ภาษี : น. เงินที่รัฐหรือท้องถิ่นเรียกเก็บจากบุคคล เพื่อใช้จ่ายในการบริหาร ประเทศหรือท้องถิ่น เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีบํารุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม; ความได้เปรียบ เช่น เขามีภาษีกว่า.
รถยนต์ : น. ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ตามปรกติมี ๔ ล้อ มีหลายแบบหลายชนิดเรียกชื่อต่าง ๆ กันตามความมุ่งหมายที่ใช้เป็นต้น เช่น รถเก๋งรถบรรทุก รถโดยสาร; (กฎ) รถที่มีล้อตั้งแต่ ๓ ล้อ และเดิน ด้วยกําลังเครื่องยนต์ กําลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นยกเว้นที่เดินบนราง.
ภาษีสรรพสามิต : [สับพะ, สันพะ] (กฎ) น. ภาษีที่กรมสรรพสามิต เรียกเก็บจากสินค้าที่ผลิตหรือนําเข้าและการให้บริการในทางธุรกิจตามที่ กฎหมายกําหนด เช่น ภาษีรถยนต์ ภาษีสุรา. (อ. excise tax).
ภาษีเงินได้ : น. ภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ได้รับเงิน ทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อย่างอื่น ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน.
ภาษีบำรุงท้องที่ : (กฎ) น. ภาษีซึ่งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมี กรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของ เอกชน มีหน้าที่ต้องเสียเป็นรายปีจากราคาปานกลางของที่ดินตามที่ ทางราชการได้ประกาศกําหนดไว้ เพื่อให้เป็นรายได้ขององค์การบริหาร ส่วนท้องถิ่น ซึ่งที่ดินนั้นอยู่ในเขต.
ภาษีมูลค่าเพิ่ม : (กฎ) น. ภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคล ที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นใน แต่ละขั้นตอนของการผลิต การจําหน่าย หรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา ๑๐๐ บาท ผลิตเป็นสินค้าขายในราคา ๑๕๐ บาท ดังนี้ ก็จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจํานวน ๕๐ บาท เท่านั้น. (อ. value-added tax).
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน : (กฎ) น. ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้รับประเมินผู้มี กรรมสิทธิ์ในที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นปีละครั้งตาม ค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น.
รถยนต์ราง : น. รถยนต์ที่ขับเคลื่อนไปบนราง มีล้อเหล็ก.
เจ้าภาษี : (โบ) น. ผู้ผูกขาดตัดตอนจากรัฐบาลไปเรียกเก็บภาษีบางอย่าง จากราษฎร.
ประเมินภาษี : ก. กําหนดจํานวนเงินที่จะต้องเสียเป็นภาษี, กําหนด จํานวนเงินที่เจ้าพนักงานเรียกเก็บเป็นภาษีจากผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ตามที่ได้ประเมินไว้แล้ว ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้.
ผูกภาษี : (โบ) ก. ว่าเหมาการเก็บภาษีไปทําเองแล้วให้เงินแก่หลวง ตามสัญญา.
ศาลภาษีอากร : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจ ของศาลภาษีอากร เช่น คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือ คณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร.
ภาษ : [พาด] ก. พูด, กล่าว, บอก. (ส.; ป. ภาส).
มีภาษีกว่า : (สํา) ว. ได้เปรียบ.
ใบอนุญาตขับขี่ : (กฎ) น. ใบอนุญาตขับรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วย รถยนต์ ใบอนุญาตสําหรับคนขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถจ้าง ใบอนุญาตขับขี่ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน และใบอนุญาต ผู้ประจําเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง, (ปาก) ใบขับขี่.
พวงมาลัย : น. ดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยลักษณะหนึ่ง โดยการนำ ดอกไม้ กลีบดอกไม้และใบไม้ มาร้อยด้วยเข็ม แล้วรูดออกมาใส่ ด้ายผูกเป็นพวง มีลักษณะต่าง ๆ กัน, มาลัย ก็เรียก; เครื่องสําหรับ บังคับเรือไฟหรือเรือยนต์ รถยนต์ ให้ไปตามทางที่ต้องการ; เครื่อง สําหรับช่วยพยุงคนตกนํ้า มีรูปคล้ายพวงมาลัย; ชื่อการเล่นของ ชาวบ้านชนิดหนึ่งเรียกว่า เพลงพวงมาลัย.
แพขนานยนต์ : (ปาก) น. เรือบรรทุกคนโดยสาร รถยนต์ หรือ สิ่งของข้ามฟาก มีลักษณะคล้ายแพขนาดใหญ่.
รถไต่ถัง : น. การแสดงผาดโผนชนิดหนึ่งโดยขับขี่รถจักรยานยนต์วน ไปรอบ ๆ ภายในถังไม้รูปทรงกระบอกขนาดใหญ่, ที่ใช้จักรยานสองล้อ หรือ รถยนต์ ก็มี.
รถพระที่นั่ง : น. รถยนต์ที่พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรม ราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้นทรง เรียกเต็มว่า รถยนต์ พระที่นั่ง, ถ้าเป็นรถม้า เรียกว่า รถม้าพระที่นั่ง.
รถ, รถ : [รด, ระถะ] น. ยานที่มีล้อสําหรับเคลื่อนไป เช่น รถม้า รถยนต์ รถไฟ; (กฎ) ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกําลัง เครื่องยนต์ กําลังไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอด ถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้เว้นแต่รถไฟ. (ป.).
เห : ก. เบนไป เช่น เหหัวเรือ, เขว เช่น เขาเหไปเข้าข้างศัตรู, เฉ เช่น รถยนต์ เหออกนอกทาง.
กงข้าง, กงค้าง : น. กงที่ตรึงข้างไม่ถึงท้องเรือสลับกับกงวาน. (ตํานานภาษีอากร).
กระโปรง : [-โปฺรง] น. ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล; ฝาครอบเครื่องรถยนต์ หรือฝาครอบที่เก็บของข้างหน้าและข้างหลังรถยนต์; กระบุงรูปกลมสูง ปากผายมาก พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กสอบลง ลักษณะคล้ายกระโปรงบาน สำหรับขนข้าวเปลือกหรือมะพร้าว เป็นต้น; ภาชนะเย็บด้วยกาบหมากหรือใบไม้ สําหรับใส่ของต่าง ๆ เช่น ราชปุโรหิตก็ให้เอานางนกไส้ใส่กระโปรงขังไว้จนเพลารุ่งเช้า. (นพมาศ); กะโปรง ก็ใช้.
กะโปรง : [-โปฺรง] น. ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล; ฝาครอบเครื่องรถยนต์หรือ ฝาครอบที่เก็บของข้างหน้าและข้างหลังรถยนต์; กระบุงรูปกลมสูง ปากผายมาก พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กสอบลง ลักษณะคล้าย กระโปรงบาน สำหรับขนข้าวเปลือกหรือมะพร้าวเป็นต้น; ภาชนะ เย็บด้วยกาบหมากหรือใบไม้สำหรับใส่ของต่าง ๆ; กระโปรง ก็ใช้.
กันชน : น. เครื่องป้องกันการกระทบกระแทกด้านหน้าและ ด้านหลังรถยนต์, เรียกประเทศที่กั้นอยู่ระหว่างดินแดนของ ๒ ประเทศ เพื่อมิให้พิพาทกันในเรื่องดินแดนและผลประโยชน์ว่า ประเทศกันชน.
การคลัง : น. การจัดการเงิน, การคลังแผ่นดิน หรือ การคลังสาธารณะ คือ การจัดการเงินของประเทศ, การคลังเอกชน คือ การจัดการ เงินของบุคคล เช่น บริษัท; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับ การเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ ซึ่งรัฐมีอํานาจดําเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอํานาจ หน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญา ผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อํานาจหรือให้สัตยาบัน รวมทั้งการค้า ประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ.
กำตาก : น. สิทธิพิเศษในค่าภาษีอากรขนอนตลาดที่พระเจ้าแผ่นดิน ยกให้แก่พระยาแรกนาขวัญในระหว่างพิธี ๓ วันในครั้งโบราณ.
เกียร์ : น. กลอุปกรณ์ที่ส่งผ่านกําลังและการเคลื่อนที่จากส่วนหนึ่งไปยังอีก ส่วนหนึ่งของเครื่องกล; ส่วนหนึ่งของรถยนต์ เรือยนต์ เป็นต้น ต่อจากคลัตช์ ทําหน้าที่เปลี่ยนอัตราส่วนการทดรอบระหว่าง เครื่องยนต์กับล้อ, เขียนเป็น เกีย ก็มี. (อ. gear).
ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
เข็มขัดนิรภัย : น. เข็มขัดที่ติดอยู่ที่นั่งในรถยนต์หรือเครื่องบินเพื่อ ป้องกันไม่ให้ผู้โดยสารถูกเหวี่ยงกระเด็นจากที่นั่งเมื่อมีอุบัติเหตุ.
คลาน : [คฺลาน] ก. ไปด้วยมือและเข่าอย่างเด็ก; กิริยาที่ใช้มือและเท้าทั้ง ๒ ทาบพื้นแล้วเคลื่อนไป เรียกว่า คลานสี่เท้า; กิริยาที่เคลื่อนไปด้วยเข่า และศอก เรียกว่า คลานศอก, ด้วยเข่า เรียกว่า คลานเข่า; กิริยาที่เดินไป อย่างช้า ๆ ของสัตว์บางชนิด เช่น เต่า จระเข้, เคลื่อนไปอย่างช้า ๆ เช่น รถยนต์ค่อย ๆ คลานไป.
คลุม : [คฺลุม] ก. ปกหรือปิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้เสียหายหรือทำให้ มองไม่เห็นเป็นต้น เช่น เอาผ้าใบคลุมรถยนต์ไว้ ไม้เลื้อยคลุมหลังคา; ครอบไปถึง เช่น คำนี้คลุมไม่ถึง.
คอยล์ : น. อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งซึ่งใช้ประกอบกับเครื่องยนต์ของรถยนต์ ทําหน้าที่แปลงไฟฟ้าแรงตํ่าจากแบตเตอรี่ให้เป็นไฟฟ้าแรงสูง เพื่อก่อ ให้เกิดประกายไฟฟ้าที่เขี้ยวหัวเทียน. (อ. ignition coil).
ค่าน้ำ : (โบ) น. อากรจับสัตว์นํ้า, เงินที่ต้องเสียภาษีในการที่มีเครื่องมือ จับสัตว์นํ้า.
คิ้ว : น. ส่วนโค้งขอบกระบอกตาข้างบนซึ่งมีขนขึ้นที่โค้งนั้น; ไม้ที่ช่างลอก เป็นลวดสําหรับประกอบขอบหรือริมประตูหน้าต่างเป็นต้น, เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คิ้วรถยนต์; เรียกพายที่ทําเป็นลวดใน ใบพายว่า พายคิ้ว.
คุ้มห้าม : ก. ยกเว้นจากความต้องห้ามและภาษีอากรโดยมีหนังสือ เป็นตราภูมิ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ตราภูมิ เป็น ตราภูมิคุ้มห้าม.
เครื่องช่วงล่าง : น. อุปกรณ์ประกอบที่อยู่ใต้พื้นรถยนต์ เช่น สลัก ลูกหมาก คันส่ง แหนบ ล้อ คานปีกนก, เครื่องล่าง ก็ว่า.
เครื่องล่าง : น. อุปกรณ์ประกอบที่อยู่ใต้พื้นรถยนต์ เช่น สลัก ลูกหมาก คันส่ง แหนบ ล้อ คานปีกนก, เครื่องช่วงล่าง ก็ว่า.
เงินคงคลัง : (กฎ) น. เงินทั้งปวงที่พึงชำระให้แก่รัฐบาลไม่ว่าเป็นภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เงินกู้ หรือเงินอื่นใด ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการได้เก็บ หรือรับเงินนั้นมีหน้าที่ควบคุมให้ส่งเข้าบัญชีเงินคงคลัง หรือคลังจังหวัด หรือคลังอำเภอ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด.
จดทะเบียน : (กฎ) ก. ลงบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐานตามที่กฎหมายกําหนด เช่น จดทะเบียนรถยนต์ จดทะเบียนสมรส จดทะเบียนหุ้นส่วนและบริษัท.
จังกอบ : (โบ) น. ภาษีผ่านด่าน, ภาษีปากเรือ, ภาษีที่เก็บเพื่อใช้บำรุงท้องถิ่น. ก. ผูก, มัด, เชิงกอบ ก็เรียก.
เจ้าจำนวน : (โบ) น. เจ้าหน้าที่เก็บภาษีอากร.
ชน ๑ : ก. โดนแรง ๆ เช่น รถยนต์ชนต้นไม้, ชิดจนติด เช่น ตั้งตู้ ชนฝา; บรรจบ เช่น ชนขวบ; ให้ต่อสู้กัน เช่น ชนโค ชนไก่. น. เรียกไก่อูชนิดหนึ่งที่เลี้ยงไว้ชนกันว่า ไก่ชน.
แชสซี : น. โครงของรถยนต์ตามความยาวตัวถังรถ ทำด้วยโลหะ แข็งแรง ซึ่งไม่รวมตัวถังเครื่องยนต์ และล้อ, คัสซี ก็ว่า (อ. chassis).
เซลล์ : น. (ชีว) หน่วยชีวิตที่เล็กที่สุด; (ไฟฟ้า) เครื่องสําเร็จที่มีส่วนประกอบ ที่เหมาะสม ซึ่งใช้ปฏิกิริยาเคมีเป็นแหล่งกําเนิดพลังงานเป็นผลให้ เกิดมี กระแสไฟฟ้าขึ้นได้. (อ. cell). เซลล์ทุติยภูมิ น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วต้องนําไป อัดไฟเสียก่อน แล้วจึงจะนําไปใช้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบบางส่วนจะหมดเปลืองและแปรสภาพไป แต่อาจทําให้กลับคงคืนสู่สภาพเดิมได้อีก โดยวิธีนําเซลล์ไฟฟ้าไปอัด ไฟใหม่ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์. (อ. secondary cell). เซลล์ปฐมภูมิ น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็นําไปใช้ เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ทันที เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบ บางส่วนจะหมดเปลืองไปโดยไม่กลับคงคืนเป็นสภาพเดิมได้อีก เช่น ถ่านไฟฉาย. (อ. primary cell).
เดินนา : ก. สํารวจนาเพื่อเรียกเก็บภาษีอากร.
เดินสวน : ก. สํารวจสวนเพื่อเรียกเก็บภาษีอากร.
ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
ถลุง : [ถะหฺลุง] ก. ใช้ความร้อนสุมสินแร่เพื่อไล่ขี้แร่ออกเอาไว้แต่เนื้อ โลหะ; (ปาก) โดยปริยายใช้ในความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่ข้อความ แวดล้อม เช่น ถลุงเงินเสียเรียบ หมายถึง ผลาญเงิน นักมวยถูกถลุง เสียยํ่าแย่ หมายถึง ถูกเตะต่อยเสียยํ่าแย่ เอารถยนต์ไปถลุงเสียยับเยิน หมายถึง เอาไปใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย.
ทองขาว : (โบ) น. โลหะสีขาวแกมเทา บุเป็นแผ่นรีดเป็นลวดได้ อาจหมายถึงโลหะนิกเกิล หรือโลหะแพลทินัม ก็ได้; ส่วนประกอบ ส่วนหนึ่งของจานจ่ายไฟในเครื่องยนต์ของรถยนต์ ทําหน้าที่เป็น ทางเดินของกระแสไฟฟ้าแรงตํ่า และทําให้กระแสไฟฟ้าแรงตํ่า ขาดวงจรเพื่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าแรงสูงที่คอยล์ (coil) เป็นผลให้ มีประกายไฟฟ้าขึ้นที่ปลายเขี้ยวของหัวเทียนในจังหวะที่ถูกต้อง.