ภูมิ ๑, ภูมิ : [พูม, พูมิ, พูมมิ] น. แผ่นดิน, ที่ดิน.
ภูมิ ๒ : [พูม] น. พื้น, ชั้น, พื้นเพ; ความรู้ เช่น อวดภูมิ อมภูมิ.
ภูมิ ๓ : [พูม] ว. สง่า, โอ่โถง, องอาจ, ผึ่งผาย, เช่น วางภูมิ.
ภูมิรู้ : [พูม] น. ความรู้, พื้นความรู้.
ภูมิอากาศ : น. อากาศประจำถิ่น, ลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคแห่งใด แห่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งอาจเป็นเดือน เป็นปีหรือเป็นศตวรรษ ก็ได้.
ภูมิธร, ภูมินทร์, ภูมินาถ, ภูมิบดี :
ดู ภูมิ๑ภูมิ.
ตราภูมิ : (โบ) น. หนังสือประจำตัวสำหรับคุ้มค่าน้ำค่าตลาดสมพัตสรได้เพียง ราคา ๑ ตำลึง. (ประกาศ ร. ๔), มักใช้เข้าคู่กับคำ คุ้มห้าม เป็น ตราภูมิคุ้มห้าม.
ตรีภูมิ, ไตรภูมิ : น. ตรีภพ. (ส. ตฺริภูมิ).
เถรภูมิ : [เถระพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งพระเถระ, ทางคณะสงฆ์จัดภิกษุ เป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕ ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ (ชั้นกลาง) มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙ และชั้นสุดคือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป.
นวกภูมิ : [นะวะกะพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งผู้ใหม่, ในคณะสงฆ์หมายถึง ภิกษุที่มีพรรษาต่ำกว่า ๕, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่), ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิมีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, และ ชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).
ภาคภูมิ : [พากพูม] ว. มีสง่า, ผึ่งผาย, เช่น เขาแต่งตัวภาคภูมิ ท่าทางเขาภาคภูมิ.
มัชฌิมภูมิ : [-พูม] น. ภูมิหรือชั้นของคนชั้นกลาง, ในคณะสงฆ์ หมายถึงภิกษุที่มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕, ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ, และชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).
ลองภูมิ : [พูม] ก. หาทางพิสูจน์ว่าจะมีพื้นความรู้ความสามารถ แค่ไหนเพียงไร เช่น นักเรียนลองภูมิครู.
โลกุตรภูมิ : [โลกุดตะระ] น. ภูมิที่พ้นจากโลก; ระดับจิตใจของ พระอริยบุคคล.
ชาติภูมิ : [ชาดติพูม] น. ถิ่นที่เกิด.
ภูมิธร, ภูมินทร์, ภูมินาถ, ภูมิบดี : น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
ภูมิบาล, ภูมิภุช : [พูมิ] น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
โลกุตรภูมิ :
ดู โลก, โลก.
ไล่ภูมิ : ก. ซักถามเพื่อสอบพื้นความรู้. ไล่มาติด ๆ
ไว้ภูมิ : ก. ทำท่าเสมือนว่าเป็นผู้มีความรู้สูง.
อรูปภูมิ : [อะรูบปะพูม] น. อรูปภพ.
อาปานภูมิ : [นะพูม] น. ห้องดื่ม, สถานที่เลี้ยงดูกัน. (ส.).
ชายทะเล : (ภูมิ) น. เขตระหว่างแนวนํ้าทะเลลงตํ่าสุดกับ แนวนํ้าทะเลขึ้นสูงสุด.
ชายฝั่ง : (ภูมิ) น. แถบแผ่นดินนับจากแนวชายทะเล ขึ้นไปบนบกจนถึงบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศ เปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด.
ทัศนวิสัย : (ภูมิ) น. ระยะทางไกลที่สุดซึ่งสามารถมองเห็นวัตถุ ด้วยตาเปล่าและบอกได้ว่าวัตถุนั้นเป็นอะไร.
น้ำวน : (ภูมิ) น. กระแสนํ้าไหลวนเป็นวงในทะเลหรือแม่นํ้า เกิดจาก รูปร่างลักษณะของร่องนํ้าหรือเนื่องจากกระแสนํ้า ๒ สายไหลมา ปะทะกัน.
มวลอากาศ : (ภูมิ) น. อากาศในบริเวณกว้างที่มีสมบัติคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอุณหภูมิและความชื้น.
เมริเดียน : (ภูมิ) น. ขอบของครึ่งวงกลมใหญ่ที่ผ่านขั้วเหนือและขั้วใต้ของโลก ใช้เป็นเครื่องกำหนดแนวเหนือ-ใต้ของโลกซึ่งเรียกว่า เหนือจริง ใต้จริง หรือเหนือภูมิศาสตร์ใต้ภูมิศาสตร์ ตำแหน่งเส้นเมริเดียนบนผิวโลก แต่ละเส้นกำหนดได้ด้วยค่าลองจิจูดของเมริเดียนนั้น.
เมริเดียนแรก : (ภูมิ) น. เมริเดียนที่ลากผ่านหอตรวจดาว เมืองกรีนิช เป็นเมริเดียนที่ใช้กำหนดเวลามาตรฐานกรีนิชและใช้เป็นเมริเดียนแรก หรือเมริเดียน ๐ องศาเพื่อกำหนดเมริเดียนอื่น ๆ โดยใช้วัดจากเมริเดียนกรีนิช เป็นหลัก.
ยอดน้ำ : (ภูมิ) น. แหล่งที่เกิดของลํานํ้า, ต้นนํ้า ก็เรียก.
เงามัว : (แสง) น. อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุนั้น แล้วแสงเคลื่อนที่ไปถึงได้บ้าง; (ภูมิ) ส่วนที่เห็นเป็นเงาหลัว ๆ รอบ บริเวณที่มืดมิดของดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์เวลามีคราส.
เงามืด : (แสง) น. อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุ นั้นแล้วแสงเคลื่อนที่ไปไม่ถึงทั้งหมด; (ภูมิ) ส่วนที่มืดมิดของ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เวลามีคราส.
จตุรภูมิ : [-พูม] น. ภูมิ ๔ คือ ๑. กามาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในกามภพ ๒. รูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในรูปภพ ๓. อรูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยว ในอรูปภพ ๔. โลกุตรภูมิภูมิอันพ้นจากโลก.
ตะกอน : น. สิ่งที่ละลายปนอยู่ในนํ้าหรือของเหลวอื่นแล้วตกจมลงนอนก้นภาชนะเป็นต้น; (ภูมิ) สารต่าง ๆ ที่ผุพังทําลายโดยทางวิธีกล ทางเคมี หรือทางพัฒนาการของ ชีวิตแล้วตกจมทับถมเนื่องจากการกระทําของนํ้า ลม หรือธารนํ้าแข็ง.
ภูมิภาค : [พูมมิ, พูมิ] น. หัวเมือง; (ภูมิ) อาณาบริเวณที่มีลักษณะบางอย่าง เช่นลักษณะทางธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ ทางวัฒนธรรม ทางการเมือง คล้ายคลึงกันจนสามารถจัดเข้าพวกกันได้ และแตกต่างกับบริเวณใกล้เคียง โดยรอบ.
ลมมรสุม : น. (ภูมิ) ลมที่เกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่าง อุณหภูมิของพื้นดินกับพื้นน้ำ ในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดิน เย็นกว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือ พื้นน้ำจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงพัดเข้าไปแทนที่ทำ ให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป ส่วนในฤดูร้อนอุณหภูมิของพื้นดิน ร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร จึงทำให้เกิดลมพัดไปในทิศทางตรง กันข้าม, พายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก.
โลก, โลก : [โลก, โลกะ, โลกกะ] น. แผ่นดิน, โดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ เช่น ให้โลกนิยม; ส่วนหนึ่งแห่งสกลจักรวาล เช่น มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก โลกพระอังคาร; (ภูมิ) ดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับ ๕ ในระบบสุริยะ เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต ทั้งหลาย ลักษณะอย่างรูปทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ศูนย์สูตรยาว ๑๒,๗๕๕ กิโลเมตร ศูนย์กลางที่ขั้วโลกยาว ๑๒,๗๑๑ กิโลเมตร มี เนื้อที่บนผิวโลก ๕๑๐,๙๐๓,๔๐๐ ตารางกิโลเมตร. (ป., ส.).
หนืด : ว. อาการของสิ่งของที่เหนียวจนดึงไม่ใคร่จะออก เรียกว่า เหนียวหนืด, โดยปริยายหมายถึงตระหนี่มาก. (ภูมิ) น. เรียกหินที่อยู่ในสภาพหนืด ใต้เปลือกโลกว่า หินหนืด. (อ. magma).
กามภพ : น. ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวด้วยกาม, โลกเป็นที่อยู่อาศัยของ ผู้เสพกาม ได้แก่ อบายภูมิ ๔ (นรกภูมิ ติรัจฉานภูมิ เปรตวิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ) มนุษยโลก ๑ และสวรรค์ ๖ ชั้น (จาตุมหาราชิกหรือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานนรดี ปรนิมมิตวสวัตดี) รวมเป็น ๑๑, กามภูมิ ก็ว่า. (ป.).
คุ้มห้าม : ก. ยกเว้นจากความต้องห้ามและภาษีอากรโดยมีหนังสือ เป็นตราภูมิ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ตราภูมิ เป็น ตราภูมิคุ้มห้าม.
ชูคอ : ก. ชะเง้อคอ, อาการที่นั่งยืดคอวางท่าภาคภูมิ.
เซรุ่ม : น. ของเหลวสีเหลืองใสที่สกัดจากเลือดสัตว์ เช่น ม้า กระต่าย ซึ่งทําให้เกิดภูมิต้านทานเชื้อโรค แล้วนํามาฉีดในคนเพื่อให้เกิด ภูมิต้านทานเชื้อโรคนั้น. (อ. serum).
ฌาน : [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่ง อารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทําจิตให้สงบตาม หลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดย ปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลําดับที่ประณีตขึ้นไป กว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความ เงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้ กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
ถ่านไฟฉาย : น. เซลล์ไฟฟ้าชนิดปฐมภูมิ มีรูปทรงกระบอกขนาด เล็กภายในบรรจุผงคาร์บอน แมงกานีสไดออกไซด์ ซิงก์คลอไรด์ แอมโมเนียมคลอไรด์ ซึ่งผสมนํ้าให้มีลักษณะคล้ายแป้งเปียกหุ้ม อยู่รอบแท่งคาร์บอนซึ่งเป็นขั้วบวก ภายนอกหุ้มด้วยกระบอก สังกะสีซึ่งเป็นขั้วลบ ตอนปากของกระบอกสังกะสีมีครั่งหุ้มปิด ไว้ เหลือแต่หมวกโลหะที่ครอบแท่งคาร์บอนเท่านั้นที่โผล่พ้น พื้นครั่งขึ้นมา ใช้ใส่ในไฟฉาย วิทยุ เป็นต้น.
ทำเล : น. ถิ่นที่, ตำบล, ภูมิที่ตั้ง, (มักใช้แก่แหล่งทำมาหากิน) เช่น ทำเลการค้า.
ทุคติ : [ทุกคะติ] น. ภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความทุกข์ความลําบาก, นรก. (ป. ทุคฺคติ).
เทวโลก : น. ภูมิเป็นที่สถิตของเทวดา.
นรก : [นะ] น. แดนหรือภูมิที่เชื่อกันว่าผู้ทําบาปจะต้องไปเกิดและถูกลงโทษ, โดยปริยายหมายถึงแดนที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน. (ป., ส.).
นวก ๑, นวกะ : [นะวะกะ] น. ผู้ใหม่, ผู้อ่อน. (ป.). ว. ใหม่, อ่อน, เช่น พระนวกะ นวกภูมิ.
พรหมโลก : [พฺรมมะ] น. โลกของพระพรหม; ภูมิเป็นที่สถิตของ พระพรหม.