ยินดี : ก. ชอบใจ, ดีใจ.
ยินร้าย : ก. ไม่พอใจ, ไม่ชอบใจ.
พระอิฐพระปูน : (สํา) ว. นิ่งเฉย, วางเฉย ไม่เดือดร้อน, ไม่รู้สึกยินดี ยินร้าย.
จระกล้าย : [จะระ-] (กลอน) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย. (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล. (ม. คำหลวง กุมาร).
เฉย ๆ : ว. ใช้ประกอบข้อความหรือคําอื่น มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ ข้อความแวดล้อม เช่น หยิบไปเฉย ๆ คือ หยิบไปโดยไม่ได้บอกกล่าว, อยู่บ้านเฉย ๆ คือ อยู่บ้านโดยไม่ทําอะไรให้เป็นกิจจะลักษณะ หรือไม่ได้ ทํามาหากินอะไร; ไม่ยินดียินร้ายเช่น เขาเป็นคนเฉย ๆ, เท่านั้น เช่น ปลูกเรือนไว้เฉย ๆ ไม่ให้ใครอยู่.
หน้าเฉย : ว. มีสีหน้าแสดงความไม่รู้สึกยินดียินร้าย หรือไม่สนใจใยดีต่อสิ่ง หรือเหตุการณ์ใด ๆ.
อินทรียสังวร : น. ความสํารวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ. (ป.).
กรกัติ : [กฺระกัด] (โบ) ก. กระกัด, ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น กรกัติกามา. (สรรพสิทธิ์).
กระกัด : (โบ) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น ด้วยกระกัดศรัทธา. (มาลัยคําหลวง), ใช้ว่า ตระกัด ก็มี, เขียนเป็น กรกัติ หรือ กระกัติ ก็มี.
กระกัติ : (โบ) ก. กระกัด, ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น อย่ายักษ์มลักกรีฑาดล ด้าวอำเภอพลลการกระกัติกามา. (สรรพสิทธิ์).
กันต์ : ก. ตัด, โกน, เช่น เกศากันต์ (ตัดผม, โกนผม); ยินดี, พอใจ, เช่น สุนทรกันต์ มุทุกันต์. ว. น่าใคร่, น่าพอใจ, งดงาม, เช่น กันตาภิรมย์ หมายถึง ยินดียิ่งในสิ่งที่น่าพอใจ.
ชอบใจ : ก. ถูกใจ, ยินดี, พอใจ.
ชื่น ๑ : ก. แจ่มใส เช่น หน้าค่อยชื่นขึ้น. ว. เบิกบาน, ยินดี, เช่น ชื่นใจ ชื่นตา.
ชื่นชม, ชื่นชมยินดี : ก. ปีติยินดี.
ฐกัด : [ถะกัด] ก. ตระกัด, ยินดี, เช่น ฐกัดนี้แก่เถ้าตุ่ยต่วมฤๅจตรู. (ม. คําหลวง ชูชก).
ตระกัด : [ตฺระ-] (โบ) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น พ่อเอ๋ย ใช่ตั้งใจแก่ความกําหนัด ใน ความตระกัดกรีธา. (ม. คําหลวง กุมาร), กระกัด ก็ว่า.
โมทนา ๑ : [โมทะนา] ก. บันเทิง, ยินดี, พลอยยินดี. (ช.).
ไยดี : ก. พอใจ, ยินดี, เอื้อ, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่ไยดี อย่าไปไยดี.
หฤษฎ์ : [หะริด] ว. น่าชื่นชม, ยินดี; สนุก, สบาย, ดีใจ. (ส. หฺฤษฺฏ; ป. หฏ?ฺ).
หัฏฐะ ๑ : [หัดถะ] ว. ร่าเริง, ยินดี, สบายใจ. (ป.; ส. หฺฤษฺฏ).
หื่นหรรษ์ : [-หัน] (กลอน) ก. เหิมใจ, ยินดี, ร่าเริง, ชื่นชม.
ถะกัด : (กลอน) ก. ตระกัด, ยินดี.
บริรม : [บอริรม] ก. ชอบใจ, ยินดี. (ส. ปริรม).
บำเทิง : ว. บันเทิง, เบิกบาน, รื่นเริง, ยินดี.
ประมุท : [ปฺระมุด] ก. บันเทิง, ยินดี. (ส.).
ประลุง : (กลอน) ก. ปลาบปลื้ม, ยินดี.
ปรีดา : [ปฺรี-] ก. อิ่มใจ, ปลื้มใจ, ยินดี. (ส.).
ยะย้าว : (กลอน) ก. ร่าเริง, ยินดี.
สวาดิ ๒ : [สะหฺวาด] (โบ) ก. รักใคร่, ยินดี.
สวาท : [สะหฺวาด] น. ความรัก ความพอใจ หรือความยินดีในทางกามารมณ์ เช่น รสสวาท พายุสวาท ไฟสวาท. (ปาก) ก. รัก ยินดี หรือ พอใจ เป็นต้น (มักใช้ในเชิงปฏิเสธ) เช่น หน้าตาน่าสวาทนักนี่ คุณคิดว่า เขาสวาทคุณนักหรือ. (ส. สฺวาท ว่า รสอร่อย, รสหวาน).
สวาสดิ์ : [สะหฺวาด] ก. รักใคร่, ยินดี.
กฐิน, กฐิน- :
[กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
กระสรวล : [-สวน] (กลอน) ก. ยินดี, ร่าเริง, เช่น นางนกกระสรวลสันต์ สมเสพ. (นิ. นรินทร์).
กรีฑารมย์ : ว. เป็นที่ยินดีในกรีฑา เช่น สองท้าวเสมอกัน และควรที่กรีฑารมย์. (สมุทรโฆษ).
เกษมศานต์, เกษมสันต์ : ว. โปร่งอารมณ์, ชื่นชมยินดี. (ส. เกฺษม + ศานฺต, ส. เกฺษม + ป. สนฺต).
ฉลอง ๑ : [ฉะหฺลอง] ก. ทําบุญหรือบูชาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นงานเอิกเกริกเพื่อแสดง ความปีติยินดี เช่น ฉลองพระ ฉลองหนังสือ ฉลองอายุ, จัดงานเอิกเกริก เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสต่าง ๆ เช่น ฉลองปริญญา, บางทีใช้เข้าคู่ กับคำ เฉลิม เป็น เฉลิมฉลอง.
ฉันท- ๒, ฉันท์ ๒, ฉันทะ : น. ความพอใจ, ความรักใคร่, ความชอบใจ, ความยินดี; ความร่วมความคิด ความเห็นกัน เช่น ลงมติเป็นเอกฉันท์, ความไว้เนื้อเชื่อใจ เช่น มอบฉันทะ. (ป.).
ชมไช : (กลอน) ก. ชื่นชมยินดี, รื่นเริง, เช่น พนคณนกหคชมไช. (ม. คําหลวง มหาพน).
แซ่ซ้อง : ก. เปล่งเสียงแสดงความนิยมยินดีหรือสรรเสริญกันทั่วไป.
ดีใจ : ก. ยินดี, ชอบใจ, พอใจ.
ดีเนื้อดีใจ : ก. ยินดี, ชอบใจ, ปลาบปลื้มใจ, ดีใจมาก, ดีอกดีใจ ก็ว่า.
ดีอกดีใจ : ก. ยินดี, ชอบใจ, ปลาบปลื้มใจ, ดีใจมาก, ดีเนื้อดีใจ ก็ว่า.
ดุษฎี : [ดุดสะดี] น. ความยินดี, ความชื่นชม. (ส.).
ตบมือ : ก. เอาฝ่ามือตีกันให้เกิดเสียงเพื่อแสดงความยินดีเป็นต้น, ปรบมือ ก็ว่า.
ตระอาล : [ตฺระอาน] (กลอน) ว. หวั่นไหว เช่น พยงแผ่นดินบตระอาล. (ม. คําหลวง กุมาร). (ข. ตรฺอาล ว่า ยินดี, สบายใจ).
ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
นนท์, นันทน์ : (แบบ) น. ความสนุก, ความยินดี, ความรื่นเริง. (ป., ส.).
นนทิ : [นนทิ] น. ผู้มีความยินดี, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น เช่น นนทิกร นนทิการ; วัว. (ส.).
นักบุญ : น. ผู้อ้างตัวว่าเป็นผู้วิเศษ, ผู้ที่ทําความดีไว้มากเมื่อตายแล้ว ได้รับ ยกย่องว่าเป็นผู้สําเร็จในทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก, ผู้ยินดีใน การบุญ.
นันท : [นันทะ] น. ความสนุก, ความยินดี, ความรื่นเริง. (ป.).