มัว, มัว ๆ : ว. ไม่แจ่ม เช่น พระจันทร์มัว, ไม่กระจ่าง เช่น ข้อความมัว, ฝ้า เช่น กระจกมัว, ฟาง เช่น นัยน์ตามัว, ขมุกขมัว เช่น มืดมัว, ไม่มืด ไม่สว่าง เช่น แสงมัว ๆ, หม่น เช่น สีมัว ๆ, ขุ่น, ไม่ผ่อง, เช่น ใจมัว; อาการที่ทำติดพันอยู่ ไม่ละไปได้ เช่น มัวพูด มัวคิด, มัวแต่ ก็ว่า.
มัวแต่ : ว. อาการที่ทำติดพันอยู่ ไม่ละไปได้ เช่น มัวแต่พูด มัวแต่คิด, มัว ก็ว่า.
มัวพะวง : ว. มัวเป็นห่วงกังวล.
มัวเมีย : ก. งัวเงีย.
มัวหมอง : ว. มีมลทิน, ไม่บริสุทธิ์.
มืดฟ้ามัวดิน : ว. มีจำนวนมากมาย เช่น มีประชาชนมาร่วมงานมืดฟ้ามัวดิน.
หมอง : [หฺมอง] ว. ขุ่น, มัว, เช่น เครื่องแก้วหมอง เครื่องเงินหมอง, ไม่ผ่องใส, ไม่แจ่มใส, เช่น หน้าหมอง.
อ่ำ : น. เวลาคํ่า. ว. มืดคลุ้ม, มัว, (กลอน) แผลงเป็น ชอ่ำ หรือ ชรอ่ำ ก็มี.
ขุ่นมัว : ว. ไม่แจ่มใส.
หมองมัว : ว. ไม่แจ่มใส, ไม่เบิกบาน.
ขมุกขมัว : [ขะหฺมุกขะหฺมัว] ว. มืด ๆ มัว ๆ, โพล้เพล้, จวนคํ่า, จวนมืด, โดย ปริยายใช้หมายถึงสีมัว ๆ, ไม่ผ่องใส, เช่น ครั้นจะทำขมุกขมัวมอมแมม ชายเห็นจะเยื้อนแย้มบริภาษให้บาดจิต. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
เลือน, เลือน ๆ : ว. มัว ๆ, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ภาพเก่าสีเลือนไปจนเห็นหน้าไม่ชัด มองเห็นเลือน ๆ, เฟือน ๆ เช่น ความจำเลือนไป. ก. บัง, กั้น, เช่น มีกําแพงแลงเลือน ต่อต้าย. (ยวนพ่าย).
กน ๒ : (โบ) ก. มัว, คอย, เฝ้า, เช่น จะกนกินแต่น้ำตาอนาทร. (นิ. ลอนดอน).
ก่นแต่ : ก. เฝ้าแต่, มัวแต่, เช่น ก่นแต่จะร้องไห้.
กร่ำกรุ่น : [กฺร่ำกฺรุ่น] ว. สีมัว ๆ ไม่ชัด เช่น สีกร่ำกรุ่นเป็นอย่างไรฉันไม่เคย.
เกลือก ๑ : [เกฺลือก] ก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น เกลือกตม เกลือกฝุ่น, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งทําเช่นนั้นเพื่อให้สิ่งอื่นติด เช่น เอาขนมเกลือกงา. เกลือกกลั้ว ก. คบหาสมาคม, คลุกคลี, เช่น เกลือกกลั้วกับคนพาล; ทําให้มัวหมอง, ทําให้มีมลทิน, เช่น ไม่มีอะไรมาเกลือกกลั้ว. เกลือกกลิ้ง ก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น นอนเกลือกกลิ้งอยู่บนที่นอน, เกลือก ก็ว่า; พยายามกระเสือกกระสนไปตามมีตามได้หรือด้วย ความทุกข์ทรมาน เช่น นอนกลิ้งเกลือกไปมาด้วยความทุรนทุราย, กลิ้งเกลือก ก็ว่า.
แก้วหิน : น. แร่เขี้ยวหนุมาน สีขาวใสหรือมัว.
ขุ่น : ว. มีลักษณะมัว ไม่ใส ไม่ชัดเจน.
คัด ๓ : ก. เขียนด้วยตัวบรรจง เช่น เขียนเร็ว ๆ อย่ามัวแต่คัด.
คาว : น. กลิ่นเหม็นอย่างหนึ่งอย่างกลิ่นปลาสดเนื้อสด; โดยปริยายหมายถึง ความเสื่อมเสีย ความมัวหมอง มลทิน เช่น ราคีคาว คนนั้นยังมีคาว; เรียกกับข้าวว่า ของคาว, คู่กับ ขนม ว่า ของหวาน.
งม : ก. ดํานํ้าลงไปคลําหาของ, คลําหาของในนํ้า; โดยปริยายหมายความว่า งุ่มง่าม, ชักช้า, เช่น มัวไปงมอยู่ที่ไหน.
จะแจ่ม : (กลอน) ว. แจ่ม, ใส, กระจ่าง, ชัดเจน, ไม่มัว.
จันทรกานต์ : น. แร่ประกอบหินที่มีค่าสูงชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในพวกรัตนชาติ มีโพแทสเซียมอะลูมิเนียมซิลิเกต (KAlSi3O8) เป็นองค์ประกอบสําคัญ ปรกติมีสีขาวปนฟ้าหรือสีเหลืองขุ่นมัวอย่างนํ้านม แต่มีวาวขาวฉาบหน้า เหมือนวาวมุกในหอยมุก หรือวาวแสงจันทร์ในหยาดนํ้าค้าง. (ส.; อ. moonstone).
แจ่ม : ว. กระจ่าง, ไม่มัวหมอง.
แจ่มใส : น. ปลอดโปร่งไม่ขุ่นมัว เช่น อารมณ์แจ่มใส, โปร่ง เช่น อากาศแจ่มใส.
ชังคา : (กลอน) น. ราชโองการ เช่น อย่าหมอบมัวคอยฟังพระชังคา. (พาลีสอนน้อง).
ด่างพร้อย : ว. เป็นดวง ๆ จุด ๆ ทั่วไป, โดยปริยายหมายความว่า มีมลทิน, มัวหมอง, ไม่บริสุทธิ์, เช่น มีศีลด่างพร้อย.
ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
ทันกิน : ก. คิดหรือทําการใด ๆ ทันท่วงที (โดยปรกติใช้ในประโยค ปฏิเสธ) เช่น ทําการงานช้าไม่ทันกิน มัวงุ่มง่ามอยู่อย่างนี้ไม่ทันกิน.
นิรมล : [ระมน] ว. ไม่มีมลทิน, ไม่มัวหมอง, ผ่องใส; โดยปริยาย หมายความว่า หญิงสวย, หญิงงาม. (ส.).
บาป, บาป- : [บาบ, บาบปะ-] น. การกระทําผิดหลักคําสอนหรือข้อห้ามใน ศาสนา; ความชั่ว, ความมัวหมอง. ว. ชั่ว, มัวหมอง, เช่น คนใจบาป. (ป., ส. ปาป).
ปลอดโปร่ง : ว. ผ่องใสปราศจากความขุ่นมัว.
ปัดไถม : [-ถะไหฺม] (โบ) น. ฝ้าบาง ๆ ที่เกิดขึ้นทําให้เป็นมลทินหรือคลํ้ามัว.
ผ่อง ๑ : ว. ปลั่ง, ปราศจากมลทิน, ไม่ขุ่นมัว, เช่น ผิวผ่อง หน้าผ่อง ขาวผ่อง.
ฝ้า : น. อนุภาคเล็ก ๆ ที่รวมตัวกัน มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ลอยอยู่บนผิวนํ้า หรือติดอยู่ที่แผลเป็นต้น; แผ่นที่ดาดกรุหลังคา เพดาน หรือปิดใต้ตง. ว. ขุ่นมัวไม่ผ่องใส (ใช้แก่ผิว) เช่น กระจกฝ้า เพชรเป็นฝ้า, เรียกหน้า ที่มีลักษณะเป็นจุดหรือรอยผื่นสีคลํ้า ๆ ว่า หน้าเป็นฝ้า.
ฝ้าฟาง : ว. ขุ่นมัว ทำให้เห็นไม่ถนัด เช่น นัยน์ตาฝ้าฟาง.
พ่น : ก. ห่อปากเป่าให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งในปากออกมาเป็นฝอยเป็นต้น, ที่อาการมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พ่นไฟ พ่นสี, (ปาก) พูดมาก เช่น รีบ ๆ เข้าเถอะ อย่ามัวพ่นอยู่เลย.
พาน ๔ : ว. ทำท่าว่า เช่น พานจะเป็นลม พานจะตาย พานจะโกรธ, พี่ก็พาน แก่ชราหูตามัว. (สังข์ทอง).
พิมล : [พิมน] ว. ปราศจากมลทิน, ปราศจากความมัวหมอง; ผ่องใส. (ป., ส. วิมล).
พิรี้พิไร : ว. มัวทําโน่นนิดนี่หน่อย, อ้อยอิ่ง, ตะบิดตะบอย, เช่น ทำพิรี้พิไร มัวพิรี้พิไร.
ฟ้าหลัว : น. อากาศมัวเนื่องจากในอากาศขณะนั้นมีอนุภาคที่มอง ไม่เห็น เช่น เกลือจากทะเล ควันไฟ ฝุ่นละอองปะปนอยู่เป็น จํานวนมาก.
มลทิน : [มนทิน] น. ความมัวหมอง, ความด่างพร้อย, ความไม่บริสุทธิ์. (ข. มนฺทิล).
มลพิษ : [มนละพิด] น. พิษเกิดจากความมัวหมองหรือความสกปรกของสิ่งแวดล้อม เช่น ในอากาศหรือในน้ำเป็นต้น; (กฎ) ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกากตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม ตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็น พิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และหมายความรวมถึงรังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิด มลพิษด้วย. (อ. pollution).
มล, มล- : [มน, มนละ-] น. ความมัวหมอง, ความสกปรก, ความไม่บริสุทธิ์; สนิม, เหงื่อไคล. ว. มัวหมอง, สกปรก, ไม่บริสุทธิ์. (ป., ส.).
มลิน : [มะลิน] ว. ขุ่นมัว, มัวหมอง, ไม่บริสุทธิ์. (ป., ส.).
มอ ๔ : ว. สีมัว ๆ อย่างสีดําเจือขาว.
มอม ๑ : ว. เปื้อนด้วยสีมัว ๆ ดํา ๆ เช่น หน้ามอม. ก. ทําให้เปื้อนด้วยสีมัว ๆ ดํา ๆ เช่น มอมหน้า; ทําให้เสียชื่อเสียง, ทําให้มัวหมอง; ทําให้เสีย สติด้วยของมึนเมามีเหล้าเป็นต้น เช่น มอมเหล้า มอมกัญชา.
ราคี ๒ : น. ความมัวหมอง, มลทิน, เช่น หญิงคนนี้มีราคี. (ส. ราคินฺ).
ร่ำรี้ร่ำไร : ก. ซํ้า ๆ ซาก ๆ อยู่นั่นเอง เช่น มัวแต่พูดร่ำรี้ร่ำไรอยู่นั่นแหละ เดี๋ยวงานก็ไม่เสร็จ.
ร่ำไร : ก. อ้อยอิ่ง เช่น มัวแต่ร่ำไรอยู่นั่นแหละ เดี๋ยวจะไม่ทันรถไฟ.