มะมี่ : (กลอน) ก. มี่, อึงมี่, เอิกเกริก, แซ่, อึกทึก.
มุ่ม : ว. ทู่ ๆ, ปุ้ม ๆ, เช่น งูเขียวปากมุ่ม. (ปรัดเล).
แม่ไม้ : น. ท่ารำและท่าต่อสู้ที่เป็นหลักในวิชากระบี่กระบองหรือมวย.
มิลลิเมตร : น. ชื่อมาตราวัดตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑,๐๐๐ ของ ๑ เมตร, อักษรย่อว่า มม. (ฝ. millim?tre).
จุลสาร : น. สิ่งตีพิมพ์ที่บอกเรื่องต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ออกมาเป็นคราว ๆ ไม่มี กําหนดเวลาแน่นอน.
ทร- : [ทอระ-] คําอุปสรรค แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทรชน ทรลักษณ์ ทรพล. (ป. ทุ, ทุรฺ; ส. ทุสฺ).
ทุร- : [ทุระ-] ว. คําประกอบหน้าคําศัพท์ หมายความว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทุรค ว่า ที่ไปถึงยาก, ทางลําบาก. (ส.).
นฤ ๒ : [นะรึ] ว. ไม่มี, ออก, มักใช้นําหน้าศัพท์อื่น เช่น นฤมล ว่า ไม่มีมลทิน, นฤโฆษ ว่า ดังออก. (คํานี้เขียนแผลงมาจาก นิ ในบาลี ซึ่งสันสกฤต เป็น นิสฺ).
นิร : [ระ] ว. คําประกอบหน้าคําอื่น แปลว่า ไม่, ไม่มี, ออก.
บราง : [บอ-] (โบ; กลอน) ก. ไม่, ไม่มี, เช่น บรางนาน บรางโทษ, ใช้ บร้าง ก็มี.
เปล่า : [เปฺล่า] ว. ไม่มีอะไรนอกจากตัวของมันเองที่อ้างถึง เช่น ขวดเปล่า มือเปล่า, ว่าง ๆ; เป็นคําปฏิเสธ แปลว่า ไม่มี ไม่เป็นอย่างนั้น; ไม่มี ข้อผูกพัน เช่น ให้เปล่า ได้เปล่า. ว. อ้างว้าง, ว้าเหว่, เช่น เปล่าอก เปล่าใจ เปล่าเปลี่ยว.
ผ้าพื้น : น. ผ้านุ่งที่ทอด้วยด้ายมีสีใดสีหนึ่งเป็นพื้น ไม่มี ดอกไม่มีลาย.
ภุม ๑ : [พุม] ว. ไม่ เช่น ภุมมาน ว่า ไม่มี, ภุมบาน ว่า ไม่ได้. (ข. พุํ).
มิ้ม ๒ : น. ชื่อผึ้งขนาดเล็กชนิด Apis florea ผึ้งงานยาวประมาณ ๘ มิลลิเมตร อกกว้างประมาณ ๒.๕ มิลลิเมตร อาศัยอยู่รวมเป็นกลุ่ม ทํารังในที่ โล่งแจ้งเป็นแผ่นเดี่ยว ๆ มีขนาดตั้งแต่ฝ่ามือไปจนถึง ๓๐ เซนติเมตร เมื่อเลี้ยงลูกโตแล้วจะทิ้งรังไปหาที่ใหม่ต่อไป, มิ่ม นิ่ม หรือ นิ้ม ก็เรียก.
ยองใย : น. เส้นใย (แห่งแมงมุม). ว. ผุดผ่องเป็นนํ้านวล เช่น ผิวนวล เป็นยองใย; ใช้เป็นคําเปรียบเทียบว่ามีขนาดเล็กเท่าใยแมงมุม เช่น ไม่มี ความผิดแม้เท่ายองใย.
ไร้ : ว. ขัดสน, ไม่มี, ปราศจาก, เช่น ไร้ทรัพย์ ไร้ความสามารถ.
ลูกซอง : น. ชื่อปืนชนิดหนึ่ง ลูกมีปลอกทำด้วยกระดาษแข็ง ไม่มี หัวกระสุน มีลูกปรายหลายลูกอยู่ภายใน มีดินปืนอยู่ตรงกลาง และมีเชื้อปะทุอยู่ก้นปลอก.
แล้ง : น. หน้านํ้าแห้ง, ฤดูไม่มีฝน, ในคำว่า หน้าแล้ง ฤดูแล้ง. ก. ไม่มี เช่น แล้งน้ำใจ, มีน้อย เช่น แล้งน้ำ แล้งกวี. ว. ไม่มี, มีน้อย, เช่น ฝนแล้ง, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ แห้ง เป็น แห้งแล้ง เช่น แผ่นดินนี้นับวันจะแห้ง แล้งเป็นทะเลทราย.
วัชรยาน : น. ชื่อหนึ่งของลัทธิพุทธตันตระ ซึ่งถือว่ามีหลักปรัชญา สูงเหนือธรรมชาติ มีความแข็งเหมือนเพชร ใสเหมือนอากาศ ไม่มี ใครต้านทานได้เหมือนสายฟ้า จึงเรียกหลักปรัชญานั้นว่า วัชระ และเรียกลัทธิว่า วัชรยาน. (ส.).
ว่าง : ว. เปล่า, ไม่มีอะไรนอกจากตัวของมันเองที่อ้างถึง, เช่น ห้องว่าง ที่ว่าง ตําแหน่งว่าง, บางทีใช้ควบคู่กับคํา เปล่า เป็น ว่างเปล่า; ไม่มี ภาระผูกพัน เช่น วันนี้ว่างทั้งวันเย็นนี้หมอว่าง ไม่มีคนไข้. น. เรียกของกินในเวลาที่ไม่ใช่เวลากินข้าวว่า ของว่าง เครื่องว่าง อาหารว่าง.
สบาย : [สะบาย] ว. อยู่ดีกินดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูก ๆ ทำงานหมดแล้ว, เป็นสุขกายสุขใจ เช่น เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะมีฐานะดีขึ้น ไม่มี วิตกกังวลใด ๆ; สะดวก เช่น ทำตามสบายไม่ต้องเกรงใจ มีรถส่วนตัว สบายกว่าไปรถประจำทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สุข หรือ สะดวก เป็น สุขสบาย หรือ สะดวกสบาย; พอเหมาะพอดี เช่น เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย; ไม่ลำบากกาย เช่น เขาทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือน เมื่อก่อน; ไม่เจ็บไม่ไข้ เช่น เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้; มีความ พอใจเมื่อได้สัมผัส เช่น สบายหู สบายตา สบายกาย. (ป. สปฺปาย).
สลาด : [สะหฺลาด] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Notopterus notopterus ในวงศ์ Notopteridae รูปร่างคล้ายปลากราย หัวและลําตัวแบนข้างมาก ท้องเป็นสันคม ปากตํ่า สันหัวแอ่นลงเล็กน้อย ครีบหลังเด่นแต่มี ขนาดเล็กเท่า ๆ กันกับครีบอก ครีบท้องเล็ก ครีบก้นยาวต่อเนื่อง กับครีบหางซึ่งเล็กและมีขอบกลม พื้นลําตัวสีขาว หลังเทา ไม่มี จุดสีเด่นหรือลวดลายสีเข้มใด ๆ ขนาดยาวเพียง ๓๕ เซนติเมตร, ฉลาด หรือ ตอง ก็เรียก.
หมด : ก. สิ้น เช่น หมดลม หมดกิเลส หมดปัญญา, ไม่มี เช่น เงินหมด ฝนหมด, จบ เช่น หมดรายการ. ว. ไม่มีอะไรเหลือ เช่น กินหมด ใช้หมด.
หาไม่ ๑ : ก. ใช้ในความปฏิเสธหมายความว่า ไม่, ไม่มี, เช่น เขาจะสำนึกผิด ก็หาไม่ เขาจะมีความเกรงใจสักนิดก็หาไม่; สิ้นสุด เช่น จนกว่าชีวิตจะหาไม่.
โหด ๑ : (โบ) ว. ไร้, ไม่มี, เช่น นกไร้ไม้โหด, ยากไร้ เช่น เพราะเห็นกูโหดหืน แลดูแคลนกูกลใด ด่งงนี้. (ม. คำหลวง มัทรี).
อภูตะ : [อะพูตะ] ว. ไม่มี, ไม่เกิดขึ้น, ไม่ปรากฏ. (ป., ส.).
อำนด : [หฺนด] (กลอน) ก. กลั้น, งดเว้น, ไม่ได้, ไม่ได้สมหวัง; ไม่มี อะไรจะกิน. (แผลงมาจาก อด).