ภาษา : น. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษา ราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและ แต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษา จาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.
กลาง : [กฺลาง] น. ส่วนที่ไม่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง, โดยปริยายหมายความว่า ในที่หรือเวลาระหว่าง เช่น กลางฝน; ที่รวม, ที่รวมกิจการงานที่มีสาขาย่อยออกไป, เช่น สํานักงานกลาง ไปรษณีย์กลาง.
ครึ่ง ๆ กลาง ๆ : ว. ไม่ตลอด, ไม่เต็มที่.
กลางค่ำ :
(โบ; กลอน) น. เวลากลางคืน, ใช้เข้าคู่กับคํา กลางคืน เป็น กลางค่ากลางคืน. (ดู ค่า).
กลางช้าง : น. ตําแหน่งพนักงานประจํากลางหลังช้าง.
กลางดิน : น. นอกที่มุงที่บัง เช่น นอนกลางดินกินกลางทราย.
กลางดึก : น. เวลากลางคืนตอนดึก ประมาณตั้งแต่เที่ยงคืนไป.
กลางเดือน : น. วันเพ็ญ เช่น กลางเดือน ๖.
กลางทาสี : (กฎ; โบ) น. เรียกหญิงที่มีทุกข์ยาก ชายช่วยไถ่มาเลี้ยงเป็นเมีย ว่า เมียกลางทาสี. (สามดวง).
กลางนอก : (กฎ; โบ) น. เรียกหญิงที่ชายสู่ขอมาเลี้ยงเป็นอนุภริยาว่า เมียกลางนอก. (สามดวง).
กลางแปลง : ว. ที่แสดงหรือเล่นเป็นต้นในที่แจ้ง เช่น โขนกลางแปลง หนังกลางแปลง คล้องช้างกลางแปลง.
กลางเมือง : น. ประชาชน ในคําว่า ฉ้อกลางเมือง หมายถึง ฉ้อโกงประชาชน; การรบกันเองในเมือง เรียกว่า ศึกกลางเมือง; (กฎ; โบ) เรียกหญิงที่บิดามารดายินยอมยกให้เป็นภริยาชายว่า เมียกลางเมือง. (สามดวง).
กลางวัน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ, ระยะเวลาราว ๆ เที่ยง, เรียกอาหารระหว่างมื้อเช้ากับมื้อเย็นว่า อาหารกลางวัน.
กลางหาว : น. กลางแจ้ง เช่น รองน้ำฝนกลางหาว, บนฟ้า เช่น เครื่องบินรบกันกลางหาว.
ภาษาคำควบมากพยางค์ : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการประกอบ หน่วยคำหลาย ๆ หน่วยเข้าเป็นคำเดียวกัน ทำให้คำหนึ่ง ๆ มีความยาว หลายพยางค์ เช่น ภาษาเวลส์ ภาษาเอสกิโม ภาษาอินเดียนแดง. (อ. polysynthetic language).
ภาษาคำโดด : น. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยน แปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่อง กับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำ สองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. (อ. isolating language).
ภาษาคำติดต่อ : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการเติมอุปสรรค อาคม หรือปัจจัย ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระและไม่มีความหมาย ผสานเข้ากับคำ บางคำซึ่งเป็นคำตั้ง ทำให้เกิดเป็นคำใหม่ แต่จะมีรูปและความหมายเกี่ยว เนื่องกับคำตั้งนั้น เช่น ภาษาเขมร ภาษาญี่ปุ่น ภาษาตุรกี ภาษาฮังการี. (อ. agglutinative language).
ภาษาถิ่น : น. ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะ ตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น.
ภาษาธรรม : น. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมาย ที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาว บ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.
ภาษาแบบแผน : น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียว กันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า ''ขอเดชะ...'' และลงท้ายว่า ''ควรมิควรแล้วแต่ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...'', ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคล สำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตร กิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับ พิธีการ ก็เรียก.
ภาษาปาก : น. ภาษาพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า.
ภาษามีวิภัตติปัจจัย : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการใช้วิภัตติปัจจัย ประกอบเข้ากับรากศัพท์ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระทำให้เกิดเป็นคำที่แสดง เพศ พจน์ กาล มาลา วาจกอย่างชัดเจน เพื่อเข้าสัมพันธ์ทางไวยากรณ์ กลมกลืนกับคำอื่นในประโยค เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษากรีก โบราณ ภาษาละติน ภาษาฝรั่งเศส. (อ. inflectional language).
ภาษาระดับทางการ : น. ภาษาราชการ.
ภาษาระดับพิธีการ : น. ภาษาแบบแผน.
ภาษาราชการ : น. ภาษาที่ใช้สื่อสารในราชการและวิชาการเป็นต้น เช่น จดหมายติดต่อราชการ รายงานการประชุมของหน่วยงาน รายงานการวิจัย รายงานวิชาการสาขาต่าง ๆ, ภาษาระดับทางการ หรือ ภาษากึ่งแบบแผน ก็เรียก; ภาษาที่รัฐบาลประกาศให้ใช้เป็นทางราชการ เช่น ประเทศไทยใช้ ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฮินดี และภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ.
กลางเก่ากลางใหม่ : ว. ไม่เก่าไม่ใหม่.
กลางคน : ว. มีอายุพ้นวัยหนุ่มสาว แต่ยังไม่แก่.
กลางคัน : ว. ในระหว่างเหตุการณ์, ในระหว่างที่ยังไม่เสร็จ.
กลางคืน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง, (กฎ) เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกกับพระอาทิตย์ขึ้น.
กลางแจ้ง : น. นอกร่มไม้ชายคา.
กลางใจมือ : น. อุ้งมือ.
กลางบ้าน : ว. ใช้เรียกยาเกร็ดที่ชาวบ้านเชื่อถือกันเองว่า ยากลางบ้าน.
คำตั้ง : น. คําที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมายในการทําพจนานุกรม; คําที่เป็นหลักให้คําอื่นที่เติมเข้ามาต่อ จะเติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลังก็ได้ ในภาษาคําติดต่อ.
คำเติม : น. คําที่เติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลัง ของคําตั้งใน ภาษาคําติดต่อ.
จ : พยัญชนะตัวที่ ๘ เป็นตัวต้นวรรคที่ ๒ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็น ตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กิจ วินิจฉัย ตํารวจ จอร์จ.
ฎ : พยัญชนะตัวที่ ๑๔ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กฎ มงกุฎ.
ฏ : พยัญชนะตัวที่ ๑๕ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ปรากฏม กุฏกษัตริยาราม.
ต : พยัญชนะตัวที่ ๒๑ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกด ในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น จิต เมตตา ฟุต.
ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
ป : พยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบ ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคําหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤต มักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.
เพลงออกภาษา : น. เพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ ในเพลงเดียวกันหรือเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทแต่ไม่ครบ ๑๒ ภาษา.
เพลงออกสิบสองภาษา : น. เพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บท โดย นำเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ มารวมกันเข้าเป็น ชุด มี ๑๒ ภาษา.
ภาสา : น. ภาษา. (ป.).
ออกภาษา : น. เรียกเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ ในเพลงเดียวกัน หรือเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทแต่ไม่ครบ ๑๒ ภาษา ว่า เพลงออกภาษา.
ออกสิบสองภาษา : น. เรียกเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทโดย นำเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ มารวมกันเข้า เป็นชุดมี ๑๒ ภาษา ว่า เพลงออกสิบสองภาษา.
กากภาษา : [กากะพาสา] น. ชาติกา เช่น ลางมารนิรมิตอินทรีย์ เศียรเป็นอสุรี และกายเป็นกากภาษา. (คําพากย์).
ข้าวกลาง : น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ออกรวงหลังข้าวเบา คือในช่วงกลางเดือน ตุลาคมถึงปลายเดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงกลางเดือน พฤศจิกายนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน เช่น พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ พันธุ์ข้าว กข ๖.
ทางสายกลาง : น. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางที่จะนำไปสู่ความ ดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง; การปฏิบัติที่ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก, การปฏิบัติที่ไม่ตึงไปทางใด ทางหนึ่ง.
ปานกลาง : ว. ขนาดกลาง, ไม่มากไม่น้อย, พอสมควร, อยู่ระหว่าง ที่สุด ๒ ฝ่าย เช่นระหว่างสูงกับต่ำ ใหญ่กับเล็ก มากกับน้อย ฉลาดกับโง่.
พากย์ : ก. พูดแทนผู้แสดงหรือตามบทบาทของผู้แสดงโขน หนัง หรือ ภาพยนตร์ เป็นต้น เช่น พากย์โขน พากย์หนังตะลุง พากย์หนัง ใหญ่ พากย์ภาพยนตร์, บรรยายถ่ายทอดในการแข่งขันกีฬาหรือ การแสดงบางอย่าง เช่น พากย์มวย พากย์ฟุตบอล, กล่าวเรื่องราว เป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนเล่นหนัง. น. คําพูด, ภาษา; คํากล่าว เรื่องราวเป็นทํานองเมื่อเวลาแสดงโขนหรือหนังใหญ่เป็นต้น, บทพากย์ ก็ว่า. (ป., ส. วากฺย).