ม่ง ๑ : น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลในกลุ่มปลาหางแข็ง หางกิ่ว หรือสีกุน โดยเฉพาะที่มีขนาด กลางหรือขนาดใหญ่ในวงศ์ Carangidae มีลําตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับได้ คอดหางแคบ เกล็ดบนเส้นข้างตัวใหญ่ เป็นเหลี่ยมแข็งโดยเฉพาะที่บริเวณคอดหาง ไม่มีสีฉูดฉาด อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด Caranx sexfasciatus, C. melampygus, C. ignobilis, Carangoides gymnostethoides, C. fulvoguttatus และ Alectis ciliaris ปลาเหล่านี้บางชนิดอาจ โตยาวได้ถึง ๑.๔ เมตร, กะมง หรือ กะม่ง ก็เรียก.
ม่ง ๒ : (กลอน) ก. มุ่ง.
มุ่ง : ก. ตั้งใจ เช่น มุ่งทำความดี, ตั้งหน้า เช่น มุ่งศึกษาหาความรู้, ในบทกลอนใช้ว่า ม่ง ก็มี.
ขง : (โบ) น. กรุง, บางทีเขียนเป็น โขง. (``กรุง'' เป็น ``ขุง'' และเป็น ``ขง'' อย่าง ทุ่ง-ท่ง, มุ่ง-ม่ง).
จระกล้าย : [จะระ-] (กลอน) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย. (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล. (ม. คำหลวง กุมาร).
หางกิ่ว :
น. (๑) ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Carangidae อยู่ ในกลุ่มปลาหางแข็ง สีกุน หรือม่ง ลักษณะสําคัญคือ ลําตัวเพรียว แบนข้าง เล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับได้ คอดหางแคบมาก เกล็ด บนเส้นข้างตัวที่คอดหางใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็ง อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด Caranx (Selar) mate ส่วนชนิดที่ใหญ่และยาวกว่าชนิดแรกมากคือ Caranx sexfasciatus สําหรับชนิดหลังนี้ สีขน ก็เรียก. (๒) ดู ม้า๓.
เหม่ง ๑ : [เหฺม่ง] ว. ใส, เป็นมัน.
โหม่ง ๑ : [โหฺม่ง] ก. เอาหัวรับหรือกระแทกลูกตะกร้อหรือฟุตบอลเป็นต้น, โดย ปริยายหมายถึงอาการที่สิ่งหนึ่งตกลงมากระแทกพื้นอย่างแรง เช่น หัวโหม่งพื้นเครื่องบินโหม่งโลก.
โหม่ง ๒ : [โหฺม่ง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ฆ้องคู่. ว. เสียงอย่างเสียงฆ้อง.
มั่ง : ก. มี, มีมาก. (ปาก) ว. บ้าง เช่น ขอมั่งซี.
มิ่ง : น. สิ่งเป็นสิริมงคล เช่น มิ่งเมือง เมียมิ่ง.
โม่ง : ว. หัวหรือท้ายโตผิดส่วน, ใหญ่โตผิดธรรมดา, เช่น ปลาหัวโม่ง, เรียกผู้ที่เอา ผ้าคลุมหัวในการเล่นของเด็กว่า อ้ายโม่ง, โดยปริยายหมายถึงคนที่คลุมหัวปิดหน้า เพื่อไม่ให้คนจำหน้าได้.
มงคลจักร : [มงคนละจัก] น. ด้ายมงคลแฝดสําหรับบ่าวสาวสวมศีรษะ ในพิธีรดนํ้า, มงคลแฝด ก็เรียก.
มงคลแฝด : [มงคน-] (ปาก) น. ด้ายมงคลแฝดสําหรับบ่าวสาวสวม ศีรษะในพิธีรดนํ้า, มงคลจักร ก็เรียก.
มงคล, มงคล- : [มงคน, มงคนละ-] น. เหตุที่นํามาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่ง ซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้าย มากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งาน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องราง ของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกัน ภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้น สำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทย หรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).
มงคลวาท : [มงคนละวาด] น. คําให้พร, คําแสดงความยินดี.
มงคลวาร : [มงคนละวาน] น. วันดี, วันอังคาร.
มงคลสมรส : [มงคน-] น. งานแต่งงาน.
มงคลสูตร : [มงคนละสูด] น. ด้ายศักดิ์สิทธิ์ที่ล่ามจากหม้อนํ้ามนตร์; ชื่อพระสูตรที่สำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนาว่าด้วยมงคล ๓๘ ประการ.
มงคลหัตถี :
[มงคนละ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีนิล อัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม. (ดู กาฬาวก).
ก่น ๑ : (โบ) ก. ตั้งหน้า, มุ่ง, เช่น อยู่เย็นยงงก่นเกอดพิจลการ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
คิด : ก. ทําให้ปรากฏเป็นรูปหรือประกอบให้เป็นรูปหรือเป็นเรื่องขึ้นในใจ; ใคร่ครวญ, ไตร่ตรอง, เช่น เรื่องนี้ยากยังคิดไม่ออก; คาดคะเน เช่น คิดว่าเย็นนี้ฝนอาจจะตก; คํานวณ เช่น คิดเลขในใจ; มุ่ง, จงใจ, ตั้งใจ, เช่น อย่าคิดร้ายเขาเลย; นึก เช่น คิดละอาย.
บานมงคล : [ [บานนะมงคน] น. ชุมนุมดื่ม. (ส.).
บ่ายหน้า : ก. หันหน้า เช่น บ่ายหน้าไปทางทิศเหนือ, มุ่ง เช่น บ่ายหน้ากลับบ้าน.
ใฝ่ : ก. มุ่ง, หวัง, ใคร่, ผูกพัน.
มาด ๓ : ก. มุ่ง, หมายไว้, คาดไว้, มักใช้เข้าคู่กับคํา มุ่ง เป็น มุ่งมาด.
ศรี ๑ : [สี] น. มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ, เช่นศรีบ้าน ศรีเรือน ศรีเมือง, ใช้นำหน้าคำบางคำเป็น การยกย่อง เช่น พระศรีรัตนตรัยวัดพระศรีรัตนศาสดาราม. (ส. ศฺรี; ป. สิริ, สิรี).
หมาย : น. หนังสือราชการที่ใช้เกณฑ์ เกาะกุม หรือ เรียกตัว เป็นต้น เช่น หมาย เกณฑ์ หมายจับ หมายศาล, (กฎ) หนังสือคําสั่งของศาลหรือเจ้าพนักงาน สั่งให้กระทําการ หรือห้ามกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายค้น หมายเรียก. ก. มุ่ง เช่น เป้าที่หมายไว้, คาด, กะ, เช่น หมายว่าจะได้ผล หมายว่าจะพบ, ขีดไว้เป็นเครื่องกําหนด เช่น หมายหัว กระดาษ ใช้ปูนหมายหัวไว้.
อวมงคล : [อะวะมงคน] ว. ที่มิใช่มงคล, เรียกงานทําบุญเกี่ยวกับการศพว่า งานอวมงคล. (ป.).