ยุด : ก. ฉุดไว้ เช่น ยุดมือ, ดึงไว้ เช่น ครุฑยุดนาค, รั้งไว้ เช่น ยุดไว้เป็น ตัวประกัน.
ยุต ๑ : [ยุด] ก. ประกอบ. (ป. ยุตฺต; ส. ยุกฺต).
ยุต ๒ : [ยุด] น. เศษด้ายเศษผ้าใช้เช็ดน้ำมันเครื่องเป็นต้นใช้แล้วทิ้งไป.
อายุธ : [ยุด] น. อาวุธ. (ส.; ป. อายุธ, อาวุธ).
ยื้อ : ก. แย่งด้วยอาการเช่นฉุด ยุด ดึงไปมา เช่น ยื้อข้อมือ, มักใช้เข้าคู่กับคํา แย่ง เป็น ยื้อแย่ง เช่น หมายื้อแย่งกระดูกกัน.
ยุติ ๑ : [ยุดติ] ก. ชอบ, ถูกต้อง. (ป. ยุตฺติ; ส. ยุกฺติ).
ยุติ ๒ : [ยุดติ] ก. ตกลง, จบ, เลิก, เช่น เรื่องนี้ยุติแล้ว ไม่ต้องพิจารณาอีกต่อไป.
ยุทธ, ยุทธ์ : [ยุดทะ] น. สงคราม, การรบพุ่ง. (ป., ส.).
วิจยุต : [วิดจะยุด] ก. ตกไปแล้ว, หลุดไปแล้ว. (ส. วิจฺยุต).
สังยุตนิกาย : [สังยุดตะ] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๓ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดประมวล คือ ประมวลเรื่องประเภทเดียวกันไว้ด้วยกันทั้งหมด.
อายุกตกะ, อายุตกะ : [ยุกตะกะ, ยุดตะกะ] น. นายส่วย, เจ้าพนักงาน, เจ้าหน้าที่. (ส. อายุกฺตก; ป. อายุตฺตก).
คาพยุต : [คาพะยุด] (แบบ) น. คาวุต, มาตราโบราณ สําหรับวัดความยาว ( = ๔,๐๐๐ ทัณฑะ หรือ ๒ โกรศ หรือ ๑ ใน ๔ ของโยชน์ = ๑๐๐ เส้น). (ป. คาวุต; ส. คฺวยูต).
จยุติ : [จะยุดติ] (กลอน) ก. จุติ. (ส.).
ปรัตยุตบัน, ปรัตยุบัน : [ปฺรัดตะยุดบัน, ปฺรัดตะยุบัน] น. ปัจจุบัน. (ส. ปฺรตฺยุตฺปนฺน; ป. ปจฺจุปฺปนฺน).
เพชรายุธ : [เพ็ดชะรายุด] น. อาวุธเพชรของพระอินทร์, ชื่อหนึ่งของ พระอินทร์. (ส. วชฺร + อาวุธ).
วิทยุต : [วิดทะยุด] น. ฟ้าแลบ, ไฟฟ้า. (ส.; ป. วิชฺชุ).
ศรายุธ : [สะรายุด] น. อาวุธคือศร. (ส. ศร + อายุธ).
สัประยุทธ์ : [สับปฺระยุด] ก. รบพุ่งชิงชัยกัน.
สัมปยุต : [สําปะยุด] ก. ประกอบด้วย. (ป. สมฺปยุตฺต; ส. สมฺปฺรยุกฺต).
อายุร, อายุษ :
[อายุระ, อายุด] น. อายุ. (ดู อายุ). (ส.).
ธรรมยุต : น. ชื่อพระสงฆ์นิกายหนึ่ง, คู่กับมหานิกาย, ธรรมยุติกนิกาย ก็เรียก.
พรรษายุต : น. หมื่นปี. (ส.).
พรรษายุต :
ดู พรรษ, พรรษ.
ยศ : [ยด] น. ความยกย่องนับถือเกียรติของตน, เกียรติคุณ, ฐานันดรที่ พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีสูง ต่ำตามลำดับกันไป; เครื่องหมายพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ผู้มีฐานันดร มีสูงต่ำตามลำดับกันไป, เครื่องกําหนดหมายฐานะหรือชั้นของบุคคล. ว. ที่แสดงฐานะหรือชั้น เช่น พัดยศ. (ส.; ป. ยส).
นิยต, นิยต : [ยด, ยะตะ] (แบบ) ก. กําหนด เช่น พระพเนจรจรหลํ่า ได้หลายคํ่า หลายวัน ถึงแดนอันจะนิยต. (ลอ). (แบบ) ว. เที่ยง, แท้, แน่. (ป., ส.); (การศึกษา) ตระหนักแน่, เป็นที่ยอมรับ, เชิงสร้างสรรค์, ทางบวก. (อ. positive).
นิกาย : น. หมู่, พวก, หมวด, ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวช ในศาสนาเดียวกันที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น มหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์; เรียก คัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น ๕ หมวดใหญ่ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย '';สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุทกนิกาย. (ป., ส.).
ปรัตยูษ : [ปฺรัดตะยูด] (โบ; กลอน) ว. ปัจจูส, เช้ามืด, ใกล้รุ่ง. (ส. ปฺรตฺยูษ; ป. ปจฺจูส).