Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยิ้มแย้มแจ่มใส, แจ่มใส, แย้ม, ยิ้ม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยิ้มแย้มแจ่มใส, 108 found, display 1-50
  1. ยิ้มแย้ม, ยิ้มแย้มแจ่มใส : ก. ยิ้มอย่างชื่นบาน, แย้มยิ้ม ก็ว่า.
  2. แย้มยิ้ม : ก. ยิ้มอย่างชื่นบาน, ยิ้มแย้ม หรือ ยิ้มแย้มแจ่มใส ก็ว่า.
  3. แย้ม : ก. เผยอ, คลี่, บานแต่น้อย ๆ, เช่น กุหลาบแย้มกลีบ, เผยอริมฝีปากน้อย ๆ ไม่ถึงกับยิ้ม เช่น พระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์, แย้มพราย.
  4. แจ่มใส : น. ปลอดโปร่งไม่ขุ่นมัว เช่น อารมณ์แจ่มใส, โปร่ง เช่น อากาศแจ่มใส.
  5. ยิ้ม : ก. แสดงให้ปรากฏว่าชอบใจ เยาะเย้ย หรือเกลียดชัง เป็นต้น ด้วยริมฝีปาก และใบหน้า.
  6. ร่าเริง : ว. สนุกสนาน, เบิกบานใจ, ยิ้มแย้มแจ่มใส.
  7. บึ้ง ๒ : ว. อาการที่หน้าตาไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส.
  8. รับแขก : ก. ต้อนรับผู้มาหา, โดยปริยายเรียกบุคคลที่มีหน้าตายิ้มแย้ม แจ่มใสอยู่เสมอ ว่า หน้าตารับแขก.
  9. หน้ารับแขก : น. หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสเป็นประจำ.
  10. อัพภาส : [อับพาด] น. คําซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อน หรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ใน ภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส).
  11. ยิ้มหัว : ก. ยิ้มแกมหัวเราะ, ยิ้มแย้มหยอกล้อกัน.
  12. แย้มสรวล : ก. ยิ้มแย้ม ร่าเริง.
  13. ยิ้มกริ่ม : ก. ยิ้มน้อย ๆ ด้วยความกระหยิ่มใจหรือพอใจ, กระหยิ่มยิ้มย่อง.
  14. ยิ้มเก้อ, ยิ้มค้าง : ก. อาการที่ยิ้มให้เขาแล้วเขาไม่ยิ้มตอบ ทำให้รู้สึกเก้อเขิน.
  15. ยิ้มแก้เก้อ, ยิ้มแก้ขวย : ก. อาการที่รู้สึกเก้อหรือขวยแล้วไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ฝืนยิ้มออกมา.
  16. ยิ้มเจื่อน : ก. ยิ้มวางหน้าไม่สนิท.
  17. ยิ้มแฉ่ง : ก. ยิ้มอย่างร่าเริงเบิกบาน.
  18. ยิ้มแต้ : ก. ยิ้มอย่างเปิดเผยด้วยความยินดีหรือดีใจมาก.
  19. ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ : ก. ยิ้มแล้วยิ้มอีกด้วยความดีใจหรืออิ่มเอิบใจ.
  20. ยิ้มแป้น : ก. ยิ้มทําแก้มแป้น.
  21. ยิ้มเผล่ : ก. ยิ้มอย่างกระหยิ่มอิ่มใจ.
  22. ยิ้มเฝื่อน : ก. ยิ้มวางหน้าไม่สนิทคล้ายกินของมีรสเฝื่อน.
  23. ยิ้มมุมปาก : ก. ยิ้มที่มุมปากข้างใดข้างหนึ่งโดยไม่เปิดปาก.
  24. ยิ้มย่อง, ยิ้มย่องผ่องใส : ก. ยิ้มด้วยความอิ่มใจ, กระยิ้มกระย่อง ก็ว่า.
  25. ยิ้มยียวน : ก. ยิ้มกวนให้เกิดโทสะหรือชวนให้หมั่นไส้.
  26. ยิ้มเยาะ : ก. ยิ้มเป็นเชิงเย้ยหยัน.
  27. ยิ้มละไม : ก. ยิ้มน้อย ๆ อยู่ในหน้า.
  28. ยิ้มสู้ : ก. ยิ้มพร้อมที่จะสู้กับอุปสรรคอันตรายใด ๆ โดยไม่ยอมถอย.
  29. ยิ้มแสยะ : ก. ยิ้มแบะปากแยกเขี้ยวเป็นการขู่ขวัญให้เกรงกลัวหรือขู่ว่า จะทำร้าย.
  30. ยิ้มเหย : [เหฺย] ก. ยิ้มหน้าเบ้, ฝืนยิ้ม.
  31. ยิ้มแห้ง : ก. จำใจยิ้ม.
  32. ยิ้มแหย : [แหฺย] ก. ยิ้มอย่างเก้ออาย.
  33. ยิ้มด้วยปาก ถากด้วยตา : (สํา) ก. เยาะเย้ยด้วยกิริยาท่าทาง.
  34. ยิ้มในหน้า : ว. อมยิ้ม.
  35. ขมึงทึง : [ขะหฺมึงทึง] ว. ลักษณะหน้าตาที่บูดบึ้ง ไม่ยิ้มแย้ม, หน้าตา น่ากลัว, ถมึงทึง ก็ว่า.
  36. ถมึงทึง : [ถะหฺมึง–] ว. ลักษณะหน้าตาที่บูดบึ้งไม่ยิ้มแย้ม, หน้าตาน่ากลัว, ขมึงทึง ก็ว่า.
  37. น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก : (สํา) แม้จะไม่พอใจก็ยังแสดงสีหน้ายิ้มแย้ม.
  38. พริ้ม : ว. งามอย่างยิ้มแย้ม, มีหน้าตาอิ่มเอิบและดูยิ้มละไมอยู่ในหน้า, เช่น พระพุทธรูปมีพระพักตร์พริ้ม นอนหลับตาพริ้ม.
  39. พริ้มพราย : ว. ยิ้มแย้มดูงาม.
  40. หน้าขมึงทึง, หน้าถมึงทึง : น. หน้าตาที่บูดบึ้งไม่ยิ้มแย้ม, หน้าตาน่ากลัว.
  41. แห้ง : ว. ไม่มีนํ้า, หมดนํ้า, เช่น คลองแห้ง โอ่งแห้ง, ไม่เปียก เช่น ผ้าแห้ง, ที่ไม่ใส่ น้ำ เช่น ก๋วยเตี๋ยวแห้ง บะหมี่แห้ง, ไม่สด เช่น ใบไม้แห้ง; ที่อาจเก็บไว้บริโภค ได้นาน เช่น ของแห้ง หอมแห้ง พริกแห้ง; ไม่แจ่มใส เช่น หน้าแห้ง ยิ้มแห้ง; ขาดความชุ่มชื้น เช่น ผิวแห้ง ปากแห้ง จมูกแห้ง; โดยปริยายหมายความว่า ฝืดเคือง, อดอยาก, ในคำว่า ไส้แห้ง กระเป๋าแห้ง.
  42. กระยิ้มกระย่อง : ก. แสดงอาการดีใจหรืออิ่มใจ, ยิ้มย่อง ก็ว่า.
  43. ขยาย : [ขะหฺยาย] ก. อธิบาย, ชี้แจง, เช่น ขยายความ, แผ่กว้างออกไป เช่น ขยายตัว, เปิดเผย เช่น ขยายความลับ, คลายให้หายแน่น เช่น ขยาย เข็มขัดให้หลวม, คลี่, แย้ม, เช่น ดอกไม้ขยายกลีบ, ทําให้กว้างใหญ่ ออกไป เช่น ขยายห้อง ขยายรูป, ทําให้มากขึ้น เช่น ขยายพันธุ์. ขยายขี้เท่อ (ปาก) ก. แสดงให้เห็นความโง่เขลา.
  44. ถ่อง : (โบ) ว. งาม, อร่าม, แจ่มใส, รุ่งเรือง; ชัด, แน่, แท้, เที่ยง, จะแจ้ง, เช่น เร่งหาผู้รู้รอบ ทุกการ เฉลียวฉลาดโวหาร ถ่องถ้อย. (ลอ).
  45. พยักยิ้ม : ก. แสดงกิริยาพยักพเยิดพร้อมทั้งยิ้มอยู่ในหน้าเป็นเชิง เย้ยหยัน.
  46. พิกสิต : [พิกะสิด] ก. วิกสิต, บาน, แย้ม, คลี่. (ป., ส. วิกสิต).
  47. มืน : (ถิ่น-อีสาน) ก. ลืม, เปิด, แย้ม, (ใช้แก่ตา) เช่น มืนตา ว่า ลืมตา.
  48. ยักยิ้ม : น. ลักยิ้ม.
  49. วิโรจ, วิโรจน์ : ว. สว่าง, แจ่มใส, รุ่งเรือง. (ป., ส.).
  50. หน้ายิ้ม : ว. อาการยิ้มน้อย ๆ อย่างมีเลศนัย.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-108

(0.0186 sec)