Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มิด , then มด, มิด, มิต, มีด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : มิด, 307 found, display 1-50
  1. มิด : ว. อาการที่ลับหายไปหรือทำให้ลับหายไปจนหมดสิ้นอย่างปิดมิด จมมิด บังมิดเป็นต้น, สนิท เช่น ปิดประตูให้มิด; ใช้เป็นกริยาหมายถึง อาการอย่างนั้น เช่น มิดนํ้า มิดหัว.
  2. มิดน้ำ : ว. อาการที่น้ำท่วมหัวเรือจนมิด เช่น หัวเรือมิดน้ำ.
  3. มิดหัว : ว. อาการที่หัวจมหายลงไปในน้ำ เช่น ดำน้ำจนมิดหัว.
  4. มิดด้าม : ว. อาการที่ใช้มีดหรือของมีคมแทงเข้าไปจนจมถึงด้าม, สุดก้น สุดด้าม หรือ สุดลิ่ม ก็ว่า.
  5. มิดเม้น : ก. ซ่อนของเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ลับตา.
  6. -กระหมิด : ใช้เข้าคู่กับคํา กระหมุด เป็น กระหมุดกระหมิด.
  7. กระหมุดกระหมิด : ว. ขมวดให้แน่น เช่น สักกระสันเป็นสามรวดรัดกระหวัด กระหมุดกระหมิดฉุดชิด ชักชายน้อยห้อยหูกระต่าย. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  8. มีด : น. เครื่องใช้สำหรับฟัน ผ่า จัก เหลา เป็นต้น ทำด้วยโลหะมีเหล็ก เป็นต้น ใบมีดมีลักษณะเป็นแผ่น รูปยาวรี มีคมด้านหนึ่ง มีสันอยู่อีก ด้านหนึ่ง หรือมีคมทั้ง ๒ ด้าน ปลายมีดรูปร่างแหลมก็มี ป้านก็มี โคนมีดเป็นกั่นรูปเดือยเรียวแหลม หรือเป็นแผ่นสอดติดอยู่ในด้าม ซึ่งมักทำด้วยไม้หรือเขาสัตว์ มีชื่อเรียกต่าง ๆ ตามลักษณะและ วัตถุประสงค์ที่ใช้.
  9. กระมิดกระเมี้ยน : ก. แสดงอาการซ่อนอายลับ ๆ ล่อ ๆ, มิดเมี้ยน ก็ว่า.
  10. ปิดควันไฟไม่มิด : (สํา) ก. ปิดเรื่องที่อื้อฉาวไปทั่วแล้วไม่สําเร็จ.
  11. นิรามิษ : [มิด] (แบบ) ว. ไม่มีเหยื่อ, ไม่มีเครื่องล่อใจ, ไม่รับสินบน; ปราศจากความยินดีอันเป็นเครื่องล่อใจ. (ส.).
  12. มธุมิศร : [-มิด] ว. เจือนํ้าหวาน. (ส.).
  13. มิตรสหาย : [มิด-] น. เพื่อนฝูง.
  14. มิทธะ : [มิด-] น. ความท้อแท้, ความเชื่อมซึม. (ป., ส.).
  15. มิทธี : [มิด-] ว. ท้อแท้, เชื่อมซึม. (ป.).
  16. กาเมสุมิจฉาจาร : [-มิดฉาจาน] น. การประพฤติผิดในประเวณี. (ป.).
  17. มิจฉา : [มิดฉา] ว. ผิด, แผลงใช้ว่า มฤจฉา ก็มี. (ป. มิจฺฉา; ส. มถฺยา).
  18. มิตร, มิตร- : [มิด, มิดตฺระ-] น. เพื่อนรักใคร่คุ้นเคย เช่น มิตรแท้ มิตรเทียม ฉันมิตร. (ส.; ป. มิตฺต).
  19. มิถยา : [มิดถะหฺยา] ว. มิจฉา. (ส. มิถฺยา; ป. มิจฺฉา).
  20. มิศร-, มิศรก- : [มิดสะระ-, มิดสะระกะ-] ว. เจือ, ปน, คละ; ประสมขึ้น. (ส.; ป. มิสฺส, มิสฺสก).
  21. มิสกรี : [มิดสะกฺรี] น. เสื้อที่ใช้ผ้าค่อนข้างบาง ลักษณะเป็นเสื้อคอกลม ผ่าหน้าลึกพอให้สวมได้ แขนเสื้อต่อเป็นเส้นตรง.
  22. มิส-, มิสก- : [มิดสะ-, มิดสะกะ-] ว. เจือ, ปน, คละ. (ป. มิสฺส, มิสฺสก; ส. มิศฺร, มิศฺรก).
  23. นิรมิต : [ระมิด] ก. นิมิต, เนรมิต, สร้าง, แปลง, ทํา, บันดาลให้เป็นขึ้นมีขึ้น. (ส. นิรฺมิต; ป. นิมฺมิต).
  24. เนรมิต : [ระมิด] ก. นิรมิต, สร้างหรือบันดาลด้วยอํานาจ ฤทธิ์ หรืออภินิหาร ให้บังเกิดเป็นขึ้นมีขึ้นโดยฉับพลัน. (ส. นิรฺมิต; ป. นิมฺมิต).
  25. กดน้ำ : (ปาก) ก. ใช้กําลังกดสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มิดลงไปในน้ำ ในความว่า จับกดน้ำ จับหัวกดน้ำ.
  26. -กระเมี้ยน : ใช้เข้าคู่กับคํา กระมิด เป็น กระมิดกระเมี้ยน.
  27. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  28. กัลยาณมิตร : [กันละยานะมิด] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  29. ขมุดขมิด : [ขะหฺมุดขะหฺมิด] ว. กระหมุดกระหมิด, หวุดหวิด; บิดกระหมวด; ไม่แน่น, ไม่ถึง, ไม่ถนัด.
  30. คลุมโปง : ก. กิริยาที่เอาวัตถุเช่นผ้าคลุมมิดทั้งหัวทั้งตัวหรือเกือบทั้งตัว.
  31. เงามัว : (แสง) น. อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุนั้น แล้วแสงเคลื่อนที่ไปถึงได้บ้าง; (ภูมิ) ส่วนที่เห็นเป็นเงาหลัว ๆ รอบ บริเวณที่มืดมิดของดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์เวลามีคราส.
  32. เงามืด : (แสง) น. อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุ นั้นแล้วแสงเคลื่อนที่ไปไม่ถึงทั้งหมด; (ภูมิ) ส่วนที่มืดมิดของ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เวลามีคราส.
  33. จากหลบ : น. ตับจากทำเป็นคู่ใช้ปิดหลังคาที่ตรงสันหลังคาให้มิดเพื่อ ไม่ให้ฝนรั่วได้.
  34. ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด : (สํา) น. ความชั่วหรือความผิด ร้ายแรงที่คนรู้ทั่วกันแล้ว จะปิดอย่างไรก็ไม่มิด.
  35. ดูชา : ก. ดูแคลน, ดูถูก, เช่น ตูจะให้สูทั้งหลายฆ่า ว่าผู้ดูชาดูแคลน แหนความ เราจงมิด. (ลอ.)
  36. ทุนนิมิต : ทุนนิมิด] (แบบ) น. ลางร้าย; เครื่องหมายอันชั่วร้าย. (ป. ทุนฺนิมิตฺต).
  37. ธรรมสามิสร : [สามิด] น. ผู้เป็นใหญ่ด้วยความเป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า.
  38. ธาตุมมิสสา : [ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา โค) ตัวอย่างว่า จักสําแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุข เสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตํารากลอน).
  39. นมบกอกพร่อง : (กฎ; โบ) น. ลักษณะของหญิงที่ชายทําให้เสียความ บริสุทธิ์แล้วทอดทิ้งไป เช่น แลมันทําชู้แล้วมันทอดหญิงนั้นเสีย ท่าน ว่ามันทําให้ลูกหลานท่านนมบกอกพร่อง ให้ไหมชายผู้เลมิดพ่อแม่ ผู้เถ้าผู้แก่นั้นโดยขนาฎ. (สามดวง), มักใช้เพี้ยนไปเป็น นมตกอกพร่อง.
  40. บาปมิตร : [บาบปะมิด] น. มิตรชั่ว. (ส. ปาปมิตฺร; ป. ปาปมิตฺต).
  41. ปริกรรมนิมิต : [ปะริกำมะนิมิด] น. ''อารมณ์ในบริกรรม'' คือ สิ่ง ที่ใช้เพ่งหรือนึกเป็นอารมณ์ในเวลาบริกรรม. (ป. ปริกมฺมนิมิตฺต; ส. ปริกรฺม + นิมิตฺต).
  42. ฝัง : ก. จมหรือทําให้จมลงไปจากระดับพื้นจนมิดทั้งหมดหรือมิดแต่ บางส่วน เช่น ฝังศพ ฝังทรัพย์ ฝังเสา, ทําให้จมติดแน่นอยู่ในสิ่งต่าง ๆ เช่น ฝังเพชร ฝังลาย, โดยปริยายหมายถึงลักษณะอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ฝังใจ ฝังหัว.
  43. มด ๑ : น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Formicidae ส่วนท้องปล้องที่ ๑ หรือ ปล้องที่ ๑ และปล้องที่ ๒ ซึ่งติดกับอกคอดกิ่ว ด้านหลังปล้องท้องดังกล่าวมีโหนกสูงขึ้น ซึ่งอาจจะโค้งมนหรือเป็นแผ่นแบน ลักษณะนี้ทําให้มดแตกต่างไปจากต่อ แตน และ ปลวก.
  44. มด ๒ : น. หมอเวทมนตร์, หมอผี, ถ้าเป็นผู้ชาย เรียกว่า พ่อมด, ถ้าเป็นผู้หญิง เรียกว่า แม่มด; ใช้เป็นคําประกอบกับคํา หมอ เป็น มดหมอ หมายความว่า หมอทั่ว ๆ ไป.
  45. มิดเมี้ยน : ว. ลับจนมองไม่เห็น; แสดงอาการซ่อนอายลับ ๆ ล่อ ๆ, กระมิดกระเมี้ยน ก็ว่า.
  46. เมี้ยน : ว. มิด, ลับลี้, ซ่อน.
  47. สมิต ๑ : [สะมิด] ก. ยิ้ม, เบิกบาน. (ส.; ป. สิต).
  48. สมิต ๒ : [สะมิด] ก. ประสม, รวบรวม. (ป.).
  49. สมิต ๓ : [สะมิด] น. กิ่งแห้งของต้นไม้บางชนิด เช่นต้นโพใช้เป็นเชื้อไฟในพิธี โหมกูณฑ์. (ส.); ใบไม้ ๓ ชนิด คือ ใบมะม่วง ใบทอง และใบตะขบ ที่ถวายพระเจ้าแผ่นดินในพิธีอภิเษก เช่นราชาภิเษก.
  50. สมิทธ์, สมิทธิ : [สะมิด, สะมิดทิ] ว. สําเร็จพร้อม, สมบูรณ์, สัมฤทธิ์, เขียนว่า สมิต ก็มี. (ป.).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-307

(0.0680 sec)