กงสุล : (กฎ) น. ชื่อตําแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้ง ให้เป็นผู้แทนประจําอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทํา หน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุลที่ไปอยู่ในเมือง ต่างประเทศนั้น ๆ และเพื่อดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศ ผู้แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพาณิชย์ กงสุล มี ๒ ประเภท คือ (๑) กงสุลโดยอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่เป็นข้าราชการของ ประเทศผู้แต่งตั้ง และ (๒) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้แก่ ผู้ได้รับแต่งตั้ง ซึ่งมิใช่ข้าราชการและไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งอาจเป็นคนชาติของ ประเทศผู้แต่งตั้ง หรือคนชาติอื่นก็ได้ กงสุลที่มีตําแหน่งเป็นหัวหน้า สถานกงสุลมี ๔ ระดับ คือ กงสุลใหญ่ กงสุล รองกงสุล และตัวแทน ฝ่ายกงสุล. ว. เกี่ยวกับกงสุล เช่น สถานกงสุล เขตกงสุล พนักงาน ฝ่ายกงสุล. (ฝ. consul).
กระทำโดยประมาท : (กฎ) ก. กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความ ระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่.
ข่มขืนกระทำชำเรา : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานขืนใจกระทําการ ร่วมประเวณีกับหญิงซึ่งมิใช่ภรรยาของตนโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ หรือใช้กําลังประทุษร้ายหญิงซึ่งอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือ ทำให้หญิงเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น.
ของแข็ง : น. สิ่งที่รวมตัวกันแน่น, สิ่งที่มิใช่ของเหลวหรือแก๊ส; (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสารซึ่งมีทั้งรูปร่างและปริมาตรคงตัว.
เจ้ากี้เจ้าการ : น. ผู้ที่ชอบเข้าไปวุ่นในธุระของคนอื่นซึ่งมิใช่หน้าที่ของตน จนน่ารำคาญ.
ดัดแปลง : [-แปฺลง] ก. แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม, เปลี่ยนจากรูปเดิม โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย, เช่น ดัดแปลงเรือนชั้นเดียวให้เป็น ๒ ชั้น; (กฎ) เปลี่ยนแปลงต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วนนํ้าหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซม หรือการดัดแปลงที่กําหนดในกฎกระทรวง; ทําซํ้าโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือจําลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสําคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทํางานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.
ทะลึ่ง : ก. ถีบตัวพรวดขึ้นมา เช่น ทะลึ่งขึ้นจากนํ้า, เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ผิดหูผิดตา เช่น ต้นไม้ทะลึ่งขึ้น; แสดงกิริยาหรือวาจาอันไม่สมควร ในเรื่องที่มิใช่ธุระของตัวหรือในเวลาที่เขาไม่ต้องการ, แสดงกิริยา หรือวาจาอาจเอื้อม ไม่รู้จักที่ตํ่าสูง.
ธุรการ : น. การจัดกิจการงานโดยส่วนรวมของแต่ละหน่วย ซึ่งมิใช่งาน วิชาการ.
นักท่องเที่ยว : (กฎ) น. บุคคลที่เดินทางจากท้องที่อันเป็นถิ่นที่อยู่โดย ปรกติของตนไปยังท้องที่อื่นเป็นการชั่วคราวด้วยความสมัครใจ และ ด้วยวัตถุประสงค์อันมิใช่เพื่อไปประกอบอาชีพหรือหารายได้.
นิติบุคคล : (กฎ) น. กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็น กองทุนเพื่อดําเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็น บุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มิใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือ วัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือ ตราสารจัดตั้ง นอกจากนั้น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียว กับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็น ได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ บริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพ มหานคร เมืองพัทยา บริษัทจํากัด สมาคม มูลนิธิ.
บเอ : (โบ) ว. มิใช่เอก, มิใช่หนึ่ง, มาก.
เบี้ยปรับ : (กฎ) น. จํานวนเงินหรือการชําระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่เป็น จํานวนเงิน ซึ่งลูกหนี้สัญญาว่าจะให้เจ้าหนี้เรียกเอาได้เมื่อตนไม่ชําระ หนี้ หรือไม่ชําระหนี้ให้ถูกต้องสมควร; เงินค่าปรับที่ผู้ต้องเสียภาษี อากรจะต้องเสียเพิ่มขึ้นจากจํานวนภาษีอากรที่ต้องชําระ ในกรณีที่ไม่ ปฏิบัติตามที่ประมวลรัษฎากรกําหนดไว้.
ประตูระบาย : น. สิ่งที่สร้างขึ้นในคลองส่งนํ้าเพื่อควบคุมนํ้าในคลอง ให้มีระดับหรือปริมาณตามที่ต้องการ; (กฎ) สิ่งที่สร้างขึ้นในทางนํ้า เพื่อทด กัก กั้น หรือระบายนํ้า ณ ที่อื่นอันมิใช่ที่มาแห่งนํ้าซึ่งจะส่งเข้า สู่เขตชลประทาน โดยมีช่องปิดเปิดได้.
ผู้นำจับ : (กฎ) น. บุคคลผู้มิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนำความมาแจ้ง ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทำการจับกุมผู้กระทำความผิด.
ผู้บริโภค : (กฎ) น. ผู้ซื้อหรือได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ และ หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือชักชวนจากผู้ประกอบ ธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการด้วย; ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะ ผู้ซื้อ ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ผู้กู้ ผู้เอาประกันภัย หรือผู้เข้าทำสัญญาอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน บริการหรือประโยชน์อื่นใดโดยมีค่า ตอบแทน ทั้งนี้ การทำสัญญานั้นต้องเป็นไปโดยมิใช่เพื่อการค้า ทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์อื่นใดนั้นและหมายความรวมถึง ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกันของบุคคลดังกล่าวซึ่งมิได้ กระทำเพื่อการค้าด้วย. (อ. consumer).
พล, พล : [พน, พนละ, พะละ] น. กําลัง, มักใช้ประกอบคําอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็น กำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ ฐานะเป็นต้น; ทหาร เช่น กองพล ตรวจพล ยกพลขึ้นบก; สามัญ, ธรรมดา ๆ, พื้น ๆ, เช่น ของพล ๆ; ยศทหารและตํารวจสัญญาบัตร รองจากจอมพล (เดิมใช้ว่า นายพล). (ป., ส.).
ภวาภพ : น. ความเป็นอยู่และมิใช่ความเป็นอยู่, ภพและมิใช่ภพ; ภพน้อย ภพใหญ่. (ป., ส. ภวาภว).
มีชู้ : ก. ล่วงประเวณีกับชายอื่นที่มิใช่สามีของตน.
มือที่สาม : น. บุคคลฝ่ายที่ ๓ ซึ่งมิใช่คู่กรณี แต่สอดเข้ามาเกี่ยวข้อง ในกิจกรรมหรือชีวิตของผู้อื่น มักจะเข้ามายุแหย่ให้เกิดความแตกแยก หรือบ่อนทำลาย.
ยาเส้นปรุง : (กฎ) น. ใบยาซึ่งมิใช่ใบยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมืองหรือยาอัด ซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำ.
ยุทธปัจจัย : น. สิ่งของทั้งปวงที่มิใช่ยุทธภัณฑ์ แต่เป็นสิ่งเกื้อกูลต่อ การรบ เช่น อาหาร ยา เคมีภัณฑ์ รวมถึงสัตว์พาหนะด้วย.
ยุ่มย่าม : ว. ยุ่ง, เกะกะไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย, เช่น หนวดเครายุ่มย่าม; อาการ ที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องที่มิใช่หน้าที่ของตน เช่น เขาชอบเข้าไปยุ่มย่าม ในเรื่องของคนอื่น, อาการที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในสถานที่หวงห้ามหรือในที่ ที่ตนไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น ห้ามเข้าไปยุ่มย่ามในเขตหวงห้าม เขา ชอบเข้าไปยุ่มย่ามในสถานที่ราชการ.
รถจักรยาน : น. รถถีบ; (กฎ) รถที่เดินด้วยกําลังของผู้ขับขี่ที่มิใช่เป็นการ ลากเข็น.
ร้องสอด : (กฎ) ก. การที่บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความยื่นคำร้องต่อศาล ด้วยความสมัครใจของตนเองขอเข้ามาเป็นคู่ความ หรือบุคคลที่ถูกหมาย เรียกให้เข้ามาในคดี.
รูปธรรม : [รูบปะทํา] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือ สิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏ เป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทําโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากิน นํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).
ฤๅเยา : ว. มิใช่เยา, มิใช่น้อย, ไม่เยา.
ศาลล้มละลาย : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายที่มิใช่ คดีอาญา เช่น คดีที่เจ้าหนี้ไม่มีประกันหรือเจ้าหนี้มีประกันฟ้อง ลูกหนี้ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวให้ล้มละลายนอกจากนั้นยังรวมถึง คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกับคดีดังกล่าวด้วย ได้แก่ คดีแพ่งธรรมดาที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือผู้บริหารแผนของลูกหนี้พิพาท กับบุคคลใด ๆ อันมีมูลจากสัญญาหรือละเมิดอันเนื่องมาจาก การจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้.
สมาคม : [สะมา] น. การประชุม, การเข้าร่วมพวกร่วมคณะ, การคบค้า; แหล่งหรือที่ประชุมของบุคคลหลายคนมาร่วมกันด้วยมีจุดประสงค์ เพื่อประโยชน์บางประการ เช่น เข้าสมาคม สมาคมศิษย์เก่า; (กฎ) นิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อกระทําการใด ๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกัน และมิใช่เป็นการหาผลกําไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน สมาคมต้องมี ข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์. (ป., ส.). ก. คบค้า, คบหา, เช่น อย่าสมาคมกับคนพาล ให้สมาคมกับนักปราชญ์.
สมาคมการค้า : (กฎ) น. สถาบันที่บุคคลหลายคนซึ่งเป็นผู้ประกอบ วิสาหกิจจัดตั้งขึ้นเพื่อทำการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจอันมิใช่ เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปันกัน.
สอดแทรก : ก. เข้าไปยุ่งในเรื่องที่มิใช่หน้าที่ของตน เช่น เขาชอบไป สอดแทรกในเรื่องส่วนตัวของคนอื่น.
หน้าต่าง : น. ช่องฝาบ้านหรือเรือนเป็นต้นที่เปิดปิดได้ สำหรับรับแสง สว่างหรือให้อากาศถ่ายเทได้ แต่มิใช่ทางสำหรับเข้าออก.
หอการค้า : (กฎ) น. สถาบันที่บุคคลหลายคนจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้า อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงินหรือเศรษฐกิจ อันมิใช่เป็นการหาผล กําไรหรือรายได้แบ่งปันกัน.
อมนุษย์ : [อะมะ] น. ผู้ที่มิใช่มนุษย์ (หมายรวมทั้ง เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย ภูตผีปิศาจ เป็นต้น) แต่โดยมากหมายถึง ภูตผีปิศาจ. (ส.; ป. อมนุสฺส).
อวมงคล : [อะวะมงคน] ว. ที่มิใช่มงคล, เรียกงานทําบุญเกี่ยวกับการศพว่า งานอวมงคล. (ป.).
ชี ๑ : น. นักบวช เช่น ชีปะขาว; คําเรียกหญิงที่นุ่งขาวห่มขาว โกนคิ้วโกนผมถือศีล, แม่ชี ก็เรียก. (ส. ชี ใช้พูดต้นนาม เป็นเครื่องหมายแห่งความยกย่อง).
ใช่ : ว. คํารับรองแสดงว่า เป็นเช่นนั้น, เป็นอย่างนั้น, ถูก, แน่; บางทีก็ใช้เป็นคําปฏิเสธหมายความว่า ไม่ใช่ เช่น ใช่คน ใช่สัตว์ ใช่ว่า.
ท ๒ : ใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคําบางคํา เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคําบางคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.
ฤๅ ๒ : [รือ] ว. หรือ, อะไร, ไม่ใช่; โดยมากใช้ในบทร้อยกรอง เช่น กวีฤๅแล้ง แหล่งสยาม.
สะพานแขวน : น. สะพานที่สร้างแขวนไว้กับโซ่หรือสายลวด ไม่ใช้ เสารับนํ้าหนักสะพาน แต่อาจมีเสาคํ้าสายลวดให้สูงตํ่าตามต้องการ.
อ ๒ : [อะ] เป็นอักษรใช้นําหน้าคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคํา ที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).
อน :
[อะนะ] เป็นคําปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ใช้ประกอบหน้าศัพท์ บาลีและสันสกฤตที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อาทร = เอื้อเฟื้อ, อนาทร = ไม่เอื้อเฟื้อ. (ดู อ๒ประกอบ).
เอกชน : [เอกกะ] น. บุคคลคนหนึ่ง ๆ. ว. ส่วนบุคคล, ไม่ใช่ ของรัฐ, เช่น โรงพยาบาลเอกชน.