Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ม้วย , then มวย, ม้วย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ม้วย, 73 found, display 1-50
  1. ม้วย : ก. ตาย, สิ้นสุด, วายวอด, มักใช้เข้าคู่กับคำ มอด เป็น ม้วยมอด หรือ มอดม้วย.
  2. มอด ๒ : ก. จวนจะดับ (ใช้แก่ไฟ); ตาย, มักใช้เข้าคู่กับคํา ม้วย เป็น มอดม้วย หรือ ม้วยมอด.
  3. ขาดกัน : ก. แยกจากกัน ไม่คบค้าสมาคมกันต่อไป เช่น แม้นมิยก พลไกรไปช่วย ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี อย่าดูทั้งเปลวอัคคี แต่วันนี้ ขาดกันจนบรรลัย. (อิเหนา).
  4. จ่อม ๒ : ก. หย่อนลง, วางลง, เช่น เอาเบ็ดไปจ่อม จ่อมก้นไม่ลง, จุ่มลง, จม, เช่น ปวงเทพเจ้าตกจม จ่อมม้วย. (โคลงตำนานศรีปราชญ์), จอด เช่น ใจจ่อมเจ้า; ฟุบ, หมอบ, (ใช้แก่สัตว์ เช่น โค กระบือ).
  5. มวย ๒ : น. ผมที่มุ่นขมวดให้เป็นกลุ่มเป็นกระจุกไว้ตรงท้ายทอยเป็นต้น เรียกว่า ผมมวย.
  6. แม้น ๑ : สัน. แม้ เช่น แม้นมิไปช่วยจะม้วยมอด ด้วยสังข์ทองไม่ถอดรูปเงาะป่า. (สังข์ทอง).
  7. วรรค : [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค).
  8. วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  9. มวย ๑ : น. การชกกันด้วยหมัดเป็นต้น.
  10. มวย ๓ : ว. หนึ่ง, เดียว. (ข.).
  11. มวยปล้ำ : น. กีฬาต่อสู้ด้วยมือเปล่าอย่างหนึ่ง คู่ต่อสู้ต้องพยายามทําให้อีกฝ่ายล้มลงจนไหล่ ด้านหลังทั้ง ๒ ข้างแตะพื้นตลอดช่วงเวลาที่กำหนดจึงจะเป็นฝ่ายชนะ.
  12. มวยสากล : น. กีฬาชกมวยบนเวทีที่มีกติกาห้ามคู่ชกใช้อวัยวะอื่นใดนอกจากหมัด.
  13. มวยหมู่ : น. การยกพวกเข้าชกต่อยกันอย่างชุลมุน.
  14. ล้มมวย : (สำ) ก. สมยอมหรือทำให้สมยอมกันในทางที่ไม่สุจริต.
  15. ยก ๒ : น. มาตราวัดไม้ คือ หน้ากว้าง ๑ ศอก ยาว ๑๖ วา หนา ๑ นิ้ว เป็น ๑ ยก ตามอัตราไม้นิ้ว; กําหนดเวลาระยะหนึ่ง ๆ หรือจํานวนหนึ่ง เช่น มวย ยกหนึ่งกำหนด ๒๓ นาที เฆี่ยนยกหนึ่งกำหนด ๓๐ ที; กระดาษ แผ่น หนึ่งขนาด ๓๑ x ๔๒ นิ้ว ถ้าพิมพ์ได้ ๔ หน้า เรียกว่า ขนาด ๔ หน้ายก ถ้าพิมพ์ได้ ๘ หน้า ๑๖ หน้า หรือ ๓๒ หน้า เรียกว่า ขนาด ๘ หน้ายก ๑๖ หน้ายก หรือ ๓๒ หน้ายก; กําหนดเวลาที่พระรูปหนึ่ง ๆ เทศน์ ๓ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เรียกว่า ยกหนึ่ง เป็นต้น.
  16. กรม ๒ : [กฺรม] (แบบ) น. ลําดับ เช่น จะเล่นโดยกรม. (สมุทรโฆษ). [ส.; ข. กฺรุํ (กฺรม) ว่า หมวด, หมู่, กอง; ครอบครัว เช่น มวยกฺรุํ = ครอบครัวหนึ่ง].
  17. กระดูกอ่อน : (สำ) ว. ที่ยังไม่มีความจัดเจนในการต่อสู้ เช่น นักมวยคนนี้กระดูกอ่อน ขึ้นชกครั้งแรกก็แพ้เขาแล้ว.
  18. กระสอบทราย : น. ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้าง ขนาดใหญ่ เดิมบรรจุทราย ปัจจุบันบรรจุด้วยขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของ นักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, (ปาก) ผู้ที่ถูกทำร้าย ร่างกายอย่างบอบช้ำ โดยที่ไม่มีทางหรือไม่กล้าต่อสู้ เช่น นักมวยฝ่ายน้ำเงินถูกนักมวยฝ่ายแดงถลุงเป็นกระสอบทราย.
  19. กะเอว : น. เอว เช่น ถวัดเท้าท่าเตะมวย ตึงเมื่อย หายฮา แก้กะเอวขดค้อม เข่าคู้โขยกโขยง. (จารึกวัดโพธิ์), สะเอว ก็ว่า.
  20. เกล้า : [เกฺล้า] น. หัว (ใช้เฉพาะในโวหารแสดงความเคารพอย่างสูง) เช่น มารดาบังเกิดเกล้า. ก. มุ่นผมให้เรียบร้อย เช่น เกล้าจุก เกล้ามวย.
  21. ขมอย : [ขะมอย] น. หลาน, ลูกหลาน, เช่น ขมอยเมือเฝือแฝกหญ้า ยุงชุมฉ่า ฝ่าเหลือบฝูง. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ข. กฺมวย ว่า หลาน, ลูกของพี่ หรือของน้อง).
  22. เข้าไส้ : (ปาก) ว. ถึงอกถึงใจ เช่น นักมวยคู่นี้ชกกันมันเข้าไส้; มากที่สุด เช่น เกลียดเข้าไส้.
  23. ไขลาน : (ปาก) ก. สั่ง, บอกให้ทํา, เช่น ต้องไขลานกันอยู่เรื่อย ไม่อย่างนั้น ไม่ทํา; หมดกําลัง, หมดแรง, เช่น พอขึ้นชกยกที่ ๕ นักมวยก็เริ่มไขลานแล้ว.
  24. คลี่ : [คฺลี่] ก. คลายสิ่งที่ม้วนหรือพับอยู่ เช่น คลี่ผ้า คลี่มวยผม, ทำให้แผ่ออก เช่น คลี่พัด คลี่ไพ่, ขยายออก เช่น ดอกไม้คลี่กลีบ.
  25. คาดเชือก : ก. เอาด้ายดิบพันมือเตรียมชกมวย, เตรียมต่อสู้, คาดหมัด ก็เรียก. น. เรียกการชกมวยแบบหนึ่งที่เอาด้ายดิบพันหมัดมาจนถึง ข้อศอกว่า มวยคาดเชือก.
  26. จดหมัด : ก. ตั้งท่ามวย.
  27. จุกพราหมณ์ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวชนิด Cymbiola nobilis ในวงศ์ Volutidae เปลือกหนารูปไข่ พื้นผิวด้านนอกมีลายเส้นหยักสีนํ้าตาลไหม้บนพื้น สีนํ้าตาลอ่อน ปลายยอดเป็นจุกม้วนเป็นวงเหมือนมวยผมของพราหมณ์.
  28. จุฑามณี : น. ปิ่น, ราชาศัพท์ว่า พระจุฑามณี; มวยผมของพระพุทธเจ้า; ชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์ เรียกว่า จุฑามณีเจดีย์, จุฬามณี ก็ว่า. (ส.; ป. จูฬามณี).
  29. จุฬามณี : น. ปิ่น; มวยผมของพระพุทธเจ้า; ชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุ พระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์ เรียกว่า จุฬามณีเจดีย์, จุฑามณี ก็ว่า. (ป.; ส. จูฑามณี).
  30. ฉมวย : [ฉะหฺมวย] (กลอน) ก. ฉวย, จับ; ได้. ว. แม่น, ขลัง.
  31. ชฎา : [ชะดา] น. เครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ, ผมที่เกล้าเป็นมวย สูงขึ้น. (ป., ส. ชฏา).
  32. ต่อย : ก. ชก เช่น ต่อยปาก, เอาของแข็งหรือของหนักตีหรือทุบให้ลิ ให้แตก ให้หลุดออก เช่น ต่อยหิน ต่อยมะพร้าว; ใช้เหล็กในที่ก้นแทงเอา เช่น ผึ้งต่อย มดตะนอยต่อย; โดยปริยายหมายความว่า ทําให้แตก เช่น เด็กเอาจานไปต่อยเสียแล้ว. น. ชื่อ เพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ต่อย เช่น ต่อยมวย ต่อยรูป.
  33. ถลุง : [ถะหฺลุง] ก. ใช้ความร้อนสุมสินแร่เพื่อไล่ขี้แร่ออกเอาไว้แต่เนื้อ โลหะ; (ปาก) โดยปริยายใช้ในความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่ข้อความ แวดล้อม เช่น ถลุงเงินเสียเรียบ หมายถึง ผลาญเงิน นักมวยถูกถลุง เสียยํ่าแย่ หมายถึง ถูกเตะต่อยเสียยํ่าแย่ เอารถยนต์ไปถลุงเสียยับเยิน หมายถึง เอาไปใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย.
  34. ทนายเลือก : (โบ) น. นักมวยสําหรับป้องกันพระเจ้าแผ่นดิน; ชื่อกรมกรมหนึ่งมีหน้าที่กํากับมวย.
  35. ท่า ๒ : น. ลักษณะท่วงทีของร่างกายที่อยู่นิ่ง ๆ ในบางอิริยาบถ เช่น ท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน; การแสดงกิริยายกมือยกเท้าเป็นต้นตามกําหนดเป็น วิธีไว้ เช่น ท่ามวย ท่ารํา; ชั้นเชิง, ท่วงที, วิธี, เช่น พลาดท่า ได้ท่า เสียท่า.
  36. เทพนม : [เทบพะนม] น. ชื่อรูปหรือลายมีเทวดาประนมมือ; ชื่อท่ามวย ท่าหนึ่ง, ชื่อท่ารําท่าหนึ่ง.
  37. ผละ : [ผฺละ] ก. แยกออก เช่น นักมวยชกแล้วผละออก, ละทิ้งไปโดย กะทันหัน เช่น ผละไปจากการประชุม.
  38. พรหมสี่หน้า : [พฺรม] น. ชื่อกระบวนมวยท่าหนึ่ง, ชื่อกระบวนรํา ท่าหนึ่ง.
  39. พากย์ : ก. พูดแทนผู้แสดงหรือตามบทบาทของผู้แสดงโขน หนัง หรือ ภาพยนตร์ เป็นต้น เช่น พากย์โขน พากย์หนังตะลุง พากย์หนัง ใหญ่ พากย์ภาพยนตร์, บรรยายถ่ายทอดในการแข่งขันกีฬาหรือ การแสดงบางอย่าง เช่น พากย์มวย พากย์ฟุตบอล, กล่าวเรื่องราว เป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนเล่นหนัง. น. คําพูด, ภาษา; คํากล่าว เรื่องราวเป็นทํานองเมื่อเวลาแสดงโขนหรือหนังใหญ่เป็นต้น, บทพากย์ ก็ว่า. (ป., ส. วากฺย).
  40. พี่เลี้ยง : น. ผู้มีหน้าที่เลี้ยงดูเด็ก; ผู้ทำหน้าที่ดูแล ให้คำปรึกษา หรือช่วยเหลือเป็นต้น เช่น พี่เลี้ยงนักมวย พี่เลี้ยงผู้เข้าประกวด.
  41. แพ้แรง : ว. เสียกําลัง, หมดแรง เช่น ทำงานหนักจนแพ้แรง; สู้แรง ไม่ได้ เช่นนักมวยฝ่ายน้ำเงินสู้ฝ่ายแดงไม่ได้เพราะแพ้แรง.
  42. แฟน : (ปาก) น. ผู้นิยมชมชอบ เช่น แฟนเพลง แฟนภาพยนตร์ แฟนมวย, ผู้เป็นที่ชอบพอรักใคร่, คู่รัก, สามีหรือภรรยา.
  43. มัลละ : [มันละ] น. นักมวย, มวยปลํ้า. (ป., ส.).
  44. มุ่น : ก. ขมวด (ใช้แก่มวยผม) เช่น มุ่นมวยผม มุ่นพระเมาลี; กังวลอยู่; (กลอน) เกลี้ยงเกลา, อ่อนนุ่ม. น. เรียกเงินแท่งชนิดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นเงินเนื้อดีว่า เงินมุ่น.
  45. แม่ไม้ : น. ท่ารำและท่าต่อสู้ที่เป็นหลักในวิชากระบี่กระบองหรือมวย.
  46. ไม้เด็ด, ไม้ตาย : น. ท่าสําคัญในการต่อสู้กระบี่กระบองหรือมวยซึ่งทําให้ฝ่ายปรปักษ์ ไม่สามารถจะสู้ได้อีก, ตรงข้ามกับ ไม้เป็น, โดยปริยายหมายถึงวิธีการที่จะเอาชนะ ศัตรูได้ เช่น เขาใช้ไม้ตาย เขามีไม้ตาย.
  47. ไม้เป็น : น. ท่าสําคัญของกระบี่กระบองหรือมวยในการป้องกันตัวโดยใช้ปฏิภาณ ไหวพริบแก้ไขให้พ้นภัยจากปรปักษ์เมื่อคราวเข้าที่คับขัน, ตรงข้ามกับ ไม้เด็ด หรือ ไม้ตาย.
  48. ย่างสามขุม : น. ท่าเดินเข้าหาคู่ต่อสู้หรือถอยจากคู่ต่อสู้ของนักมวย นักกระบี่กระบองเป็นต้น โดยเดินก้าวย่างเป็นสลับฟันปลา มีตำแหน่ง วางเท้าเป็น ๓ เส้า.
  49. รุ่น : น. วัยของคนที่ถืออายุเป็นเครื่องกำหนด เช่น รุ่นเด็ก รุ่นหนุ่ม รุ่นสาว รุ่นน้อง, สมัยของคนที่ใช้หลักใดหลักหนึ่งเป็นต้นว่า ปีการศึกษา น้ำหนัก เป็นเครื่องกำหนด เช่น นิสิตรุ่นแรก บัณฑิตรุ่นที่ ๒ นักมวย รุ่นฟลายเวท, คราวหรือสมัยแห่งสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดหรือผลิตขึ้นเป็น ระยะ ๆ เช่น มะม่วงออกผลรุ่นแรก รถยนต์คันนี้เป็นรุ่นล่าสุด; กิ่งไม้ ที่แตกออกมาใหม่ อ้วน งาม เรียกว่า รุ่นไม้. ว. เพิ่งเป็นหนุ่มเป็นสาว, เพิ่งแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว, เช่น วัยรุ่น.
  50. รุ่ยร่าย : ว. ตก ๆ หล่น ๆ เช่น หอบของมารุ่ยร่าย, เก็บไม่เรียบร้อย เช่น ผมมวยเก็บไม่หมดดูรุ่ยร่าย.
  51. [1-50] | 51-73

(0.0651 sec)