ม่านบังตา : น. เครื่องบังหน้าต่างในระดับตา มักทำด้วยผ้า.
บังตา : น. เครื่องบังประตูทําด้วยไม้หรือกระจกเป็นต้นติดอยู่กับกรอบ ประตูเหนือระดับตาเล็กน้อย ผลักเปิดปิดได้, ถ้าเป็นเครื่องบังหน้าต่าง ในระดับตา มักทําด้วยผ้า เรียกว่า ม่านบังตา; เครื่องบังตาม้าเพื่อไม่ให้ เห็นข้าง ๆ.
ม่าน ๑ : น. เครื่องกั้นบัง โดยปรกติทําด้วยผ้า ใช้ห้อยกั้นห้องหรือประตูหน้าต่างเป็นต้น, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ม่านควัน.
ม่าน ๒ : น. ชนชาติพม่า.
ม่านสองไข : น. ม่าน ๒ ชายที่แหวกกลางรวบชายไปผูกไว้ที่ ด้านข้างทั้ง ๒ ด้าน สําหรับประดับช่องทางประตูหน้าต่างเป็นต้น.
รูดม่าน : ก. ดึงม่านหรือม่านบังตาให้เลื่อนไปตามราวเพื่อปิดหรือเปิด; โดยปริยายหมายความว่า สิ้นสุด, จบ, เช่น รูดม่านชีวิต.
ม่านเมรุ : น. ม่านที่แขวนห้อยไว้ที่เสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน.
ม่านบังเพลิง : น. ฉากพับได้ติดกับเสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน.
ม่านลาย : น. ชื่อตะพาบชนิด Chitra chitra ในวงศ์ Trionychidae เป็นเต่า กระดองอ่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เคยพบที่แม่นํ้าแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี มีนํ้าหนักถึง ๑๔๘ กิโลกรัม ทั้งตัวและหัวสีนํ้าตาล มีลายสีนํ้าตาลอ่อน, กริวลาย หรือ กราวด่าง ก็เรียก.
ม่านอินทนิล : ดู สร้อยอินทนิล.
เข้าม่าน : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
ชาวม่าน : น. เรียกเจ้าพนักงานที่ทําหน้าที่ไขพระวิสูตร ในงานพระราชพิธีต่าง ๆ.
วิสูตร : [สูด] (ราชา) น. ม่าน.
สาณี : น. ม่าน, ฉาก, มู่ลี่; ผ้าป่าน. (ป.; ส. ศาณี).
กราวด่าง : ดู ม่านลาย.
กริวลาย : ดู ม่านลาย.
ไขพระวิสูตร : (ราชา) ก. เปิดม่าน, คู่กับ ปิดพระวิสูตร หมายความว่า ปิดม่าน.
ไขย่น : น. ม่านจีบ. (ประชุมพงศ.).
ฉาก : น. เครื่องบังหรือเครื่องกั้น มีหลายชนิด ใช้ตั้ง แขวน หรือพับได้, เครื่อง ประกอบเวทีละครเพื่อให้ดูสมจริงตามเนื้อเรื่อง เช่น ฉากป่า ฉากเมือง; เครื่องสําหรับวัดมุมซึ่งมี ๙๐ องศา, มุมซึ่งกางได้ ๙๐ องศา เรียกว่า มุมฉาก, ลักษณนามเรียกตอนย่อยของละครในองก์หนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่งของละคร ที่เปิดม่านหน้าเวทีครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ละคร ๓ ฉาก.
ฉากญี่ปุ่น : น. เครื่องบังตาที่ประกอบด้วยแผ่นพับหลายแผ่น.
ตลบ : [ตะหฺลบ] ก. เอาสิ่งที่เป็นแผ่นเป็นผืนเช่นชายม่านตีนมุ้งที่อยู่ข้างล่างหกกลับ ไปพาดไว้ข้างบนทั้งผืนทั้งแผ่น เช่น ตลบม่าน ตลบมุ้ง; ยกกลับ, หกกลับ, เช่น ตีตลบ; ย้อนกลับไปกลับมา เช่น เดินเสียหลายตลบ ฝุ่นตลบ; ฟุ้งไป, กระจายไป, (ใช้แก่กลิ่น), กลบ ก็ว่า.
ตะพาบ, ตะพาบน้ำ : น. ชื่อเต่านํ้าจืดกระดองอ่อนหลายสกุลในวงศ์ Trionychidae กระดองอ่อนนิ่ม มีเชิงแผ่กว้าง ตีนเป็นแผ่นแบนคล้ายพาย หลายชนิดมีจมูกยื่นยาว ในประเทศ ไทยมีหลายชนิด เช่น ตะพาบ (Amyda cartilageneus) ม่านลาย (Chitra chitra), กริว กราว จราว จมูกหลอด หรือปลาฝา ก็เรียก.
ท้องฉนวน : น. ทางเดินสําหรับฝ่ายในซึ่งกั้นด้วยผ้าหรือม่านเป็นต้น.
ปลด : [ปฺลด] ก. เอาออก (ใช้แก่สิ่งที่เกี่ยวอยู่ แขวนอยู่ คล้องอยู่ หรือขัดอยู่ เป็นต้น) เช่น ปลดม่านที่แขวนอยู่ ปลดห่วงที่เกี่ยวอยู่ ปลดลูกดุมที่ ขัดอยู่; โดยปริยายหมายความว่า ทําให้พ้นจากข้อผูกพันหรือพ้น จากตําแหน่งหน้าที่ เช่น ปลดหนี้ ปลดออกจากราชการ.
พู่ : น. กลุ่มหรือกระจุกที่ประกอบด้วยขนสัตว์ ไหม ด้าย หรือสิ่งอื่น ๆ ที่คล้ายกัน โดยมากใช้ห้อย เช่น พู่เรือสุพรรณหงส์ พู่ม่าน, ที่ใช้ชู ก็มีบ้าง เช่น พู่หมวกเครื่องยศทหารบางเหล่า.
มาน ๒ : น. ความถือตัว; ใจ, ดวงใจ, เช่น ดวงมาน. (ป., ส.).
มาน ๔ : (ถิ่น) ก. ตั้งท้อง เช่น มานลูก ข้าวมาน.
มู่ลี่ : น. เครื่องบังประตูหน้าต่างเป็นทํานองม่าน ทําด้วยซี่ไม้เล็ก ๆ ถักด้วยเชือก เป็นช่องโปร่ง มีรอกและเชือกสำหรับชักให้ม้วนและคลี่ได้.
ย้อย : ก. ห้อยเป็นทางลงมา เช่น รากไทรย้อยลงมา พวงมะไฟห้อยย้อย, ห้อย ลงมา เช่น รวงผึ้งย้อยลงมา ผมย้อยลงปรกหน้า, ไหลเป็นทางยืดลงมา เช่น น้ำมูกย้อย น้ำตาลย้อย, หยาดห้อยลงมาจวนจะหยด เช่น น้ำหมาก ย้อย น้ำตาย้อย; คราบหินปูนที่ย้อยลงมาจากเพดานถ้ำหินปูน มีลักษณะ เป็นท่อน เป็นกรวย หรือเป็นแผ่นม่าน เรียกว่า หินย้อย.
ราว ๑ : น. แถว, แนว, เช่น ราวป่า; เครื่องยึดเหนี่ยวสําหรับเกาะหรือขึ้นลงเป็นต้น เช่น ราวบันได ราวสะพาน, เรียกไม้ โลหะ และเชือกหรือลวดเป็นต้นที่ขึง สำหรับพาดหรือตากผ้าว่า ราว ราวผ้าหรือราวตากผ้า, ถ้าใช้ขึงสิ่งอื่น ๆ เช่น ขึงมุ้ง เรียกว่า ราวมุ้ง ขึงม่าน เรียกว่า ราวม่าน,ไม้หรือโลหะเป็นต้น สำหรับพาดปักวางสิ่งต่าง ๆ เช่น ราวพระแสง ราวเทียน.
ลักซ่อน : ก. อาการที่คล้ายมีอะไรบางอย่างมาทำให้มองไม่เห็น หรือหาไม่พบ เชื่อกันว่าถูกผีลักไปซ่อนหรือผีบังตา.
ลับแล : น. เครื่องกั้นหรือบังตา เป็นแผงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขาตั้ง ขนาบ ๒ ข้าง ยกย้ายได้ มักตั้งต่อช่องประตูเข้าไป บังตาคนภาย นอกไม่ให้เห็นภายใน; ชื่อเมืองที่เร้นลับ ถือกันว่าจะพบได้ก็แต่ โดยบังเอิญ ถ้าตั้งใจไปไม่พบ.
ลูกรุ่ย : น. แก้วเป็นต้นที่ทําเป็นแท่งยาว ๆ คล้ายผลต้นรุ่ยสําหรับ ห้อยเป็นระย้า, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกรุ่ยชายผ้าม่าน.
ว่าวอน : (แบบ) ก. อ้อนวอน เช่น ผ่านม่านสุวรรณซึ่งกั้นกาง เห็นนางบรรทมอยู่ในที่ พี่เลี้ยงโลมไล้ไม่ไยดี มะเดหวีจึงเข้าไป ว่าวอน. (อิเหนา).
เวิก : ก. เลิก เปิด หรือแหวกแต่บางส่วน เช่น ผ้านุ่งเวิก เวิกม่าน.
สร้อยอินทนิล : น. ชื่อไม้เถาชนิด Thunbergia grandiflora Roxb. ในวงศ์ Acanthaceae ดอกสีฟ้าอมม่วงหรือขาว ออกเป็นพวงห้อยระย้า, ช่ออินทนิล หรือ ม่านอินทนิล ก็เรียก.
สลวย : [สะหฺลวย] ว. ลักษณะของเส้นผมที่ละเอียด อ่อนนุ่ม ทิ้งตัว และมีปลาย ช้อยงอนงาม เช่น ผมสลวยจัดทรงง่าย, ลักษณะชายผ้าที่ทิ้งตัวห้อยลง เช่น ผ้าม่านทิ้งชายห้อยสลวย.
แหวก : [แหฺวก] ก. แยกให้เป็นช่อง, แยกสิ่งที่ปิดบังหรือกีดขวางให้เป็นช่องทาง เช่น แหวกม่าน แหวกหญ้า แหวกผม; ฝ่าสิ่งที่กีดขวางเข้ามาหรือออกไป เช่น แหวกวงล้อมข้าศึก.
มาน ๑ : น. ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น มีถุงน้ำเกิดที่เยื่อบุ ช่องท้อง การอุดกั้นหลอดเลือดดำหรือทางเดินของน้ำเหลือง ตับแข็ง ลิ้นหัวใจพิการ ไตอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีน้ำสีเหลืองใสอยู่ในช่องท้อง อาจมีเพียงเล็กน้อยหรือมากถึง ๑๕-๒๐ ลิตร เป็นเหตุให้หน้าท้องโป่ง พองจนเห็นได้ชัด น้ำหนักเพิ่ม แน่นท้อง ท้องผูก เบื่ออาหาร หายใจ ลำบาก เท้าบวม เป็นต้น.
มาน ๓ : ก. มี เช่น มานพระบัณฑูร. (ข.).
มานทะลุน : น. โรคที่มีอาการบวมคล้ายโรคมาน แต่บวมทั่วทั้งตัว.
ซู่กั้นรั้วไซมาน : (โบ) น. กั้นซู่, กั้นซู่รั้วไซมาน ก็เรียก.
ตะเบ็งมาน : ว. วิธีห่มผ้าแถบแบบหนึ่ง โดยคาดผ้าอ้อมตัวแล้วเอาชายทั้ง ๒ ไขว้ไปผูกที่ต้นคอ, ตะแบงมาน ก็ว่า.
ตะแบงมาน : ว. วิธีห่มผ้าแถบแบบหนึ่ง โดยคาดผ้าอ้อมตัวแล้วเอาชายทั้ง ๒ ไขว้ ไปผูกที่ ต้นคอ, ตะเบ็งมาน ก็ว่า.
โพยมัน, โพยมาน : [พะโยมัน, พะโยมาน] น. โพยม, ท้องฟ้า, อากาศ. (ส.).
ท้องมาน : น. ชื่อโรคจําพวกหนึ่งมีอาการให้ท้องโตอย่างหญิงมีครรภ์.
บอระมาน : (โบ) น. กาว, แป้งเปียก.
กุมาร : [-มาน] น. เด็กชาย. (ป., ส. กุมาร ว่า เด็กชาย, ลูกหลวง); ชื่อกัณฑ์ที่ ๘ แห่งมหาเวสสันดรชาดก.
เกามาร : [-มาน] (โบ) น. กุมาร เช่น กูจะขอพระราชทานเกามารท้งงสองพระองค์. (ม. คําหลวง กุมาร).
มารคอหอย : [มาน-] (ปาก) น. ผู้ที่ขัดผลประโยชน์ที่ผู้อื่นจะพึงมีพึงได้.