ยินยอมพร้อมใจ : ก. เห็นด้วยร่วมกัน.
พร้อมใจ : ก. ร่วมใจ, มีน้ำใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, เช่น เขา พร้อมใจกันทำงาน.
ยินยอม : ก. ยอม, ไม่ขัด, ตกลง, ชอบใจ, ตาม.
ตกลง : ก. ยินยอมพร้อมใจ, ปลงใจ.
บันโดย : ก. พลอยแสดง เช่น บันโดยหรรษา; ดําเนินตาม, เอาอย่าง, ยินยอม, คล้อยตาม.
เอาเลย : ก. ยินยอม ท้าทาย หรือยุให้ทำ.
กรมธรรม์ : [กฺรมมะทัน] (กฎ; โบ) น. เอกสารซึ่งทาส ลูกหนี้ยินยอม ให้กรมการอำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์ หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน. (สามดวง); กรมธรรม์ประกันภัย. (ส. กรฺม + ธรฺม).
กลางเมือง : น. ประชาชน ในคําว่า ฉ้อกลางเมือง หมายถึง ฉ้อโกงประชาชน; การรบกันเองในเมือง เรียกว่า ศึกกลางเมือง; (กฎ; โบ) เรียกหญิงที่บิดามารดายินยอมยกให้เป็นภริยาชายว่า เมียกลางเมือง. (สามดวง).
ใจง่าย : ว. เชื่อง่าย, ยินยอมง่าย.
ถนน : [ถะหฺนน] น. หนทางที่ทําขึ้น, ลักษณนามว่า สาย, สนน ก็ว่า, โบราณเขียนเป็น ถนล. (จารึกวัดป่ามะม่วง); (กฎ) ทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ''ทางข้าม ตามกฎหมายว่าด้วยการ จราจรทางบก ตรอก ซอย สะพาน หรือ ถนนส่วนบุคคล ซึ่ง เจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้. (ข. ถฺนล่).
เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน : ว. พร้อมเพรียงกัน, พร้อมใจกัน.
เปรียบเทียบ : ก. พิจารณาเทียบเคียงให้เห็นลักษณะที่เหมือนกันและ ต่างกัน. (กฎ) น. การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม กฎหมายกําหนดค่าปรับผู้กระทําผิดในคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนด ให้เปรียบเทียบปรับได้ เมื่อผู้กระทําผิดยินยอมเสียค่าปรับแล้ว คดีอาญา เป็นอันเลิกกัน; การที่นายอําเภอเรียกผู้ถูกร้องมาไกล่เกลี่ยให้เลิกแล้ว ต่อกันในคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ซึ่งมูล คดีเกิดในอําเภอนั้น หรือผู้ถูกร้องมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอนั้น ตาม กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่.
ผู้แทนโดยชอบธรรม : (กฎ) น. บุคคลซึ่งตามกฎหมายมีสิทธิที่จะ ทําการแทนบุคคลผู้ไร้ความสามารถหรือเป็นบุคคลที่จะต้องให้คํา อนุญาตหรือให้ความยินยอมแก่ผู้ไร้ความสามารถในอันที่จะกระทํา การอย่างใดอย่างหนึ่ง; บุคคลซึ่งตามกฎหมายเป็นผู้มีอํานาจให้ ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทํานิติกรรมบางอย่างซึ่งผู้เยาว์ไม่มี อํานาจตามกฎหมายที่จะทําเองโดยลําพัง.
พระราชบัญญัติ : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย คําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา.
ไม่เออออห่อหมก : (สํา) ก. ไม่ตกลงด้วย, ไม่ยินยอม.
ร่วมมือ : ก. พร้อมใจช่วยกัน.
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ : (กฎ) น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการ ขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖) ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สืบต่อจากศาลประจำยุติธรรม ระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ (Permanent Court of International Justice) ตามบทบัญญัติต่อท้ายกฎบัตรองค์การ สหประชาชาติ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่ง ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสิน เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกรณีพิพาท ต่าง ๆ ทางกฎหมายและสนธิสัญญาตามที่สมัชชาใหญ่คณะมนตรี ความมั่นคง หรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ ร้องขอ, เรียกย่อว่า ศาลโลก. (อ. International Court of Justice).
สมาพันธรัฐ : [พันทะ] น. รัฐหลาย ๆ รัฐที่รวมกันเพื่อประโยชน์ร่วมกันบางอย่าง โดยมีข้อตกลงระหว่างกันให้มีรัฐบาลกลาง และให้มีอํานาจหน้าที่ เฉพาะกิจการบางอย่างที่รัฐสมาชิกยินยอมมอบหมายให้เท่านั้น, ปัจจุบันไม่มีแล้ว. (อ. confederation of states).
หย่า : ก. เลิกเป็นผัวเมียกัน; (กฎ) ทําให้การสมรสสิ้นสุดลงโดยความยินยอม ของคู่สมรสทั้ง ๒ ฝ่ายหรือโดยคําพิพากษาของศาล; เลิก เช่น หย่านม หย่าศึก.
อนุญาต : ก. ยินยอม, ยอมให้, ตกลง. (ป. อนุญฺ?าต).
อนุญาโตตุลาการ : น. บุคคลที่คู่กรณีพร้อมใจกันตั้งขึ้นเพื่อให้ชำระตัดสินในข้อพิพาท; (กฎ) บุคคลคนเดียวหรือหลายคนที่คู่กรณีในสัญญาอนุญาโตตุลาการ ตกลงเสนอข้อพิพาททางแพ่งที่เกิดขึ้นแล้วหรือจะเกิดขึ้นในอนาคต ให้ชี้ขาด.
เอาเถอะ, เอาเถอะ ๆ, เอาเถิด ๑, เอาเถิด ๆ : น. คำพูดแสดงความ ยินยอมหรือแสดงความประนีประนอม.