มาน ๒ : น. ความถือตัว; ใจ, ดวงใจ, เช่น ดวงมาน. (ป., ส.).
มาน ๔ : (ถิ่น) ก. ตั้งท้อง เช่น มานลูก ข้าวมาน.
มาน ๑ : น. ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น มีถุงน้ำเกิดที่เยื่อบุ ช่องท้อง การอุดกั้นหลอดเลือดดำหรือทางเดินของน้ำเหลือง ตับแข็ง ลิ้นหัวใจพิการ ไตอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีน้ำสีเหลืองใสอยู่ในช่องท้อง อาจมีเพียงเล็กน้อยหรือมากถึง ๑๕-๒๐ ลิตร เป็นเหตุให้หน้าท้องโป่ง พองจนเห็นได้ชัด น้ำหนักเพิ่ม แน่นท้อง ท้องผูก เบื่ออาหาร หายใจ ลำบาก เท้าบวม เป็นต้น.
มาน ๓ : ก. มี เช่น มานพระบัณฑูร. (ข.).
มานทะลุน : น. โรคที่มีอาการบวมคล้ายโรคมาน แต่บวมทั่วทั้งตัว.
ซู่กั้นรั้วไซมาน : (โบ) น. กั้นซู่, กั้นซู่รั้วไซมาน ก็เรียก.
ตะเบ็งมาน : ว. วิธีห่มผ้าแถบแบบหนึ่ง โดยคาดผ้าอ้อมตัวแล้วเอาชายทั้ง ๒ ไขว้ไปผูกที่ต้นคอ, ตะแบงมาน ก็ว่า.
ตะแบงมาน : ว. วิธีห่มผ้าแถบแบบหนึ่ง โดยคาดผ้าอ้อมตัวแล้วเอาชายทั้ง ๒ ไขว้ ไปผูกที่ ต้นคอ, ตะเบ็งมาน ก็ว่า.
โพยมัน, โพยมาน : [พะโยมัน, พะโยมาน] น. โพยม, ท้องฟ้า, อากาศ. (ส.).
ท้องมาน : น. ชื่อโรคจําพวกหนึ่งมีอาการให้ท้องโตอย่างหญิงมีครรภ์.
บอระมาน : (โบ) น. กาว, แป้งเปียก.
ม่าน ๑ : น. เครื่องกั้นบัง โดยปรกติทําด้วยผ้า ใช้ห้อยกั้นห้องหรือประตูหน้าต่างเป็นต้น, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ม่านควัน.
ม่าน ๒ : น. ชนชาติพม่า.
กุมาร : [-มาน] น. เด็กชาย. (ป., ส. กุมาร ว่า เด็กชาย, ลูกหลวง); ชื่อกัณฑ์ที่ ๘ แห่งมหาเวสสันดรชาดก.
เกามาร : [-มาน] (โบ) น. กุมาร เช่น กูจะขอพระราชทานเกามารท้งงสองพระองค์. (ม. คําหลวง กุมาร).
มารคอหอย : [มาน-] (ปาก) น. ผู้ที่ขัดผลประโยชน์ที่ผู้อื่นจะพึงมีพึงได้.
มารผจญ : [มาน-] ก. มารยกทัพมารบ, มารที่ยกทัพมาขัดขวางการ บำเพ็ญเพียรของพระพุทธเจ้า; โดยปริยายหมายความว่า ขัดขวาง ไม่ให้สําเร็จประโยชน์.
มารสังคม : [มาน-] น. ผู้ที่เป็นภัยต่อสังคม.
มารหัวขน : [มาน-] (ปาก) น. ลูกที่อยู่ในท้องซึ่งยังไม่ปรากฏว่าใคร เป็นพ่อ หรือไม่มีใครรับว่าเป็นพ่อ.
มานะ ๑ : น. การวัด, การนับ, อัตราวัด. (ป., ส. มาน).
มารวิชัย : [มาระ-, มาน-] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระ อิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ ขวาวางควํ่าลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่ พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ ว่า พระปางมารวิชัย, พระปางชนะมาร หรือ พระปางสะดุ้งมาร ก็เรียก. (ป.).
มารดร, มารดา : [มานดอน, มานดา] น. แม่. (ป. มาตา; ส. มาตฺฤ).
มาร, มาร- : [มาน, มาระ-, มานระ-] น. เทวดาจําพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอย กีดกันไม่ให้ทําบุญ; ยักษ์; ผู้ฆ่า, ผู้ทำลาย, ในพระพุทธศาสนา หมายถึงผู้กีดกันบุญกุศล มี ๕ อย่าง เรียกว่า เบญจพิธมาร คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร เทวบุตรมาร, โดยปริยาย หมายถึงผู้ที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง. (ป., ส.).
มารยา : [มานยา] น. การลวง, การแสร้งทํา, เล่ห์กล, เช่น เจ้ามารยา มารยามาก ทำมารยา. (แผลงมาจากมายา).
มารษา : [มานสา] น. คําปด, คําเท็จ, คําไม่จริง. (ส. แผลงมาจาก มฺฤษา).
ทรมาน : [ทอระมาน] ก. ทําให้ลําบาก, ทําทารุณ เช่น ทรมานตัว ทรมานสัตว์, ทําให้ละพยศหรือลดทิฐิมานะลง. น. ชื่อปางพระพุทธรูปที่ขึ้นต้น ด้วยคํานี้ เช่นว่า ปางทรมานช้างนาฬาคิรี ปางทรมานพญานาค. (ป., ส. ทมน).
สมาน ๑ : [สะมานะ, สะหฺมานนะ] ว. เสมอกัน, เท่ากัน. (ป., ส.).
สมานฉันท์ : [สะมานะ, สะหฺมานนะ] น. ความพอใจร่วมกัน, ความเห็นพ้องกัน, เช่น มีความเห็นเป็นสมานฉันท์. (ป. สมาน + ฉนฺท).
กรรมาร : [กํามาน] (แบบ) น. ช่างทอง เช่น กรรมารบุตร. (ส. กรฺมาร; ป. กมฺมาร).
กระยา : น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).
กั้นซู่ : (โบ) น. เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง กล่าวกันว่ามีลักษณะเหมือนถุง อย่างเดียวกับโพงพาง หรือเป็นไม้ซึ่งปักเป็นปีกของเครื่องมือประจําที่ ซึ่งเรียก กั้นซู่รั้วไซมาน หรือ ซู่กั้นรั้วไซมาน.
กัมมาร : [กํามาน] (แบบ) น. กรรมาร, ช่างทอง, ช่างเหล็ก. (ป.; ส. กรฺมาร).
จารีตนครบาล : ก. ไต่สวนพิจารณาคดีด้วยการทรมานจําเลย.
ไซ ๑ : น. เครื่องสานสําหรับดักปลา มีหลายชนิด เช่น ไซมาน ไซตั้ง ไซนอน.
ธรมาน : [ทอระมาน] (แบบ) ว. ยังดํารงชีวิตอยู่. (ป.).
นิรมาณ : [ระมาน] (แบบ) น. การสร้าง, การแปลง, การทํา, การวัดส่วน. (ส.).
นิรมาณกาย : [ระมานนะกาย] น. กายที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ ของ พระพุทธเจ้า ซึ่งมีอันเปลี่ยนแปลงไปเหมือนสิ่งที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ อื่น ๆ, ตามคติมหายานเชื่อว่าเป็นรูปปรากฏของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ของพระพุทธเจ้า คือ ธรรมกาย.
นิรมาน : [ระมาน] (แบบ) ว. ปราศจากการถือรั้น, ไม่มีความดื้อดึง, ไม่ถือตัว.
นี่ : ส. คําใช้แทนนามที่อ้างถึงบุคคลหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ เช่น นี่ใคร นี่อะไร. ว. คําใช้ประกอบคํานามหรือกริยาให้รู้ว่าอยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น หนังสือนี่แต่งดี ขนมนี่อร่อย อยู่นี่ มานี่; คําประกอบท้ายคําเพื่อเน้น ความหมาย เช่น เดี๋ยวเฆี่ยนเสียนี่. นี่แน่ะ คําบอกให้ดูหรือเตือนให้รู้, นี่ ก็ว่า. นี่แหละ คําแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ฉันนี่แหละ นี่แหละ โลก. นี่เอง คําประกอบคําอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เธอนี่เอง เด็กคนนี้นี่เอง.
ปริมาณ : [ปะริมาน] น. กําหนดความมากน้อยของจํานวน.
พจมาน : [พดจะมาน] น. คําพูด.
พรหมาณฑ์ : [พฺรมมาน] น. จักรวาล, โลก. (ส.).
โพยม : [พะโยม] น. ท้องฟ้า, อากาศ, โพยมัน หรือ โพยมาน ก็ใช้. (ส. โวฺยมนฺ).
ภุม ๑ : [พุม] ว. ไม่ เช่น ภุมมาน ว่า ไม่มี, ภุมบาน ว่า ไม่ได้. (ข. พุํ).
มา ๒ : ก. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น มานี่ มาหาฉันหน่อย, ตรงกันข้ามกับ ไป. ว. ใช้ประกอบคํากริยาแสดงอดีต เช่น นาน มาแล้ว ดังกล่าวมาแล้ว ไปมาแล้ว หรือ แสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูด เช่น หันมาทางนี้ เอามานี่ หรือแสดงอาการที่ต่อเนื่องเรื่อยมาถึง ปัจจุบัน เช่น ความเป็นมา อยู่มาวันหนึ่ง ส่งจดหมายบอกข่าวมา.
ม่านสองไข : น. ม่าน ๒ ชายที่แหวกกลางรวบชายไปผูกไว้ที่ ด้านข้างทั้ง ๒ ด้าน สําหรับประดับช่องทางประตูหน้าต่างเป็นต้น.
มานะ ๒ : น. ความพยายาม, ความตั้งใจจริง, ความพากเพียร, เช่น มีมานะอดทน มีมานะในการทำงาน; ความถือตัว. (ป.).
มานัต : น. วินัยกรรมที่สงฆ์ทําแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสให้เป็นภิกษุ ที่นับเข้าในหมู่สงฆ์ได้ เช่น สวดมานัต. (ป. มานตฺต).
มานัส : น. ใจ. ว. เกี่ยวกับใจ. (ป., ส. มานส).
วิสามานยนาม : [วิสามานยะนาม] (ไว) น. คํานามที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสําหรับ เรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อให้รู้ชัดว่าเป็นใครหรืออะไร เช่น นายดํา ช้างเอราวัณ เรือสุพรรณหงส์ จังหวัดเชียงใหม่.