ยีน : น. ผ้าฝ้ายเนื้อหนาหยาบ มักย้อมสีน้ำเงิน. (อ. jean).
ยิน ๑ : ก. รู้เสียงด้วยหู (มักใช้ว่า ได้ยิน), ฟัง, ใช้ประกอบกับคําอื่นหมายความว่า รู้สึก, ชอบ, ยอม ก็มี.
ยิน ๒ : น. ส่วนหนึ่งของขอช้างที่ยื่นออกจากตัวขออีกข้างหนึ่ง.
ยินลากขากดี : ก. พอใจและภูมิใจมาก เช่น จะยินลากขากดีด้วยนาง. (ดอกสร้อยสวรรค์ครั้งกรุงเก่า).
ยินมลาก : [มะลาก] ก. ดีใจมาก, ชอบใจมาก.
เหนี่ยน : [เหฺนี่ยน] (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่ง ใช้มะเขือพวงเป็นต้นเผาแล้ว คลุกด้วยนํ้าพริกปลาร้า.
กายินทรีย์, กาเยนทรีย์ :
ดู กาย, กาย-.
กายินทรีย์, กาเยนทรีย์ : น. ร่างกายซึ่งเป็นใหญ่ในการรับสัมผัส. (ป. กาย + อินฺทฺริย).
ย่น : ก. ร่นให้สั้นหรือให้เร็วเข้า เช่น ย่นหนทาง ย่นเวลา, หดร่นเข้าไป เช่น คอย่น, ร่นเป็นริ้วรอย เช่น หน้าย่น, ไม่เรียบ เช่น เสื้อผ้าย่น.
ยั่น : ก. ครั่นคร้าม, ท้อถอย.
ยื่น : ก. กิริยาหรืออาการที่เหยียดหรือเหลื่อมลํ้าออกไป เช่น ยื่นมือ ยื่นซอง มุข ยื่นออกจากตัวอาคาร; เสนอ, ส่ง, มอบ, เช่น ยื่นเรื่องราว ยื่นบัญชี ยื่นฟ้อง; โดยปริยายหมายถึงกิริยาของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขาไม่ต้องการ ให้พูดให้ทําว่า ยื่นปาก ยื่นหน้า. ว. เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คางยื่น พุงยื่น.
เยิ่น : ว. มีระยะยาวหรือนานยืดออกไป; เนิบ เช่น อ่อนเยิ่น.
ยล : [ยน] ก. มองดู.
อายน : [ยน] น. การมาถึง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น เมษายน คือ เมษ + อายน แปลว่า การมาถึงราศีเมษ. (ป., ส.).
ก้าง ๓ : (กลอน) ก. กั้ง, กั้น, ขวาง, เช่น สองท้าวยินสองสายใจ จักก้างกลใด บดีบันโดยดังถวิล. (สรรพสิทธิ์).
เกน ๆ : ว. อาการที่ตะโกนหรือร้องดัง ๆ ใช้ว่า ตะโกนเกน ๆ ร้องเกน ๆ, เช่น มนนก็จรจรัลไปมาในป่า ก็ได้ยินซ่าศับท์ สำนยงพราหมณ์ไห้ ในต้นไม้เกนเกนอยู่น้นน. (ม. คำหลวง ชูชก).
ขาก ๒ : (โบ) ก. ภูมิใจ เช่น ความยินลากขากดีจะมีไหน. (อภัย). (ไทยใหญ่).
เขยิน : [ขะเหฺยิน] ก. ยื่นออกมา เช่น ฟันเขยิน, เผยอขึ้น เช่น ไม้เขยิน ตะปูเขยิน.
ชรราง : [ชฺระ] (กลอน) ก. ราง ๆ เช่น แฝงข่าวยินเยียชรราง. (แช่งนํ้า).
ทำหูทวนลม : ก. ได้ยินแต่ทําเป็นไม่ได้ยิน.
บัพพาช : [บับพาด] (แบบ) ก. ขับไล่ เช่น พระสญชัยยินราษฎร์ แกล้งบัพพาช กูไกล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป. ปพฺพาช).
เปลี่ยน : [เปฺลี่ยน] ก. แปรหรือกลายไปจากลักษณะหรือภาวะเดิม, เอาสิ่งหนึ่ง เข้าแทนอีกสิ่งหนึ่งโดยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น แลกเปลี่ยน ผลัดเปลี่ยน สับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง, ย้าย เช่น เปลี่ยนที่อยู่ เปลี่ยนพรรค เปลี่ยน คลื่นวิทยุ.
ไพรชยนต์ : [ไพฺรชะยน] (แบบ) น. ไพชยนต์.
มอบฉันทะ : ก. มอบธุระไว้ด้วยความไว้วางใจ, ยินยอมให้ทําแทนโดย มีหลักฐาน.
ยับ ๒ : ก. ย่น, ยู่ยี่, เช่น ผ้ายับ เสื้อยับ กระดาษยับ, อาการซึ่งแสดงความเสียหาย มาก หรือเสียรูปจนถึงชํ้าชอก พังทลาย ป่นปี้ ปู้ยี่ปู้ยํา ยู่ยี่ เป็นต้น เช่น รถถูกชนยับ บ้านพังยับ.
ยู่ : ก. บู้, ย่น, เยิน, เช่น ฟันต้นไม้เสียมีดยู่ คมมีดยู่.
เยิน : ว. ยู่, ย่น, เช่น คมมีดเยิน ตีตะปูจนหัวเยิน, บานออกจนเสียรูป เช่น ไข ตะปูควงจนหัวเยิน.
สวนิต : [สะวะ] (กลอน) ก. ยิน, ฟัง.
หูไว : ว. ตื่นง่าย เช่น เขาเป็นคนหูไว พอได้ยินเสียงแว่ว ๆ ก็ตื่นทันที, มี ประสาทหูไว เช่น เขาเป็นคนหูไว ใครพูดเสียงเบา ๆ ยังได้ยิน; (ปาก) รู้ ข่าวคราวเร็ว เช่น เขาเป็นคนหูไว รู้เรื่องอะไร ๆ ก่อนคนอื่นเสมอ.