ยื่น : ก. กิริยาหรืออาการที่เหยียดหรือเหลื่อมลํ้าออกไป เช่น ยื่นมือ ยื่นซอง มุข ยื่นออกจากตัวอาคาร; เสนอ, ส่ง, มอบ, เช่น ยื่นเรื่องราว ยื่นบัญชี ยื่นฟ้อง; โดยปริยายหมายถึงกิริยาของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขาไม่ต้องการ ให้พูดให้ทําว่า ยื่นปาก ยื่นหน้า. ว. เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คางยื่น พุงยื่น.
ยื่นแก้วให้วานร : (สํา) ก. เอาของมีค่าให้แก่คนที่ไม่รู้จักค่าของสิ่งนั้น.
ยื่นจมูก : (สํา) ก. เข้าไปสอดแทรกในเรื่องที่ไม่ใช่ธุระของตน, เสือก.
ยื่นมือ : ก. เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย, เข้าไปเพื่อช่วยเหลือเป็นต้น.
ยื่นหมูยื่นแมว : (สํา) ก. แลกกันโดยต่างฝ่ายต่างให้และรับในเวลาเดียวกัน.
กงพัด ๒ : น. ไม้เหลี่ยมสอดในรูซึ่งเจาะที่โคนเสาเรือน ปลายทั้ง ๒ ยื่นออกมาวางอยู่บนหมอน (ซึ่งเรียกว่า งัว) ข้างละต้น, หรือถ้าไม่ เจาะรู ก็ใช้เป็น ๒ อัน ตีขวางขนาบโคนเสาข้างละอันวางอยู่บน หมอนเหมือนกัน เพื่อกันทรุด.
กระจับ ๒ : น. เครื่องสวมข้อตีนม้าสําหรับหัดให้เต้นสะบัดตีน ทําด้วยหวายหรือ ไม้ไผ่เหลาให้กลมขดรอบข้อตีนม้า ขัดเป็นเกลียวปล่อยชายทั้ง ๒ ข้าง เสี้ยมแหลมยื่นออกจากวงราว ๒ นิ้ว เพื่อกันมิให้ตีนกระทบกันเอง.
กระดี่ ๑ : น. ชื่อปลาน้ำจืดในสกุล Trichogaster วงศ์ Anabantidae เช่นเดียวกับปลาสลิดแต่มีขนาดเล็กกว่า ครีบท้องยาวยื่นเป็นเส้น มี ๓ ชนิด คือ กระดี่หม้อ (T. trichopterus) ข้างตัวมีลายหลายเส้น พาดขวาง มีจุดดําที่กลางลําตัวและคอดหางแห่งละ ๑ จุด, สลาก หรือ สลาง ก็เรียก, กระดี่นาง (T. microlepis) สีขาวนวล และ กระดี่นางฟ้า หรือ กระดี่มุก (T. leeri) พบเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม, บางท้องถิ่นในแถบอีสานเรียก กระเดิด.
กระทุงเหว : น. ชื่อปลาผิวน้ำทุกชนิดในวงศ์ Belonidae และ Hemirhamphidae ลําตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือ เฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมาก น้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล บางชนิดพบอาศัยอยู่ในน้าจืด เช่น กระทุงเหวเมือง (Xenentodon cancila) ส่วนใหญ่พบใน เขตน้ำกร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล Hemirhamphus, Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongylura และ Zenarchopterus ชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ คือ กระทุงเหวบั้ง (Ablennes hians) ซึ่งมีชุกชุมที่สุด, เข็ม ก็เรียก.
กระเบน : น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลําตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้าย เกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้าง ออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัว เป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจาก ส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับ โพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอน ใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทง จะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด; เรียกชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บ ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน; โคนหางช้าง เช่นผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง. (กฐินพยุห).
กระเพิง : น. เพิง, สิ่งที่ยื่นเป็นเพิง, เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
กว่าง : [กฺว่าง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Xylotrupes gideon ในวงศ์ Dynastidae ตัวมีสีตั้งแต่สีน้ำตาลอมแดงจนถึงเกือบดำ ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า กว่างโซ้ง หรือ กว่างชน มีเขาที่หลังอก ยื่นยาวเป็นจะงอยเรียวไปทางด้านหน้าและโค้งลง ตรงปลายเป็น ๒ แฉก กับที่หัวมีเขาเล็กยื่นออกไปเป็นเขาเดี่ยว โค้งขึ้นคล้ายนอแรด แต่ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ตัวผู้ที่มีขนาดย่อมมีเขาสั้นเรียก กว่างกิ หรือ กว่างแซม ตัวเมียไม่มีเขาเรียก กว่างแม่ หรือ กว่างอีลุ่ม, อาจเรียกแมลงปีกแข็งชนิดอื่นที่มีเขาว่าแมงกว่าง หรือ แมงกวาง เช่นกัน.
กวางชะมด : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า.
กว้างใหญ่ :
ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
กอล์ฟ :
[กฺวาง] น. (๑) ชื่อปลางัวบางชนิดในวงศ์ Triacanthidae, Monacanthidae และ Balistidae. (ดู งัว๕ ประกอบ). (๒) ปลาม้า. (ดู ม้า๓). [กฺว่าง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Xylotrupes gideon ในวงศ์ Dynastidae ตัวมีสีตั้งแต่สีน้ำตาลอมแดงจนถึงเกือบดำ ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า กว่างโซ้ง หรือ กว่างชน มีเขาที่หลังอก ยื่นยาวเป็นจะงอยเรียวไปทางด้านหน้าและโค้งลง ตรงปลายเป็น ๒ แฉก กับที่หัวมีเขาเล็กยื่นออกไปเป็นเขาเดี่ยว โค้งขึ้นคล้ายนอแรด แต่ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ตัวผู้ที่มีขนาดย่อมมีเขาสั้นเรียก กว่างกิ หรือ กว่างแซม ตัวเมียไม่มีเขาเรียก กว่างแม่ หรือ กว่างอีลุ่ม, อาจเรียกแมลงปีกแข็งชนิดอื่นที่มีเขาว่าแมงกว่าง หรือ แมงกวาง เช่นกัน. [กฺว้าง] น. ด้านสั้นที่คู่กับด้านยาว. ว. ไม่แคบ, แผ่ออกไป. กว้างขวาง ก. แผ่ออกไปมาก, ใหญ่โต, เช่น มีเนื้อที่กว้างขวาง, เผื่อแผ่ เช่น มีน้าใจกว้างขวาง, รู้จักคนมากและมีคนรู้จักมาก เช่น กว้างขวางในสังคม.
กะ ๓ : น. ส่วนของสมอแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายแขนยื่นออกไป ๒ ข้าง สำหรับช่วยยึดเกาะติดพื้นท้องน้ำ.
กะลวย : น. เรียกขนหางไก่ตัวผู้ที่ยื่นยาวกว่าเส้นอื่นว่า หางกะลวย.
กะแล ๑ : (ถิ่น-พายัพ) น. กาแล, ชื่อไม้เครื่องเรือนที่ต่อจากปั้นลมทั้ง ๒ ด้าน ไปไขว้กัน อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากหน้าจั่ว อาจสลักลวดลาย ตามแต่จะเห็นงาม, บางถิ่นเรียกว่า แกแล.
กาแล : (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้เครื่องเรือนที่ต่อจากปั้นลมทั้ง ๒ ด้านไปไขว้กัน อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากหน้าจั่ว อาจสลักลวดลายตามแต่ จะเห็นงาม, เรียก กะแล หรือ แกแล ก็มี.
กำปั่น ๑ : น. เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง รูปร่างหัวเรือเรียวแหลม ท้ายเรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่นออกไป สําหรับผูกสายใบ มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า กําปั่นใบ, ถ้าเสากระโดงตรงกลางไม่มี มีปล่องไฟโดยใช้เดินด้วยกําลัง เครื่องจักรไอน้า เรียกว่า กําปั่นไฟ. (เทียบมลายู หรือ ฮินดูสตานี ว่า capel).
เก็จ ๒ : น. ส่วนที่ยื่นออกมาจากหรือลึกเข้าไปในฝาผนัง กําแพง ฐาน หรือเชิงกลอน.
แก้ฟ้อง : (กฎ) ก. แก้ไขคำฟ้องตามที่ศาลสั่งในกรณีที่ คำฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย; ยื่นคำให้การเป็นข้อ ต่อสู้คดีเพื่อแก้คำฟ้อง.
แกลบ ๒ : [แกฺลบ] น. ชื่อแมลงพวกเดียวกับแมลงสาบ แต่มีขนาดเล็กกว่า คือ ยาว ๑.๓-๑.๕ เซนติเมตร กว้าง ๕-๑๐ มิลลิเมตร ลําตัวแบน รูปไข่ ขอบหน้าด้านหลังของปล้องอกยื่นออกไปคลุมหัว หนวดยาว ขายาว มีหนามคลุมเต็ม บางชนิดอาศัยอยู่ตามขี้เลื่อย หรือกองแกลบ ที่ผุพัง เช่นชนิด Pycnocelis surinamensis ในวงศ์ Blaberidae แต่บางชนิดอาศัยอยู่ในบ้านเรือน ตามกองกระดาษหรือเศษขยะมูลฝอย เช่น ชนิด Blattella germanica, Supella supellectilium ในวงศ์ Blattellidae.
แกแล ๑ : (ถิ่น-พายัพ) น. กาแล, ชื่อไม้เครื่องเรือนที่ต่อจากปั้นลมทั้ง ๒ ด้าน ไปไขว้กัน อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากจั่ว อาจสลักลวดลาย ตามแต่จะเห็นงาม, บางถิ่นเรียก กะแล.
ขา ๑ : น. อวัยวะตั้งแต่ตะโพกถึงข้อเท้า สําหรับยันกายและเดินเป็นต้น (ไทยถิ่นอื่น ขา หมายความตั้งแต่ตะโพกถึงเข่า); สิ่งของซึ่งมีลักษณะ คล้ายขาสําหรับยันหรือรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ขาโต๊ะ ขาเก้าอี้ ขาตั้ง; เรียกส่วนที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปขา เช่น ขากางเกง.
ขี้ยอก : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Mystacoleucus marginatus ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างทั่วไปคล้ายปลาตะเพียน เว้นแต่มีหนามแข็งยื่นจากต้นครีบหลัง ออกไปข้างหน้า, ชื่อนี้เรียกกันเฉพาะในเขตแม่นํ้าปิงเท่านั้น ในเขต แม่นํ้าน่านเรียก หนามไผ่, ปักษ์ใต้เรียก หญ้า.
เข็ม ๓ : น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Dermogenys pusillus ในวงศ์ Hemirhamphidae ปากล่างยื่นยาวแหลม ลําตัวกลมเรียวยาวคล้ายเข็ม ขอบหางกลม ยาวไม่เกิน ๘ เซนติเมตร ออกลูกเป็นตัว พบว่ายตาม ผิวนํ้าในแหล่งนํ้านิ่งทั่วไป. (๒) ดู กระทุงเหว.
เขยิน : [ขะเหฺยิน] ก. ยื่นออกมา เช่น ฟันเขยิน, เผยอขึ้น เช่น ไม้เขยิน ตะปูเขยิน.
แขน ๑ : น. อวัยวะที่ต่อจากไหล่ทั้ง ๒ ข้าง, (ราชา) เรียกอวัยวะตั้งแต่ศอก ไปถึงไหล่ว่า พระพาหา ตั้งแต่ศอกไปถึงมือว่า พระกร; เรียกสิ่ง ที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปแขน เช่น แขนเสื้อไม้เท้าแขน.
ไขรา : น. ส่วนของหลังคาอาคารสถาปัตยกรรมไทย เฉพาะตอนที่ยื่นพ้นผนัง อาคารออกไปยังขอบหลังคา, ถ้าส่วนที่ยื่นนั้นอยู่ตรงหน้าจั่ว เรียก ไขราหน้าจั่ว, ถ้าอยู่ปลายหน้าบัน เรียก ไขราหน้าบัน, ถ้าเป็นหลังคาปีกนก เรียก ไขราปีกนก, ถ้าเป็นหลังคาบังสาดตามขนาดยาวของเต้า เรียก ไขราจันทันเต้า หรือ ไขราเต้า.
คว้า : [คฺว้า] ก. ยื่นมือไปจับหรือฉวยมาโดยเร็ว, ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ศัพท์นี้ไปคว้ามาจากไหน; กิริยาชักว่าวกระตุกให้หัวว่าวปักลง แล้วช้อนขึ้นไปทางใดทางหนึ่งตามความต้องการ เช่น ว่าวจุฬากับ ว่าวปักเป้าคว้ากัน.
ค่อม ๑ : ว. เตี้ยผิดธรรมดาและหลังงอ เช่น คนค่อม, เรียกหลังที่งอมากว่า หลังค่อม; ที่มีพันธุ์เตี้ยกว่าธรรมดา (ใช้แก่สัตว์หรือต้นไม้) เช่น ช้างค่อม กล้วยหอมค่อม. ค่อม ๒ น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Hypomeces squamosus ในวงศ์ Curculionidae ลําตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร หัวยื่นออกไปเป็นงวงสั้น ๆ ตัวและ ปีกสีเขียวเหลือบทอง, ค่อมทอง หรือ ทับเล็ก ก็เรียก.
ค่าขึ้นศาล : (กฎ) น. ค่าธรรมเนียมศาลในการยื่นคําฟ้อง.
คาบสมุทร : น. ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมเกือบรอบ ตามปรกติมัก ต่อเนื่องกับผืนแผ่นดินใหญ่เป็นคอคอด หรือยื่นยาวออกไปในทะเล.
คำขอ : (กฎ) น. คําซึ่งคู่ความหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียขอ ให้ศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง; หนังสือที่ยื่นต่อทางราชการเพื่อ ขอให้ทําการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้ยื่น.
คำขาด : น. คำบอกกล่าวอย่างเด็ดขาดครั้งที่สุดให้ปฏิบัติการอย่างใด อย่างหนึ่งโดยไม่มีการผ่อนผัน เช่น ยื่นคำขาดให้ผู้เช่าออกไปจาก บ้านเช่าภายใน ๓ วัน, ข้อเสนอเด็ดขาด, ข้อเสนอที่ยื่นให้อีกฝ่ายหนึ่ง ปฏิบัติตามโดยเด็ดขาด เช่น เขายื่นคำขาดให้เธอปฏิบัติตาม.
คำคู่ความ : (กฎ) น. บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่น ต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ.
คำแถลงการณ์ : (กฎ) น. คําแถลงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ ซึ่งคู่ความ ฝ่ายหนึ่งกระทําหรือยื่นต่อศาลด้วยมุ่งหมายที่จะเสนอความเห็นต่อศาล ในข้อความในประเด็นที่ได้ยกขึ้นอ้างในคําคู่ความหรือในปัญหาข้อใด ที่ศาลจะพึงมีคําสั่งหรือคําพิพากษา ซึ่งในข้อเหล่านี้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่ แสดง หรือกล่าวทบทวนหรือยืนยันหรืออธิบายข้อความแห่งคำพยาน หลักฐานและปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงทั้งปวง.
คำร้อง ๑ : (กฎ) น. (๑) คําขอที่ยื่นต่อทางราชการ เพื่อให้ทําการอย่างใด อย่างหนึ่งให้แก่ผู้ร้อง. (๒) คําขอที่คู่ความยื่นต่อศาล เพื่อขอให้ศาล มีคําสั่งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง, คําร้องขอ ก็ว่า. (อ. request).
คำร้องทุกข์ : (กฎ) น. คํากล่าวหาที่ผู้เสียหายได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า มีผู้กระทําความผิด ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย โดยเจตนา จะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ; เรื่องที่ผู้ร้องทุกข์ซึ่งได้รับความ เดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ยื่นต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยร้องทุกข์ ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา.
คู่ความ : (กฎ) น. บุคคลผู้ยื่นคําฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล และหมายความ รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทําการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือ ในฐานะทนายความ.
ฆ้อง : น. เครื่องตีให้เกิดเสียงอย่างหนึ่ง ทําด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็น แผ่นวงกลม มีขอบยื่นลงมารอบตัว เรียกว่า ใบฉัตร มีปุ่มกลม ตรงกลางสําหรับตี มีหลายชนิด เช่น ฆ้องกระแต ฆ้องชัย ฆ้องวง.
งวง ๑ : น. จมูกของช้างที่ยื่นยาวออกไป ตรงปลายมีจะงอยสําหรับจับของอย่างมือ, เรียกจั่นมะพร้าวและช่อดอกเพศผู้ของตาลเพื่อเตรียมทํานํ้าตาล, เรียกสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น งวงครุ งวงผีเสื้อ; ลมชนิดหนึ่งเมื่อเริ่มเกิด จะเห็นเป็นลํายื่นลงมาจากใต้ฐานเมฆ มีลักษณะคล้ายงวงช้าง ถ้ามีกําลังแรง มาก ลํานี้จะยาวลงมามากเรียกว่า ลมงวง, ลมงวงช้าง ก็เรียก; ตัวลำยองที่ทำ เป็นงวงเกี่ยวอยู่ตรงแปงวง.
งอก ๑ : ก. อาการที่เมล็ดผลไม้แตกเป็นต้นขึ้น; ผลิออก, แตกออก, เช่น รากงอก ยอดงอก; เพิ่มปริมาณมากขึ้น (ใช้เฉพาะของบางอย่าง) เช่น เงินงอก แผ่นดินงอก เนื้องอก; เรียกหน้าผากที่กว้างยื่นงํ้าออกไปกว่าปรกติว่า หน้างอก.
งา ๔ : น. ชื่อปลานํ้ากร่อยหรือทะเลขนาดเล็กชนิด Thryssa setirostris ในวงศ์ Engraulidae กระดูกขากรรไกรบนโค้งยื่นยาวเป็นเส้นจดครีบท้องหรือ ครีบก้น ลําตัวยาว แบนข้าง ปากกว้าง เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียง ต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลําตัวสีเงินอมเหลืองส้ม.
ง้ำ : ว. ยื่นออกไปเกินปรกติจนปลายโน้มลง, โน้มไปทางหน้า เช่น สวมชฎา งํ้าหน้า, เรียกหน้าที่มีสีหน้าแสดงอาการโกรธไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้นว่า หน้างํ้า.
เงื้อม : น. สิ่งที่สูงยื่นงํ้าออกมา เช่น เงื้อมผา.
แง่ ๑ : น. ส่วนที่เป็นเหลี่ยมเป็นสันเป็นมุมหรือส่วนที่ยื่นออกมา เช่น แง่หิน แง่โต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เหลี่ยม, ชั้นเชิง, เช่น ชาวแพแผ่แง่ ค้าขายของ. (นิ. นรินทร์), นัย.
จมูก : [จะหฺมูก] น. อวัยวะส่วนหนึ่งที่ยื่นออกมา อยู่เหนือปาก มีรู ๒ รู สําหรับ ว. ซีดเซียว, หงอยเหงา, สลด, เช่น หน้าจ๋อย. โดยปริยายเรียกสิ่งที่ยื่นออกมาคล้ายจมูก, เรียกสิ่งที่เจาะเป็นรู ๒ รูเพื่อ ร้อยเชือกเป็นต้น เช่น จมูกซุง. (ข.จฺรมุะ).
จิ้มฟันจระเข้ : น. ชื่อปลาทะเลและนํ้าจืดทุกชนิดในวงศ์ Syngnathidae ปากยื่นเป็นท่อ ลําตัวหน้าตัดเป็นเหลี่ยมแต่ยาวเรียวมาก ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกัน เป็นเหลี่ยมเป็นข้อ ครีบต่าง ๆ มีขนาดเล็ก เฉพาะครีบท้องไม่มี ตัวผู้ทํา หน้าที่ฟักไข่โดยเก็บไว้บริเวณหน้าท้อง ลําตัวมักมีสีนํ้าตาล อาจมีลาย สีเข้มพาดขวาง ที่พบในนํ้าจืดได้แก่ ชนิด Microphis boaja ส่วนในทะเล ได้แก่ชนิดในสกุลต่าง ๆ เช่น Doryrhamphus, Corythoichthys, Trachyramphus.