ยาย : น. แม่ของแม่, เมียของตา, หญิงที่เป็นญาติชั้นเดียวกับแม่ของแม่หรือ ที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับยาย, (ปาก) คําเรียกหญิงสูงอายุอย่างไม่ค่อย เคารพนับถือ เช่น ยายป้า ยายแก่ ยายคุณหญิง หรือเรียกหญิงรุ่นราว คราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง เช่น ยายปุก ยายกุ้ง หรือเรียกเด็กหญิงที่ ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น ยายหนู.
ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย : (สำ) ถ้าไม่ใช่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ของตน ก็ไม่ควรไว้วางใจใคร, ทํานองเดียวกับภาษิตที่ว่า อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง.
ขรัวยาย : น. สามัญชนที่เป็นยายของพระองค์เจ้า.
เท้ายายม่อม : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze ในวงศ์ Taccaceae หัวหรือเหง้ามีสัณฐานกลมแบน ใช้ทําแป้งเป็นอาหารได้ เรียกว่า แป้งเท้ายายม่อม.
แป้งเท้ายายม่อม : น. แป้งที่ทำจากหัวของต้นเท้ายายม่อม.
อุปาธยาย : [อุปาดทะยาย, อุบปาดทะยาย] น. อุปัชฌาย์. (ส.; ป. อุปชฺฌาย).
ไม้เท้ายายม่อม : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Clerodendrum petasites S. Moore ในวงศ์ Labitae ดอกสีขาว ใบใช้สูบแทนกัญชา รากใช้ทํายาได้, พญารากเดียว ก็เรียก.
หญ้ายายเภา : ดู ลิเภา.
อัฐยายซื้อขนมยาย : (สํา) ก. เอาทรัพย์จากผู้ปกครองหญิงที่จะขอ แต่งงานด้วย มอบให้เป็นสินสอดทองหมั้นแก่ผู้ปกครองหญิงนั้น โดยสมรู้กัน, โดยปริยายหมายถึงการกระทําอย่างอื่นในทํานอง เดียวกันนี้ เช่น เอาทรัพย์จากผู้ใดผู้หนึ่งซื้อหรือแลกสิ่งของอื่น ของผู้นั้น.
ทายาทโดยธรรม : (กฎ) น. ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายในมรดก ของผู้ตาย ได้แก่ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดา เดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ตามลําดับที่กฎหมาย กําหนดไว้.
ผู้บุพการี : น. ผู้ที่ทำอุปการะมาก่อน ได้แก่ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด; (กฎ) ญาติทางสาโลหิตโดยตรงขึ้นไป ได้แก่ บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด.
มาตามหา : [มาตามะหา] (ราชา) น. ยาย. (ป.).
สตรีลิงค์, สตรีลึงค์ : (ไว) น. เพศของคําที่เป็นเพศหญิง เช่น ย่า ยาย แม่ นารี, อิตถีลิงค์ ก็ว่า. (ส. สฺตรีลิงฺค; ป. อิตฺถีลิงฺค).
อัยกี : [ไอยะ] (ราชา) น. ย่า, ยาย. (ป. อยฺยิกา).
อัยยิกา : (ราชา) น. ย่า, ยาย. (ป.).
อิตถีลิงค์ : (ไว) น. เพศของคำที่เป็นเพศหญิง เช่น ย่า ยาย แม่ นารี, สตรีลิงค์ หรือ สตรีลึงค์ ก็ว่า.
กรรมพันธุ์ : [กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วย กรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกล วิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือ พ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม + พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = ''มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์'' เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).
กะ ๒ : ว. ใช้รวมกับคําวิเศษณ์ เช่น เหมือนกะ ราวกะ ถึงกะ. บ. ใช้นําหน้าผู้รับพูดหรือรับบอก เช่นพี่พูดกะน้อง เขากล่าวกะฉัน เขาบอกกะท่าน. สัน. ใช้แทนคําว่า กับ เช่น ยายกะตา, ใช้แทนคําว่าแก่ เช่น มีกะใจ. (เป็นคําเสียงกร่อนมาจาก กับ หรือ แก่).
ขยับขยาย : [-ขะหฺยาย] ก. แก้ไขให้คลายความลําบากหรือความ คับแคบเป็นต้น เพื่อให้เหมาะแก่ความต้องการหรือเหตุการณ์.
ขยาย : [ขะหฺยาย] ก. อธิบาย, ชี้แจง, เช่น ขยายความ, แผ่กว้างออกไป เช่น ขยายตัว, เปิดเผย เช่น ขยายความลับ, คลายให้หายแน่น เช่น ขยาย เข็มขัดให้หลวม, คลี่, แย้ม, เช่น ดอกไม้ขยายกลีบ, ทําให้กว้างใหญ่ ออกไป เช่น ขยายห้อง ขยายรูป, ทําให้มากขึ้น เช่น ขยายพันธุ์. ขยายขี้เท่อ (ปาก) ก. แสดงให้เห็นความโง่เขลา.
คม ๒ : น. ส่วนบางมากจนสามารถบาดได้ เช่น คมมีด คมดาบ คมหญ้า. ว. ไม่ทื่อ เช่น มีดคม, บาดได้ เช่น ป่านคม; เฉียบแหลม เช่น ปัญญาคม; ชัดเจน เช่น ภาพคม เส้นคม, โดยปริยายใช้สําหรับตาและปากซึ่งมี ลักษณะอย่างของที่คมอาจบาดหรือแทงใจได้.
งอม : ว. สุกจัดจนเกือบเน่าหรือเละ เช่น กล้วยงอม มะม่วงงอม, โดยอนุโลม ใช้กับคนที่แก่มากจนทำอะไรไม่ไหว เช่น ปีนี้คุณยายดูงอมมาก, โดย ปริยายหมายความว่า แย่ เช่น ถูกใช้ให้ทํางานเสียงอม, บอบชํ้า เช่น ถูกตีเสียงอม, ได้รับทุกข์ทรมานมาก เช่น เป็นไข้เสียงอม.
ชวด ๓ : (ปาก) น. พ่อหรือแม่ของปู่ ย่า ตา ยาย, ทวด ก็ว่า.
ชั่ว ๑ : น. ระยะ เช่น นํ้าลึก ๓ ชั่วคน สูง ๓ ชั่วลําตาล, ระยะเวลา, สมัย, ครั้ง, เช่น ชั่วปู่ย่าตายาย ชั่วพ่อชั่วแม่.
ช้า ๒ : ว. หยาบ, ชั่ว, เลว, ทราม, เช่น ยายฟังสารยายสั่นหัว ยายเคยลองแต่ตัวชั่วตัวช้า. (ลอ).
ตะโก้ ๑ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งเท้ายายม่อมกวนเข้ากับ นํ้าตาล ใส่แห้วหรือข้าวโพดเป็นต้นก็ได้ หยอดหน้าด้วยกะทิกวนกับแป้ง.
ตา ๑ : น. พ่อของแม่, ผัวของยาย, ชายที่เป็นญาติชั้นเดียวกับพ่อของแม่หรือที่อายุ รุ่นราวคราวเดียวกับตา, (ปาก) คําเรียกชายสูงอายุที่ตนไม่ค่อยเคารพนับถือ เช่น ตาเถร ตาแก่ หรือเรียกชายรุ่นราวคราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง เช่น ตาเกิ้น ตาโย่ง หรือเรียกเด็กชายที่ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น ตาหนู. ตาทวด น. พ่อของตาหรือของยาย. ตามีตามา, ตาสีตาสา (สํา) น. ชาวบ้านทั่ว ๆ ไป.
ทวด : น. พ่อหรือแม่ของ ปู่ ย่า ตา ยาย, ชวด ก็ว่า.
นมสาว ๑ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทําด้วยแป้งถั่วหรือแป้งเท้ายายม่อม กวนจนใส ไส้ทําด้วยถั่วเขียวกวนปั้นเป็นก้อนกลม ห่อด้วยใบตองสด รูปอย่างขนมเทียน เรียกว่า ขนมเทียนนมสาว.
นิปริยาย : [นิปะริยาย] (แบบ) น. ความไม่อ้อมค้อม, ความตรง. (ตรงกันข้ามกับ ปริยาย = อย่างอ้อม). ว. สิ้นเชิง. (ป. นิปฺปริยาย).
บรรพบุรุษ : ( น. ผู้เป็นต้นวงศ์ตระกูลซึ่งมีผู้สืบสายโลหิตมา, บุคคล ที่นับตั้งแต่ปู่ย่าตายายขึ้นไป.
บรรยาย : [บันยาย, บันระยาย] ก. ชี้แจงหรืออธิบายเรื่องให้ฟังเป็นต้น, เล่าเรื่อง เช่น ภาพยนตร์มีอักษรไทยบรรยายกํากับไว้. (ส.).
บริยาย : [บอริยาย] ก. บรรยาย, สอน, แสดง, เล่าเรื่อง.
บัลลังก์ : น. พระแท่นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ภายใต้เศวตฉัตร เรียก ว่า ราชบัลลังก์, โดยปริยายคํา ราชบัลลังก์ นี้ หมายถึงความเป็น พระมหากษัตริย์หรือสถาบันกษัตริย์ก็ได้; ที่นั่งผู้พิพากษาเมื่อ พิจารณาคดีในศาล; ส่วนของสถูปเจดีย์บางแบบ มีรูปเป็นแท่น เหนือคอระฆัง. ก. นั่งขัดสมาธิ เรียกว่า นั่งคู้บัลลังก์. (ป. ปลฺลงฺก).
บุพการี : น. ผู้ที่ทําอุปการะมาก่อน เช่น บิดามารดาเป็นบุพการี ของบุตรธิดา. (ป. ปุพฺพการี); (กฎ) ญาติทางสาโลหิตโดยตรง ขึ้นไป ได้แก่ บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด.
แปดสาแหรก : [-แหฺรก] น. คําเรียกต้นวงศ์สกุล คือ บิดามารดาของ ปู่และย่า ๔ ของตาและยาย ๔ รวมเป็น ๘ ที่เป็นผู้ดีทั้งฝ่ายบิดาและ มารดา เรียกว่า ผู้ดีแปดสาแหรก (เทียบสาแหรกที่มีข้างละ ๔ ขา ๒ ข้างเป็น ๘ ขา). (ดู ผู้ดีแปดสาแหรก ที่ ผู้). แปดเหลี่ยมแปดคม, แปดเหลี่ยมสิบสองคม (สํา) ว. มีเล่ห์เหลี่ยมมาก.
ผี : น. สิ่งที่มนุษย์เชื่อว่าเป็นสภาพลึกลับ มองไม่เห็นตัว แต่อาจจะ ปรากฏเหมือนมีตัวตนได้อาจให้คุณหรือโทษได้ มีทั้งดีและร้าย เช่น ผีปู่ย่าตายาย ผีเรือน ผีห่า, เรียกคนที่ตายไปแล้ว; (โบ) เทวดา; (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า เลว เช่น คนผี; เรียกบุคคลที่ หมกมุ่นในการพนันว่า ผีการพนันเข้าสิง.
ผีสัง, ผีสาง : น. ผี, บางทีใช้นำหน้าชื่อคนที่ตายแล้ว เช่น ผีสาง ยายเขียว ผีสางตาขำ.
ผู้ดีแปดสาแหรก :
น. ผู้ดีที่สืบทอดกันลงมาตั้งแต่ต้นวงศ์สกุลคือ บิดามารดาของปู่และย่า ๔ บิดามารดาของตาและยาย ๔ รวมเป็น ๘; โดยปริยายหมายถึงคนที่ทํากรีดกรายเอาอย่างผู้ดี. (ดู แปดสาแหรก).
พญารากเดียว : ดู ไม้เท้ายายม่อม.
พันธุกรรม : น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกลวิการ บางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย หรือพ่อแม่, กรรมพันธุ์ ก็ว่า.
มาตามหัยกะ : [-มะไหยะกะ] (ราชา) น. ตาทวด, พ่อของยาย. (ป. มาตา + มหยฺยก).
แม่เจ้า : ส. คําเรียกเมียพ่อเมืองหรือเจ้าผู้ครองนคร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. แม่เจ้าประคุณ คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น แม่เจ้าประคุณของยายสบายดีหรือ ดึกแล้วแม่เจ้าประคุณ ยังไม่กลับบ้านเลย.
ยายทวด : น. แม่ของตาหรือของยาย.
โยม : น. คําที่พระสงฆ์ใช้เรียกบิดามารดาของตนหรือเรียกผู้ใหญ่รุ่นราวคราว เดียวกับบิดามารดา เช่น โยมพ่อ โยมแม่ โยมย่า โยมยาย โยมน้า; เป็นคํา ใช้แทนชื่อบิดามารดาของพระภิกษุสามเณร; เรียกผู้ที่เป็นบิดามารดาของ พระว่า โยมพระ; เรียกผู้ที่แสดงตนเป็นผู้อุปการะพระภิกษุสามเณรโดย เจาะจงว่า โยมอุปัฏฐาก; เรียกฆราวาสที่อยู่ปฏิบัติรับใช้พระภิกษุสามเณร ในวัดว่า โยมวัด; เรียกฆราวาสผู้อุปการะพระทั่ว ๆ ไป ว่า โยมสงฆ์.
รันทำ : ก. ยํ่ายี, เบียดเบียน.
ลิเภา : น. ชื่อเฟินเถาหลายชนิดในสกุล Lygodium วงศ์ Schizaeaceae เปลือกเถาใช้สานเป็นกระเป๋าและเครื่องใช้อื่น ๆ เช่น ชนิด L. circinatum (Burm.f.) Sw., L. salicifolium Presl, ย่านลิเภา หญ้าลิเภา หรือ หญ้ายายเภา ก็เรียก.
ลืมกลืน : น. ชื่อขนมไทยชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งเท้ายายม่อม หรือแป้ง ถั่วกวนกับน้ำตาลทรายหยอดหน้าด้วยแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิอย่าง หน้าตะโก้ โรยหน้าด้วยถั่วทองคั่ว.
ลูกเขยตายแม่ยายชักปรก : ดู ลูกเขยตายแม่ยายทําศพ.
ลูกอ่อน : น. ลูกเล็ก ๆ ที่ยังไม่หย่านม, เรียกพ่อหรือแม่ที่มีลูกเล็ก ๆ ยังไม่หย่านมว่า พ่อลูกอ่อน แม่ลูกอ่อน, โดยปริยายเรียกบุคคลที่ ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องมีผู้อื่นคอยดูแลอย่างใกล้ชิด (มักใช้แก่ผู้สูงอายุ) เช่นเวลานี้ไปไหนไม่สะดวก เพราะมีคุณยายเป็นลูกอ่อน ต้องคอย ดูแลท่าน.