Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ภาษีศุลกากร, ศุลกากร, ภาษี , then ภาษ, ภาษศลกากร, ภาษี, ภาษีศุลกากร, ศุลกากร .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ภาษีศุลกากร, 56 found, display 1-50
  1. ภาษี : น. เงินที่รัฐหรือท้องถิ่นเรียกเก็บจากบุคคล เพื่อใช้จ่ายในการบริหาร ประเทศหรือท้องถิ่น เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีบํารุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม; ความได้เปรียบ เช่น เขามีภาษีกว่า.
  2. ศุลกากร : ดู ศุลก.
  3. ศุลกากร : [สุนละกากอน] (กฎ) น. อากรที่เรียกเก็บจากสินค้าเข้า และสินค้าออก ได้แก่ อากรขาเข้าและอากรขาออก.
  4. ภาษีเงินได้ : น. ภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ได้รับเงิน ทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อย่างอื่น ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน.
  5. ภาษีบำรุงท้องที่ : (กฎ) น. ภาษีซึ่งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมี กรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของ เอกชน มีหน้าที่ต้องเสียเป็นรายปีจากราคาปานกลางของที่ดินตามที่ ทางราชการได้ประกาศกําหนดไว้ เพื่อให้เป็นรายได้ขององค์การบริหาร ส่วนท้องถิ่น ซึ่งที่ดินนั้นอยู่ในเขต.
  6. ภาษีมูลค่าเพิ่ม : (กฎ) น. ภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคล ที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นใน แต่ละขั้นตอนของการผลิต การจําหน่าย หรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา ๑๐๐ บาท ผลิตเป็นสินค้าขายในราคา ๑๕๐ บาท ดังนี้ ก็จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจํานวน ๕๐ บาท เท่านั้น. (อ. value-added tax).
  7. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน : (กฎ) น. ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้รับประเมินผู้มี กรรมสิทธิ์ในที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นปีละครั้งตาม ค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น.
  8. ภาษีสรรพสามิต : [–สับพะ–, –สันพะ–] (กฎ) น. ภาษีที่กรมสรรพสามิต เรียกเก็บจากสินค้าที่ผลิตหรือนําเข้าและการให้บริการในทางธุรกิจตามที่ กฎหมายกําหนด เช่น ภาษีรถยนต์ ภาษีสุรา. (อ. excise tax).
  9. เจ้าภาษี : (โบ) น. ผู้ผูกขาดตัดตอนจากรัฐบาลไปเรียกเก็บภาษีบางอย่าง จากราษฎร.
  10. ประเมินภาษี : ก. กําหนดจํานวนเงินที่จะต้องเสียเป็นภาษี, กําหนด จํานวนเงินที่เจ้าพนักงานเรียกเก็บเป็นภาษีจากผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ตามที่ได้ประเมินไว้แล้ว ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้.
  11. ผูกภาษี : (โบ) ก. ว่าเหมาการเก็บภาษีไปทําเองแล้วให้เงินแก่หลวง ตามสัญญา.
  12. ศาลภาษีอากร : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจ ของศาลภาษีอากร เช่น คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือ คณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร.
  13. พิกัดอัตราศุลกากร : (กฎ) น. กําหนดจํานวนเงินอากรที่เรียกเก็บจาก ของที่ส่งหรือพาออกไปนอกราชอาณาจักร เรียกว่า อากรขาออก หรือของที่นําหรือพาเข้ามาในราชอาณาจักร เรียกว่า อากรขาเข้า.
  14. ภาษ : [พาด] ก. พูด, กล่าว, บอก. (ส.; ป. ภาส).
  15. มีภาษีกว่า : (สํา) ว. ได้เปรียบ.
  16. กงข้าง, กงค้าง : น. กงที่ตรึงข้างไม่ถึงท้องเรือสลับกับกงวาน. (ตํานานภาษีอากร).
  17. การคลัง : น. การจัดการเงิน, การคลังแผ่นดิน หรือ การคลังสาธารณะ คือ การจัดการเงินของประเทศ, การคลังเอกชน คือ การจัดการ เงินของบุคคล เช่น บริษัท; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับ การเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ ซึ่งรัฐมีอํานาจดําเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอํานาจ หน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญา ผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อํานาจหรือให้สัตยาบัน รวมทั้งการค้า ประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ.
  18. กำตาก : น. สิทธิพิเศษในค่าภาษีอากรขนอนตลาดที่พระเจ้าแผ่นดิน ยกให้แก่พระยาแรกนาขวัญในระหว่างพิธี ๓ วันในครั้งโบราณ.
  19. ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
  20. คลังสินค้าทัณฑ์บน : (กฎ) น. คลังสินค้าของทางราชการศุลกากรที่รับ เก็บสินค้าเข้า โดยยังไม่ต้องชําระอากรขาเข้าจนกว่าจะได้มีการนํา สินค้านั้นออกจากคลังสินค้า.
  21. ค่าน้ำ : (โบ) น. อากรจับสัตว์นํ้า, เงินที่ต้องเสียภาษีในการที่มีเครื่องมือ จับสัตว์นํ้า.
  22. คุ้มห้าม : ก. ยกเว้นจากความต้องห้ามและภาษีอากรโดยมีหนังสือ เป็นตราภูมิ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ตราภูมิ เป็น ตราภูมิคุ้มห้าม.
  23. เงินคงคลัง : (กฎ) น. เงินทั้งปวงที่พึงชำระให้แก่รัฐบาลไม่ว่าเป็นภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เงินกู้ หรือเงินอื่นใด ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการได้เก็บ หรือรับเงินนั้นมีหน้าที่ควบคุมให้ส่งเข้าบัญชีเงินคงคลัง หรือคลังจังหวัด หรือคลังอำเภอ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด.
  24. จังกอบ : (โบ) น. ภาษีผ่านด่าน, ภาษีปากเรือ, ภาษีที่เก็บเพื่อใช้บำรุงท้องถิ่น. ก. ผูก, มัด, เชิงกอบ ก็เรียก.
  25. เจ้าจำนวน : (โบ) น. เจ้าหน้าที่เก็บภาษีอากร.
  26. ด่าน : น. ทางผ่าน เช่น ด่านช้าง, ทางผ่านพรมแดนระหว่างประเทศ เช่น ด่านเจดีย์ สามองค์ ด่านสิงขร; ที่สําหรับกัก ตรวจ คอยระวังเหตุ และป้องกันช่องทาง ที่จะผ่านเข้าออก เช่น ด่านตรวจคนเข้าเมือง ด่านศุลกากร ด่านกักสัตว์.
  27. เดินนา : ก. สํารวจนาเพื่อเรียกเก็บภาษีอากร.
  28. เดินสวน : ก. สํารวจสวนเพื่อเรียกเก็บภาษีอากร.
  29. นายอากร : ( น. ผู้รับผูกขาดภาษีอากร.
  30. เบ็ดเสร็จ : [เบ็ดเส็ด] ว. รวมด้วยกัน, รวมหมดด้วยกัน, เช่น รวมเบ็ดเสร็จ ราคาเบ็ดเสร็จ, ครบถ้วนทุกรูปทุกแบบ เช่น สงครามเบ็ดเสร็จ; (โบ) เรียกภาษีสิ่งของต่าง ๆ นอกจากข้าวที่ส่งออกไปนอก ประเทศว่าภาษีเบ็ดเสร็จ.
  31. เบี้ยปรับ : (กฎ) น. จํานวนเงินหรือการชําระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่เป็น จํานวนเงิน ซึ่งลูกหนี้สัญญาว่าจะให้เจ้าหนี้เรียกเอาได้เมื่อตนไม่ชําระ หนี้ หรือไม่ชําระหนี้ให้ถูกต้องสมควร; เงินค่าปรับที่ผู้ต้องเสียภาษี อากรจะต้องเสียเพิ่มขึ้นจากจํานวนภาษีอากรที่ต้องชําระ ในกรณีที่ไม่ ปฏิบัติตามที่ประมวลรัษฎากรกําหนดไว้.
  32. ใบขนสินค้า : (กฎ) น. เอกสารแสดงรายการสินค้า อันได้แก่ ชนิด คุณภาพ ปริมาณ นํ้าหนัก ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดและรายการ อื่นตามที่อธิบดีกรมศุลกากรต้องการ ซึ่งผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของ ออกต้องยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อนําของใด ๆ เข้ามาในประเทศ หรือส่งของใด ๆ ออกนอกประเทศ.
  33. ใบเบิกร่อง : (กฎ) น. เอกสารที่กรมศุลกากรออกให้แก่เรือที่มีระวาง จดทะเบียนตํ่ากว่า ๒๐๐ ตัน ที่ออกจากท่าเรือกรุงเทพฯ เพื่อส่งมอบ ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อนําเรือผ่านด่านศุลกากรที่ปากนํ้า สมุทรปราการ.
  34. เปรียบ : [เปฺรียบ] ก. เอาสิ่งหนึ่งเข้ามาเทียบกับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อให้เห็นว่าใกล้กัน เสมอกัน หรือผิดกัน, ถ้าเอามาเทียบกันดูแล้ว ฝ่ายที่มีภาษีกว่า เรียกว่า ได้เปรียบฝ่ายที่เป็นรอง เรียกว่า เสียเปรียบ, ถ้าจะเอาฝ่ายตนให้มีภาษี ข้างเดียว เรียกว่า เอาเปรียบ.
  35. ผู้ประกอบการ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทาง ธุรกิจหรือวิชาชีพไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ หรือ ได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ และไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วหรือไม่.
  36. พรหมไทย : น. ที่ดินซึ่งพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พราหมณ์และ ยกเว้นภาษีอากร; ของที่บิดามารดาให้.
  37. พระราชกำหนด : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการ รักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติ สาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจําเป็น ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับ การพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.
  38. พลี ๑ : [พะลี] น. การบวงสรวง, เครื่องบวงสรวง, ส่วย, การบูชา, (ตาม แบบมี ๕ คือ ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ, อติถิพลี ต้อนรับแขก, เปตพลี ทําบุญอุทิศให้ผู้ตาย, ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีเสียภาษี อากรเป็นต้น, เทวตาพลี ทําบุญอุทิศให้เทวดา, และแบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ ธรรมพลี อุทิศกุศลให้ และ อามิสพลี ให้สิ่งของ). (ป., ส. พลิ ว่า เครื่องบวงสรวง).
  39. พิกัด ๑ : น. กําหนด (ของต้องพิกัด หมายความว่า ของเข้ากําหนดที่จะต้อง เสียภาษีอากร).
  40. เมืองท่าปลอดภาษี : น. เมืองท่าหรือบริเวณใดบริเวณหนึ่งในเขตเมืองท่าที่ การขนถ่ายสินค้าเข้าและสินค้าออกไม่ต้องเสียภาษี.
  41. ยก ๑ : ก. เอาขึ้นให้สูงจากที่เดิมทั้งโดยตรงและโดยปริยาย; เคลื่อนไป, พากันไป, เช่น ยกทัพ ยกพวก; งดเว้น, เพิกถอน, เช่น ยกโทษ ยกภาษี ยกคําสั่ง; มอบ เช่น ยกลูกสาวให้ ยกสมบัติให้; อ้าง เช่น ยกตัวอย่าง. น. เรียกผ้าไหม ชนิดหนึ่งที่ทอยกเป็นดอกให้เป็นลาย เด่นขึ้นว่า ผ้ายก.
  42. รัษฎากร : [รัดสะ–] น. รายได้ของแผ่นดิน; (กฎ) ภาษีอากรประเภทต่าง ๆ ที่เรียก เก็บตามประมวลรัษฎากร. (เพี้ยนมาจาก ส. ราษฺฏฺร + อากร หมายความ ว่า อากรของประเทศ).
  43. เรียก : ก. เปล่งเสียงเพื่อให้มาหรือให้ไปเป็นต้น เช่น แม่เรียกให้มาทำการบ้าน ช่วยเรียกสุนัขไปเสียที, ออกชื่อ เช่น ครูเรียกมาลีให้มาหา, เชิญ เช่น เรียกประชุม เรียกหมอ เรียกน้ำ เรียกลม; ให้ชื่อ เช่น น้ำที่ทำให้แข็ง เรียกว่าน้ำแข็ง ภาชนะอย่างนี้เรียกว่าถ้วย; กำหนดเอา, ร้องเอา, เช่น หมอเรียกค่ารักษาพยาบาล โจทก์เรียกค่าเสียหาย รัฐบาลเรียกเก็บภาษี; (ปาก) ชวนให้มีอาการเช่นนั้น เช่น เรียกน้ำตา เรียกเสียงตบมือ.
  44. ลดหย่อน : ก. ผ่อนให้เบาลง เช่น ลดหย่อนภาษี ขอลดหย่อน ดอกเบี้ยจากร้อยละ ๑๒ เป็นร้อยละ ๑๐, ทุเลา เช่น ลดหย่อนโทษ.
  45. เลี่ยง : ก. ลักษณะอาการที่เบี่ยงออกไปจากทางหรือแนวเดิม เช่น คำนี้ไม่ สุภาพเลี่ยงไปใช้คำอื่น เจ้าหน้าที่ไม่ต้องการยิงให้ถูกผู้ประท้วงจึง ยิงเลี่ยงไปทางอื่น ขับรถเลี่ยงลงข้างทางเพื่อไม่ให้ชนวัวที่ยืนขวาง ถนน, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เลี่ยงงาน เลี่ยงกฎหมาย เลี่ยงภาษี เลี่ยงบาลี.
  46. ศาลชั้นต้น : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีในชั้นต้นทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีตามที่ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้ ได้แก่ ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาล ยุติธรรมอื่น เช่น ศาลภาษีอากรกลาง.
  47. ศุลการักษ์ : [สุนละการัก] น. เจ้าหน้าที่รักษาศุลกากร.
  48. ส่วย ๑ : น. ของที่เรียกเก็บจากพื้นเมืองส่งเป็นภาคหลวงตามวิธีเรียกเก็บ ภาษีอากรในสมัยโบราณ; เงินช่วยราชการตามที่กําหนดเรียกเก็บจาก ราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล, รัชชูปการ ก็ว่า.
  49. สหภาพ : น. การรวมตัวขององค์การตั้งแต่ ๒ องค์การขึ้นไป เพื่อทํา กิจการทั่วไปหรือกิจการเฉพาะอย่างตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ เข้าร่วมกันนั้น เช่น สหภาพศุลกากร สหภาพรัฐสภา; ชื่อรูปแบบหนึ่ง ของการรวมตัวของรัฐตั้งแต่ ๒ รัฐขึ้นไป เช่น สหภาพพม่า; องค์การ ของลูกจ้าง เช่น สหภาพแรงงาน. (อ. union).
  50. หนาหู : ว. ได้ยินพูดกันมาก, บ่อย (ใช้แก่การได้ยิน), เช่น มีข่าวหนาหู ว่าจะตัดถนนสายใหม่, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาตา เป็น คำสร้อย เช่น ได้ยินข่าวหนาหูหนาตาว่ารัฐบาลจะเลิกเก็บภาษีบางอย่าง.
  51. [1-50] | 51-56

(0.1104 sec)