มโน : น. ใจ. (ป.; ส. มนสฺ).
มโนศิลา : น. ศิลาอ่อนที่ย่อยให้ละเอียดประสมเป็นสีทาสิ่งอื่นได้, อีกนัยหนึ่งว่าการหนูแดง, เรียกหินลายสีแดง ๆ เช่น รัตนผลึกเลื่อม มโนศิลาลาย. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ส. มนสฺ + ศิลา; ทมิฬ มโนจิไล).
มโนทุจริต : [มะโนทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางใจ มี ๓ อย่าง ได้แก่ ความโลภอยากได้ของของผู้อื่น ๑ ความพยาบาท ๑ ความเห็น ผิดจากทำนองคลองธรรม ๑.
มโนนุกูล : ว. ซึ่งเกื้อกูลใจ, ชูใจ. (ส.).
มโนภินิเวศ : น. ความมั่นใจ, ความหนักแน่น. (ส.).
มโนสุจริต : [มะโนสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางใจ มี ๓ อย่าง ได้แก่ ความไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่น ๑ ความไม่พยาบาท ๑ ความเห็นถูกตามทำนองคลองธรรม ๑.
มนุสาร, มนูสาร, มโนสาร : น. ชื่อคัมภีร์กฎหมายมนูธรรมศาสตร์ฉบับย่อ.
มนัส, มนัส- :
[มะนัด, มะนัดสะ-] น. ใจ (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์หลังมักเป็น มโน, ดู มโน). (ส.).
มโนช : ดู มโน.
มโนชญ์ : ดู มโน.
มน ๓, มน- : [มะนะ, มน, มะนะ-] น. ใจ. (ป.).
มน ๑ : ก. อยู่กับที่ (ใช้แก่ดาวนพเคราะห์ ซึ่งปรากฏแก่ตาเป็น ๓ ทาง คือ เสริด ว่า ไปข้างหน้า, พักร ว่า ถอยหลัง, มน ว่า อยู่กับที่).
กระยาจก : (ปาก) น. ยาจก, คนขอทาน, เช่น ตัวอ้ายพราหมณ์เถ้ากระยาจก. (มโนห์รา). (กระ + ป. ยาจก).
กระว่า : (โบ; กลอน) น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น เสียงนกกระว่ามาตีลาน นกกรงหงส์ห่านร้องขานคู่. (มโนห์รา).
กระหยด : (โบ; แผลงมาจาก ขยด) ก. ถด, ถอย, เขยิบ, เช่น กระหยดเข้า นางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย. (มโนห์รา).
กระหยบ : (โบ) ก. หมอบ เช่น ฟุบกบกระหยบเงียบมิเกรียบไว้. (มโนห์รา); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) แอบ, ซ่อน, ซุก.
กระหว่า : (โบ; กลอน) ว. ราวกับว่า เช่น หน้าตาหัวอกรกเป็นขน ดูสง่ากระหว่าคนหรือนนทรี. (มโนห์รา).
กราน ๒ : [กฺราน] ใช้เข้าคู่กับคําอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า ค้ำ, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลําพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู. (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง. (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.
กะริงกะเรียด : (โบ) ว. คําพ้อชนิดหนึ่งว่าทําเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย คล้ายทําก้อร่อก้อติก เช่น เป็นหญิงเจ้าแม่อา อย่าทํากะริงกะเรียด ตัวเจ้ายังน้อยสักเท่าเขียด เจ้ามาวอนแม่จะมีผัว. (มโนห์รา).
กันเอา : ว. กรรเอา, กลมกล่อม, เช่น สรวญเสียงกันเอาเอา มโนเทพรังรักษ์. (อนิรุทธ์).
กุศลกรรมบถ : [กุสนละกํามะบด] น. ธรรมหมวดหนึ่ง มี ๑๐ อย่าง คือ กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ มโนสุจริต ๓. (ส.).
เกรี้ยว, เกรี้ยว ๆ : [เกฺรี้ยว] ว. อาการที่แสดงความเดือดดาลหรือโกรธมาก เช่น อนิจจามาร้องอยู่เกรี้ยว ๆ. (มโนห์รา).
โกรด : [โกฺรด] (โบ) ว. ว่องไว, แข็งแรง; เต็มที่, เต็มกําลัง, เช่น ผอมเหมือนกวางโกรกโกรด. (มโนห์รา); เปลี่ยว, คะนอง, เช่น ควายโกรด; โดดเดี่ยว; โตรด ก็ใช้.
ขยด : [ขะหฺยด] ก. ถด, ถอย, กระเถิบ, เลื่อนจากที่เดิม, เช่น ทวารวังในว่าใกล้ ฤๅแลวันนี้ไสร้ ขยดออกรื้อดูไกล บารนี ฯ. (ลอ), ใช้ว่า กระหยด ก็มี เช่น กระหยดเข้า นางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย. (มโนห์รา).
ฉายา ๒ : (กลอน; ปาก) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น ฉายามิใคร่จะจากไป. (มโนห์รา).
ทุจริต : [ทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่ว, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต. ก. โกง เช่น ทุจริต ในการสอบ, คดโกง, ฉ้อโกง, เช่น ทุจริตต่อหน้าที่. ว. ไม่ซื่อตรง เช่น คนทุจริต. (ป. ทุจฺจริต).
ผัสสาหาร : น. อาหารคือผัสสะ หมายเอาการประจวบกันแห่ง อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ เป็นปัจจัยแห่ง เจตสิกอันจะพึงเกิดโดยวิถีมีเวทนาเป็นต้น เป็นประการหนึ่ง ในอาหารทั้ง ๔ (อีก ๓ อย่าง คือ กวลิงการาหาร อาหารคือ คําข้าว ๑ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา ๑ และ วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ ๑). (ป.).
มน ๒ : ว. กลม ๆ, โค้ง ๆ, ไม่เป็นเหลี่ยม, เช่น ทองหลางใบมน ขอบโต๊ะมน ปกเสื้อมน.
มโนกรรม : น. การกระทำทางใจ, การคิด, ความคิด. (ป. มโนกมฺม).
มโนรม, มโนรมย์ : ว. เป็นที่ชอบใจ, งาม. (ส. มโนรม, มโนรมฺย; ป. มโนรม, มโนรมฺม).
มโนราห์ ๑ : น. ศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารํา อย่างเดียวกับละครชาตรี, โนรา ก็ว่า, เขียนว่า มโนห์รา ก็มี.
วิชชา : [วิด] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒.จุตูปปาตญาณ(รู้จักกําหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทํา อาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้า ในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกําหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
อกุศลกรรมบถ : [อะกุสนละกํามะบด] น. ทางแห่งความชั่ว, ทาง บาป, มี ๑๐ อย่าง คือ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ และมโนทุจริต ๓. (ส. อกุศล + กรฺมนฺ + ปถ; ป. อกุสลกมฺมปถ).
เอย ๒, เอ่ย ๑ : คํากล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้าย คํากลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง. (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และ ทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย. (บทดอกสร้อย).
แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
มนุษย์มนา : (ปาก) น. ผู้คน เช่น ไม่เห็นมีมนุษย์มนาสักคน, คนทั่ว ๆ ไป เช่น แต่งตัวไม่เป็นมนุษย์มนา. (ส.).
ม่น : (ถิ่น-อีสาน) ก. ซุก, แทรก.
มนิมนา, มนีมนา : [มะนิมมะนา, มะนีมมะนา] ว. เร็ว, ด่วน, ขมีขมัน, เช่น ก็มนิมนาการมาสู่สาลวัน. (ปฐมสมโพธิกถา). (ข. มฺนีมฺนา).
มั่น : ว. แน่, แน่นอน, เช่น ใจมั่น; แน่น เช่น จับให้มั่น.
มิน่า, มิน่าล่ะ, มิน่าเล่า : คําแสดงว่า รู้สาเหตุ.
มื่น ๑ : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ก. ลื่น.
มื่น ๒ : ก. ชื่นบาน เช่น ชื่นมื่น.
มุ่น : ก. ขมวด (ใช้แก่มวยผม) เช่น มุ่นมวยผม มุ่นพระเมาลี; กังวลอยู่; (กลอน) เกลี้ยงเกลา, อ่อนนุ่ม. น. เรียกเงินแท่งชนิดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นเงินเนื้อดีว่า เงินมุ่น.
เม่น : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hystricidae มีฟันแทะขนาดใหญ่ ลําตัวมีขนแหลมแข็ง ขนครึ่งท้ายลำตัวยาวกว่าด้านหน้า ขาสั้น ขาหน้ามีเล็บ แข็งแรงใช้ขุดดิน กินพืช ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ เม่นใหญ่แผงคอยาว (Hystrix brachyura) เม่นใหญ่แผงคอสั้น (H. hodgsoni) และเม่นหางพวง (Atherurus macrourus).
แม่น : ว. เที่ยง, แน่วแน่, เช่น ยิงปืนแม่น, ไม่ผิด, ถูกต้อง, เช่น จำแม่น.
ศมนะ : [สะมะนะ] น. การทําให้สงบ. (ส.; ป. สมน).
กระมล : [-มน] (กลอน; แผลงมาจาก กมล) น. ดอกบัว, หัวใจ.
กามน : [กา-มน] ว. เต็มไปด้วยกาม เช่น ฤๅโฉมพระศรีศริ อภิลาศกามน. (สุธน). (ป., ส.).
มนินทรีย์ : น. ใจซึ่งเป็นใหญ่ในการรับรู้ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เกิด ทางใจ. (ป. มน+อินฺทฺริย).