Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยั่วโมโห, โมโห, ยั่ว , then มห, โมห, โมหะ, โมโห, ยว, ยวมห, ยั่ว, ยั่วโมโห .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยั่วโมโห, 41 found, display 1-41
  1. ยั่ว : (โบ) น. ยาน, เครื่องพาตัวไป, เช่น วอ เสลี่ยง รถ, บางทีใช้ควบกับคํา ยาน เป็น ยั่วยาน, ต่อมาใช้เลือนเป็น ยวดยาน. ก. พูดหรือทําให้เกิดอารมณ์ใน ทางใดทางหนึ่งรุนแรงขึ้น เช่น ยั่วราคะ ยั่วโทสะ ยั่วโมโห ยั่วกิเลส.
  2. โมโห : ก. โกรธ.
  3. ยั่วยุ : ก. ยุให้เกิดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
  4. โมห-, โมหะ : [-หะ-] น. ความหลง, ความเขลา, ความโง่, ที่ใช้ว่า โม่ห์ หรือ เมาห์ ก็มี. (ป., ส.).
  5. แม่ยั่วเมือง : (โบ) น. คําเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ, เขียนว่า แม่หยั่วเมือง หรือ แม่อยั่วเมือง ก็มี.
  6. แม่หยั่วเมือง : (โบ) น. คําเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ, เขียนว่า แม่ยั่วเมือง หรือ แม่อยั่วเมือง ก็มี.
  7. แม่อยั่วเมือง : (โบ) น. คำเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ, เขียนว่า แม่ยั่วเมือง หรือ แม่หยั่วเมือง ก็มี.
  8. ยั่วเมือง : (โบ) ว. คําเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณว่า แม่หยั่วเมือง, เขียนว่า อยั่วเมือง หรือ ยั่วเมือง ก็มี.
  9. จรุง, จรูง : [จะรุง, จะรูง] (กลอน) ก. จูง, ชักชวน, เช่น ปลดยากพรากทุกข์ยุคเขิน จรุงราษฎร์ดำเนินสู่ศุขสวัสดีโดยไว. (ดุษฎีสังเวย); ยั่ว เช่น จรุงใจ; กรุ่น, อบอวล, ชื่น, เช่น จรุงกลิ่นแก้มน้องแก้ว ไป่วาย. (กำสรวล).
  10. เลือดขึ้นหน้า : (สำ) ก. โกรธมากจนหน้าแดง, โมโห.
  11. ยวน ๒ : ก. ยั่ว, ล่อ, ชวนให้เพลิน, ชวนให้ยินดี, เช่น ยวนตา ยวนใจ; ก่อกวนให้ เกิดกิเลสหรือโทสะ.
  12. โมหันธ์ : ดู โมห-, โมหะ.
  13. โมหาคติ : ดู โมห-, โมหะ.
  14. กรรหาย : [กัน-] (โบ; กลอน) ก. อยากได้, หิวโหย, เช่น กามกรรหายยั่วข้าง. (ลอ), ให้หยุดพลพักร้อน กรรหายผ่อนเอาทับ. (นิ. พลเสพย์).
  15. ดับ ๑ : ก. สูญสิ้นไป เช่น วิญญาณดับ อนาคตดับ, สิ้นแสง เช่น ไฟดับ เดือนดับ, ทําให้สิ้นแสง เช่น ดับไฟ, ทําให้สิ้น เช่น ดับกิเลส ดับทุกข์, ทําให้ระงับ เช่น ดับโทสะ ดับโมโห, หยุดหรือทําให้หยุด เช่น เครื่องดับ ดับเครื่อง; เรียกวันสิ้นเดือนตามจันทรคติว่า วันดับ.
  16. ตอแย : ก. ยั่วให้เกิดความรําคาญหรือให้โกรธ, สนใจ, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น อย่าไปตอแยด้วย.
  17. บ้าลำโพ : ง ว. บ้าเพราะกินเมล็ดลําโพง มีอาการซึมหรือพูดพล่าม, โดยปริยายหมายความว่า พูดโผงผาง ตึงตัง หรือแสดงกิริยาโมโห โกรธา เช่น พูดจาบ้าลําโพงโป้งไป. (คาวี), ทําโมโหโกรธาบ้า ลําโพง เที่ยวโป้งโหยงหยาบช้าสาธารณ์. (พิเภกสอนบุตร).
  18. รังหยาว : ก. รบกวนให้โกรธ เช่น ลางคนจับตะขาบมาเด็ดเขี้ยว เที่ยวทิ้งโรงหนัง ทํารังหยาว. (อิเหนา), (ถิ่น–ปักษ์ใต้) โมโห, โกรธ.
  19. เลือดเดือด : ว. โมโหฉุนเฉียวขึ้นมาทันทีทันใด.
  20. เลือดพล่าน : ว. โมโหฉุนเฉียวอย่างรุนแรง.
  21. เลือดร้อน : ว. โกรธง่าย, โมโหง่าย.
  22. สะใจ : ว. หนําใจ, สาแก่ใจ, สมใจอยาก, เช่น อยากกินหูฉลามมานานแล้ว วันนี้ต้องกินให้สะใจเสียที เขาโมโหน้องมาก เลยตีเสียสะใจ.
  23. หยาว : ก. ยั่วให้รําคาญ, ยั่วให้โกรธ.
  24. เหยา : [เหฺยา] ก. ยั่วให้โกรธ.
  25. โม่ห์ : น. โมหะ.
  26. มหันต-, มหันต์ : [มะหันตะ-, มะหัน] ว. ใหญ่, มาก, เช่น โทษมหันต์. (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์อื่น เป็น มห บ้าง มหา บ้าง เช่น มหัคฆภัณฑ์ คือ สิ่งของที่มีค่ามาก, มหาชน คือ ชนจำนวนมาก). (ป.).
  27. มหา ๑ : ว. ใหญ่, ยิ่งใหญ่, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส บางทีก็ลดรูปเป็น มห เช่น มหรรณพ มหัทธนะ มหัศจรรย์.
  28. เมาห์ : น. โมหะ.
  29. โมหันธ์ : น. ความมืดมนด้วยความหลง. (ป. โมห + อนฺธ).
  30. โมหาคติ : น. ความลําเอียงเพราะความเขลา เป็นอคติ ๑ ในอคติ ๔ ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ. (ป. โมห + อคติ).
  31. ยวะ, ยวา : [ยะวะ, ยะวา] น. ข้าว, ข้าวเหนียว. (ป., ส. ยว ว่า ข้าวบาร์เลย์ เมล็ดคล้าย ลูกเดือย).
  32. อกุศลมูล : [อะกุสนละมูน] น. รากเหง้าแห่งความชั่ว มี ๓ อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ.
  33. เกรี้ยว, เกรี้ยว ๆ : [เกฺรี้ยว] ว. อาการที่แสดงความเดือดดาลหรือโกรธมาก เช่น อนิจจามาร้องอยู่เกรี้ยว ๆ. (มโนห์รา).
  34. เกลี่ยวดำ : [เกฺลี่ยว-] น. โรคเปลี่ยวดํา.
  35. เปรี้ยว : [เปฺรี้ยว] ว. มีรสอย่างหนึ่งอย่างรสมะนาวเป็นต้น, มีกลิ่นหรือรส ออย่างาหารบูดหรืออาหารเสีย; (ปาก) มีลักษณะปราดเปรียว ทันสมัย อิสระ มั่นใจ ชอบการคบหาสมาคม (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น ผู้หญิงคนนี้เปรี้ยว, เรียกลักษณะการแต่งกายของผู้หญิงที่แต่งตัว สีฉูดฉาด รัดรูป เป็นต้นว่า แต่งตัวเปรี้ยว.
  36. เปลี่ยว ๑ : [เปฺลี่ยว] น. เรียกเนื้อที่นูนขึ้นที่คอวัวควายและสัตว์มีกีบเมื่อ เวลาหนุ่ม, ความหนุ่มของวัวควาย. ว. หนุ่ม (ใช้แก่วัวควาย).
  37. ฝังเข็ม : ก. เอาเข็มที่ทำเป็นพิเศษชะโลมน้ำมันมนตร์ วางบนแขน ให้ปลายจิ้มลงในเนื้อ แล้วเสกให้ค่อย ๆ เข้าไปในแขนโดยเชื่อว่า เพื่อให้อยู่ยงคงกระพัน; วิธีการรักษาโรคแบบหนึ่งตามตำราแพทย์ จีนโดยใช้เข็มปักลงตามตำแหน่งจุดต่าง ๆ เพื่อรักษาโรคหรือ ไม่ให้ รู้สึกเจ็บเวลาผ่าตัด.
  38. ไฟกิเลส : น. กิเลสที่เปรียบเสมือนไฟเพราะทำให้จิตใจเร่าร้อน ได้แก่ ราคะโทสะ และโมหะ.
  39. วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
  40. หน่วงเหนี่ยว : [หฺน่วงเหฺนี่ยว] ก. รั้งตัวไว้, ดึงถ่วงไว้, กักไว้, เช่น เจ้าหน้าที่ หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ต้องหา.
  41. อนุสัย : น. กิเลสที่สงบนิ่งอยู่ในสันดาน, กิเลสอย่างละเอียด มี ๗ อย่าง ได้แก่ ๑. กามราคะ = ความกำหนัดในกาม ๒. ปฏิฆะ = ความ ขัดใจคือโทสะ ๓. ทิฏฐิ = ความเห็นผิด ๔. วิจิกิจฉา = ความลังเล สงสัย ๕. มานะ = ความถือตัว ๖. ภวราคะ = ความกำหนัดในภพ ๗. อวิชชา = ความไม่รู้แจ้งคือโมหะ. (ป. อนุสย; ส. อนุศย).
  42. [1-41]

(0.1179 sec)