มน ๓, มน- : [มะนะ, มน, มะนะ-] น. ใจ. (ป.).
มน ๑ : ก. อยู่กับที่ (ใช้แก่ดาวนพเคราะห์ ซึ่งปรากฏแก่ตาเป็น ๓ ทาง คือ เสริด ว่า ไปข้างหน้า, พักร ว่า ถอยหลัง, มน ว่า อยู่กับที่).
ฆาตกรรม : น. การฆ่าคน. (ป. ฆาต + ส. กรฺมนฺ).
จรรม, จรรม- : [จํา, จํามะ-] (แบบ) น. หนังสัตว์. (ส. จรฺมนฺ; ป. จมฺม).
ชนม, ชนม์ : [ชนมะ, ชน] น. การเกิด. (ส. ชนฺมนฺ).
ทัฬหีกรรม : [ทันฮีกํา] น. การกระทําให้มั่นคงขึ้น ได้แก่การที่ทําซํ้า ลงไปเพื่อให้มั่นคงนกรณีที่การกระทําครั้งแรกไม่สมบูรณ์ มักใช้ใน พิธีสงฆ์ เช่น ทําทัฬหีกรรม สวดทัฬหีกรรม. (ป. ทฬฺหีกมฺม; ส. ทฺฤฒี + กรฺมนฺ).
ธรรมันเตวาสิก : [ทํามัน] น. อันเตวาสิก (ศิษย์) ผู้เรียนธรรมวินัย. (ส.; ป. ธมฺมนฺเตวาสิก).
บริกรรม : [บอริกํา] ก. สํารวมใจสวดมนต์ภาวนา, สํารวมใจร่ายมนตร์หรือเสก คาถาซํ้า ๆ หลายคาบหลายหนเพื่อให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์. (ส. ปริกรฺมนฺ; ป. ปริกมฺม).
บุพ-, บุพพ- : [บุบพะ-] ว. ก่อน, ทีแรก; เบื้องต้น, เบื้องหน้า. (ป. ปุพฺพ; ส. ปูรฺว). บุพกรรม น. กรรมที่ทําไว้แต่ปางก่อน. (ป. ปุพฺพ + ส. กรฺมนฺ; ป. ปุพฺพกมฺม).
ปโยชนม์ : [ปะโยชน] น. ''ผู้มีนํ้าเป็นที่เกิด'' คือ เมฆ. (ส. ปโยชนฺมนฺ).
ปรมาตมัน : [ปะระมาดตะมัน] (ปรัชญา) น. อาตมันสูงสุด เป็น ต้นกําเนิดและที่รวมของทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล. (ส. ปรม + อาตฺมนฺ).
ปริกรรม, ปริกรรม- : [ปะริกํา, ปะริกำมะ-] น. บริกรรม. (ส. ปริกรฺมนฺ; ป. ปริกมฺม).
มน ๒ : ว. กลม ๆ, โค้ง ๆ, ไม่เป็นเหลี่ยม, เช่น ทองหลางใบมน ขอบโต๊ะมน ปกเสื้อมน.
มนตรี : น. ที่ปรึกษา, ผู้แนะนํา, ที่ปรึกษาราชการ, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่, นิยม ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น องคมนตรี รัฐมนตรี เทศมนตรี. (ส.; ป. มนฺตี).
รังสิมันตุ์ : (แบบ) น. ''ผู้มีแสงสว่าง'' คือพระอาทิตย์, ใช้ รังสิมา ก็ได้. (ป. รํสิมนฺตุ; ส. รศฺมิมตฺ).
รัศมิมัต : ว. มีรัศมี, ใช้ รัศมิมาน ก็ได้. (ส.; ป. รํสิมนฺตุ, รํสิมา).
โรม ๑ : น. โลมา, ขน. (ป.; ส. โรมนฺ).
สถาปัตยกรรม : [สะถาปัดตะยะกํา] น. ศิลปะและวิทยาเกี่ยวกับงานก่อสร้างที่ประกอบ ด้วยศิลปลักษณะ. (ส. สฺถาปตฺย + กรฺมนฺ).
สทุม : [สะ] น. เรือน. (ป.; ส. สทฺมนฺ).
สวกรรม : น. งานส่วนตัว. (ส. สฺวกรฺมนฺ).
สังฆกรรม : [สังคะกำ] น. กิจที่พระสงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปรวมกันทํา ภายในสีมา เช่น การทำอุโบสถ การสวดพระปาติโมกข์. (ส. สํฆ + กรฺมนฺ; ป. สงฺฆกมฺม).
หัตถกรรม : น. งานช่างที่ทำด้วยมือ โดยถือประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก. (ป. หตฺถ + ส. กรฺมนฺ; ป. หตฺถกมฺม).
โหมกรรม : น. พิธีเซ่นสรวง. (ส. โหม + กรฺมนฺ).
อกุศลกรรม : [อะกุสนละกํา] น. ความชั่วร้าย, โทษ, บาป. (ส. อกุศล + กรฺมนฺ; ป. อกุสลกมฺม).
อกุศลกรรมบถ : [อะกุสนละกํามะบด] น. ทางแห่งความชั่ว, ทาง บาป, มี ๑๐ อย่าง คือ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ และมโนทุจริต ๓. (ส. อกุศล + กรฺมนฺ + ปถ; ป. อกุสลกมฺมปถ).
อัต : [อัดตะ] น. ตน, ตัวเอง. (ป. อตฺต; ส. อาตฺมนฺ).
อัตตา : น. ตน. (ป.; ส. อาตฺมนฺ, อาตฺมา).
อาตม : [อาดตะมะ] น. ตน, ตัวตน. (ส. อาตฺมนฺ, อาตฺมา ว่า ตน, วิญญาณ, ร่างกาย; ป. อตฺต, อตฺตา).
อุสุม : น. ไอ, ไออุ่น; ความร้อน; ฤดูร้อน, แผลงใช้เป็น อรสุม ก็มี เช่น อรสุมพล = กําลังไอนํ้า; ในไวยากรณ์เรียกเสียงพยัญชนะที่มี ลมเสียดแทรกออกมาระหว่างลิ้นกับฟัน ว่า มีเสียงอุสุม ได้แก่ เสียง ศ ษ ส. '' (ป.; ส. อุษฺมนฺ).
ม่น : (ถิ่น-อีสาน) ก. ซุก, แทรก.
มั่น : ว. แน่, แน่นอน, เช่น ใจมั่น; แน่น เช่น จับให้มั่น.
มื่น ๑ : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ก. ลื่น.
มื่น ๒ : ก. ชื่นบาน เช่น ชื่นมื่น.
มุ่น : ก. ขมวด (ใช้แก่มวยผม) เช่น มุ่นมวยผม มุ่นพระเมาลี; กังวลอยู่; (กลอน) เกลี้ยงเกลา, อ่อนนุ่ม. น. เรียกเงินแท่งชนิดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นเงินเนื้อดีว่า เงินมุ่น.
เม่น : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hystricidae มีฟันแทะขนาดใหญ่ ลําตัวมีขนแหลมแข็ง ขนครึ่งท้ายลำตัวยาวกว่าด้านหน้า ขาสั้น ขาหน้ามีเล็บ แข็งแรงใช้ขุดดิน กินพืช ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ เม่นใหญ่แผงคอยาว (Hystrix brachyura) เม่นใหญ่แผงคอสั้น (H. hodgsoni) และเม่นหางพวง (Atherurus macrourus).
แม่น : ว. เที่ยง, แน่วแน่, เช่น ยิงปืนแม่น, ไม่ผิด, ถูกต้อง, เช่น จำแม่น.
กระมล : [-มน] (กลอน; แผลงมาจาก กมล) น. ดอกบัว, หัวใจ.
กามน : [กา-มน] ว. เต็มไปด้วยกาม เช่น ฤๅโฉมพระศรีศริ อภิลาศกามน. (สุธน). (ป., ส.).
มนินทรีย์ :
[มะนินซี] ดู มน๓มน-.
มนินทรีย์ : น. ใจซึ่งเป็นใหญ่ในการรับรู้ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เกิด ทางใจ. (ป. มน+อินฺทฺริย).
มณฑนะ : [มนทะนะ] น. เครื่องประดับ, อาภรณ์; การแต่ง. (ป., ส.).
มณฑล : [มนทน] น. วง เช่น สุริยมณฑล คือ วงรอบดวงอาทิตย์ จันทรมณฑล คือ วงรอบดวงจันทร์, บริเวณ เช่น มณฑลพิธี, เขตปกครองที่แบ่ง ออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ; พระแท่นที่วงด้ายสายสิญจน์ เรียกว่า พระแท่น มณฑล. (ป., ส.).
มณฑา : [มนทา] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Talauma candollei Blume ในวงศ์ Magnoliaceae ใบใหญ่ ดอกสีเหลืองนวล กลิ่นหอม; มณฑารพ.
มณฑารพ : [มนทารบ] น. ชื่อต้นไม้ในเมืองสวรรค์, มณฑา ก็ใช้. (ป. มณฺฑารว).
มณเฑียรบาล : [มนเทียนบาน] (โบ) น. มนเทียรบาล.
มนท-, มนท์ : [มนทะ-] น. ดาวพระเสาร์. ว. เฉื่อย, ช้า; อ่อนแอ; โง่เขลา; ขี้เกียจ. (ป., ส.).
มนเทียร : [มนเทียน] น. เรือนหลวง ใช้ว่า พระราชมนเทียร, โบราณใช้ว่า พระราชมณเฑียร. (ป., ส. มนฺทิร).
มนเทียรบาล : [มนเทียนบาน] น. การปกครองภายในพระราชฐาน, เรียกข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐาน พระราชวงศ์ และระเบียบ การปกครองในราชสำนัก ว่า กฎมนเทียรบาล; ผู้มีอํานาจหน้าที่ เกี่ยวกับการปกครองภายในพระราชฐาน, โบราณใช้ว่า มณเฑียรบาล.
มลทิน : [มนทิน] น. ความมัวหมอง, ความด่างพร้อย, ความไม่บริสุทธิ์. (ข. มนฺทิล).
มลพิษ : [มนละพิด] น. พิษเกิดจากความมัวหมองหรือความสกปรกของสิ่งแวดล้อม เช่น ในอากาศหรือในน้ำเป็นต้น; (กฎ) ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกากตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม ตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็น พิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และหมายความรวมถึงรังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิด มลพิษด้วย. (อ. pollution).