษณะ เหมือนฝักบัว; ที่สําหรับโปรยนํ้า ให้เป็นฝอย มีลักษณะเหมือนฝักบัว ติดอยู่ที่ท่อประปาสำหรับอาบน้ำหรือติดที่กระป๋อง รดน้ำต้นไม้.
ฝีกาฬ : น. ฝีพิษร้ายที่ทําให้ปวดร้อน กระสับกระส่าย มีสีดํา เป็นแล้ว มักตาย.
ฝีจักร : น. ฝีเข็มของจักรเย็บผ้าที่ถี่หรือห่าง, ความเร็วของเรือที่ใช้ เครื่องยนต์.
ฝีดิบ : น. ฝีที่เป็นแก่คนอยู่ไฟเมื่อคลอดลูก เป็นฝีหัวเดียว มักขึ้น แถวท้อง.
ฝีเท้า : น. ความสามารถในการเดิน วิ่ง ช้าหรือเร็ว หนักหรือเบา เป็นต้น เช่น ม้าฝีเท้าดีม้าฝีเท้าจัด คนฝีเท้าหนัก, ฝีตีน ก็ว่า.
ฝีปาก : น. คารมของผู้กล่าว, ราชาศัพท์ว่า ฝีพระโอษฐ์.
ฝีมือ : น. ความเชี่ยวชาญในการใช้มืออย่างมีศิลปะ เช่น มีฝีมือในการ เย็บปักถักร้อย มีฝีมือในการปรุงอาหาร, เรียกการช่างทำด้วยมืออย่างมี ศิลปะ ว่า การช่างฝีมือ, ราชาศัพท์ว่า ฝีพระหัตถ์; โดยปริยายหมายถึง ความสามารถหรือทักษะและชั้นเชิงในการปฏิบัติการใด ๆ เช่น เขามี ฝีมือในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้โดยรวดเร็ว.
พุ :
ว. อาการที่น้ำหรือแก๊สเป็นต้นผุดขึ้นมา เช่น น้ำร้อนพุขึ้นมา แก๊ส ธรรมชาติพุขึ้นมา, อาการที่น้ำเหลืองเป็นต้นผุดขึ้นมา เช่น ฝีฝักบัว พุ. น. นํ้าที่พุขึ้นมา เรียกว่า นํ้าพุ. (ดู นํ้าพุ ที่ นํ้า).
มองคร่อ : [-คฺร่อ] น. โรคหลอดลมโป่งพอง มีเสมหะแห้งอยู่ในช่องหลอดลม ทําให้มีอาการไอเรื้อรัง ห้ามผู้ที่เป็นโรคนี้บวชเป็นภิกษุ. (อ. bronchiectasis); โรคทางเดินหายใจในสัตว์กีบเดียววงศ์ Equidae มีอาการไข้สูง เป็นฝีที่ต่อมน้ำเหลืองใต้คางและบริเวณคอหอยอาจติดต่อถึงคนได้, เขียนเป็น มงคล่อ ก็มี. (อ. strangles).
มะม่วง ๒ : น. ชื่อฝีที่โคนขาหนีบ เกิดจากต่อมนํ้าเหลืองได้รับการติดเชื้อกามโรค ชนิด Lymphogranuloma venereum เรียกว่า ฝีมะม่วง.
ยวง : น. เนื้อในของขนุนที่หุ้มเมล็ด เรียกว่า ยวงขนุน, ลักษณนามเรียกเนื้อใน ของขนุนว่า ขนุนยวงหนึ่ง ขนุน ๒ ยวง; เรียกลักษณะของเงินบริสุทธิ์ที่ ละลายคว้างอยู่ในเบ้า มีสีขาวผ่องเป็นมันปลาบ ว่า เงินยวง, โดยปริยาย เรียกสิ่งที่มีลักษณะย้อยยืดลงมาเป็นแนวยาว ๆ เช่น ฝีถอนยวง ขี้มูกเป็น ยวง. ว. เรียกสีขาวผ่องเป็นมันปลาบเหมือนสีเงินที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้า ว่า สีเงินยวง.
ยุบ : ก. ทรุด เช่น ดั้งจมูกยุบ, บุบเข้าไป เช่น หัวกะโหลกยุบ หน้าหม้อรถยนต์ ยุบ, ลด, ลดลง, เช่น พุงยุบ ฝียุบ, เรียกจังหวะรำของโขนละครเมื่อทำตัว ให้เตี้ยลงหลังจากยืดตัวขึ้นก่อนแล้ว; เลิก, ยกเลิก, เช่น ยุบกระทรวง ยุบ ตำแหน่ง; ทำให้หลอมละลายเพื่อทำให้เป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น ยุบกำไล ทำแหวน.
ระบม : ก. อาการเจ็บร้าวที่เกิดจากความเมื่อยขัดหรือบอบชํ้าเป็นต้น เช่น ฝีระบม จนเป็นไข้ ถูกตีระบมไปทั้งตัว, ชอกช้ำ เช่น อกระบม ระบมใจ.
ระลอก ๒ : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง พองเป็นหัวเล็ก ๆ คล้ายฝี.