ยาน ๑ : น. เครื่องนําไป, พาหนะต่าง ๆ เช่น รถ เกวียน เรือ, มักใช้เข้าคู่กับคำ พาหนะ เป็น ยานพาหนะ. (ป., ส.).
ยาน ๒ : ว. อาการที่หย่อนลงหรือห้อยลงกว่าระดับที่ควรมีควรเป็นตามปรกติ.
ยานกะ : [นะกะ] น. ยานพาหนะเล็ก ๆ. (ป., ส.).
ยานพาหนะ : น. ยานต่าง ๆ มีรถและเรือเป็นต้น.
ยานอวกาศ : น. ยานที่ส่งขึ้นไปเดินทางในอวกาศ.
ยานเกราะ : น. พาหนะล้อหรือสายพานที่สร้างขึ้นด้วยวัสดุที่สามารถ ป้องกันตนเองจากอาวุธยิงเล็งตรงหรืออาวุธยิงเล็งจำลอง และป้องกัน อันตรายจากวัตถุระเบิดหรือป้องกันอันตรายจากนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี ในระดับหนึ่ง.
โพยมยาน : น. ยานที่แล่นไปในฟ้า.
ราเชนทรยาน : [ราเชนทฺระยาน] น. ยานชนิดคานหามที่มีบุษบกของพระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
วัชรยาน : น. ชื่อหนึ่งของลัทธิพุทธตันตระ ซึ่งถือว่ามีหลักปรัชญา สูงเหนือธรรมชาติ มีความแข็งเหมือนเพชร ใสเหมือนอากาศ ไม่มี ใครต้านทานได้เหมือนสายฟ้า จึงเรียกหลักปรัชญานั้นว่า วัชระ และเรียกลัทธิว่า วัชรยาน. (ส.).
อมรโคยานทวีป : น. ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป.
ปะติยาน : น. กระจัง ๒ ข้างพระราชยาน.
พรหมยาน : น. ยานที่นําไปสู่ความเป็นพรหม คือการบริจาคอัน ยิ่งใหญ่ เช่นบุตรทารทาน. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). (ป.).
ย่าน ๑ : น. แถว, ถิ่น, เช่น เขาเป็นคนย่านนี้, บริเวณ เช่น ย่านบางลำพู ย่านสำเพ็ง, ระยะทางตามกว้างหรือยาวจากตําบลหนึ่งไปยังอีกตําบลหนึ่ง; ของที่ตรง และยาว.
ย่าน ๒ : น. เครือเถา เช่น ย่านวันยอ ย่านลิเภา, เรียกรากไทรที่ห้อยย้อยลงมาว่า ย่านไทร.
ย่าน ๓ : ก. ยั่น.
หูยาน : น. ชื่อพระเครื่องแบบหนึ่ง มีติ่งหูยาวมากผิดปรกติ.
พาหนะ : [หะนะ] น. เครื่องนําไป, เครื่องขับขี่, สัตว์สําหรับขี่บรรทุกหรือ ลากเข็นมีช้าง ม้า โค กระบือ เป็นต้น เรียกว่า สัตว์พาหนะ, ยาน ต่าง ๆ มีรถและเรือเป็นต้น เรียกว่า ยานพาหนะ. (ป., ส. วาหน).
ยั่ว : (โบ) น. ยาน, เครื่องพาตัวไป, เช่น วอ เสลี่ยง รถ, บางทีใช้ควบกับคํา ยาน เป็น ยั่วยาน, ต่อมาใช้เลือนเป็น ยวดยาน. ก. พูดหรือทําให้เกิดอารมณ์ใน ทางใดทางหนึ่งรุนแรงขึ้น เช่น ยั่วราคะ ยั่วโทสะ ยั่วโมโห ยั่วกิเลส.
ญาณ, ญาณ- : [ยาน, ยานะ-, ยานนะ-] น. ปรีชาหยั่งรู้หรือกําหนดรู้ที่เกิดจาก อํานาจสมาธิ, ความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ. (ป.; ส. ชฺ?าน).
ตรีญาณรส : [-ยานนะรด] น. รสสําหรับรู้ ๓ อย่าง คือ ไส้หมาก รากสะเดา เถา บอระเพ็ด.
ยานมาศ, ยานุมาศ : [ยานนะมาด, ยานุมาด] น. พระราชยานคานหามสําหรับพระมหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นพระแท่นราชบัลลังก์ทรงสูง หรือ พระแท่นราชบัลลังก์ทรง ราบ มีทั้งที่มีพนักกงและไม่มีพนักกง ปิดทองทั้งองค์ ประกอบเข้ากับคาน หาม ใช้หามหรือหิ้วถวายเป็นพระที่นั่งราชยานในโอกาสเสด็จพระราช ดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางบก.
กระดก ๒ : (โบ; กลอน) ก. ตระหนก, กลัว, เช่น ก็กระดกตกใจกลวว แก่มรณภยานตราย. (ม. คําหลวง ชูชก).
กระแทะ : น. ยานชนิดลากขนาดเล็ก มี ๒ ล้อ ใช้วัวเทียม ตัวเรือนราบไม่ยกสูง อย่างเรือนเกวียน มีทั้งชนิดโถงและประกอบหลังคา, ระแทะ หรือ รันแทะ ก็ว่า. (ข. รเทะ).
กระย่อน : ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง, กระหย่อน ก็ใช้; ยวบยาบ, แกว่ง เช่น ลมไกวกิ่งกลฟ้อนก็กระย่อนอยู่ยานโยน. (สมุทรโฆษ); ขยับ เช่น ยกค้อนกระย่อนดูบริพาร. (สมุทรโฆษ).
กเรณุ : [กะเรนุ] (แบบ) น. ช้าง เช่น ไร้เกวียนกาญจนยานสินธพแลสี- พิกากเรณุหัสดี ดำรง. (สรรพสิทธิ์).(ป.).
กะเลิด : น. ยานชนิดหนึ่งไม่มีล้อ ใช้ลากไปตามท้องนาและหมู่บ้าน สําหรับบรรทุกฟ่อนข้าวเป็นต้น, เลื่อน ก็เรียก.
กำกูน : น. ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เช่น คูนกํากูนกํายาน. (ลอ), กําคูน ก็ว่า.
กำยาน ๒ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล Styrax วงศ์ Styracaceae ขึ้นตามป่าเขาในระดับสูง ใบเดี่ยว ด้านบนสีขาว ดอกสีขาว หอมอ่อน ๆ ไม้ต้นชนิดนี้ บางชนิดเมื่อเปลือกถูกกรีด หรือมีราลง ก็จะขับยางใสกลิ่นหอมออกมา เมื่อแห้งจะแข็งติดอยู่กับ ลำต้น แกะออกมาได้ เรียกว่า กำยาน. (๒) ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่ง มีกลิ่นหอม เรียกว่า กล้วยกํายาน. (พจน. ๒๔๙๓).
เกวียน : [เกฺวียน] น. ยานชนิดหนึ่ง มีล้อ ๒ ล้อ ใช้ควายหรือวัวเทียม, ลักษณนามว่า เล่ม; ชื่อมาตราตวง ๘๐ สัด หรือ ๑๐๐ ถัง เป็น ๑ เกวียน. เกวียนหลวง น. มาตราตวงตามแบบราชการ มีอัตราเท่ากับ ๒,๐๐๐ ลิตร หรือ ๒ กิโลลิตร, อักษรย่อว่า กว.
ขับ ๑ : ก. ต้อนให้ไป, บังคับให้ไป, ไล่; ไล่ตาม; บังคับให้เคลื่อนไปได้ เช่น ขับเกวียน ขับรถม้า, สามารถบังคับเครื่องยนต์ ให้ยานพาหนะเคลื่อนที่ ไปได้ เช่น ขับรถ ขับเรือ; บังคับให้ออก เช่น ขับปัสสาวะ; ประชดอย่าง ล้อ, พูดล้อเพื่อสนุก.
ขับขี่ : ว. (ปาก) เรียกใบอนุญาตให้ขับรถได้ว่า ใบขับขี่, (กฎ) ใช้ว่า ใบอนุญาตขับขี่. ก. สามารถบังคับเครื่องยนต์ให้ยานพาหนะ เคลื่อนที่ไปได้.
ขี่ : ก. นั่งเอาขาคร่อม, โดยปริยายหมายถึงนั่งไปในยานพาหนะ.
แขย็ก ๆ : [ขะแหฺย็ก] ว. อาการที่ปีนขยับขึ้นไปทีละน้อย ๆ ขึ้นไปได้ไม่สะดวก เช่น ปีนต้นไม้แขย็ก ๆ, อาการที่ขยับไปทีละน้อย ๆ เพราะไปไม่ถนัด เช่น ถีบจักรยานแขย็ก ๆ เดินแขย็ก ๆ.
คนสาบสูญ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้ไปจากภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ และ ไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา ๕ ปี และศาลมีคําสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ระยะเวลา ๕ ปีดังกล่าว ลดลงเหลือ ๒ ปี นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบ หรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว หรือนับแต่วัน ที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทางไป ได้อับปาง ถูกทำลายหรือสูญหาย หรือนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิต นอกจากที่ระบุไว้ใน ๒ กรณีดังกล่าว ข้างต้นได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น.
คาราวาน : น. หมู่คนหรือยานพาหนะเป็นต้นซึ่งเดินทางไกลร่วมกันเป็น ขบวนยาว. (อ. caravan).
เครื่องร่ำ : น. สิ่งที่ใช้อบให้มีกลิ่นหอม เช่น กํายาน.
แคปซูล : น. หลอดเล็ก ๆ ทําด้วยสารที่ไม่เป็นพิษ และละลายได้ง่าย ใช้บรรจุยา; ส่วนของยานอวกาศที่มีอุปกรณ์จําเป็นพร้อมมูล สามารถแยกตัวออก จากส่วนอื่นได้; (พฤกษ) ลักษณะของผลที่เมื่อแก่เปลือกหุ้มผลจะแห้ง แล้วแตกแยกออกจากกันเป็นหลายซีกหรือหลายรู เช่น ผลลําโพง ฝิ่น. (อ. capsule).
โคตรภูญาณ : [โคดตฺระพูยาน] (แบบ) น. ปัญญาที่อยู่ในลําดับอริยมรรค.
จรวด ๒ : [จะหฺรวด] น. อาวุธหรือยานอวกาศที่ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูงมาก โดย ใช้เชื้อเพลิงในตัวเองเผาไหม้เป็นแก๊สพุ่งออกมาจากส่วนท้าย มีทั้งชนิด ที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งและชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว. (อ. rocket).
จักรยาน : น. รถถีบ, ยานพาหนะประเภทรถที่มีล้อ ๒ ล้อ ล้อหนึ่งอยู่ข้างหน้า และอีกล้อหนึ่งอยู่ข้างหลัง มีโครงเหล็กเชื่อมล้อหน้ากับล้อหลัง มีคันบังคับ ด้วยมือติดตั้งอยู่บนล้อหน้า ขับเคลื่อนด้วยกำลังคนผู้ขี่ซึ่งใช้เท้าถีบบันไดรถ ให้วิ่ง เรียกว่า จักรยานสองล้อ, ถ้ามี ๓ ล้อ เรียกว่า จักรยานสามล้อ.
จุตูปปาตญาณ : [-ตูปะปาตะยาน] (แบบ) น. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, ทิพยจักษุญาณ ก็เรียก. (ป.; ส. จฺยุตฺยุตฺปาตชฺ?าน).
เฉลี่ยง : [ฉะเหฺลี่ยง] น. ยาน, คานหาม, โดยมากใช้ว่า เสลี่ยง.
ชมพูทวีป : (แบบ) น. ดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาลและบังกลาเทศในปัจจุบัน; ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศใต้ ของเขา พระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีปได้แก่ อุตรกุรุทวีปหรือ อุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป.
ชรุก : [ชฺรุก] (กลอน) ก. ซุก, แอบ, แทรก, เอาของไปแอบแฝงไว้, เช่น ช่อช้อยชรุกระโยงยาน. (ม. คําหลวง จุลพน).
ชักพระ : น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็น ประเพณีสําคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือ ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโว ของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบก กับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูป ประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้ว ช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูป ประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกัน ลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่ พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วย ใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย.
ฌาน : [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่ง อารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทําจิตให้สงบตาม หลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดย ปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลําดับที่ประณีตขึ้นไป กว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความ เงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้ กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
ญาณทัสนะ : [ยานะทัดสะนะ, ยานนะทัดสะนะ] (แบบ) น. ความรู้ ความเห็น. (ป.).
ญาณวิทยา : [ยานะวิดทะยา, ยานนะวิดทะยา] น. ปรัชญาสาขาหนึ่ง ว่าด้วยกําเนิดลักษณะและความถูกต้องแห่งความรู้ ตลอดจนวิธีหา ความรู้. (อ. epistemology).
ญาณศาสตร์ : [ยานะสาด, ยานนะสาด] น. ตําราพยากรณ์. (ป. ?าณ + ส. ศาสฺตฺร).
โดยสาร : ก. อาศัยไปด้วย เช่น โดยสารเรือ, เดินทางไปโดยยานพาหนะ โดยเสียค่าโดยสาร, เรียกคนที่ใช้รถหรือเรือรับจ้างว่า คนโดยสาร. (ข.).