Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มะม่วง , then มมวง, มะม่วง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : มะม่วง, 87 found, display 1-50
  1. มะม่วง : น. ชื่อฝีที่โคนขาหนีบ เกิดจากต่อมนํ้าเหลืองได้รับการติดเชื้อกามโรค ชนิด Lymphogranuloma venereum เรียกว่า ฝีมะม่วง.
  2. มะม่วง : น. ชื่อไม้ต้นในสกุล Mangifera วงศ์ Anacardiaceae มีหลายชนิดและหลายพันธุ์ เช่น อกร่อง พิมเสน ซึ่งเป็นชนิด M. indica L., กะล่อน หรือ ขี้ไต้ เป็นชนิด M. caloneura Kurz ใบอ่อนและผลใช้เป็นอาหาร.
  3. ฝนชะช่อมะม่วง : น. ฝนที่ตกเล็กน้อยประปรายในเดือนมกราคมถึง เดือนมีนาคม ซึ่งเป็นระยะที่มะม่วงออกช่อพอดี, ฝนชะลาน ก็เรียก.
  4. มดแดงเฝ้ามะม่วง : (สํา) น. ชายที่ปองรักหญิงบ้านใกล้หรือที่อยู่ใกล้ กัน และคอยกีดกันไม่ให้ชายอื่นมารัก, มดแดงแฝงพวงมะม่วง ก็ว่า.
  5. ฝีมะม่วง : น. ชื่อฝีที่โคนขาหนีบเกิดจากต่อมนํ้าเหลืองได้รับการติด เชื้อกามโรคชนิด Lymphogranuloma venereum.
  6. คำกร่อน : (ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็น อักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออก เสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระ โครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็น เสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.
  7. น้ำพริก : น. อาหารชนิดหนึ่ง ปรุงด้วย กะปิ กระเทียม พริกขี้หนู มะนาว เป็นต้นใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือคลุกข้าวกิน ใช้นํ้าปลาหรือนํ้าปลาร้าแทน กะปิก็มี ใช้ของเปรี้ยวอื่น ๆ เช่น มะขาม มะดัน มะม่วง แทนมะนาวก็มี เรียกชื่อต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น นํ้าพริกปลาร้า นํ้าพริกปลาย่าง นํ้าพริกมะขาม นํ้าพริกมะดัน นํ้าพริกมะม่วง, เครื่องปรุงแกงเผ็ด แกงคั่ว หรือ แกงส้ม, อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง มี ๓ รส แต่ค่อนข้าง หวานทําด้วยถั่วเขียวโขลกกับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่างเป็นเหมือด ใช้คลุกกินกับขนมจีน, คู่กับ นํ้ายา.
  8. ใบ : น. ส่วนของพืชที่ติดอยู่กับกิ่งหรือลำต้น โดยมากมีลักษณะเป็น แผ่นแบน ๆ รูปร่างต่าง ๆ กัน มีก้านใบหรือไม่มีก็ได้ มักมีสีเขียว; สิ่งที่ทําด้วยผืนผ้าเป็นต้น สําหรับขึงที่เสากระโดงเพื่อรับลม; แผ่นเอกสารหรือหนังสือสําคัญต่าง ๆ เช่น ใบขับขี่ ใบทะเบียน; เรียกของที่เป็นแผ่น ๆ เช่น ใบหนังสือ ใบมีด ใบหู ทองใบ; ลักษณนามสําหรับใช้เรียกผลไม้ ภาชนะ เครื่องใช้บางอย่าง หรือแผ่นเอกสาร เช่น มะม่วง ๒ ใบ ถ้วย ๓ ใบ ตู้ ๔ ใบ ใบขับขี่ ๕ ใบ.
  9. ปากตะกร้อ : น. เรียกมะม่วงบางชนิด เช่น มะม่วงพิมเสน มะม่วง น้ำดอกไม้ ที่แก่จัดจนหัวเหลืองอยู่บนต้นว่า มะม่วงปากตะกร้อ.
  10. ผล : น. ลูกไม้ เช่น ผลมะม่วง ผลมะปราง; สิ่งที่เกิดจากการกระทำ เช่น ผลแห่งการทำดี ผลแห่งการทำชั่ว; ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น ทำนา ได้ผล เรียนได้ผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล, คู่กับ มรรค; ลักษณนามเรียกผลไม้ เช่น มะม่วง ๒ ผล มะปราง ๓ ผล; จำนวนที่ได้จากการคำนวณ เช่น ๕ กับ ๗ บวกกัน ได้ผล เท่ากับ ๑๒, ผลลัพธ์ ก็ว่า. (ป., ส.).
  11. ลูก : น. ผู้มีกําเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คํา ที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูด หลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คําที่ลูกใช้ แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ ง่วงนอน, เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา, เรียกสิ่งที่จะสืบ เป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึง ผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคําพยางค์เดียวอันอาจทํา ให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคํา ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด, เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดย อนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน, ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้ หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง๕ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.
  12. หน่วย : [หฺน่วย] น. ตัวเลขหลังสุดของเลขจํานวนเต็มที่เรียงกันเรียกว่า เลขหลัก หน่วย เช่น ๑๔๓ เลข ๓ เป็นเลขหลักหน่วย; จํานวนหรือหมู่ที่นับเป็น หนึ่ง เช่น หน่วยอนุสภากาชาด; ลูกตา ในคําว่า นํ้าตาคลอหน่วย นํ้าตา ล่อหน่วย; ลูก, ผล, เช่น มะม่วง ๓ หน่วย. ว. หนึ่ง (ใช้แก่การพนันถั่ว และโป).
  13. พืชชั้นสูง : น. พืชหลายเซลล์ แต่ละเซลล์ทําหน้าที่ต่างกันและต้อง อาศัยซึ่งกันและกัน ได้แก่ ไม้ดอกและไม้ผล เช่น กล้วยตานี มะม่วง.
  14. ม่วง ๒ : น. มะม่วง.
  15. ก้นตะกรน : น. ก้นที่มีขี้ตะกอน. ว. เดนคัด, เดนเลือก, ขนาดเล็กมาก, ในคำว่า มะม่วงก้นตะกรน.
  16. กอง ๑ : ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
  17. ก้อร่อก้อติก : ว. แสดงอาการเจ้าชู้, ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทาง แถบเหนือของไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก. (ถิ่น-พายัพ) น. ทับทิม เช่น ต้นก๊อ ว่า ต้นทับทิม. (พจน. ๒๔๙๓). ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกายหรือดูดเอาน้ำนม ออกจากเต้านมโดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด. น. มะกอก. น. เครื่องเปิดปิดน้ำจากท่อหรือภาชนะ, หัวก๊อก ก็เรียก. (อ. cock). น. เรียกเปลือกต้นก่อชนิด Quercus suber L. ในวงศ์ Fagaceae ที่ใช้ทําจุกขวดและอื่น ๆ ว่า ไม้ก๊อก. ก. เกาะแกะ เช่น อย่ากอแกชาววังหลังจะลาย. ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
  18. กะล่อน ๑ : น. ชื่อมะม่วงชนิด Mangifera caloneura Kurz ในวงศ์ Anacardiaceae ผลเล็ก เนื้อไม่มีเสี้ยน เมื่อสุกมีกลิ่นหอมแรง, ขี้ไต้ ก็เรียก.
  19. แกน : น. วัตถุแข็งที่อยู่ตรงกลางของสิ่งอื่นสําหรับยึดให้อยู่, วัตถุแข็งที่มีสิ่งอื่นหุ้ม. ว. แข็งเป็นไตอยู่ข้างใน (มักใช้แก่ผลไม้) เช่น ทุเรียนแกน มะม่วงแกน; ขัดสน,จําใจ, เช่น อยู่ไปแกน ๆ เต็มแกน.
  20. แก้ม : น. บริเวณหน้าทั้ง ๒ ข้างถัดตาลงมา, ราชาศัพท์ว่า พระปราง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีรูปเช่นนั้น เช่น เฉือนมะม่วงเอาแต่ ๒ แก้ม = เฉือนเอา ๒ ส่วนที่มีลักษณะเหมือนแก้ม.
  21. แก้มแดง : น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L.
  22. แก้ว ๕ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดกลางชนิด Murraya paniculata (L.) Jack ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นตามป่าดิบ กิ่งก้านสีขาว ใบสีเขียวสด เป็นมัน ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้แข็งใส เหนียว มีลาย ใช้ทําด้ามมีด และไม้ถือ. (๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. นิยมกินดิบ ๆ หรือดอง. (๓) ส้มแก้ว. (ดู ส้ม๑). (๔) (ถิ่น-พายัพ) ต้นพิกุล. (ดู พิกุล).
  23. ขบเผาะ : ว. เรียกผลมะม่วงอ่อน ๆ ขนาดหัวแม่มือว่า มะม่วงขบเผาะ หมายเอาเสียงเวลาเอาฟันขบดังเผาะ; โดยปริยายเรียกวัยของเด็กหญิง ที่เพิ่งเริ่มแตกเนื้อสาวว่า วัยขบเผาะ.
  24. ขึ้นนวล : ก. เกิดละอองสีขาวบนผิวผลไม้หรือใบไม้บางชนิดแสดงว่า แก่จัด เช่น ใบตองขึ้นนวล มะม่วงขึ้นนวล ฟักขึ้นนวล.
  25. เข้าไคล : ก. ลักษณะมะม่วงที่แก่มีนวล มีเมล็ดแข็ง, โดยปริยาย หมายความว่า จวนจะรู้ผล, ใกล้จะสำเร็จ.
  26. เขียวเสวย : น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ผลสีเขียว รสมัน.
  27. งอม : ว. สุกจัดจนเกือบเน่าหรือเละ เช่น กล้วยงอม มะม่วงงอม, โดยอนุโลม ใช้กับคนที่แก่มากจนทำอะไรไม่ไหว เช่น ปีนี้คุณยายดูงอมมาก, โดย ปริยายหมายความว่า แย่ เช่น ถูกใช้ให้ทํางานเสียงอม, บอบชํ้า เช่น ถูกตีเสียงอม, ได้รับทุกข์ทรมานมาก เช่น เป็นไข้เสียงอม.
  28. จิ้ม : ก. จุ่ม, จุ้ม, เช่น จิ้มนํ้าพริก จิ้มหมึก; เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งทิ่มหรือแทงเบา ๆ เช่น จิ้มฟัน, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งแตะ ๆ เช่น เอามะม่วงจิ้มพริกกะเกลือ.
  29. โฉบ : ก. โผลงมาคว้าเอาสิ่งของไป (ใช้แก่นก) เช่น กาโฉบลูกไก่, ฉวยเอาไป อย่างรวดเร็ว เช่น เด็กโฉบมะม่วงนอกรั้วไปเสียแล้ว; เจตนาไปที่ใดที่หนึ่ง เช่น โฉบไปหน้าโรงเรียน.
  30. ช่อ ๑ : น. ใบไม้หรือดอกไม้ที่แตกออกเป็นพวง, เรียกดอกของต้นไม้ บางชนิดเช่นมะม่วงและสะเดาที่ออกดอกเล็ก ๆ เป็นกลุ่มหรือ เป็นพวงว่า ช่อมะม่วง ช่อสะเดา, ใบไม้หรือดอกไม้ที่ผูกเป็น กลุ่ม หรือเป็นพวง, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ช่อดอกไม้ไฟโคมช่อองุ่น.
  31. ชะ ๑ : ก. ทําให้สิ่งที่ติดอยู่หลุดไปหรือหมดไปด้วยนํ้า ในลักษณะ และ อาการอย่างชะแผล; ชําระล้างด้วยอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ฝนชะลาน ฝนชะช่อมะม่วง.
  32. ชะลาน : น. ชื่อหนึ่งของฝนชะช่อมะม่วง ชาวนาเรียกว่า ฝนชะลาน เพราะมักตกในระยะเวลาที่ยังนวดข้าวไม่เสร็จ.
  33. ชุก : ว. มีดื่น, มีมากมาย, เช่น มะม่วงชุก, มีบ่อย ๆ เช่น ฝนชุก.
  34. ซอย : ก. ทําถี่ ๆ เช่น ซอยเท้า, สับถี่ ๆ เช่น ซอยมะม่วง, หั่นถี่ ๆ เช่น ซอยหอม; ผ่าหรือตัดให้เป็นส่วนเล็ก ๆ เช่น ซอยไม้ระแนง. ว. เรียกทางย่อยหรือทางแยกจากทางใหญ่ เช่น ถนนซอย คลองซอย. น. ถนนหรือทางย่อยที่แยกจากทางใหญ่ เช่น ซอยลาดพร้าว ๑; ลักษณนามเรียกถนนหรือทางที่แยกจากถนนใหญ่ เช่น ถนนสายนี้ มีหลายซอย.
  35. ซีก : น. ส่วนที่ผ่าครึ่ง, ส่วนของสิ่งบางอย่างเช่นไม้ไผ่หรือแตงโมที่ผ่าออก โดยปรกติตามยาว, โดยปริยายหมายความว่า ด้าน, ส่วน, เช่น ร่างกาย ตายไปซีกหนึ่ง ปลาทูซีกนี้; ลักษณนามเรียกส่วนที่แยกออกนั้น เช่น มะม่วงซีกหนึ่ง แตงโม ๒ ซีก; ใช้สําหรับมาตราเงินโบราณเท่ากับ (เศษ ๑ ส่วน ๒) ของเฟื้อง.
  36. ดิบ : ว. ยังไม่สุก เช่น มะม่วงดิบ, ยังไม่สุกด้วยไฟ เช่น เนื้อดิบ ข้าวดิบ; เรียกสิ่ง ที่ยังไม่ได้ทําให้สําเร็จรูปหรือยังไม่ได้เปลี่ยนรูปและลักษณะเดิมว่า วัตถุดิบ, เรียกด้ายที่ยังไม่ได้ฟอกว่า ด้ายดิบ, เรียกผ้าที่ทอด้วยด้ายดิบว่า ผ้าดิบ; โดย ปริยายเรียกชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุว่า คนดิบ, เรียกศพที่ไม่ได้เผาว่า ผีดิบ, เรียกดงที่มีต้นไม้หนาแน่นเขียวชอุ่มอยู่ทั้งปีว่า ดงดิบ.
  37. ต้น : น. ลําของต้นไม้, เป็นชื่อรวมทั่วไปของต้นไม้และพืชผักต่าง ๆ เช่น ต้นมะขาม ต้นสัก ต้นหญ้า ต้นผักชี ต้นข้าว, ลักษณนามว่า ต้น เช่น มะม่วงต้นหนึ่ง ผักชี ๒ ต้น; เรียกผู้ที่นับกันว่าเป็นผู้เริ่มต้น วงศ์สกุลว่า ต้นวงศ์ต้นสกุล; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) คํานําหน้าชื่อพระภิกษุ สามัญ; เบื้องต้นของสิ่งที่มีลักษณะกลมยาว เช่น ต้นขา ต้นแขน; ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือนต้นปี; ใช้ประกอบหน้าคําอื่น แปลว่า ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้มีหน้าที่รักษาสิ่งของหรือทํา กิจการประจํา เช่น ต้นกุญแจ ต้นห้อง; ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ต้น เช่น ต้นเพลงฉิ่ง ต้นเพลงยาว ต้นเพลงรํา. (ดึกดําบรรพ์). ว. แรก เช่น หน้าต้น; แรกเริ่ม เช่น แต่ต้น; เนื่องใน พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น.
  38. ตลับนาก : [ตะหฺลับ-] น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่ง ผลค่อนข้างกลม กลิ่นหอม.
  39. ตับเป็ด ๒ : น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ผลค่อนข้างแบน เนื้อแน่น.
  40. ถนน : [ถะหฺนน] น. หนทางที่ทําขึ้น, ลักษณนามว่า สาย, สนน ก็ว่า, โบราณเขียนเป็น ถนล. (จารึกวัดป่ามะม่วง); (กฎ) ทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ''ทางข้าม ตามกฎหมายว่าด้วยการ จราจรทางบก ตรอก ซอย สะพาน หรือ ถนนส่วนบุคคล ซึ่ง เจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้. (ข. ถฺนล่).
  41. ทองดำ ๒ : น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ผลสีเขียว ค่อนข้างดํา.
  42. ทองปลายแขน ๒ : น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ผลยาว ปลายงอ.
  43. ทะวาย : ว. ที่ออกผลไม่ตรงตามฤดูกาล (ใช้แก่ผลไม้) เช่น มะม่วงทะวาย.
  44. นวล : ว. สีขาวปนเหลืองเล็กน้อย; ผ่องเป็นยองใย, งามผุดผ่อง, เช่น ผิวนวล. น. ผงแป้งที่โรยบนก้อนแป้งเวลานวดหรือปั้นเพื่อไม่ให้ติดมือติดภาชนะ เป็นต้น; ละอองสีขาวบนผิวผลไม้หรือใบไม้บางชนิดแสดงว่าแก่จัด เช่น นวลมะม่วง นวลแตง นวลใบตอง.
  45. น้ำดอกไม้ ๒ : น. (๑) ชื่อชมพู่ชนิด Syzygium jambos (L.) Alston ในวงศ์ Myrtaceae ผลสุกสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมเหลือง เนื้อบาง กลิ่นหอมเหมือนกุหลาบ. (๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ; ผลยาว ดิบรสเปรี้ยวจัด สุกรสหวานหอม เมล็ดแบนมาก.
  46. น้ำตาลจีน : น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. เดิมเรียก นํ้าตาลทรายจีน.
  47. เนื้อ ๑ : น. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควาย ที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจําตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสําคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติ ของเนื้อทองคําและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยาย หมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.
  48. บัญจรงค์ : [บันจะรง] (แบบ) น. เบญจรงค์ เช่น เอาผ้าบัญจรงค์อันงาม. (จารึก วัดป่ามะม่วง หลักที่ ๕ ด้านที่ ๓).
  49. ปอด ๓ : ว. ลักษณะก้นที่สอบและแฟบ เรียกว่า ก้นปอด, โดยปริยายใช้เรียก สิ่งอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น มะม่วงก้นปอด.
  50. ฝนชะลาน : น. ฝนชะช่อมะม่วง ชาวนาเรียกว่า ฝนชะลาน เพราะมักตก ในระยะเวลาที่ยังนวดข้าวไม่เสร็จ.
  51. [1-50] | 51-87

(0.0633 sec)