มิน่า, มิน่าล่ะ, มิน่าเล่า : คําแสดงว่า รู้สาเหตุ.
ล่ะ : ว. คำใช้ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีน้ำหนักขึ้น เช่น มิน่าล่ะ จะไปไหมล่ะ, เล่า ก็ว่า.
เล่า : ก. พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง เช่น เล่าเรื่อง. ว. คําใช้ประกอบ ข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า.
มนุษย์มนา : (ปาก) น. ผู้คน เช่น ไม่เห็นมีมนุษย์มนาสักคน, คนทั่ว ๆ ไป เช่น แต่งตัวไม่เป็นมนุษย์มนา. (ส.).
มนิมนา, มนีมนา : [มะนิมมะนา, มะนีมมะนา] ว. เร็ว, ด่วน, ขมีขมัน, เช่น ก็มนิมนาการมาสู่สาลวัน. (ปฐมสมโพธิกถา). (ข. มฺนีมฺนา).
คงคา ๑ : น. นํ้า, แม่นํ้า, ใช้เป็นสามัญว่า แม่พระคงคา หมายถึง เจ้าแม่ประจํานํ้า, ชื่อแม่นํ้า สําคัญสายหนึ่งในประเทศอินเดีย. (ป., ส. คงฺคา ว่า ผู้ไปเร็ว, ผู้ไหลเชี่ยว); เรียกส่วนของท่อเหล้าในโรงต้มกลั่นว่า ท่อคงคา.
คงคาลัย : (กลอน) น. แม่นํ้า, นํ้า, น่านนํ้า.
จทึง : [จะทึง] น. แม่นํ้า, ใช้ว่า ฉทึง ชทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
ชทึง : [ชะ] (กลอน) น. แม่นํ้า เช่น ชลชทึงบึงบาง. (ประกาศ พระราชพิธี), ใช้ว่า จทึง ฉทึงชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทิง ว่า คลอง).
ชรทึง : [ชฺระ] น. แม่นํ้า, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
ชโลทร : [ชะโลทอน] น. แม่นํ้า, ทะเล, ห้วงนํ้า, ท้องนํ้า. (ป., ส. ชล + อุทร).
ตอน : น. ห้วง, ชุด, ท่อน, ระยะ, วรรค; ส่วนหนึ่ง ๆ ที่แบ่งออกจากส่วนใหญ่ เช่น แม่นํ้า สายนี้แบ่งออกเป็น ๓ ตอน ถนนพหลโยธินตอนที่ผ่านดอนเมือง หนังสือเล่มนี้มี ๑๐ ตอน โขนแสดงตอนหนุมานเผาลงกา ขอให้มาตอนเช้า ตอนเหนือของประเทศ ไทย; วิธีขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง ใช้มีดควั่นกิ่งและเลาะเปลือกออกแล้วเอาดิน พอก ใช้ใบตองหรือกาบมะพร้าวหุ้ม มัดหัวท้ายไว้ เมื่อรากงอกดีแล้วตัดกิ่งออก จากต้นนำไปปลูก. ก. ขยายพันธุ์โดยวิธีการเช่นนั้น; ตัดหรือทําลายอวัยวะซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการสืบพันธุ์เพื่อไม่ให้เกิดลูกเป็นต้น.
นท : [นด] (แบบ) น. ผู้บันลือ, ผู้ร้อง, ผู้ลั่น; แม่นํ้า, ลํานํ้า, เช่น ชมพูนท (แปลว่าเกิดในแม่น้ำชมพูนที คือ ทองคำบริสุทธิ์). (ป., ส.).
ปัญจนที : น. แม่นํ้า ๕ สาย คือ ๑. คงคา ๒. ยมนา ๓. อจิรวดี ๔. สรภู ๕. มหี.
ผิดเพี้ยน : ว. ผิดแปลกไปเล็กน้อย, คลาดเคลื่อน, เพี้ยน ก็ว่า. ผิดมนุษย์มนา ว. ไม่เหมือนมนุษย์ธรรมดาสามัญ เช่น รูปร่าง ใหญ่โตผิดมนุษย์มนา มีพละกำลังผิดมนุษย์มนา.
ฝั่ง : น. ที่ดินริมนํ้าเป็นขอบเขตทะเล แม่นํ้า ลําคลอง เป็นต้น.
แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
วาหินี : น. ทัพ, กองทัพ; หมวด; แม่นํ้า, คลอง. (ส.).
สทึง : [สะ] น. แม่นํ้า, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง ชรทึง สทิง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
สรทึง : [สฺระ] (กลอน) น. แม่นํ้า, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง ชรทึง สทิง หรือ สทึง ก็มี. (ข. สฺทึงว่า คลอง).
สริตะ : [สะริตะ] น. แม่นํ้า, ลําธาร. (ส.; ป. สริตา).
สาคร ๑ : [คอน] น. แม่นํ้า, ทะเล. (ป., ส.).
สาคเรศ : [คะเรด] (กลอน) น. แม่นํ้า, ทะเล.