ภาสา : น. ภาษา. (ป.).
ภาษา : น. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษา ราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและ แต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษา จาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.
ภาส, ภาส : [พาด, พาดสะ, พาสะ] น. แสง, สว่าง, แจ้ง. (ป., ส.).
ตันติ : (แบบ) น. แบบแผน; เชือก, เส้นด้าย, สายเชือก. (ป., ส.). ตันติภาษา น. ภาษาที่มีแบบแผน. (ส.; ป. ตนฺติภาสา).
ภาษาคำควบมากพยางค์ : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการประกอบ หน่วยคำหลาย ๆ หน่วยเข้าเป็นคำเดียวกัน ทำให้คำหนึ่ง ๆ มีความยาว หลายพยางค์ เช่น ภาษาเวลส์ ภาษาเอสกิโม ภาษาอินเดียนแดง. (อ. polysynthetic language).
ภาษาคำโดด : น. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยน แปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่อง กับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำ สองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. (อ. isolating language).
ภาษาคำติดต่อ : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการเติมอุปสรรค อาคม หรือปัจจัย ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระและไม่มีความหมาย ผสานเข้ากับคำ บางคำซึ่งเป็นคำตั้ง ทำให้เกิดเป็นคำใหม่ แต่จะมีรูปและความหมายเกี่ยว เนื่องกับคำตั้งนั้น เช่น ภาษาเขมร ภาษาญี่ปุ่น ภาษาตุรกี ภาษาฮังการี. (อ. agglutinative language).
ภาษาถิ่น : น. ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะ ตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น.
ภาษาธรรม : น. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมาย ที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาว บ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.
ภาษาแบบแผน : น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียว กันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า ''ขอเดชะ...'' และลงท้ายว่า ''ควรมิควรแล้วแต่ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...'', ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคล สำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตร กิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับ พิธีการ ก็เรียก.
ภาษาปาก : น. ภาษาพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า.
ภาษามีวิภัตติปัจจัย : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการใช้วิภัตติปัจจัย ประกอบเข้ากับรากศัพท์ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระทำให้เกิดเป็นคำที่แสดง เพศ พจน์ กาล มาลา วาจกอย่างชัดเจน เพื่อเข้าสัมพันธ์ทางไวยากรณ์ กลมกลืนกับคำอื่นในประโยค เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษากรีก โบราณ ภาษาละติน ภาษาฝรั่งเศส. (อ. inflectional language).
ภาษาระดับทางการ : น. ภาษาราชการ.
ภาษาระดับพิธีการ : น. ภาษาแบบแผน.
ภาษาราชการ : น. ภาษาที่ใช้สื่อสารในราชการและวิชาการเป็นต้น เช่น จดหมายติดต่อราชการ รายงานการประชุมของหน่วยงาน รายงานการวิจัย รายงานวิชาการสาขาต่าง ๆ, ภาษาระดับทางการ หรือ ภาษากึ่งแบบแผน ก็เรียก; ภาษาที่รัฐบาลประกาศให้ใช้เป็นทางราชการ เช่น ประเทศไทยใช้ ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฮินดี และภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ.
เพลงออกภาษา : น. เพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ ในเพลงเดียวกันหรือเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทแต่ไม่ครบ ๑๒ ภาษา.
เพลงออกสิบสองภาษา : น. เพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บท โดย นำเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ มารวมกันเข้าเป็น ชุด มี ๑๒ ภาษา.
ออกภาษา : น. เรียกเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ ในเพลงเดียวกัน หรือเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทแต่ไม่ครบ ๑๒ ภาษา ว่า เพลงออกภาษา.
ออกสิบสองภาษา : น. เรียกเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทโดย นำเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ มารวมกันเข้า เป็นชุดมี ๑๒ ภาษา ว่า เพลงออกสิบสองภาษา.
กากภาษา : [กากะพาสา] น. ชาติกา เช่น ลางมารนิรมิตอินทรีย์ เศียรเป็นอสุรี และกายเป็นกากภาษา. (คําพากย์).
พากย์ : ก. พูดแทนผู้แสดงหรือตามบทบาทของผู้แสดงโขน หนัง หรือ ภาพยนตร์ เป็นต้น เช่น พากย์โขน พากย์หนังตะลุง พากย์หนัง ใหญ่ พากย์ภาพยนตร์, บรรยายถ่ายทอดในการแข่งขันกีฬาหรือ การแสดงบางอย่าง เช่น พากย์มวย พากย์ฟุตบอล, กล่าวเรื่องราว เป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนเล่นหนัง. น. คําพูด, ภาษา; คํากล่าว เรื่องราวเป็นทํานองเมื่อเวลาแสดงโขนหรือหนังใหญ่เป็นต้น, บทพากย์ ก็ว่า. (ป., ส. วากฺย).
พาณี : น. เสียง, ถ้อยคํา, ภาษา; เจ้าแม่แห่งวาจา คือ พระสรัสวดี. (ป., ส. วาณี).
ส่งภาษา : ก. เจรจาปราศรัยกับผู้ที่พูดอีกภาษาหนึ่งโดยกล่าวคําเป็น ภาษานั้น เช่น ให้ล่ามไปส่งภาษาถามเขาดูว่าต้องการอะไร; พูดเป็น ภาษาอื่นหรือสำเนียงอื่นที่ตนฟังไม่เข้าใจ เช่น เขาส่งภาษาจีนกัน เขา ส่งภาษาถิ่น'' มาเลยฟังไม่รู้เรื่อง.
กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
ชาติ ๒, ชาติ ๒ : [ชาด, ชาดติ] น. ประเทศ; ประชาชนที่เป็นพลเมือง ของประเทศ, กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกันหรืออยู่ในปกครองรัฐบาล เดียวกัน, ประชาชาติ ก็ว่า.
ภารดี : [พาระ] น. ถ้อยคํา, คําพูด, ภาษา. (ส. ภารติ).
ภารตวิทยา : น. วิชาที่เกี่ยวกับประเทศอินเดีย มีศาสนา ปรัชญา วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณคดี เป็นต้น. (ส.).
ภาษ : [พาด] ก. พูด, กล่าว, บอก. (ส.; ป. ภาส).
วาณี : น. ถ้อยคํา, ภาษา. (ป., ส.); เจ้าแม่แห่งวาจา คือ พระสรัสวดี. (ส.).
กระชง : (โบ) ว. งง, ชะงัก, ประหม่า, เช่น นอนกระชงใจคราง ครั่นแค้น. (นิ. ตรัง), ภาษาถิ่นปักษ์ใต้ใช้ว่า ชง.
กล่าว : [กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคําเท็จ; แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข. (อิเหนา); สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้. (อิเหนา); แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คํานี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์.
กวางตุ้ง ๑ : [กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง.
กว้างใหญ่ :
ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
กัณฐชะ : (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤต ที่มีเสียงเกิดจากเพดานอ่อน ได้แก่ พยัญชนะวรรค กคือ ก ข ค ฆ ง และอักษรที่มีเสียงเกิดจากเส้นเสียงในลำคอ ได้แก่ ห และ สระ อะ อา. (ป.; ส. กณฺ?วฺย).
กัมพุชพากย์ : น. ภาษาเขมร.
ข : พยัญชนะตัวที่ ๒ เป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคํา ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต.
ขอยืม : ก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้นมาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้ หรือใช้คืน, นำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของของตน เช่น ขอยืมคำในภาษา บาลีมาใช้ ขอยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ขอยืมความคิด, (คณิต) ในการ ลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนำมาลบ ให้นำเลขจาก หลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ใน ที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องขอยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกขอยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ยืม ก็ว่า.
ข้อเหวี่ยง : น. ส่วนที่ต่อเพลา โดยมากมีลักษณะงอ สำหรับรับกำลังดัน หรือกำลังฉุดให้เพลาหมุนรอบ ๆ, ภาษาปากว่า ข้อเสือ. (อ. crank).
ข่า ๑ : น. คนชาวเขาจำพวกหนึ่ง แบ่งออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งพูดภาษา ในตระกูลมอญ-เขมร เช่น ข่า อัตตะปือ ข่าตองเหลือง และอีกพวก หนึ่งพูดภาษาในตระกูลอินโดนีเซียน ได้แก่ ข่าระแด และ ข่าจะราย.
เขมร ๑ : [ขะเหฺมน] น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับไทย ลาว และเวียดนาม มีภาษาพูดอยู่ในตระกูล มอญ-เขมร และมีอักษรของตนเองใช้ เรียกว่า อักษรขอม.
เข้าตาจน : ก. หมดทางไป, หมดทางที่จะแก้ไข, หมดหนทางหากิน. (มาจากภาษาหมากรุก).
เขียนไทย : น. วิชาเขียนภาษาไทยตามคําบอกของครู เพื่อฝึกเขียน ตัวสะกดการันต์ให้ถูกต้อง, เขียนตามคำบอก ก็ว่า.
ไขว้โรง : ก. กลับตรงกันข้าม (เดิมเป็นภาษาใช้ในการพนันหวย ก ข มีตัวโรงเช้า โรงคํ่า เมื่อผู้แทงระบุตัวแทงแล้ว ถ้าหากตัวออกกลับกันเสีย ก็เรียกว่า ขุนบาลกินอย่างไขว้โรง, ตรงกับว่า โอละพ่อ).
ค : พยัญชนะตัวที่ ๔ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคํา ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น โรค มรรค มารค เทคนิค.
คมคาย : ว. ฉลาด, ไหวพริบดี, ทันคน, เช่น วาจาคมคาย พูดจาคมคาย สำนวนภาษาคมคาย, มีแววฉลาด เช่น หน้าตาคมคาย.
คัดไทย : น. วิชาคัดภาษาไทยตามที่ครูสั่ง.
คาถา ๑ : น. คําประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ ๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง.
คาถาพัน : น. บทประพันธ์เรื่องมหาเวสสันดรชาดกที่แต่งเป็นคาถา ภาษาบาลีล้วน ๆ พันบท, เรียกการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกที่เป็น คาถาล้วน ๆ อย่างนี้ว่า เทศน์คาถาพัน.
คำตั้ง : น. คําที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมายในการทําพจนานุกรม; คําที่เป็นหลักให้คําอื่นที่เติมเข้ามาต่อ จะเติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลังก็ได้ ในภาษาคําติดต่อ.
คำเติม : น. คําที่เติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลัง ของคําตั้งใน ภาษาคําติดต่อ.