Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มิได้ , then มด, มิได้ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : มิได้, 161 found, display 1-50
  1. มิได้ : ว. ไม่ได้, ไม่ใช่.
  2. หาบมิได้, หาบ่มิได้ : [หาบอ-, หาบ่อ-] ว. ไม่มีเลย เช่น คนดีอย่างนี้หาบมิได้, บางทีใช้คร่อมกับคำอื่น เช่น เพชรเม็ดนี้หาตำหนิบ่มิได้.
  3. หาค่าบ่มิได้, หาค่ามิได้ : ว. มีค่ามากจนประมาณไม่ได้.
  4. กรม ๔ : [กฺรม] (โบ) ย่อมาจากคําว่า กรมธรรม์ เช่น จะคิดเอาดอกเบี้ยมิได้เลย เพราะเปนเงินนอกกรม. (สามดวง).
  5. กรรมาธิการ : [กํา-] น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้ง เป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภาคณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิก ของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคล ผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน หรือ บุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญ.
  6. กระเดื่อง ๒ : ว. สูงขึ้น, โด่งดัง, ใช้ประกอบลักษณะของคุณงามความดี เช่น ชื่อเสียงกระเดื่อง; แข็ง, กระด้าง, เช่น ยามเมื่อเจ้าเยื้องยุรยาตร ก็มิได้ย่างลงเหยียบดินกระเดื่องใด. (ม. ร่ายยาว กุมาร), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระด้าง เป็น กระด้างกระเดื่อง.
  7. กระหม่อม : น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุด ลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมี เนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้น เนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบ กับคําที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า'' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).
  8. กรุ ๑ : [กฺรุ] น. ห้องที่ทําไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งอื่น ๆ,โดยปริยาย หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ.
  9. กรุงเขมา : หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ. [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
  10. กลอนสด : น. กลอนที่ผูกและกล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยไม่ได้คิดมาก่อน, โดยปริยายหมายความว่า ข้อความที่กล่าวขึ้นในปัจจุบัน โดยมิได้เตรียมตัวมาก่อน เช่น พูดกลอนสด.
  11. กะแช่ : น. น้ำเมาชนิดหนึ่ง ใช้ข้าวเหนียวนึ่งหมักแช่กับแป้งเชื้อ แต่ยังมิได้กลั่นเป็นสุรา.
  12. การิตการก : [การิดตะ-] (ไว) น. ผู้ถูกใช้ให้ทํา, เป็นประธานของประโยค เรียงไว้หน้ากริยา ''ถูก-ให้'' เช่น คนงานถูกนายจ้างให้ทํางาน ทั้งกลางวันและกลางคืน, ถ้ามิได้เป็นประธานก็เรียงไว้หลังบุรพบท ''ยัง'' หรือ กริยานุเคราะห์ ''ให้'' เช่น นายจ้างยังลูกจ้างให้ทํางาน นายจ้างให้ลูกจ้างทํางาน.
  13. เกล้ากระหม่อม : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลพระอนุวงศ์ ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  14. ของสด : น. ของที่มิได้สุกด้วยความร้อน.
  15. คดีอุทลุม : (กฎ) น. คดีที่บุคคลฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือ คดีอาญา ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่า ผู้ใด จะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้.
  16. ความรู้สึกเขื่อง, ความรู้สึกเด่น : (จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าหรือดีเด่น กว่าผู้อื่น ความรู้สึกนี้ไม่จําเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สํานึก แต่ถ้าเกิดขึ้น เสมอ ๆ และมิได้แก้ไขหรือได้รับการสนับสนุน เช่นในการอบรม เลี้ยงดูเด็ก ก็อาจเก็บสะสมไว้เกิดเป็นนิสัยของบุคคลนั้นได้. (อ. superiority feeling); ความเชื่อหรือความมั่นใจว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถ เหนือกว่าผู้อื่น.
  17. ความรู้สึกด้อย : (จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถไม่เท่าเทียมบุคคลทั่วไป ความรู้สึกนี้ไม่จําเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สํานึกและผู้นั้นไม่จําเป็นต้องมี ปมด้อย อาจเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมหรือในบางขณะเท่านั้น แต่ถ้าเกิดขึ้น เสมอ ๆ และมิได้แก้ไข ก็อาจเก็บกดไว้จนเกิดเป็นปมด้อยได้; ความไม่เชื่อ มั่นว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถเท่าเทียมผู้อื่น. (อ. inferiority feeling).
  18. ค่า : น. มูลค่าหรือราคาของสิ่งใด ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่มีประโยชน์ในทางใช้สอย แลกเปลี่ยน หรือทางจิตใจเป็นต้น บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินได้ บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินไม่ได้ เช่น ทองคำเป็นของมีค่า เวลามีค่ามาก; จำนวนเงินที่เป็นราคาสิ่งของหรือบริการ เป็นต้น เช่น ค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าโดยสาร ค่าอาหาร; (คณิต) จำนวนหรือ ตัวเลขที่ระบุปริมาณหรือขนาดของตัวแปร; (สำ) เรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มีคุณค่ามากจนไม่อาจประเมินเป็นเงินได้ว่า เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้.
  19. ค่าจ้าง : (กฎ) น. เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทน ในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปรกติเป็น รายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือ ระยะเวลาอื่น หรือจ่าย ให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปรกติของวันทำงาน และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวัน ลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย; เงินทุก ประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและ เวลาทำงานปรกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ ลูกจ้างทำได้ และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างใน วันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่า จะเรียกชื่ออย่างไร.
  20. คุณนาย : น. คํายกย่อง ใช้เรียกภรรยาข้าราชการชั้นสัญญาบัตรที่ยัง มิได้เป็นคุณหญิง, ในปัจจุบันใช้เรียกยกย่องสตรีทั่ว ๆ ไปที่ผู้เรียกนับถือ.
  21. ใคร ๒, ใคร ๆ : [ไคฺร] ส. ผู้ใดผู้หนึ่ง, คนใดคนหนึ่ง, (ซึ่งมิได้กำหนดแน่นอนลงไป) เช่น ฉันไม่อยากพึ่งใคร ใคร ๆ ก็ช่วยอะไรเขาไม่ได้.
  22. เงินตาย : (โบ) น. เงินตราที่รัฐให้เลิกใช้, เงินที่มิได้เอามาทําเป็นรูปพรรณ, เงินที่เก็บไว้ไม่นําออกใช้.
  23. จ้น : ว. ถี่ ๆ เช่น กินออกจ้นมิได้หยุดช่างสุดแสน. (นิ. ลอนดอน).
  24. จาตุรงคสันนิบาต : น. การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันนั้น ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อมฆา) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้นล้วน ได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, นับเป็นวันสําคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา, คําสามัญว่า มาฆบูชา. (ป., ส.).
  25. จีวรกาลสมัย : (แบบ) น. คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร (งวดที่ ๑ ตั้งแต่วัน มหาปวารณา คือ วันแรมคํ่าหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒, งวดที่ ๒ ตั้งแต่วันมหาปวารณาไปจนหมดฤดูหนาว, งวดที่ ๑ เป็นของพระที่ มิได้กรานกฐิน, งวดที่ ๒ เป็นของพระที่กรานกฐินแล้ว). (ป.).
  26. เจ๋อ, เจ๋อเจ๊อะ : ก. เสนอหน้าเข้าไปในสถานที่ไม่สมควรเมื่อเขาไม่ต้องการหรือ มิได้เรียกหา.
  27. เซต : (คณิต) น. คําที่ใช้ระบุถึงกลุ่มหรือหมู่ของสิ่งต่าง ๆ โดยมีเงื่อนไข ที่แน่นอนว่า สิ่งใดอยู่ในกลุ่มหรือสิ่งใดมิได้อยู่ในกลุ่มนั้น ๆ; ชุด เช่น เข้าเซตกัน; ลักษณนามใช้เรียกคนหรือของที่เข้ากลุ่มหรือ เข้าชุดกัน เช่น ตัวหนังสือเซตเดียวกัน ตัวเลข ๒ เซต. (อ. set).
  28. ตรีทศ : น. เทวดา ๓๓ องค์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มิได้แยกว่าใครเป็นใคร หมายถึง พระอินทร์และบริวารพระอินทร์ ๓๒ องค์, ไตรทศ ก็เรียก. (ส. ตฺริทศ ว่า สามสิบ).
  29. ตลาดนัด : น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ ซึ่งมิได้ตั้งอยู่ประจํา จัดให้มีขึ้น เฉพาะในวันที่กําหนดเท่านั้น.
  30. ทรัพย์นอกพาณิชย์ : (กฎ) น. ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ และ ทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย.
  31. ทหารกองเกิน : (กฎ) น. ชายที่มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกิน หรือผู้ที่มี อายุยังไม่ถึง ๔๖ ปีบริบูรณ์ และยังมิได้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอ พร้อมกับคนชั้นปีเดียวกันเพราะเหตุใด ๆ ก็ดี ซึ่งได้ลงบัญชีทหาร กองเกินตามหลักเกณฑ์ วิธีการและแบบที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่า ด้วยการรับราชการทหารแล้ว.
  32. ทั้งดุ้น : ว. ทั้งหมดโดยมิได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือตัดแบ่งเลย เช่น ลอกมาทั้งดุ้น.
  33. ธรรมชาติ : น. สิ่งที่เกิดมีและเป็นอยู่ตามธรรมดาของสิ่งนั้น ๆ, ภาพ ภูมิประเทศ. ว. ที่เป็นไปเองโดยมิได้ปรุงแต่ง เช่น สีธรรมชาติ.
  34. นัด ๓ : ลักษณนามเรียกกระสุนปืนทั้งที่ยังมิได้ยิงและที่ได้ยิงออกไปแล้ว เช่น กระสุน ๓ นัด ยิงสลุต ๒๑ นัด.
  35. นางบำเรอ : น. หญิงที่ปรนเปรอเฉพาะชายคนใดคนหนึ่งในทางกามารมณ์ โดยมิได้อยู่ในฐานะภรรยา.
  36. นางพระกำนัล : น. คุณพนักงานหญิงที่ยังมิได้แต่งงาน มีหน้าที่ปฏิบัติ รับใช้พระราชินีในการเสด็จไปในพระราชพิธีต่าง ๆ.
  37. น้ำมันดิบ : น. นํ้ามันที่สกัดหรือสูบขึ้นมาจากแหล่งกําเนิด และยังมิได้ ทําให้บริสุทธิ์หรือยังมิได้นําไปกลั่นแยกออกเป็นส่วน ๆ.
  38. บัดนั้น : ว. คําขึ้นต้นข้อความของบทละคร (ใช้แก่ตัวละครที่ไม่ใช่ ตัวเจ้าหรือมิได้เป็นตัวเอกในตอนนั้น ๆ).
  39. บุคคลภายนอก : (กฎ) น. บุคคลที่มิได้เป็นคู่กรณีหรือคู่สัญญา แต่อาจมีสิทธิเกี่ยวข้อง, บุคคลที่สาม ก็เรียก.
  40. บุถุชน : น. ปุถุชน, คนที่ยังมีกิเลสหนา, สามัญชน, ผู้ที่มิได้เป็นพระ อริยบุคคล. (ป. ปุถุชฺชน; ส. ปฺฤถคฺชน).
  41. เบาความ : ว. ไม่พินิจพิเคราะห์ในข้อความให้ถี่ถ้วน, หย่อนความคิด, เชื่อง่ายโดยมิได้ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน.
  42. ใบจอง : (กฎ) น. หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดิน ชั่วคราวในเขตท้องที่ที่ยังมิได้ประกาศเขตสํารวจที่ดิน หรือ ในกรณีที่สภาพของที่ดินเป็นแปลงเล็กแปลงน้อย ซึ่งพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นผู้ออกให้.
  43. ประดาษ : ว. ตกต่ำ เช่น โอ้ครั้งนี้มิได้เห็นเช่นฉลอง เพราะตัวต้องตกประดาษ วาสนา. (นิ. ภูเขาทอง). (ข. ผฺฎาส ว่า ผิดระเบียบ นอกรีตนอกรอย).
  44. ประหลาด : ว. แปลกผิดปรกติหรือมิได้คิดคาดหมายว่าจะเป็นไปได้, น่าพิศวง.
  45. ปริยาย : [ปะริ-] น. อย่าง, ทาง, หนทาง; การกล่าวอ้อมค้อม, นัยทางอ้อม, ตรงข้ามกับ นิปริยาย คือ อย่างตรง; การสอน, การเล่าเรื่อง. ว. อ้อม; (กฎ) หมายความถึงกรณีที่เจตนาในการกระทำมิได้แสดงออก อย่างชัดแจ้ง เป็นคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าชัดแจ้ง. (ป.).
  46. ปัจเจกพุทธะ : [ปัดเจกกะ-] น. ชื่อพระพุทธเจ้าพวกหนึ่งที่ตรัสรู้ เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น. (ป.).
  47. ป่า : น. ที่ที่มีต้นไม้ต่าง ๆ ขึ้นมา, ถ้าเป็นต้นสัก เรียกว่า ป่าสัก, ถ้าเป็น ต้นรัง เรียกว่า ป่ารัง, ถ้ามีพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่มาก ก็เรียกตามพรรณไม้นั้นเช่น ป่าไผ่ ป่าคา ป่าหญ้า; (กฎ) ที่ดินที่ยัง มิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน; เรียกปลากัดหรือ ปลาเข็มที่เป็นพันธุ์เดิมตามธรรมชาติว่า ลูกป่า; (โบ) เรียกตําบล ที่มีของขายอย่างเดียวกันมาก ๆ เช่น ป่าถ่าน ป่าตะกั่ว. ว. ที่ได้มา จากป่าหรืออยู่ในป่า เช่น ของป่า ช้างป่า สัตว์ป่า คนป่า, ที่ห่างไกล ความเจริญ เช่น บ้านป่า เมืองป่า. ก. ตีดะไป ในคําว่า ตีป่า.
  48. ปุถุชน : น. คนที่ยังมีกิเลสหนา, สามัญชน, ผู้ที่มิได้เป็นพระอริยบุคคล. (ป. ปุถุชฺชน; ส. ปฺฤถคฺชน).
  49. ผู้ต้องหา : (กฎ) น. บุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทําความผิด แต่ยังมิได้ถูก ฟ้องต่อศาล.
  50. ผู้บริโภค : (กฎ) น. ผู้ซื้อหรือได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ และ หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือชักชวนจากผู้ประกอบ ธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการด้วย; ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะ ผู้ซื้อ ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ผู้กู้ ผู้เอาประกันภัย หรือผู้เข้าทำสัญญาอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน บริการหรือประโยชน์อื่นใดโดยมีค่า ตอบแทน ทั้งนี้ การทำสัญญานั้นต้องเป็นไปโดยมิใช่เพื่อการค้า ทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์อื่นใดนั้นและหมายความรวมถึง ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกันของบุคคลดังกล่าวซึ่งมิได้ กระทำเพื่อการค้าด้วย. (อ. consumer).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-161

(0.0635 sec)