ยุต ๑ : [ยุด] ก. ประกอบ. (ป. ยุตฺต; ส. ยุกฺต).
ยุต ๒ : [ยุด] น. เศษด้ายเศษผ้าใช้เช็ดน้ำมันเครื่องเป็นต้นใช้แล้วทิ้งไป.
ธรรมยุต : น. ชื่อพระสงฆ์นิกายหนึ่ง, คู่กับมหานิกาย, ธรรมยุติกนิกาย ก็เรียก.
พรรษายุต : น. หมื่นปี. (ส.).
พรรษายุต :
ดู พรรษ, พรรษ.
สังยุตนิกาย : [สังยุดตะ] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๓ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดประมวล คือ ประมวลเรื่องประเภทเดียวกันไว้ด้วยกันทั้งหมด.
อายุกตกะ, อายุตกะ : [ยุกตะกะ, ยุดตะกะ] น. นายส่วย, เจ้าพนักงาน, เจ้าหน้าที่. (ส. อายุกฺตก; ป. อายุตฺตก).
นิกาย : น. หมู่, พวก, หมวด, ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวช ในศาสนาเดียวกันที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น มหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์; เรียก คัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น ๕ หมวดใหญ่ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย '';สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุทกนิกาย. (ป., ส.).
วิจยุต : [วิดจะยุด] ก. ตกไปแล้ว, หลุดไปแล้ว. (ส. วิจฺยุต).
แย่แต้ : ว. หนักจนต้องย่อลง.
คาพยุต : [คาพะยุด] (แบบ) น. คาวุต, มาตราโบราณ สําหรับวัดความยาว ( = ๔,๐๐๐ ทัณฑะ หรือ ๒ โกรศ หรือ ๑ ใน ๔ ของโยชน์ = ๑๐๐ เส้น). (ป. คาวุต; ส. คฺวยูต).
โศลก : [สะโหฺลก] น. คําประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ วรฺตเต วิทิตาตฺมนามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพานคือ พรหมโดยทั่วไป. (ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง; ชื่อเสียง, เกียรติยศ.