Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยั้ง , then ยง, ยั้ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยั้ง, 154 found, display 1-50
  1. ยั้ง : ก. หยุด เช่น ตีไม่ยั้ง กินไม่ยั้ง ยั้งไม่ทัน ลื่นยั้งไม่อยู่, หยุดพักชั่วคราว เช่น ยั้งทัพอยู่ที่นครสวรรค์ ๓ คืน แล้วจึงเดินทัพต่อไป, ชะงักชั่วคราว เช่น ยั้งคิด ยั้งมือ, รั้ง เช่น ยั้งไม่หยุด, ขยัก เช่น อย่าใช้เงินจนหมด ยั้งไว้บ้าง.
  2. ระยัง : (กลอน) ก. ยัง, อยู่; ยั้ง.
  3. ระยั้ง : (กลอน) ก. หยุด, ยั้ง.
  4. ห้ามล้อ : ก. ยั้ง. น. กลอุปกรณ์ชนิดหนึ่งใช้สําหรับลดความเร็วแห่งการหมุน ของล้อรถ.
  5. อั้น : ก. ยั้ง เช่น พูดไม่อั้น, กลั้น เช่น อั้นปัสสาวะ อั้นลมหายใจ, อัดไว้ เช่น อั้นไว้ในใจ; กําหนด เช่น จ่ายไม่อั้น; กําหนดจํานวนสูงสุด เช่น อั้น ๕ บาท แทงไม่อั้น (ใช้แก่การพนัน); (โบ) กั้น เช่น อั้น ทางน้ำไว้ไม่ให้ไหล. ว. อาการที่นิ่งอึ้ง พูดไม่ออก, มักใช้เข้าคู่ กับคำ นิ่ง เป็น นิ่งอั้น.
  6. กระป๋อหลอ : ว. เหลอ (ใช้แก่หน้า) เช่น ก็หยุดยั้งนั่งหน้ากระป๋อหลอ. (มณีพิชัย).
  7. ขีน : ก. ยั้งไว้หรือบังคับไว้ไม่ให้เป็นไปตาม เช่น ขืนตัว ขืนเรือ; ไม่ควรทํา แต่ยังกล้าทํา เช่น ขืนกิน ขืนสู้, ไม่ยอมทําตาม เช่น ขืนคําสั่ง.
  8. ใจเบา : ว. ไม่ยั้งคิด, เชื่อง่าย.
  9. ซัลฟา : น. ชื่อยาประเภทหนึ่ง เป็นสารอินทรียสังเคราะห์ ประเภทอนุพันธ์ ของกรดซัลฟานิลิก เช่น ซัลฟาไดอะซีน ซัลฟากัวนิดีน มีสมบัติ หยุดยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย. (อ. sulpha).
  10. บ้าบิ่น ๑ : ว. มุทะลุ, หุนหันพลันแล่น, อวดกล้าทําการอย่างไม่มี สติยั้งคิด, บิ่น ก็ว่า.
  11. ปากเบา : ก. พูดได้เร็ว (ใช้แก่เด็กที่สอนพูด); พูดโดยไม่ยั้งคิด. น. เรียกยุงที่กัดไม่ค่อยจะรู้สึกเจ็บว่า ยุงปากเบา.
  12. ปากไม่มีหูรูด : ว. ที่พูดพล่าม พูดพล่อย หรือพูดโดยไม่ยั้งคิดเสียก่อน ว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด.
  13. มุทะลุ : ก. หุนหันพลันแล่น, โกรธแล้วทําลงไปอย่างไม่คํานึงถึงเหตุผลหรือ ไม่ยับยั้ง. ว. มีนิสัยดุดัน ชอบทำอะไรอย่างหุนหันพลันแล่นหรือ โดยขาดสติปราศจากความยั้งคิด.
  14. ยง ๒ : ว. ยั่งยืน, มั่นคง, คงทน, ยืนนาน, เช่น อยู่ยงคงกระพัน ยืนยง.
  15. ยง ๓ : ว. กล้าหาญ เช่น ยงยุทธ์ เยี่ยมยง, เก่งกล้าสามารถ เช่น ตัวยง.
  16. ลูกติดพัน : ว. อาการที่เป็นไปต่อเนื่องโดยไม่เจตนาหรือยั้งไม่ทัน เช่น นักมวยเตะคู่ต่อสู้ที่กำลังล้มลงเป็นลูกติดพัน.
  17. หัวซุกหัวซุน : ว. อาการที่หลบหนีอย่างรีบร้อนโดยไม่หยุดยั้ง เช่น ผู้ร้าย หนีตำรวจหัวซุกหัวซุน.
  18. หุนหัน : ว. ไม่ยั้งใจ, ไม่รั้งรอ, ใจเร็ว.
  19. หุนหันพลันแล่น : น. ด่วนทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไปโดยไม่ยั้งคิดด้วยความโกรธ ความโลภ เป็นต้น.
  20. หูรูด : น. รูที่ร้อยเชือกสําหรับชักปากถุงเป็นต้นให้ติดกัน; ปากช่องทวาร หนักที่กล้ามเนื้อรัดตัวเข้ามาคล้ายปากถุงที่รูด, โดยปริยายเรียกผู้ที่พูดพล่าม พูดพล่อย หรือพูดโดยไม่ยั้งคิดเสียก่อนว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด ว่า ปากไม่มีหูรูด.
  21. อดใจ : ก. ยั้งใจ.
  22. ยง ๑ : ว. อร่ามเรือง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น โฉมยง ยุพยง.
  23. เกาเหลียง ๑ : [-เหฺลียง] น. ชื่อเหล้าจีนชนิดหนึ่ง. (จ.).
  24. เกาเหลียง ๒ : [-เหฺลียง] น. ชื่อดินชนิดหนึ่ง ใช้ปั้นทําเครื่องเคลือบดินเผาได้ดี, ดินเกาลิน ก็เรียก. (จ.).
  25. เฉลี่ยง : [ฉะเหฺลี่ยง] น. ยาน, คานหาม, โดยมากใช้ว่า เสลี่ยง.
  26. เยียรยง : [เยียระยง] (กลอน) ว. งามยิ่ง, งามเพริศพริ้ง, ใช้ว่า เยีย ก็มี.
  27. เหนี่ยง : [เหฺนี่ยง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Hydrophilus bilineatus ในวงศ์ Hydrophilidae ลําตัวรูปไข่ แบนเล็กน้อย ตัวยาวประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร สีดําตลอดตัว มีหนามแหลมที่ด้านล่าง ของอกยาวยื่นไปถึงส่วนท้อง อาศัยอยู่ตามแหล่งนํ้าต่าง ๆ, โดยปริยาย ใช้เรียกผู้ที่มีผิวดำคล้ำโดยธรรมชาติหรือเพราะถูกแดดถูกลมมากว่า ตัวดำเป็นเหนี่ยง.
  28. กระเจี้ยง : น. ชื่อกล้วยไม้อิงอาศัยชนิด Epigeneium amplum (Lindl.) Summerh. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกใหญ่ ทั้งกลีบนอกและกลีบในสีเหลือง ประแดง, เอื้องศรีเที่ยง ก็เรียก.
  29. แขยงแขงขน : ก. สะอิดสะเอียนจนขนลุก.
  30. บานเบียง, บานแบะ : (ปาก) ว. มากมาย.
  31. ยงโย่ยงหยก : ก. กิริยาที่จะยืนก็ไม่ใช่จะนั่งก็ไม่เชิง.
  32. ยิ่ง : ว. ถ้าอยู่ข้างหลัง หมายความว่า เป็นยอด, ที่สุด, เช่น งามยิ่ง ดียิ่ง, ถ้าอยู่ ข้างหน้า ใช้ในเชิงเปรียบเทียบหมายความว่า เกิน, ลํ้า, เพิ่มขึ้น, เจริญขึ้น, มากขึ้น, ฯลฯ เช่น ยิ่งงาม ยิ่งดี, ถ้าประกอบหน้าคำอื่นมักมาเป็นคู่กันเสมอ เช่น ยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งตียิ่งกัด ยิ่งแก่ยิ่งโง่ ยิ่งโตยิ่งเซ่อ.
  33. ยุ่ง : ว. อาการของสิ่งที่เป็นเส้นเป็นฝอยสับสนพัวพันกันถึงกับต้องสางจึง จะเป็นระเบียบเรียบร้อยได้ เช่น ผมยุ่ง ไหมพันกันยุ่ง, ไม่เรียบร้อย เช่น เขียนหนังสือยุ่งอ่านไม่ออก ข้าวของปนกันยุ่ง, อาการที่ทำให้สับสน เช่น ทำเรื่องยุ่ง, เรียกผู้ที่ชอบทำให้สับสนวุ่นวายว่า ตัวยุ่ง. ก. เข้ามา เกี่ยวข้องพัวพันโดยไม่จำเป็น เช่น อย่าไปยุ่งเรื่องของเขา อย่าไปยุ่งกับ เขา, มีธุระพัวพันมาก เช่น กำลังยุ่งอย่ามากวนใจ, วุ่นวายไม่เป็นปรกติ เช่น ยุ่งกันไปทั้งบ้าน.
  34. เยียวยง : (กลอน) ว. งามยิ่ง.
  35. แย่ง : ก. ยื้อเอาไป เช่น ถูกแย่งของไปจากมือ, รีบฉวยหรือรีบทำเสียก่อน เช่น แย่งทาน.
  36. โย่ง : ว. ลักษณะที่สูงกว่าปรกติ เมื่อเคลื่อนไหวดูประหนึ่งว่าโยกเยกไปมา เช่น สูงโย่ง.
  37. โย่ง ๆ : ว. อาการที่คนผอมสูงเดินก้าวยาว ๆ เรียกว่า เดินโย่ง ๆ.
  38. อยู่ยงคงกระพัน : ว. ทนทานต่อศัสตราวุธ.
  39. มเหยงค์ : [มะเห-ยง] น. ภูเขา, เนินดิน. (ป. มหิยงฺคณ).
  40. ก่น ๑ : (โบ) ก. ตั้งหน้า, มุ่ง, เช่น อยู่เย็นยงงก่นเกอดพิจลการ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  41. กบ ๕ : น. (๑) ชื่อทุเรียนพันธุ์หนึ่ง. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิดหนึ่งในสกุล Geodorum วงศ์ Orchidaceae หัวมีลักษณะเหมือนกบ เชื่อกันว่า ใช้ในทางอยู่ยงคงกระพันได้, ข้าวอังกุลี ก็เรียก.
  42. กรด ๕ : [กฺรด] (ปาก) ว. ยิ่ง, มาก, เช่น ไวเป็นกรด ฉลาดเป็นกรด.
  43. กระกวด : (โบ; กลอน) ว. สูงชัน, กรวด, กรกวด ก็ว่า เช่น อยู่จอมด้วยกรกวด กิ่งก้านรวดรยงงามอยู่น้นน. (ม. คําหลวง มัทรี).
  44. กระสุงกระสิง : ก. สุงสิง, ยุ่ง, ข้องแวะ. (ปาเลกัว).
  45. กล้ำ : [กฺล้ำ] ก. ควบ เช่น กล้ำอักษร อักษรกล้ำ, ทําให้เข้ากัน, กลืนกัน, เช่น กล้ำเสียง เสียงกล้ำ, มีโทษอันหนึ่งไซร้ กลบกล้ำพันคุณ. (โลกนิติ), คือดั่งปากเว้นกล้ำ แกล่เหมี้ยงหมากพลู. (โลกนิติ), กัลยาจะกล้ำอําความตาย. (อิเหนา).
  46. กว่า : [กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคําใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คําหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคํา จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทาง ที่จะกว่า. (ม. คําหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คําหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ล๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม). กว่าชื่น (โบ) ว. ยิ่ง, ยิ่งนัก.
  47. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  48. กันเมียง : น. เด็ก, โบราณเขียนเป็น กันมยง เช่น แลเด็กหญิงถ่าวชาววยงก็ดี อันกันมยงทักแท่ให้แต่งแง่ดูงาม. (ม. คําหลวง ทศพร). (ข. เกฺมง = เด็ก).
  49. กันลอง ๒ : ก. กระโดด, ข้าม, ผ่าน. ว. เลิศ, ยิ่ง; ล่วง, พ้น, เช่น มหาโพยมกันลอง. (กล่อมช้างของเก่า). (ข. กนฺลง).
  50. กาหล : [-หน] (แบบ) น. แตรงอน เช่น หมื่นกาหลวิชัยมีหน้าที่ประโคมแตรงอน. ว. เอะอะอื้ออึง เช่น แตกตื่นกันกาหลอลหม่าน, ยามพลบสยงกึกก้อง กาหล แม่ฮา. (กำสรวล).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-154

(0.0689 sec)