Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มหาราช , then มหาราช, มหาราชา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : มหาราช, 62 found, display 1-50
  1. มหาราช : น. คําซึ่งมหาชนถวายเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน; ชื่อธงประจําพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน เรียกว่า ธงมหาราช; ชื่อกัณฑ์ที่ ๑๑ ของมหาชาติ.
  2. มหาราชลีลา : น. เรียกท่านั่งที่ห้อยเท้าขวาลงเท้าซ้ายงอพับขึ้นไปสอดไว้ใต้โคนขาขวา.
  3. ธงมหาราชน้อย : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ แบ่งตามความ ยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงมหาราชใหญ่ แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลง เป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัด เป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้น แทนธงมหาราชใหญ่ หมายความว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งด การยิงสลุตถวายคํานับ.
  4. วันปิยมหาราช : น. วันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช เสด็จสวรรคต ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม.
  5. ธงมหาราชใหญ่ : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นธงสีเหลือง มีรูปพระครุฑพ่าห์สีแดงอยู่ตรงกลาง.
  6. กมณฑลาภิเษก : [กะมนทะ-] (แบบ) น. หม้อน้ำสรง เช่น อนนเต็มใน กมณฑลาภิเษก. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. กมณฺฑลุ = หม้อน้ำ + ส. อภิเษก = รด).
  7. กมณฑโลทก : [กะมนทะ-] (แบบ) น. น้ำในหม้อ เช่น ชําระพระองค์ด้วย กมณฑโลทก. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. กมณฺฑลุ = หม้อน้ำ + อุทก = น้ำ).
  8. กรพินธุ์ : [กอระ-] น. ทับทิม เช่น จงแต่งเขนแต่งขันธ์ ผ้าเกราะพรรณรายแพร้ว ดยรดาษแก้วกรพินธุ์. (ม. คําหลวง มหาราช). (บางทีจะเพี้ยนมาจาก กุรุพินท์ ซึ่งตรงกับคำสันสกฤตว่า กุรุวินฺท = ทับทิม).
  9. กรรณยุคล : [กันนะ-] น. หูทั้ง ๒ ข้าง เช่น ในพระกรรณยุคลท่านนั้น. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. ยุคล ว่า คู่).
  10. กรลุมพาง : [กระ] (โบ) น. กระลุมพาง, กลองหน้าเดียว, เช่น ปี่จีนโสดสรใน ใดต่าง ทงงกรลุมพางพอฟงง. (ม. คำหลวง มหาราช).
  11. กระคาย : (กลอน) ว. ระคาย เช่นบุกแฝกกระคายคา ละเลาะลัดลดาดอน. (ม. ฉันท์ มหาราช).
  12. กระทรวง ๑ : [-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
  13. กระไทชาย : (โบ; มาจาก กระทาชาย) น. คนผู้ชาย เช่น อันว่ากระไทชายผู้หนึ่ง. (ม. คําหลวง กุมาร; มหาราช), กระทาชาย ก็ว่า.
  14. กระเวนกระวน : (กลอน) ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์), หวนตลบ เช่น หอมกระเวนกระวน, เขียนเป็น กรเวนกรวล ก็มี เช่น ชื่อจลาจรเรนทร์ หอมกรเวนกรวล อาจจิญจญจวนใจ. (ม. คำหลวง มหาราช).
  15. กริตย- : [กฺริดตะยะ-] (โบ; กลอน) ก. ทํา เช่น พระบาทสญไชยก็ชําระ กริตยภิษิตสรรพางค์. (ม. คําหลวง มหาราช). (ส. กฺฤตฺย).
  16. กรี ๑ : [กะรี] (แบบ) น. ช้าง เช่น ถัดนั้นพลนิกรพวกกรี. (ม. คําหลวง มหาราช).
  17. กรุน : [กฺรุน] ก. ตัด, ทําลาย, เช่น จะกรุนจะกราดสงคราม. (ม. ฉันท์ มหาราช). (ถิ่นพายัพ กุน ว่า ตัด, ทําลาย, ใช้คู่กับ กาด ว่า ทําให้ราบลง).
  18. กว่า : [กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคําใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คําหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคํา จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทาง ที่จะกว่า. (ม. คําหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คําหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ล๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม). กว่าชื่น (โบ) ว. ยิ่ง, ยิ่งนัก.
  19. กะกร้าว : (กลอน) ว. มีเสียงอย่างขบฟันดังกร้วม ๆ, (โบ) เขียนเป็น กกร้าว ก็มี เช่น กเกรอกขบฟนนก็ดูร้าว กกร้าวขบฟนนกดูแรง. (ม. คําหลวง มหาราช).
  20. กัณฐี : [กันถี] (แบบ) น. เครื่องประดับคอ เช่น แก้วกัณฐีถนิมมาศนั้น. (ม. คําหลวง มหาราช).
  21. กัลเว้า : [กันเว้า] ว. พูดอ่อนหวาน, พูดเอาใจ, เช่น ก็มีพระราชโองการอนนกัลเว้า. (ม. คําหลวง มหาราช).
  22. กุรุพินท์ : น. ทับทิม, เขียนเป็น กรพินธุ์ ก็มี เช่น ดยรดาษแก้วกรพินธุ์. (ม. คําหลวง มหาราช). (ส. กุรุวินฺทุ ว่า แก้วทับทิม).
  23. โกมล ๒ : น. ดอกบัว เช่น ก็ทัดทานวาริชโกมล. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป. กมล).
  24. ขวัดขวิด : [ขฺวัดขฺวิด] ก. กวัดไกว เช่น เท้ากวัดขวัดขวิดคือควัน. (ม. ฉันท์ มหาราช).
  25. ขะแถก : (ถิ่น) ก. กระแทก, กระทบโดยแรง, กระทุ้ง, เช่น ขะแถกแทงทอท่ยว เขาส้ยมส่ยวยงงมี. (ม. คําหลวง มหาราช).
  26. ขัด ๔ : (โบ; กลอน) ก. คาด เช่น มีพิกัดขัดค่าเป็นราคาน้อยมาก. (ม. ร่ายยาว มหาราช).
  27. คลิด : [คฺลิด] ก. ขัด, แคลง, เคลื่อน, เคล็ด, เช่น มาอย่าคลิดอย่าคลาด. (ม. คําหลวง มหาราช).
  28. คายัน : (แบบ) ก. ร้องเพลง, ขับร้อง, เช่น สยงสังคีตคายัน. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส.).
  29. เคน ๑ : (โบ) น. เครื่องเป่า เช่น ปยวปี่แก้วเคนผสาร. (ม. คําหลวง มหาราช).
  30. เคน ๒ : (โบ) ก. ประเคน เช่น สิ่งสินเวนเคน. (ม. คําหลวง มหาราช).
  31. จำบัง ๒ : ก. กำบังกาย, หายตัวไป, เช่น โจนจำบับจำบัง. (ม. คำหลวง มหาราช).
  32. จำเบศ : ความหมายอย่างเดียวกับ จําบัง แต่เพื่อประโยชน์ในกลอนจึงใช้ ศ เข้าลิลิต เช่น หมู่โยธาโยเธศ รู้จําเบศจําบัง. (ม. คําหลวง มหาราช).
  33. จำรูญ : ว. รุ่งเรือง, งาม, เช่น ลางหมู่หน้าแดงจกูรล ดูจำรูญจกราด. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก จรูญ).
  34. จำแล่น : ก. ให้แล่น เช่น ตีด้วยเชือกเขาแขง ไม้ท้าวแทงจำแล่นแล. (ม. คำหลวง มหาราช).
  35. จำหัน ๒ : ว. ฉัน, มีแสงกล้า; เฉกเช่น, ดังเช่น; โบราณเขียนเป็น จำหนน ก็มี เช่น จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก ฉัน).
  36. จำหาย ๒ : ก. ส่อง เช่น จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก ฉาย).
  37. ชรอัด : [ชฺระ] (กลอน) ว. ชัด เช่น ลางหมู่งาชรอัดชรแอ้น. (ม. คําหลวง มหาราช).
  38. ชระงม : [ชฺระ] (กลอน) น. ป่ากว้าง, ป่าใหญ่. ว. เปลี่ยวเปล่า, เงียบสงัด, เช่น อยู่ชระงมนั้น. (ม. คําหลวง มหาราช).
  39. ชรัด : [ชฺรัด] (กลอน) ก. ซัด เช่น หมู่หนึ่งชรัดด้วยทองแดง. (ม. คําหลวง มหาราช).
  40. ดำพอง, ดำโพง : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก ตะพอง) น. ส่วนที่นูนเป็น ๒ แง่อยู่เหนือ หน้าผากช้าง เช่น พลอยผูกกระพัดรัดดําโพง. (ม. คําหลวง มหาราช).
  41. แด่น ๒ : ก. แล่น, ไปถึง เช่น ทัพถึงหมื่นถึงแสนแด่นถึงล้าน. (ม. คําหลวง มหาราช). (เทียบอะหม ดัน ว่าถึง).
  42. ตรัง : [ตฺรัง] (โบ) ก. ติดอยู่ เช่น สิ่งสินตรังตรา. (ม. คําหลวง มหาราช), ต้องกวางทราย ตายเหลือตรัง. (อนิรุทธ์).
  43. ถวัด : [ถะหฺวัด] ก. ตวัด เช่น หมีแรดถวัดแสนงขนาย. (แช่งนํ้า). ว. ไว, คล่อง, เช่น ลางหมู่เอาดินก็ได้ถวัด. (ม. คําหลวง มหาราช).
  44. เปียว : (โบ) ก. เป่า เช่น เปียวปี่แก้วเคนผสาร. (ม. คําหลวง มหาราช).
  45. ผอก ๒ : ว. น่าเกลียด เช่น แลจะให้แก่พราหมณ์เถ้าผอกหงอกหลง. (ม. คําหลวง มหาราช).
  46. พก ๑ : น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ มีลักษณะคล้ายถุง เล็ก ๆ เรียกว่า ชายพก ใส่เงินหรือหมากเป็นต้น; แผ่นดิน. ก. เอา เก็บหรือซ่อนไว้ในพกหรือในสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พกมีด พกนาฬิกา, เรียกสิ่งที่นำติดตัวไปในลักษณเช่นนั้น เช่น มีดพก ปืนพก นาฬิกาพก; พัง, ทําลาย, เช่น ดุจพสุธาพังดังพสุธาพก. (ม. ร่ายยาว มหาราช); ผก, หก, ตก; (กลอน) วก เช่น ภายหลังมา จึงพราหมณ์ชูชก พกมาทวงทอง. (ม. คําหลวง ชูชก).
  47. รุบาการ : (กลอน) น. อาการแห่งรูป, รูป, เช่น เทพยดาก็กําบงงรุบาการอันตรธาน ไป. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. รูป + อาการ).
  48. อติราช : [อะติราด] น. เจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่, มหาราช. (ป.).
  49. กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
  50. คุณนาม : [คุนนะ-] น. ชื่อที่ตั้งขึ้นโดยถือเอาความดีเป็นหลัก เช่น พระปิยมหาราช; (ไว; เลิก) คําคุณที่มาใช้เป็นนาม เช่น ความดีความชอบ.
  51. [1-50] | 51-62

(0.0729 sec)