มวน ๒ : ก. ม้วนเส้นยาสูบด้วยใบตองหรือใบจากเป็นต้นให้เป็นบุหรี่. น. ลักษณนามของบุหรี่ เช่น บุหรี่ ๒ มวน.
มวน ๑ : น. ชื่อแมลงหลายชนิดในหลายวงศ์ เมื่อโตเต็มที่มีปีก ๒ คู่ ปีกคู่หน้าค่อนข้างยาว แคบ เนื้อปีกบริเวณโคนแข็ง ปลายเป็นแผ่นบางอ่อน ปีกคู่หลังอ่อนเป็นแผ่นบางตลอด เมื่อพับปีกจะแบนราบไปตามสันหลัง แต่บางชนิดก็ไม่มีปีก ปากเป็นท่อยาวคล้ายเข็ม โผล่ทางด้านล่างบริเวณปลายหัว หลายชนิดปล่อยกลิ่นเหม็นได้และเป็นศัตรูพืชพวกที่อยู่ ในวงศ์ Pentatomidae เช่น มวนเขียว (Rhynchocoris humeralis) ทําลายส้ม, แมงแกง (Tessaratoma javanica) ทําลายลําไย, ที่อยู่ในวงศ์ Pyrrhocoridae เช่น มวนแดงฝ้าย (Dysdercus cingulatus)ทําลายทุกส่วนของฝ้าย.
มวน ๓ : ว. อาการที่ทำให้รู้สึกปั่นป่วนอยู่ในท้อง.
มวน ๔ :
(กลอน) ว. ม่วน. (ดู มอน).
ม่วน : ว. ไพเราะ, เสนาะ, สนุก.
หมวน : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. ขุ่น.
มวล : [มวน] ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทั้งปวง, เช่น มวลชน มวลมนุษย์, ทั้งมวล ก็ว่า.
กลิ้ง : [กฺลิ้ง] ก. อาการอย่างของกลมพลิกเลื่อนไปตามพื้น เช่น ซุงกลิ้ง ครกกลิ้ง ลูกหินกลิ้ง, ทําให้ของกลมพลิกเลื่อนไปตามพื้น เช่น กลิ้งครก กลิ้งซุง กลิ้งลูกหิน; โดยปริยายหมายความว่า คล่อง, ไม่มีติด, เช่น คนคนนี้กลิ้งได้รอบตัว. (โบ) น. ร่ม เช่น เมลืองมล่านกลิ้งเพรื้อม เพรอศพราย. (ยวนพ่าย). (มลายู giling ว่า กลิ้ง, คลึง, มวน).
กระฉง : น. ชื่อแมลงประเภทมวนพวกหนึ่ง ดูดกินเมล็ดอ่อนบนรวงข้าว ทําให้ข้าวลีบ ลําตัวแคบยาวประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร สีน้ำตาล, ในสกุล Leptocorisa วงศ์ Alydidae มี ๕-๖ ชนิดด้วยกัน ที่สําคัญ ได้แก่ ชนิด L. varicornis และชนิด L. acuta, ฉง สิง หรือ สิงห์ ก็เรียก.
กระโดงแดง : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Bhesa robusta (Roxb.) Ding Hou ในวงศ์ Celastraceae ลําต้นแดงคล้ำ ใบยาวปลายแหลม เลื่อมเป็นมัน, ประดงแดง กระบกคาย ชมัน ละโมก หรือ พรมคด ก็เรียก. ๒) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด (Chionanthus microstigma (Gagnep.) Kiew ในวงศ์ Oleaceae ใบยาวรี หนาแข็ง ปลายใบแหลม ออกตรงข้ามกัน เมื่อแห้งหมาดใช้ มวนบุหรี่ได้ มีกลิ่นหอมฉุน, ประดงแดง หรือ ฝิ่นต้น ก็เรียก; และชนิด C. sangda (Gagnep.) Kiew ลักษณะทั่วไปคล้ายชนิดแรก แต่ต้นมีขนาดย่อมกว่า ค่อนไปทางไม้พุ่ม.
กระหมุ่น : (โบ) ว. มุ่น; ขุ่น เช่น น้ำใช้และน้ำฉัน นานหลายวันเป็นกระหมุ่น. (ขมุ่น หรือ ขนุ่น ทางเหนือว่า ขี้ตะกอน, ทางใต้ใช้ว่า หมวน).
กราวรูด : [กฺราว-] (ปาก) ว. ตลอดหมด, ไม่เว้น, เช่น จับกราวรูด.
กะแท้ : น. ชื่อแมลงพวกมวนขนาดเล็ก ตัวยาว ๘-๑๒ มิลลิเมตร รูปร่างคล้ายโล่ สีน้ำตาลแก่อมดําหรือสีเกือบดํา เมื่อจับต้องตัวจะปล่อยกลิ่นฉุนเหม็นติดมือ บางทีคล้ายกลิ่น อุจจาระของคน มีหลายชนิด ที่พบกันแพร่หลาย ได้แก่ ชนิด Geotomus pygmaeus ในวงศ์ Podopidae.
กะพ้อ ๒ : น. ชื่อปาล์มขนาดย่อมในสกุล Licuala วงศ์ Palmae มีหลายชนิด เช่น ชนิด L. spinosa Thunb. มักขึ้นเป็นกออยู่ริมทะเล หรือในที่ซึ่ง น้ำเค็มขึ้นถึง ลําต้นสูงถึง ๔ เมตร ใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๐-๑๑๐ เซนติเมตร แตกเป็นแฉกลึก ก้านใบยาว ขอบก้านมีหนาม, ชนิด L. peltata Roxb. ขึ้นตามป่าดอนในที่ชุ่มชื้นและที่แฉะ ลักษณะคล้ายชนิดแรก แต่ก้านใบล้ำอยู่ใต้โคนใบ ทั้ง ๒ ชนิด ใบใช้ห่อทําไต้ ห่อของ เย็บเป็นร่ม มุงหลังคาชั่วคราว ใบอ่อน ใช้มวนบุหรี่, กะชิง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ชิง หรือ ชิ่ง, ปาล์มพวกนี้ เรียก พ้อ ก็มี เช่น ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา. (โลกนิติ).
ขมวน : [ขะหฺมวน] น. ชื่อหนอนของแมลงพวกด้วงปีกแข็งที่กินปลาแห้ง เนื้อแห้ง และอาหารแห้งอื่น ๆ โดยทิ้งรอยให้เห็นเป็นขุยเล็ก ๆ ออกมา เรียกว่า ขี้ขมวน ตัวหนอนมักจะมีสีครีมหรือนํ้าตาลอ่อน ที่พบบ่อย ได้แก่ ชนิด Dermestes maculatus ในวงศ์ Dermestidae ซึ่งเมื่อเป็นตัว เต็มวัยจะเป็นด้วงที่มีลําตัวยาวประมาณ ๗ มิลลิเมตร ตัวสีดํา ท้องสี ขาวหม่นและมีเส้นสีดําเป็นลายพาดตามขวาง. ว. ผุ, ยุ่ย, ใช้แก่เนื้อแห้ง ปลาแห้งเป็นต้นที่เก็บไว้นาน ๆ ซึ่งเกิดจากเชื้อราหรือตัวขมวนกัดกิน เช่น ปลาเป็นขมวน เนื้อเป็นขมวน.
จิงโจ้ ๒ : น. ชื่อแมลงพวกมวนในวงศ์ Gerridae หรือ Gerrididae ลําตัวลีบและยาว โดยทั่วไปยาว ๑-๒ เซนติเมตร มีทั้งพวกที่มีปีกซึ่งอาจสั้นหรือยาวหรือ ไม่มีปีก ขาคู่หน้าสั้นใช้จับสัตว์เล็ก ๆ กิน ขาคู่กลางและคู่หลังยาวกว่า ลําตัวมาก ที่ปลายขามีขนละเอียดปกคลุมแน่น สามารถวิ่งไปตามผิวนํ้าได้ อาศัยตามแหล่งนํ้าต่าง ๆ มีหลายชนิด ที่พบบ่อย ๆ ตามสระมักเป็นพวก ที่อยู่ในสกุล Limnogonus, จิงโจ้นํ้า ก็เรียก.
ซิการ์ : น. ยาสูบซึ่งมวนด้วยใบยาสูบ มีขนาดโตกว่าบุหรี่ ปลาย ๒ ข้างเรียว. (อ. cigar).
ดา ๑ : น. ชื่อแมลงพวกมวน มีหลายสกุล, ชนิดที่ตัวกว้าง รูปไข่ แบน เมื่อพับปีก ปีกจะแนบไปกับสันหลัง ความยาวจากหัวถึงปลายปีก ๖.๒-๘.๒ เซนติเมตร ส่วนท้องกว้าง ๒.๖-๒.๘ เซนติเมตร สีนํ้าตาลแก่หรือนํ้าตาลอมเขียว ด้าน หลังของส่วนอกตอนต้นมีลายเป็นแถบ ๕ แถบ คือ แมลงดา หรือ แมลงดานา (Lethocerus indicus) ใช้ตํากับนํ้าพริก กินได้; อีกสกุลหนึ่ง คือ แมลงดาสวน หรือ แมลงสีเสียด (Sphaerodema rusticum และ S. molestum) รูปร่างคล้าย แมลงดานามาก แต่เล็กกว่า ขนาดยาว ๑.๓-๑.๗ เซนติเมตร กว้าง ๐.๙ เซนติเมตร นํามาคั่วกับเกลือ กินได้; และยังมีสกุล Laccotrephes ได้แก่ชนิด L. ruber และ L. robustus ซึ่งมีลําตัวยาว ๓-๔.๔ เซนติเมตร กว้าง ๑-๑.๓ เซนติเมตร สีนํ้าตาลอมแดง มีหางยาว ๒ อัน ยาว ๑.๒-๑.๓ เซนติเมตร, สกุลนี้ แมลงดาโป้งเป้ง ดากลั้นเยี่ยว หรือ ดาเยี่ยว ก็เรียก.
บุหรี่ : [บุหฺรี่] น. ยาสูบที่ใช้ใบตองหรือกระดาษเป็นต้นมวนใบยาที่หั่น เป็นฝอย.
ประมวญ : [ปฺระมวน] (โบ) ก. ประมวล.
ประมวล : ปฺระมวน] ก. รวบรวมให้เข้าระเบียบเป็นหมวดหมู่, โบราณเขียนเป็น ประมวญ ก็มี. น. หนังสือที่รวบรวมสิ่งซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน เช่น ประมวลกฎหมาย ประมวลภาพ.
ป่วน : ก. มวน, อลวน, อาการที่ปวดมวนอยู่ในท้องเพราะอาหารเป็นเหตุ.
ยาฉุน : น. ยาเส้นพื้นเมืองชนิดหนึ่ง เป็นเส้นหยาบ ๆ มีรสฉุน สีนํ้าตาลแก่ ใช้ใบตองหรือใบจากเป็นต้นมวนสูบ.
ยาสูบ : น. ยาสำหรับสูบ มีทั้งที่เป็นมวนและที่เป็นเส้นสำหรับสูบกล้อง; (กฎ) บุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์ บุหรี่อื่น ยาเส้นปรุง รวมตลอดถึงยาเคี้ยว ด้วย.
ยาสูบ ๑ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Nicotiana tabacum L. ในวงศ์ Solanaceae ใบหั่น เป็นเส้นใช้กินกับหมากหรือมวนสูบ ทําเป็นผงใช้เป่าหรือสูดดม.
ยาสูบ ๒ : น. ใบของต้นยาสูบ (Nicotiana tabacum L.) ที่หั่นเป็นเส้นใช้ใบตองหรือ ใบจากเป็นต้นมวนสูบ.
ยาเส้น : น. ยาสูบชนิดหนึ่งที่หั่นใบยาเป็นเส้น ๆ หรือเป็นชิ้นเล็ก ๆ สําหรับมวนสูบหรือใส่กล้องสูบ; (กฎ) ใบของต้นยาสูบหรือยาอัด ซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและแห้งแล้ว.
โอสถ, โอสถ : [โอสด, โอสดถะ] น. ยาแก้โรค, ยารักษาโรค; เครื่องยา; ใน ราชาศัพท์ใช้ตลอดจนถึงยาสูบและบุหรี่ เช่น พระโอสถเส้น พระโอสถมวน. (ป. โอสถ, โอสธ; ส. เอาษธ).