ยัด : ก. บรรจุหรือใส่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยอัดดันหรือผลักดันเข้าไป เช่น ยัดที่นอน, บรรจุหรือใส่สิ่งที่ระบุไว้ด้วยอาการเช่นนั้น เช่น ยัดนุ่น ยัดกระสอบ ยัดเข้า ห้องขัง, โดยปริยายหมายถึงบรรจุ ใส่ หรือ ให้ โดยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเงินยัดให้เป็นสินบน ยัดความรู้ที่ให้โทษเข้าไปในสมอง; (ปาก) ใช้ แทนคําว่า กิน (ใช้ในลักษณะกินอย่างตะกรุมตะกราม ถือว่าเป็นคำหยาบ).
ยัดข้อหา : ก. ยัดความผิดให้แล้วตั้งข้อหา.
ยัดทะนาน : ก. เบียดกันแน่น, อัดกันแน่น, เช่น คนแน่นเหมือนแป้ง ยัดทะนาน.
ยัดไส้ : ว. ที่มีสิ่งอื่นบรรจุอยู่ข้างใน เช่น เป็ดยัดไส้. ก. สอดของปลอม ไว้ข้างใน เช่น ธนบัตรยัดไส้.
ยัดปาก : ก. อ้างว่าเป็นคำพูดของผู้ใดผู้หนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่.
ยัดพลุ : ก. ใส่ดินพลุลงในกระบอกพลุแล้วตอกให้แน่น.
ไข่ยัดไส้ : น. ไข่กรอกในกระทะให้บาง แล้วห่อไส้หมูสับผัดน้ำมันให้สุก ปรุงรสเค็มหวาน.
เยียดยัด : ก. ยัดเยียด.
ยัดเยียด : ก. เบียดกันแน่น, แออัดกันแน่น, เช่น คนเบียดเสียดยัดเยียดกัน; ขืนหรือแค่นให้โดยผู้รับไม่เต็มใจรับ เช่น ยัดเยียดขายให้, เยียดยัด ก็ว่า, ใช้เพียง ยัด คําเดียวก็มี.
ระยัด : (กลอน) ก. ยัด.
ยัชโญปวีต : [ยัดโยปะวีด] น. สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สวมจากซ้ายไปขวา, สายมงคล สายธุรํา หรือ สายธุหรํ่าของพราหมณ์ ก็เรียก, เพี้ยนเป็น ยัชโญปิวีต ก็มี. (ส.).
ยัชนะ : [ยัดชะนะ] น. พิธีจําพวกหนึ่งสําหรับบูชาเทวดาโดยสวดมนตร์และถวาย เครื่องเซ่นสังเวย. (ป., ส.).
ยัชมาน : [ยัดชะ] น. เจ้าภาพ. (ส.).
ยัฐิ ๑ : [ยัดถิ] น. ไม้เท้า. (ป. ยฏ??; ส. ยษฺฏิ)
ยัฐิ ๒ : [ยัดถิ] น. ชื่อมาตราวัดความยาวของอินเดียโบราณ เท่ากับ ๑ วา ๑ ศอก, ๒๐ ยัฐิ เป็น ๑ อุสภ.
ยัฐิมธุกา : [ยัดถิมะทุกา] น. ชะเอมเครือ. (ป. ยฏฺ??มธุกา).
ยัติภังค์ :
[ยัดติ] ดู ยติภังค์ ที่ ยติ๒.
ยัษฏิ : [ยัดสะติ] น. ไม้เท้า. (ส.; ป. ยฏฺ??).
แก๊ป : น. ชื่อหมวกของทหารตํารวจหรือข้าราชการพลเรือนเป็นต้น ที่มีกะบังหน้า เรียกว่า หมวกแก๊ป; เครื่องที่ทําให้ระเบิดเป็น ประกายติดดินปืน เดิมมีรูปเหมือนหมวกแก๊ปแต่ไม่มีกะบังปิดหน้า; ชื่อปืนชนิดหนึ่ง มีนกสับ ใช้ยัดกระสุนและดินปืนทางปาก และสับแก๊ป เรียกว่า ปืนแก๊ป. (อ. cap).
ง้าว ๒ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Bombax anceps Pierre var. cambodiense Robyns ในวงศ์ Bombacaceae ต้นคล้ายต้นงิ้วแต่เปลือกสีเทาดํา ดอกสีแดงคลํ้า ในผลมีปุยขาวใช้ยัดหมอนและที่นอนเป็นต้น.
ซุก : ก. หมกซ่อนหรือยัดแทรกไว้ในที่มิดชิดเช่นตามซอกตามมุม.
แดก ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. เรียกปลาที่หมักใส่เกลือโขลกปนกับรําแล้วยัดใส่ไหว่า ปลาแดก, ปลาร้า.
ตะเพรา : [-เพฺรา] น. ไม้ขอสําหรับเกี่ยวให้เรือเข้าหรือคํ้าไม่ให้เรือชนกัน เรียกว่า ขอตะเพรา; ลูกกลม ๆ ที่ถักด้วยหวายแล้วยัดด้วยกาบมะพร้าวเป็นต้น แขวนไว้ข้างเรือเพื่อกัน กระแทกเรียกว่า ลูกตะเพรา.
ทองพลุ : น. ขนมแป้งทอดชนิดหนึ่ง ทอดเป็นก้อนกลมแล้วผ่ายัดไส้ภายหลัง, โบราณเรียก ท้องพลุ. (ปาเลกัว).
น้ำตับ : (ถิ่นอีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือ และเครื่องปรุง ขยําให้เข้ากันแล้วยัดใน ไส้หมู, หมํ้า หรือ หมํ้าตับ ก็เรียก.
นิยัตินิยม : [นิยัดติ] น. ลัทธิความเชื่อที่ว่า การกระทําทุกอย่างของมนุษย์หรือ เหตุการณ์ทั้งหลายได้ถูกกําหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว. (อ. determinism).
บัญญัติ : [บันหฺยัด] น. ข้อความที่ตราหรือกําหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็น หลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ
บัญญัติ : [ปันหฺยัด] (แบบ) ก. บัญญัติ. (ป.).
เบาะ ๑ : น. เครื่องรองรับซึ่งมีลักษณะนุ่ม เช่น เบาะยัดนุ่น เบาะรองนั่ง เบาะ สําหรับเด็กนอน.
ประดอน : ก. อุดหรือยัดปิดรูไว้.
ปริยัติ : [ปะริยัด] น. การเล่าเรียนพระไตรปิฎก. (ป. ปริยตฺติ).
ปริยัติธรรม : [ปะริยัดติทํา] น. ธรรมที่จะต้องเล่าเรียนได้แก่ พระไตรปิฎก.
พนัง : น. ทํานบกั้นนํ้าอย่างใหญ่; เครื่องกั้นเครื่องกําบัง เช่น พนังม้า คือแผ่นหนังสำหรับปิดข้างม้าทั้ง ๒ ข้าง พนังที่นอน คือแผ่นผ้า ที่เย็บปิดกั้นรอบข้างที่นอนหรือกั้นภายในที่นอนให้เป็นช่อง ๆ เพื่อยัดนุ่นเป็นลูก ๆ พนังหมอน คือแผ่นผ้าที่เย็บปิดกั้นรอบ หมอน.
พยัชน์ : [พะยัด] น. พัด. (ส. วฺยชน).
พยัต : [พะยัด] น. ผู้เรียน, ผู้รู้. ว. ฉลาด, เฉียบแหลม. (ป. พฺยตฺต, วฺยตฺต; ส. วฺยกฺต).
ฟูก : น. ที่นอนที่ยัดด้วยนุ่นเป็นต้น มักทำเป็นลูกฟูก.
มัธยัสถ์ : [มัดทะยัด] ก. ใช้จ่ายอย่างประหยัด. (ส. มธฺยสฺถ ว่า ปานกลาง, ตั้งอยู่ในท่ามกลาง).
เมาะ ๑ : น. ที่นอนทําคล้ายฟูก แต่ยัดนุ่นหลวม ๆ สําหรับเด็ก.
ยะ ๑ : คําประกอบข้างหน้าคําที่ตั้งต้นด้วย ย ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียว กับคําเดิมนั้น เช่น ยะยอง ยะยั่ง ยะยัด ยะย้อย ยะย้าย.
ลูกตะเพรา : น. ลูกกลม ๆ ที่ถักด้วยหวายแล้วยัดด้วยกาบมะพร้าว เป็นต้น แขวนไว้ข้างเรือเพื่อกันกระแทก.
ลูกปราย : น. ลูกตะกั่วหรือลูกเหล็กเล็ก ๆ สําหรับยัดใส่ในลํากล้อง ปืนครั้งละหลายลูก เมื่อยิงไปครั้งหนึ่ง ๆ ลูกจะกระจายไป, กระสุน ปืนชนิดที่มีลูกตะกั่วหรือลูกเหล็กเล็ก ๆ หลาย ๆ ลูกผสมปนอยู่กับ ดินปืนในนัดเดียวกัน เวลายิงจะกระจายออก เช่น ปืนลูกซองใช้ กระสุนลูกปราย.
ลูกปืน : น. ลูกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ยัดใส่ในลํากล้องปืนแล้วยิง, กระสุนที่บรรจุในลํากล้องปืนสําหรับยิง ประกอบด้วยปลอกโลหะ ตรงปลายด้านหนึ่งมีหัวกระสุนโลหะ ถ้าเป็นปืนลูกซอง ปลอกทํา ด้วยกระดาษแข็ง ไม่มีหัวกระสุน แต่มีลูกปรายหลายลูกอยู่ภายใน ทั้ง ๒ ชนิดมีดินปืนอยู่ตรงกลางและมีเชื้อปะทุอยู่ก้นปลอก, กระสุน ปืน; ลูกเหล็กที่มีลักษณะกลม ทรงกระบอก หรือทรงกรวย ใส่ใน ตลับรองเพลาเครื่องจักรเป็นต้น เพื่อให้หมุนหรือเคลื่อนไปได้คล่อง.
วิญญัตติ : [วินยัดติ] น. การขอร้อง, การบอกกล่าว, การชี้แจง, รายงาน. (ป.; ส. วิชฺ?ปฺติ).
หมัน ๑ : น. ด้ายดิบเป็นต้นที่ใช้คลุกกับชัน นํ้ามันยาง สําหรับยัดแนวเรือ.
หม้ำ, หม้ำตับ : (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือและเครื่องหอมขยําให้เข้ากันแล้วยัดในไส้หมู, นํ้าตับ ก็เรียก.
อย, อยัส : [อะยะ, อะยัด] น. เหล็ก. (ป. อย; ส. อยสฺ).
อัด ๑ : ก. ดันลมเข้าไป เช่น อัดลูกโป่ง, ยัดให้แน่น เช่น อัดดินปืน, ประกับ ให้แน่น เช่น อัดพื้นให้ชิด, ทำให้แน่น เช่น อัดกันอยู่ในรถ, บีบ เช่น อัดใบลาน; กลั้น, กลั้นหายใจ, เช่น อัดลมหายใจ.
ยศ : [ยด] น. ความยกย่องนับถือเกียรติของตน, เกียรติคุณ, ฐานันดรที่ พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีสูง ต่ำตามลำดับกันไป; เครื่องหมายพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ผู้มีฐานันดร มีสูงต่ำตามลำดับกันไป, เครื่องกําหนดหมายฐานะหรือชั้นของบุคคล. ว. ที่แสดงฐานะหรือชั้น เช่น พัดยศ. (ส.; ป. ยส).
นิยต, นิยต : [ยด, ยะตะ] (แบบ) ก. กําหนด เช่น พระพเนจรจรหลํ่า ได้หลายคํ่า หลายวัน ถึงแดนอันจะนิยต. (ลอ). (แบบ) ว. เที่ยง, แท้, แน่. (ป., ส.); (การศึกษา) ตระหนักแน่, เป็นที่ยอมรับ, เชิงสร้างสรรค์, ทางบวก. (อ. positive).