มัด : ก. ผูกรัดเข้าด้วยกัน, ผูกรัดให้แน่น. น. ลักษณนามเรียกของบางอย่าง ที่ผูกรัดเข้าด้วยกัน เช่น ไต้มัดหนึ่ง ฟืน ๒ มัด.
มัดหมี่ : น. กรรมวิธีในการทอผ้าอย่างหนึ่ง เอาเชือกมัดด้ายหรือไหม เป็นเปลาะ ๆ ตามลาย แล้วย้อมสี เมื่อทอแล้วจะได้ลวดลายต่าง ๆ ตามที่มัดไว้, เรียกผ้าที่ทอด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นว่า ผ้ามัดหมี่, หมี่ ก็เรียก.
มัดหวาย : น. เรียกลายนิ้วมือที่ไม่ขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่างก้นหอยว่า ลายมัดหวาย.
มัดเชื้อเพลิง : น. คบไฟ, คบเพลิง.
มัดมือชก : (สํา) ก. บังคับหรือใช้วิธีการใด ๆ ให้อีกฝ่ายหนึ่งตกอยู่ใน ภาวะจำยอมโดยไม่มีทางต่อสู้.
กลาป : [กะหฺลาบ] (แบบ) น. หมวด, ฟ่อน, กํา, มัด; ฝูงใหญ่. (ป., ส.).
จังกอบ : (โบ) น. ภาษีผ่านด่าน, ภาษีปากเรือ, ภาษีที่เก็บเพื่อใช้บำรุงท้องถิ่น. ก. ผูก, มัด, เชิงกอบ ก็เรียก.
เชิงกอบ : (โบ) ก. ผูก, มัด, จังกอบ ก็เรียก.
ดอย ๒ : ก. ผูก, มัด, ตอก, ชก, ตี, ปา, ทอย.
ผ้ามัดหมี่ : น. ผ้าชนิดหนึ่ง ทอโดยเอาเชือกมัดด้ายหรือไหมเป็น เปลาะ ๆ ตามลาย แล้วย้อมสี เมื่อทอแล้วจะได้ลวดลายตามที่มัดไว้, หมี่ ก็เรียก.
พันธ, พันธ์, พันธะ : [พันทะ] ก. ผูก, มัด, ตรึง. (ป., ส.). น. ข้อผูกมัด, ข้อผูกพัน.
เรียว ๒ : น. สายสําหรับรั้งใบเรือ, เขียนว่า เลียว ก็มี. (จ. เลี่ยว = ผูก, มัด, พัน, วนเวียนคดเคี้ยว).
ถะมัดถะแมง : (โบ) ว. ทะมัดทะแมง, ขึงขัง, เอาจริงเอาจัง. (ดึกดําบรรพ์).
มุฮัมมัด : น. นามศาสดาของศาสนาอิสลาม, มะหะหมัด ก็เรียก.
ลายมัดหวาย : น. ลายนิ้วมือเป็นต้นที่ไม่ขดวนเข้าหาศูนย์กลาง อย่างก้นหอย.
อนุมัติ : [มัด] ก. ให้อำนาจกระทำการตามระเบียบที่กําหนดไว้. (ป., ส.).
มัตถกะ : [มัดถะกะ] น. หัว, กระหม่อม; ยอด, ที่สุด. (ป. มตฺถก; ส. มสฺตก).
มัสดก : [มัดสะดก] น. หัว, กระหม่อม; ยอด, ที่สุด. (ส. มสฺตก; ป. มตฺถก).
กำมัชพล : [-มัดชะพน] น. ชื่อเกณฑ์เลขในคัมภีร์สุริยยาตร ซึ่งคํานวณมาจากจุลศักราช.
ตนุมัธยมา, ตนุมัธยา : [-มัดทะยะ-] น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่ง. (ส.; ป. ตนุมชฺฌา).
มรรทนะ : [มัดทะนะ] น. การบด, การถู; การทําให้เจ็บ, การยํ่ายี, การทําลาย. (ส. มรฺทน; ป. มทฺทน).
มรรษ, มรรษะ : [มัด, มัดสะ] น. ความเพียร, ความอดทน. ก. อดทน. (ส. มรฺษ).
มัชชาระ : [มัดชาระ] น. แมว. (ป.; ส. มารฺชาร).
มัชฌ- : [มัดชะ-] น. ท่ามกลาง. (ป.; ส. มธฺย).
มัชฌันติก- : [มัดชันติกะ-] น. เวลาเที่ยงวัน, คู่กับ วิมัชฌันติก ว่า เวลาเที่ยงคืน. (ป.).
มัชฌิม- : [มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-, มัดชิม-] ว. ปานกลาง. (ป. มชฺฌิม).
มัชฌิมประเทศ : [มัดชิมะ-, มัดชิม-] น. ประเทศอินเดีย, ตามแบบ หมายถึงอินเดียตอนกลาง.
มัชฌิมยาม : [มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. ยามกลาง, ในบาลีแบ่งคืนเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม มัชฌิมยาม กำหนดเวลาตั้งแต่ ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา ถึงตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา. (ป.).
มัชฌิมวัย : [มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. วัยกลางคน.
มัช-, มัชชะ : [มัดชะ-] น. นํ้าเมา, ของเมา. (ป. มชฺช).
มัตถลุงค์ : [มัดถะลุง] น. มันสมอง. (ป.).
มัตสยะ, มัตสยา : [มัดสะยะ, มัดสะหฺยา] น. ปลา. (ส. มตฺสฺย; ป. มจฺฉ).
มัตสรรย์ : [มัดสัน] น. ความตระหนี่; ความริษยา. (ส. มาตฺสรฺย; ป. มจฺฉริย).
มัตสระ : [มัดสะระ] ว. ตระหนี่, เห็นแก่ตัว, ริษยา. (ส. มตฺสร; ป. มจฺฉร).
มัตสริน : [มัดสะริน] น. คนตระหนี่. (ส. มตฺสรินฺ; ป. มจฺฉรี).
มัทนะ ๑ : [มัดทะนะ] น. การยํ่ายี, การบด, การทําลาย. (ป. มทฺทน; ส. มรฺทน).
มัทนะ ๒ : [มัดทะนะ] น. กามเทพ. (ป., ส. มทน).
มัทนียะ : [มัดทะนียะ] ว. เป็นที่ตั้งแห่งความเมา, ที่ชวนให้เมา. (ป. มทนีย).
มัทยะ : [มัดทะยะ] น. นํ้าเมา, เหล้า. ว. ซึ่งทําให้เมา, ซึ่งทําให้รื่นเริงยินดี. (ส., ป. มชฺช).
มัธย- : [มัดทะยะ-] ว. กลาง, ปานกลาง, พอดี, เป็นกลาง, ระหว่างกลาง. (ส.; ป. มชฺฌิม).
มัธยม, มัธยม- : [มัดทะยม, มัดทะยมมะ-] ว. กลาง, ปานกลาง. (ส.).
มัธยมศึกษา : [มัดทะยมมะ-, มัดทะยม-] น. การศึกษาระหว่าง ประถมศึกษากับอุดมศึกษา.
มัธยมา : [มัดทะยะมา] ว. มัชฌิมา, ปานกลาง. (ส.).
มัธยันห์ : [มัดทะยัน] น. เวลากลางวัน, เที่ยงวัน. (ส. มธฺยาหฺน).
มัธยัสถ์ : [มัดทะยัด] ก. ใช้จ่ายอย่างประหยัด. (ส. มธฺยสฺถ ว่า ปานกลาง, ตั้งอยู่ในท่ามกลาง).
มัศยา : [มัดสะหฺยา] น. ปลา. (ส. มตฺสฺย, มตฺสฺยา; ป. มจฺฉ, มจฺฉา).
มัสดุ, มัสตุ : [มัดสะดุ, -ตุ] น. มัน, เปลวมัน; เนยเหลว. (ส. มสฺตุ; ป. มตฺถุ).
มัสมั่น : [มัดสะหฺมั่น] น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง นํ้าแกงข้น เป็นแกงอย่างมุสลิม ใช้เนื้อหรือไก่เป็นต้นชิ้นโต ๆ ปรุงด้วยเครื่องเทศ มีรสเค็ม หวาน และออกเปรี้ยวเล็กน้อย.
มัสยิด : [มัดสะ-] น. สถานที่ซึ่งอิสลามิกชนใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทาง ศาสนาอิสลาม, สุเหร่า ก็เรียก.
มัสรู่ ๑ : [มัดสะหฺรู่] น. ชื่อผ้าไหมมีริ้วเป็นสีต่าง ๆ, เข้มขาบไหม ก็เรียก. (ฮ. มัศรู; ม. มิสรู).