มหาวิทยาลัย : [มะหาวิดทะยาไล] น. สถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลายสาขาวิชา หรือหลายกลุ่มสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญา และประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่ ผู้สําเร็จการศึกษา รวมทั้งดําเนินการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ.
บูรพา : [-ระพา] ว. ตะวันออก; เบื้องหน้า. (ส.).
ระหว่าง : น. ช่องว่างจากที่หนึ่งถึงอีกที่หนึ่ง เช่น ในระหว่างภูเขา ๒ ลูก, ระยะ เวลาจากระยะหนึ่งถึงอีกระยะหนึ่ง เช่น ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึง พระอาทิตย์ตก, เวลาช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น ระหว่างสงครามเขายังเรียน หนังสืออยู่, เวลาที่กําลังเป็นไปอยู่ เช่น ระหว่างประชุมฝนตกหนัก ระหว่างนี้เขาไม่ว่าง. บ. คําที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลหรือ สถาบันเป็นต้นตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป เช่น งานมงคลสมรสระหว่างนาย ก กับนางสาว ข แบ่งมรดกในระหว่างลูก ๆ การแข่งขันฟุตบอลระหว่าง มหาวิทยาลัย การประชุมระหว่างชาติ.
อนุศาสก : น. อาจารย์ผู้ควบคุมดูแลนักเรียนในหอพักของวิทยาลัยหรือ มหาวิทยาลัย. (ส.; ป. อนุสาสก).
บูรพ์, บูรพะ : [บูน, บูระพะ] ว. บุพ.
คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
คณบดี : [คะนะบอดี] น. หัวหน้าคณะในมหาวิทยาลัยหรือในสถาบัน ที่เทียบเท่า. (ป., ส. คณ + ปติ).
จตุโลกบาล : [จะตุโลกกะบาน] น. ท้าวจาตุมหาราช, หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศ ตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้าน ทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิม หรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จัตุโลกบาล ก็ว่า.
จัตุโลกบาล : [จัดตุโลกกะบาน] น. ท้าวจาตุมหาราช, หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้น จาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท้าวจัตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพา หรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหกจอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษา โลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้าน ทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศ อุดรหรือทิศเหนือ, จตุโลกบาล ก็ว่า. (ป.).
จาตุมหาราช : น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือ จาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราชิก หรือ จาตุมหาราชิกา ก็ว่า; เรียกหัวหน้าเทวดา ผู้มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ว่า ท้าวจาตุมหาราช คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูต หรือจอมคนธรรพ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก์ จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จตุโลกบาล หรือ จัตุโลกบาล ก็ว่า.
ทบวง : [ทะ-] (กฎ) น. ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งโดย สภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะตั้งเป็นกระทรวง อาจสังกัดหรือไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงก็ได้; ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง แต่เรียกชื่อว่า ทบวง เช่น ทบวงมหาวิทยาลัย.
ทักษา : (โหร) น. เรียกดาวพระเคราะห์เฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจํา ทิศอีสาน ใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจําทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร (ประจําทิศอาคเนย์ ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจําทิศทักษิณ ใช้เลข ๔ แทน) เสาร์ (ประจําทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจําทิศประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจําทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน) และศุกร์ (ประจําทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็น แผนภูมิดังนี้ (รูปภาพ)
ธตรฐ : [ทะตะรด] น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจําทิศบูรพา.
นิสิต : น. ผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยบางแห่ง เช่น นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; ศิษย์ที่เล่าเรียนอยู่ในสํานัก, ผู้อาศัย. (ป. นิสฺสิต).
ปริญญา : [ปะรินยา] น. ความกําหนดรู้, ความหยั่งรู้, ความรู้รอบ; ชั้นความรู้ขั้น มหาวิทยาลัยซึ่งประสาทให้แก่ผู้ที่สอบไล่ได้ตามที่กําหนดไว้, ถ้า ประสาทแก่ผู้ทรงวิทยาคุณหรือผู้มีเกียรติตามที่เห็นสมควร เรียกว่า ปริญญากิตติมศักดิ์. (ป.; ส. ปริชฺ?า).
แผงคอ : น. แผงทําด้วยสักหลาดหรือกํามะหยี่ สําหรับติดคอเสื้อ ราชปะแตนซึ่งเป็นเครื่องแบบเอกชนที่ขอเข้าเฝ้า หรือเครื่องแบบ นิสิตชายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือเครื่องแบบนักเรียนโรงเรียน วชิราวุธวิทยาลัยเป็นต้น; (โบ) แผงทําด้วยสักหลาดหรือกํามะหยี่ สําหรับติดคอเสื้อราชปะแตนซึ่งเป็นเครื่องแบบทางราชการ; ขน ที่สันคอม้า.
เยื้อง : ก. เอี้ยว, ย้ายไป, เดินอย่างไว้ท่าทาง, เช่น เดินเยื้องตัวแล้วซัดแขนอย่าง ละครรำ. ว. เฉียงจากจุดตรงข้ามเล็กน้อย เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อยู่เยื้องกับโรงพยาบาลศิริราช.
ร่วมวงศ์ไพบูลย์ : ก. ร่วมเป็นพวกเดียวกัน เช่น ร่วมวงศ์ไพบูลย์มหาเอเชีย บูรพา; (ปาก) ร่วมทำด้วย.
ลูกเมียหลวง : น. ลูกของเมียหลวงซึ่งมีสิทธิ์มากกว่าลูกของเมียน้อย, โดยปริยายหมายถึงผู้มีฐานะเหนือกว่าผู้อื่นหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลายคนมองว่ามหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ เป็น ลูกเมียหลวง.
โลกบาล : [โลกกะ] น. หัวหน้าเทวดาในชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่ รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกเต็มว่า ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าว จัตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูต หรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลก ด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดา หรือ จอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ. (ป., ส. โลกปาล).
วิทยาเขต : น. ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย แต่ตั้งอยู่ในบริเวณอื่น มีคณาจารย์อาคาร สถานที่ ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ของตนเอง เกี่ยวพันกับมหาวิทยาลัยโดยมีอธิการบดีคนเดียวกัน และสภามหาวิทยาลัยชุดเดียวกัน.
สถาปนา : [สะถาปะนา] ก. ยกย่องโดยแต่งตั้งให้สูงขึ้นเช่นเลื่อนเจ้านายให้ สูงศักดิ์ขึ้น หรือยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง, ตั้งขึ้น (มัก ใช้แก่หน่วยราชการหรือองค์การที่สําคัญ ๆ ในระดับกระทรวง ทบวงมหาวิทยาลัย) เช่น วันสถาปนากระทรวงมหาดไทย วันสถาปนา ราชบัณฑิตยสถาน วันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ส. สฺถาปน; ป. ?าปน).
สภา : น. องค์การหรือสถานที่ประชุม เช่น สภาผู้แทนราษฎร สภาสตรี แห่งชาติ สภามหาวิทยาลัย วุฒิสภา. (ป., ส.).
หน้าหงาย : ว. อาการที่หน้าเงยแหงนขึ้น เช่น เขาถูกชกหน้าหงาย; โดย ปริยายหมายถึงอาการที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า เช่น ตั้งใจจะไป ขอยืมเงินเขา เขาบอกว่าหนี้เก่าก็ไม่ได้ชำระยังจะมาขอยืมอีก เลยต้อง หน้าหงายกลับมา; ที่ผิดไปจากที่คาดหวังไว้มาก เช่น เขาคุยว่าสอบเข้า มหาวิทยาลัยได้แน่ ๆ แต่พอประกาศผลแล้วไม่ได้ ก็หน้าหงายกลับมา.
หัวดี : ว. เฉลียวฉลาดรอบคอบ เช่น เด็กคนนี้หัวดี ปีนี้ต้องสอบเข้า มหาวิทยาลัยได้แน่.
อธิการบดี : [อะทิกานบอดี] น. ตําแหน่งสูงสุดของผู้บริหาร ในมหาวิทยาลัย.
อัฐเคราะห์ : (โหร) น. เรียกดาวเฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจํา ทิศอีสาน ใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจําทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร (ประจําทิศอาคเนย์ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจําทิศทักษิณ ใช้เลข ๔ แทน) เสาร์ (ประจําทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจําทิศประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจําทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน) และศุกร์ (ประจําทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็น แผนภูมิดังนี้ (รูปภาพ) ว่า ทักษา, ถ้าเกิดวันใด ก็ถือวันนั้นเป็นบริวาร แล้วนับเวียนขวาไป ตามทิศทั้ง ๘ เช่น เกิดวันอาทิตย์ อาทิตย์เป็นบริวาร จันทร์เป็นอายุ อังคารเป็นเดช พุธเป็นศรี เสาร์เป็นมูละ พฤหัสบดีเป็นอุตสาหะ ราหูเป็นมนตรีและศุกร์เป็นกาลกรรณี.
ผลคุนีบูรพมาส : [บูระพะมาด] น. วันเพ็ญในนักษัตรอุตรผลคุนี. (ส. ผาลคุนี + ปูรฺว + มาส).